กระทรวง ว ทยาศาสตร และ เทคโนโลย ว ม ว

วมว. เป็นโครงการที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจัดทำขึ้นเพื่อเร่งส่งเสริมให้มีการจัดการศึกษาที่รองรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในการพัฒนาเป็นนักวิจัยอาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีศักยภาพให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไปในอนาคต กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจด้านการพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ได้เล็งเห็นความจำเป็นของการสร้างฐานกำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศซึ่งในปัจจุบันยังดำเนินการได้ในปริมาณที่น้อยมาก จึงจำเป็นต้องเร่งส่งเสริมให้มีการจัดการศึกษาที่เฉพาะเจาะจง เพื่อรองรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยเริ่มตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยคัดสรรผู้เรียนที่มีศักยภาพสูง เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการพัฒนาอย่างถูกทางและเหมาะสม ส่งเสริมให้อัจฉริยภาพที่มีอยู่เบ่งบานอย่างเต็มที่และได้รับการพัฒนาเป็นนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพอันจะเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต

โครงการ วมว. ระยะที่ 2 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินโครงการ วมว.ในระยะแรกปี พ.ศ. 2551 – 2555 เพื่อเป็นกลไกสนับสนุนการพัฒนาฐานกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยรองรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อบ่มเพาะการพัฒนาเป็นนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักเทคโนโลยีอย่างถูกทางและเหมาะสม ส่งเสริมให้อัจฉริยภาพที่มีอยู่เบ่งบานอย่างเต็มที่และได้รับการพัฒนาเป็นนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพอันจะเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต ต่อมาคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2555 ได้มีมติเห็นชอบให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ดำเนินโครงการ วมว. ระยะที่ 2 ระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ. 2556 – 2565)

2. วัตถุประสงค์/ผลที่คาดว่าจะได้รับ

วัตถุประสงค์ 1. สนับสนุนการสร้างฐานกำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีศักยภาพตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยร่วมมือกับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย 2. สนับสนุนการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และขยายฐานการศึกษาออกไปในวงกว้าง 3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนใหม่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับการส่งเสริมอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างถูกทางและเหมาะสม เพื่อเป็นฐานกำลังคนที่จะพัฒนาไปเป็นนักวิจัยในอนาคต 2. ขยายฐานการศึกษาสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีออกไปในวงกว้าง และนำไปสู่ระบบการผลิตกำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความเข้มแข็ง 3. เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษฯ ระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียน และมหาวิทยาลัย

3. วิสัยทัศน์/พันธกิจ/จุดเน้น

วิสัยทัศน์ เป็นห้องเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของภาคใต้ที่มุ่งพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีทักษะกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมสังคม

พันธกิจ 1. พัฒนาความรู้และทักษะการเป็นนักวิจัย/นักวิทยาศาสตร์ ให้กับนักเรียน 2. พัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่น ๆ ให้กับนักเรียน 3. ส่งเสริมให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ 4. ยกระดับการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์ ของคู่โรงเรียน และโรงเรียนในพื้นที่ 5. พัฒนาทักษะความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้กับนักเรียน

อัตลักษณ์นักเรียนโครงการ วมว. – ม.ทักษิณ 1. มีคุณธรรม จริยธรรมในการดำรงชีวิต 2. มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3. มีทักษะในศตวรรษที่ 21 เช่น ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อเทคโนโลยี และทักษะชีวิตและอาชีพ 4. มีจิตสำนึกสาธารณะ 5. มีความภูมิใจในการเป็นนักเรียน วมว. – ม.ทักษิณ

จุดเน้น จุดเน้นทางวิชาการ (Academic Focus) ของโครงการ วมว. – ม.ทักษิณ คือ นวัตกรรมชุมชน (การใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น) ซึ่งมีผลงานการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น

4. โครงสร้างการบริหาร

4.1 ประวัติผู้บริหารโครงการ 4.2 คณะผู้บริหารโครงการ

5. ฝ่ายวิชาการ

5.1 งานหลักสูตร ลักษณะหลักสูตร หลักสูตรห้องเรียนวิทยาศาสตร์โครงการ วมว. มีลักษณะเป็นโรงเรียนประจำที่มีครูพี่เลี้ยงดูแลใกล้ชิด โดยมหาวิทยาลัยเป็นตัวหลักในการจัดการเรียนการสอน สนับสนุนบุคลากรผู้สอน รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงให้ทั้งครูและนักเรียน และสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีวิธีการสอนที่เป็นรูปแบบเฉพาะของแต่ละมหาวิทยาลัยที่จะหล่อหลอมให้นักเรียนมีความคิดแบบวิทยาศาสตร์ และมุ่งสู่ความเป็นสากล นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรนอกห้องเรียนซึ่งเน้นส่งเสริมการพัฒนาอัจฉริยภาพของนักเรียนรอบด้าน โดยจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้มีความหลากหลายทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน ได้แก่ การศึกษาดูงานนอกสถานที่ การเข้าค่ายวิชาการ การเข้าค่ายปฏิบัติธรรม การฟังบรรยายพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิ กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อให้นักเรียนรู้จักเสียสละต่อส่วนรวม และรู้จักใช้ความสามารถของตนที่มีอยู่ทำประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง