บทบาทสำค ญของสมเด จพระเพทราชาท ม ต อชาต ไทยค ออะไร

้เปิดพระราชประวัติ "พระเจ้าเสือ" ราชาผู้น่าเกรงขาม ผู้ได้ชื่อว่าเด็ดขาดและโหดร้าย พร้อมมีข่าวลือมากมาย ระหว่างปกครองอยุธยากว่า 5 ปี

หนึ่งในตัวละครที่มีบทบาทสำคัญในละครเรื่อง บุพเพสันนิวาส และจะมีบทบาทต่อไปในภาคต่ออย่างละครเรื่อง พรหมลิขิต (Love Destiny 2) นั่นคือ “พระเจ้าเสือ” หรือหลวงสรศักดิ์ (ก๊อต จิรายุ) ที่เป็นหนึ่งในผู้สมรู้ร่วมคิด ก่อกบฏในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก่อนสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งอยุธยาในเวลาต่อมา วันนี้ เราจะพามาทำความรู้จักพระองค์ให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงข่าวลือต่าง ๆ ของพระองค์ ที่ถูกบันทึกไว้ในพงศาวดาร

ประวัติ “ท้าวทองกีบม้า” ลูกครึ่งโปรตุเกส-ญี่ปุ่น ผู้สร้างตำนานขนมไทย

ประวัติ “โกษาปาน” ย้อนดูความขัดแย้ง พระเพทราชา ถูกตัดจมูก-โบยเสียชีวิต

“พระเจ้าเสือ” หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (ตามคำให้การกรุงเก่าระบุว่า พระองค์มีพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี) เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 29 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่สองแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2246 ถึง พ.ศ. 2251 รวมระยะเวลา 5 ปี

โอรสแท้พระเพทราชา หรือโอรสลับสมเด็จพระนารายณ์?

ตามพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่า พระเจ้าเสือเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในสมเด็จพระเพทราชา อย่างไรก็ตาม พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพนฯ ฉบับตัวเขียน ระบุว่า พระเจ้าเสือ เป็นพระราชโอรสลับในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กับพระราชชายาเทวี หรือเจ้าจอมสมบุญ (คำให้การชาวกรุงเก่าเรียกว่า นางกุสาวดี) ซึ่งเป็นพระราชธิดาในพญาแสนหลวง เจ้าเมืองเชียงใหม่

โดยพระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ ให้ข้อมูลว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงทำศึกสงครามกับเมืองเชียงใหม่แล้วได้ราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่เป็นสนม แต่นางสนมเกิดตั้งครรภ์ พระองค์ได้ละอายพระทัยด้วยเธอเป็นนางลาว พระองค์จึงได้พระราชทานแก่พระเพทราชา ดังความในพระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ ใจความว่า

"แล้วเมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาจากเมืองเชียงใหม่นั้น พระองค์เสด็จทรงสังวาสด้วยพระราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ และนางนั้นก็ทรงครรภ์ขึ้นมา ทรงพระกรุณาละอายพระทัย จึงพระราชทานนางนั้นให้แก่พระเพทราชา แล้วดำรัสว่านางลาวนี้มีครรภ์ขึ้นมา เราจะเอาไปเลี้ยงไว้ในพระราชวังก็คิดละอายแก่พระสนมทั้งปวง และท่านจงรับเอาไปเลี้ยงไว้ ณ บ้านเถิด และพระเพทราชาก็รับพระราชทานเอานางนั้นไปเลี้ยงไว้ ณ บ้าน"

โดยเหตุผลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ปรากฏในคำให้การชาวกรุงเก่าว่า พระองค์ทรงเกรงว่าพระราชโอรสองค์นี้จะคิดกบฏชิงราชสมบัติอย่างเมื่อคราวพระศรีศิลป์ ส่วนคำให้การของขุนหลวงหาวัด ระบุว่า พระองค์ทรงต้องรักษาราชบัลลังก์ให้กับพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระอัครมเหสีเท่านั้น

การขึ้นครองราชย์

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ พระเจ้าเสือได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการ เป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์ฯ ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าเสือ ขณะดำรงตำแหน่งเป็นนายเดื่อมหาดเล็ก สามารถบังคับช้างพลายซ่อมตัวหนึ่งที่กำลังตกมันได้สำเร็จ จึงเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์ และโปรดให้เป็นหลวงสรศักดิ์ รับราชการในกรมพระคชบาล

ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ก็ได้รับสถาปนาเป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งหวังจะได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระเพทราชา แต่สมเด็จพระเพทราชากลับทรงโปรดปรานเจ้าพระขวัญ พระราชโอรสของพระองค์และกรมหลวงโยธาทิพ ทั้งยังมีผู้คนมากมายต่างพากันนับถือ ทำให้กรมพระราชวังบวรฯ เกิดความหวาดระแวงว่าราชสมบัติจะตกไปอยู่กับเจ้าพระขวัญ จึงเกิดเหตุการณ์นำเจ้าพระขวัญมาสำเร็จโทษด้วยไม้ท่อนจันทร์

เมื่อสมเด็จพระเพทราชาซึ่งทรงประชวรทรงทราบ ทรงพระพิโรธกรมพระราชวังบวรฯ เป็นอันมากและตรัสว่าจะไม่ยกราชสมบัติให้แก่กรมพระราชวังบวรฯ แล้วทรงพระกรุณาตรัสเวนราชสมบัติให้ “เจ้าพระพิไชยสุรินทร” พระราชนัดดา แต่เจ้าพระพิไชยสุรินทรทรงเกรงกลัวกรมพระราชวังบวรฯ จึงไม่กล้ารับ และน้อมถวายราชสมบัติแด่กรมพระราชวังบวรฯ พร้อมสถาปนาเป็นสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือ “พระเจ้าเสือ”

พระอุปนิสัย

พระอุปนิสัยที่มีเสียงลือเสียงเล่าอ้างถึงความโหดร้ายและความเด็ดขาดของพระเจ้าเสือ มีระบุไว้ในพระราชพงศาวดารสองฉบับ โดยฉบับแรกคือ พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่า

"สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพอพระทัยเสวยน้ำจัณฑ์ แล้วเสพสังวาสด้วยดรุณีอิตถีสตรีเด็กอายุ 11-12 ปี ถ้าสตรีใดเสือกดิ้นโครงไป ให้ขัดเคือง จะลงพระราชอาชญาถองยอดอกตายกับที่ ถ้าสตรีใด ไม่ดิ้นเสือกโครงนิ่งอยู่ ชอบพระอัชฌาสัย พระราชทานบำเหน็จรางวัล

"ประการหนึ่ง ถ้าเสด็จไปประพาสมัจฉาชาติฉนากฉลามในชลมารคทางทะเลเกาะสีชังเขาสามมุขแลประเทศที่ใด ย่อมเสวยน้ำจัณฑ์พลาง ถ้าหมู่พระสนมนิกรนางในแลมหาดเล็ก ชาวที่ทำให้เรือพระที่นั่งโคลงไหวไป มิได้มีพระวิจารณะ ปราศจากพระกรุณาญาณ ลุอำนาจแก่พระโทโส ดำรัสสั่งให้เอาผู้นั้นเกี่ยวเบ็ดทิ้งลงไปกลางทะเล ให้ปลาฉนากฉลามกินเป็นอาหาร”

"ประการหนึ่ง ปราศจากพระเบญจางคิกศีล มักพอพระทัยทำอนาจารเสพสังวาสกับภรรยาขุนนาง แต่นั้นมาพระนามปรากฏเรียกว่า พระเจ้าเสือ"

ส่วนพระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม บันทึกว่า

"ครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินมีพระราชหฤทัยกักขฬะ หยาบช้า ทารุณ ร้ายกาจ ปราศจากกุศลสุจริต ทรงพระประพฤติผิดพระราชประเพณี มิได้มีหิริโอตัปปะ และพระทัยหนาไปด้วยอกุศลลามก มีวิตกในโทสโมหมูลเจือไปในพระสันดานเป็นนิรันดร์มิได้ขาด แลพระองค์เสวยน้ำจัณฑ์ขาวอยู่เป็นนิจ แล้วมักยินดีในการอันสังวาสด้วยนางกุมารีอันยังมิได้มีระดู (ประจำเดือน)”

“ถ้าและนางใดอุตส่าห์อดทนได้ ก็พระราชทานรางวัลเงินทองผ้าแพรพรรณต่าง ๆ แก่นางนั้นเป็นอันมาก ถ้านางใดอดทนมิได้ไซร้ ทรงพระพิโรธ และทรงประหารลงที่ประฉิมุราประเทศให้ถึงแก่ความตาย แล้วให้เอาโลงเข้ามาใส่ศพนางนั้นออกไปทางประตูพระราชวังข้างท้ายสนมนั้นเนือง ๆ และประตูนั้นก็เรียกว่า ประตูผีออก มีมาตราบเท่าทุกวันนี้”

"อยู่มาครั้งหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จด้วยพระชลพาหนะออกไปประพาส ณ เมืองเพชรบุรี และเสด็จไปประทับแรมอยู่ ณ พระราชนิเวศน์ตำบลโตนดหลวง ใกล้ฝั่งพระมหาสมุทร และที่พระตำหนักนี้เป็นที่พระตำหนักเคยประพาสมหาสมุทรมาแต่ก่อนครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตรเป็นเจ้านั้น และสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินก็เสด็จด้วยพระที่นั่งมหานาวาท้ายรถ แล่นไปประพาสในท้องพระมหาสมุทรตราบเท่าถึงตำบลเขาสามร้อยยอด และทรงเบ็ดตกปลาฉลามและปลาอื่นเป็นอันมาก แล้วเสด็จกลับมา ณ ตำหนักโตนดหลวง และเสด็จเที่ยวประพาสอยู่ดังนั้นประมาณ 15 เวร จึ่งเสด็จกลับยังกรุงเทพมหานคร"

พระราชกรณียกิจ

พระเจ้าเสือ มีรับสั่งให้ปฏิสังขรณ์มณฑปสวมรอยพระพุทธบาทสระบุรี ซึ่งสร้างมาแต่ครั้งสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งทำเป็นยอดเดียวชำรุด โปรดฯ ให้สร้างใหม่เป็น 5 ยอด รวมทั้งปฏิสังขรณ์ทั่วทั้งอาราม ต่อมาปี พ.ศ. 2249 เกิดอัสนีบาตต้องยอดมณฑปพระมงคลบพิตร เครื่องบนมณฑป ทรุดโทรมพังลงมาต้องพระศอพระมงคลบพิตรหัก โปรดฯ ให้รื้อเครื่องบนออก ก่อสร้างใหม่แปลงเป็นมหาวิหาร

นอกจากนี้ ยังเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธฉายและสันนิษฐานว่าค้นพบในสมัยพระองค์ และทรงให้มีการปรับปรุงเส้นทางไปยังพระพุทธบาทสระบุรี ให้เดินทางได้สะดวกยิ่งขึ้น

วรรณกรรม

จากคำกล่าวอ้างของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงประทานตรัสอธิบายว่า ในยุคของพระเจ้าเสือ ปรากฏเพียงวรรณกรรม “โคลงกำสรวล” เท่านั้น ซึ่งแต่งโดยกวีผู้มีราชทินนามว่า ศรีปราชญ์ แต่มิใช่ศรีปราชญ์บุคคลที่เป็นบุตรของพระโหราธิบดี

และวรรณกรรมอีกเรื่องหนึ่งที่ปรากฏคือ เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา ซึ่งคาดว่าพระเจ้าเสือแต่งขึ้นสมัยยังเป็นหลวงสรศักดิ์ และคาดว่าอาจแต่งขึ้นเพื่อใช้เพื่อปลุกระดมไพร่พลของอยุธยา เนื่องจากว่าไม่มีทางที่พระมหากษัตริย์พระองด์ใดของอยุธยา จะทรงทำนายความวิบัติของแผ่นดินพระองค์เอง

สวรรคต

พระเจ้าเสืออยู่ในราชสมบัติเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2246 ถึง พ.ศ. 2251 เป็นเวลา 5 ปี สวรรคตเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2251 ขณะพระชนมายุ 47 พรรษา

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง