0211.3 ว1602 ลงว นท 18 ม นาคม 2559

เลขที่ข่าว วัน/เดือน/ปี หัวข้อข่าว ผู้ชม อ่านต่อ 27347 18/03/2559 แนวทางปฏิบัติในการทดสอบความแข็งแรงของลูกปูนเพื่อการตรวจรับงานคอนกรีตเฉพาะโครงการตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (ตำบลละ 5 ล้าน) (ว1602) 907 27373 16/03/2559 ซ้อมความเข้าใจ (เพิ่มเติม) โครงการตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (ตำบลละ 5 ล้านบาท) 139 19746 28/01/2559 การเร่งรัดโครงการตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศ (ว537) 24 08081 11/12/2558 มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อยและมาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาลทั่วประเทศ (ว5230) 25 08114 14/10/2558 แนวทางการปฏิบัติงานด้านการเงินและการพัสดุ สำหรับโครงการตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล 29 08113 14/10/2558 คำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 924/2558 และที่ 925/2558 เรื่อง การมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด 46 08108 09/10/2558 ขอรับการจัดสรรงบประมาณตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบลเพิ่มเติม (ว6030) 13 08097 29/09/2558 การขอรับการจัดสรรกรอบวงเงินตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (ว5598) 6 08096 11/09/2558 การดำเนินมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (ว5264) 27 08086 10/09/2558 การดำเนินมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (ว5255) 29

จำนวนข้อมูลต่อหน้า แสดงข้อมูลที่ 1 ถึง 10 จากข้อมูลทั้งหมดที่ค้นหาได้ 11 รายการ

processing time 0.942 s

เพราะท้องถิ่น ถูกฝ่ายตรวจสอบ เอาประเด็นนี้ไปกระทำ.....เป็นข้อทักท้วง เพื่อเป็นผลงานท่าน...ท้องถิ่นไม่มีหลักผิง หรือแนวทางให้ปฏิบัติท่ีชัดเจนนัก ก็ดิ้นรนไปตามแต่สถานการณ์...ใครมีหลักการดีชี้แจงดีก็รอดไป...ใครมั่วๆ ก็ซวย โดนวินัย โดนละเมิด...

(แอบนึกในใจนะ เป็นอธิบดี กรม....... จะสั่งให้ลูกน้อง ทำหนังสือแจ้งเวียนแนวทางปฏิบัติให้ทรายโดยทั่วไปเลย......ว่าทำอย่างไร...)

จริงแล้ว ข้าราชการส่วนท้องถิ่น..นาเห็นใจมากๆ รับใช้ใกล้ชิดประชาชน รับรู้ปัญหา หรือความเดือน.......แต่การทำงานดู เหมือนขาด ผู้ชีแนะให้แนวทาง ซ้ำร้าย ผู้ดูแล หรือ กำกับ บางแห่ง ก็มุ่งแต่คอย หาผลประโยชน์จากท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นอุดหนุน งบประมาณทุกรูปแบบ......แต่พอท้องถิ่นทำงานมีปัญหา (ภาษาบ้านคือ"กระทืบซ้ำ" ) มีหน่วยงานหนึ่ง....ท่านมีหน้าที่ ค่อยแนะนำ หรือวางหลักเกณฑ์แนวทางปฏิบัติงานให้ท้องถิ่น ....เพราะ พระราชบัญญัติจัดตั้ง อปท.ทุกแห่ง ก็บอกว่า ระเบียบ ข้อบังคับ หรือแนวทางปฏิบัติงานต่างๆ ของท้องถิ่น หน่วยงานแห่งนี้ ต้องเป็นผู้ออกหลักเกณฑ์แนวทางไว้ หรืออออกแนวทางปฏิบัติให้...จึงจะถือปฏิบัติได้.......ปัญหาท้องถิ่นทับถมมทวีคูณ ทุกวันนี้ เพราะหน่วยบงานแห่งนี้ ได้ * * * งไกลไปจากท้องถิ่น..

แม้แต่ปัญหาเรื่อง ผลเทศปูน...ท่ีเราชาวท้องถิ่น ทะเลาะกัน กับ ฝ่ายตรวจสอบ ไปทั่งหัวระแหง ท่านยังไม่สนใจหรือได้ยินเลย......หรือท่านไม่มีหนังสือ หรือหลักเกณฑ์หรือแนวทางปฏิบัติให้มันชัดเจน.........ท่านปล่อยท้องถิ่นไปตาม ยะถากรรม แก้ไขปัญหาเอาเอง เคียร์กับฝ่ายตรวจสอบเอาเอง.....หรือมิฉะนั้น ก็ให้รือไปเป็นเคสๆ... .นี้คือแนวทาง ของหน่วยงานที่มีหน้าที่ ดูแลท้องถิ่น..กระทำต่อท้องถิ่น (บ่นไปงัยหละ)..

ข้อแนะนำส่วนตัวนะ....../นำไปปรับใช้ครับ หากคิกว่า ..... น่าจะเป็นไปได้...

แนวทางแก้ไขปัญหาลูกปูน....(การทดสอบความแข็งแรงของลูกปูน) โดยนำเอาหลักการตามหนังสือ กระทรวงมหาดไทย ที่ 0211.3/ ว1602 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2559 เรื่อง แจ้งแนวทางปฏิบัติในการทดสอบความแข็งแรงของลูกปูนเพื่อตรวจรับงานคอนกรีต ตามโครงการ(ตำบลละ 5 ล้าน)..เป็นหนังสือ ลงนาม โดยปลัดกระทรวงมหาดไทย ส่วนกิจการพิเศษ สำนักนโยบายและแผน ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด (ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการ :ส่วนภูมิภาค คือจังหวัดและอำเภอ ) สาระสำคัญของหนังสือ ระบุแนวทางปฏิบัติไว้ คือ

(1) กรณีลงนามในสัญญาแล้ว และไม่มีการเพิ่มระยะเวลาบ่มคอนกรีตกำหนดไว้ในสัญญา ให้แก้ไขสัญญาหรือบันทึกต่อท้ายสัญญาออกไปอีก 28 วัน (2) ในกรณียังไม่มีสัญญา(ยังไม่ลงนาม) ให้กำหนดระยะเวลาบ่มคอนกรีต 28 วัน ไว้ในสัญญาด้วย. (3) หากต้องการตรวจรับก่อน คอนกรีตครบ 28 วัน โดยไม่แก้ไขสัญญา จะต้องมีรายงานผลการทดสอบกำลังอัดของคอนกรีตที่ไม่น้อยกว่า คอนกรีตเมื่อครบ 28 วัน ตามกำหนดไว้ในแบบรูปและรายการหรือตามหลักวิชาการช่างด้วย.

ฉะนั้น สรุป ตามหนังสือสั่งการ เมื่อเป็นโครงการก่อสร้างที่ใช้คอนกรีตเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก จะต้องมีผลรับรองการทดสอบคอนกรีตมาประกอบการตรวจรับ ด้วย.จะตรวจรับก่อน หรือตรวจรับหลัง ก็ต้องมีรายงานผลการทดสอบมาแสดงประกอบ แล้วแต่กรณี...

ปัญหาคือท้องถิ่น เราบรรดา พี่น้อง นายช่าง หรือ ผอ.กองช่าง ทั้งหลาย รู้ๆ อยู่ว่างานคอนกรีต ต้องมีระยะเวลาบ่ม.คอนกรีต เพียงแต่ ไม่กำหนดระยะเวลาบ่มคอนกรีตไว้ ในแบบแปลน ด้วย..แต่ไม่ทำ เพราะบางแห่ง นาย ไก่...หรือ นาย ป.ปลา ผู้ยิ่งใหญ่ประจำหน่วยงานนั้นๆ ไม่ให้กำหนดไว้.....ด้วยเหตุอะไรไม่รู้.....เนาะ..

ข้อแนะนำส่วนตัว

ฉะนั้น ข้อแนะนำส่วนตัว นะ....ถ้าเป็นไปได้ ก็อาจดำเนินการตามหนังสือสั่งการมหาดไทย ข้างต้น นำมาปรับใช้ โดยอ้างอิง ระเบียบ ข้อ 129 เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น... โดยดำเนินการแก้ไข ตามแนวทาง ข้อ 1 หรือ 2 ข้างต้น....

แต่หากแม้ว่า โดยเหตุใดก็แล้วแต่..... ไม่อาจแก้ไข คือ เสนอขอแก้ไขแล้ว นาย.ไม่อนุมัติให้แก้ไข.และในสัญญาก็ไม่ได้กำหนดเรื่องผลเทศไว้ในสัญญา .. ควรพิจารณาดำเนินการดังนี้......

(1) ตรวจรับงานไปก่อน...แต่ในบันทึกรายงานการประชุม กรรมการตรวจรับงานจ้าง หรือใบบตรวจรับงานจ้าง ให้ระบุไว้ " วันนี้คณะกรรมการตรวจการจ้างได้พร้อมกันไปตรวจรับงานจ้างโครงการ.......................ปรากฎว่า รายละเอียด และรายการก่อสร้างอื่นๆ เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญา....แต่ขาดรายงานผลการทดสอบความแข็งแรงของลูกปูน คณะกรรมการจึงมีมติเป็นเอกฉันท์..ว่า " การตรวจรับงานจ้างโครงการนี้ จะถือว่าครบถ้วนถูกต้อง เมื่อผลการทดสอบความแข็งแรงของลูกปูนเป็นไปตามมาตรฐานวิชาช่างแล้วเท่านั้น.และให้ถือว่าผู้รับจ้างส่งมอบงานครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้รับจ้างงส่งมอบงานจ้างนี้" แล้วให้รายงาน นายก...เพื่อทราบ...และแจ้ง ผู้รับจ้างทราบด้วย..... และอย่าพึงลงนามในใบตรวจรับงานจ้าง ....และอย่าพึงให้ตั้งฎีกาเบิกจ่าย.......เหตุผลที่จะต้องมีเงื่อนไข แบบ นี้.... เพราะมันเป็นงานคอนกรีต ผลเทศปูนเป็นเรื่องสำคัญ ที่ฝ่ายตรวจสอบ..จ่องจับผิด.....และเมื่อผลเทศปูนยังไม่มีมา ถือว่ายังไม่ตรวจรับงานนั้นๆ (เป็นช่วงอยู่ในกระบวนการตรวจรับงานรอผลทดสอบ...) ผู้รับจ้างก็ร้องไม่ได้ว่าตรวจรับงานล่าช้า หรือตรวจรับงานแล้ว...ไม่เบิกจ่าย.... และเมื่อเป็นช่วงตรวจรับจ้างอยู่...(หากงานก่อสร้างนั้น มีค่าปรับแล้ว ก็ต้อง งด หรือลดค่าปรับแล้วแต่กรณี ให้กับผู้รับจ้าง เพราะไม่ใช้ความรับผิดของผู้รับจ้าง ตามระเบียบ ข้อ 132 ) แต่หากเราหรือหน่วยงาน รอให้ผลเทศมาก่อนค่อยไปตรวจรับงาน... มันก็อาจเจอประเด็นร้องเรียนว่า กลั่นแกล้ง หรือว่า ทำผิดระเบียนบข้อ 65 (3) คือตรวจรับงานล่าช้า ไม่ตรวจภายใน 3 วัน..ก็จะเป็นประเด็นโต้แย้งกันอีก... หรือหากมีค่าปรับ หน่วยงานมั่วแต่รอผลเทศปูนค่าปรับมันเดินตลอด ก็จะเป็นประเด็นโต้แย้ง อาจเกิดการฟ้องศาลปกครอง.....(นี้คือเหตุผลว่า เมื่อไม่ไค้กำหนดไว้ในสัญญา หรือปก้ไขสัญญา ก็หาแนวทางให้งานมันเดินต่อไปได้ และเกิดความยุติธรรมกับผู้รับจ้างด้วย...... และเมื่อหนังสือรับรองรายผลเทศมาแล้ว ถ้าเป็นไปตามาตรฐานจึงลงนามในใบตรวจรับงานจ้าง และประสานกองคลังดำเนินการต่อไป.............

เป็นข้อแนะนำส่วนตัวตามกรอบ หนังสือสั่งการมหาดไทยข้างต้น ข้างต้น ถึงแม้ว่าจะเป็นหนังสือสั่งการสำหรับส่วนภูมิภาค ก็อาจนำมาปรับใช้ ในสิ่งที่ท่านๆทั้งหลายเห็นว่าน่าจะ เป็นประโยชน์ ครับ.....

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง