การบร หารท ม งพลเม องเป นศ นย กลาง ค อ

การปฏิวัติฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Révolution française เรวอลูว์ซียง ฟร็องเซ) เริ่มต้นขึ้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1789 เมื่อกองกำลังประชาชนร่วมกันล้มล้างระบอบเก่าเพื่อสถาปนาระบอบใหม่ นำไปสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นระยะเวลาชั่วคราว และแล้วสถาบันกษัตริย์ก็ถูกล้มล้างโดยสมบูรณ์นเดือนกันยายน ค.ศ. 1792 ราชอาณาจักรฝรั่งเศสแปรสภาพเป็นสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่หนึ่ง ตามด้วยการประหารชีวิตพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1793 และความวุ่นวายทางการเมืองที่ยาวนานหลายปี ความวุ่นวายเหล่านี้สิ้นสุดลงเมื่อนายพลนโปเลียนได้ก่อรัฐประหาร 18 บรูว์แมร์ และตั้งตนเองเป็นกงสุลเอกเมื่อพฤศจิกายน ค.ศ. 1799 หลักการหลายประการในปัจจุบันได้ถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยมสมัยใหม่

ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1700 และ ค.ศ. 1789 ประชาชนชาวฝรั่งเศสได้ขยายตัวจาก 18 ล้านคนเป็น 26 ล้านคน นำไปสู่คนว่างงานจำนวนมาก พร้อมกับการเพิ่มขึ้นราคาสิ้นค้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งเกิดมาจากการเก็บเกี่ยวที่แย่มาหลายปี ความทุกข์ยากทางสังคมได้กว้างขวางอย่างมาก ซึ่งนำไปสู่การเรียกประชุมสภาฐานันดรในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1789 ครั้งแรกนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1614 ในเดือนมิถุนายน สภาฐานันดรถูกแปรสภาพเป็นสมัชชาแห่งชาติ ซึ่งทำการขจัดจารีตและรอบอบที่มีอยู่เดิมด้วยมาตรการที่รุนแรง ไม่ว่าการยกเลิกระบอบศักดินาสวามิภักดิ์, การยกเลิกสิทธิ์พิเศษของนักบวช, การยึดศาสนสถานคาทอลิกเป็นของรัฐ, การบังคับให้นักบวชคือผู้ที่รับเงินเดือนจากรัฐ, การให้สิทธิ์เลือกตั้งแก่ผู้ชายฝรั่งเศสถ้วนหน้า เป็นต้น

ประเทศมหาอำนาจอย่างเช่น ออสเตรีย, บริเตนใหญ่ และปรัสเซีย มองว่าการปฏิวัติในฝรั่งเศสเป็นภัยคุกคามต่อราชบัลลังก์ของตนเอง จึงรวมหัวกันกดดันคณะปฏิวัติฝรั่งเศสให้ทำการปล่อยตัวพระเจ้าหลุยส์ แต่ก็ไม่เป็นผล คณะปฏิวัติฝรั่งเศสประหารพระเจ้าหลุยส์ ก่อตั้งสาธารณรัฐที่หนึ่ง และประกาศสงครามกับต่างประเทศ

ในช่วงต้นของการปฏิวัติ อำนาจนิติบัญญัติ-บริหาร-ตุลาการ รวมอยู่ในองค์กรเดียวที่ชื่อว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติ ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มฌีรงแด็ง อย่างไรก็ตาม กลุ่มฌีรงแด็งดำเนินนโยบายหลายประการซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แก่ประชาชน ท้ายที่สุด กลุ่มฌีรงแด็งก็ไม่เหลือพันธมิตร กองกำลังประชาชนร่วมกับนักการเมืองกลุ่มลามงตาญ จึงร่วมมือกันโค่นล้มกลุ่มฌีรงแด็งในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1793 เมื่อกลุ่มลามงตาญครองอำนาจก็เข้าสู่สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัวภายใต้การนำของมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ รัฐธรรมนูญถูกระงับใช้ คณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมกลายเป็นองค์กรที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จ ซึ่งในสมัยดังกล่าว ผู้ถูกกล่าวหาหรือต้องสงสัยว่า "ต่อต้านการปฏิวัติ" จะถูกจับกุมขึ้นศาลอาญาปฏิวัติ และถูกจำคุกหรือถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยเครื่องกิโยติน

ตลอดระยะเวลาหนึ่งปีเศษที่รอแบ็สปีแยร์ครองอำนาจ มีผู้ถูกประหารชีวิตกว่า 16,000 รายในกรุงปารีสและต่างจังหวัด จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า "ปฏิกิริยาเดือนแตร์มีดอร์" ที่นักการเมืองรวมหัวกันออกมติปลดรอแบ็สปีแยร์กลางสภา และออกมติให้จับกุมรอแบ็สปีแยร์และพวก ถือเป็นสิ้นจุดสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว หลังจากนั้น สภาก็ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ค.ศ. 1795 ซึ่งแบ่งแยกอำนาจนิติบัญญัติ-บริหาร-ตุลาการ ออกจากกัน ฝ่ายบริหารมีชื่อว่าคณะดีแร็กตัวร์ แม้ว่าคณะดีแร็กตัวร์ประสบความสำเร็จทางทหาร แต่ต้นทุนสงครามก็ได้นำไปสู่ความซบเซาทางเศรษฐกิจและความแตกแยกภายในประเทศ และแล้วคณะดีแร็กตัวร์ก็ถูกรัฐประหารโดยนายพลนโปเลียน ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นสุดสิ้นสุดของการปฏิวัติฝรั่งเศส

สัญลักษณ์ของการปฏิวัติมากมาย เช่นเพลง ลามาร์แซแยซ และวลี "เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ" (Liberté, égalité, fraternité) ได้ปรากฏขึ้นอีกครั้งในการปฏิวัติอื่น ๆ เช่น การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 ในอีกสองศตวรรษข้างหน้า หลักการสำคัญ เช่น ความเท่าเทียม จะกลายเป็นแรงบันดาลใจให้มีการรณรงค์เพื่อการเลิกทาสและสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป ค่านิยมและสถาบันนั้นมีอิทธิพลต่อการเมืองฝรั่งเศสจนถึงทุกวันนี้ และนักประวัติศาสตร์หลายคนได้ถือว่า การปฏิวัติเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์มวลมนุษย์

สาเหตุ[แก้]

cite book}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)

  • ↑ Paul R. Hanson (23 February 2007). The A to Z of the French Revolution. Scarecrow Press. p. 14. ISBN 978-1-4617-1606-8.
  • Schama 2004, p. 312
  • Munro Price, p. 76 The Fall of the French Monarchy, ISBN 0-330-48827-9
  • Jaques Godechot. "The Taking of the Bastille July 14th, 1789", p. 258. Faber and Faber Ltd 1970.
  • , §Chapter I
  • ↑ Simon Schama, p. 399 Citizens: A Chronicle of the French Revolution, ISBN 0-670-81012-6
  • Schama (1989), p. 403
  • Guy Chaussinand-Nogaret, La Bastille est prise, Paris, Éditions Complexe, 1988, p. 102.
  • François Furet and Mona Ozouf, eds. A Critical Dictionary of the French Revolution (1989), pp. 519–28.
  • , pp. 423–424. ปิยบุตร แสงกนกกุล. ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาปฏิวัติฝรั่งเศส (20) มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 11 - 17 สิงหาคม 2560
  • Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง