การจ ดการส งแวดล อม ค ม อ โรงงาน

ข้อมูลโดย : ส่วนพัฒนาและบริหารระบบสารสนเทศ , ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ดาวน์โหลด

1.สำรวจสภาพแวดล้อมในการทำงานแต่ละพื้นที่ที่มีกิจกรรมการทำงานและปัจจัยเสี่ยง เช่น แสง เสียง ความร้อน สารเคมีอันตราย (Walk Though Survey)

  • สภาพแวดล้อมทางเคมี
  • สภาพแวดล้อมทางกายภาพ
  • สภาพแวดล้อมทางชีวภาพ
  • สภาพแวดล้อมทางการยศาสตร์ (Ergonomics)

กำหนดพื้นที่การทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงานและพารามิเตอร์แต่ละประเภท จำนวนตัวอย่าแบบงพื้นที่ (Area Simple) และตัวอย่างที่ตัวบุคคล (Personal Simple) ที่จะดำเนินการตรวจวัดและประเมินผลเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดตามกฎหมาย, มาตรฐานของสถาบันหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น OSHA, NIOSH, ACGIH

2. การตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน (Working Environmental)

ดำเนินงานตามหลักวิชาการด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม โดยการสำรวจสภาพแวดล้อมในการทำงานเบื้องต้นเพื่อค้นหาสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ กำหนดให้มีการตรวจวัด, วิเคราะห์และประเมินผลเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานตามกฎหมายหรือมาตรฐานตามข้อแนะนำของสถาบันหรือองค์กรที่เป็นที่ยอมรับ จัดทำรายงานให้ข้อคิดเห็นและเสนอแนะเพื่อการควบคุมป้องกันต่อไป

ความร้อน (Heat Stress) ระดับความร้อน WBGT

  • ตรวจวัดด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีคุณลักษณะตามมาตรฐาน ISO 7243 หรือเทียบเท่า เช่น DIM EN 27243
  • ตรวจวัดระดับความร้อน WBGT เฉลี่ยปริมาณที่ผู้ปฏิบัติงานทำงานแห่งเดียวหรือหลายบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมต่างกัน โดยทำการตรวจช่วงระยะเวลา 2 ชั่วโมงที่ร้อนที่สุด
  • ประเมินภาระงานในช่วง 2 ชั่วโมงที่ร้อนที่สุด เป็นงานเบา, งานปานกลาง หรืองานหนัก ตามแนวทางของ OSHA Technical Manual หรือเทียบเท่า เช่น ISO 8996
  • ประเมินผลการตรวจวัดโดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความร้อน และลักษณะความหนัก-เบาของงานกับเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด, มาตรฐานของสถาบันหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง

แสงสว่าง (Light)

  • ตรวจวัดค่าเฉลี่ยความเข้มของแสงสว่างบริเวณพื้นที่ทั่วไปและบริเวณการผลิตภายในสถานประกอบกิจการ ทุก ๆ 2×2 ตารางเมตร
  • ตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างบริเวณที่ผู้ปฏิบัติงานต้องทำงานโดยใช้สายตามองเฉพาะจุด หรือใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน
  • การตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างในสถานประกอบกิจการ ใช้เครื่องวัดแสง (Light Meter) มีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรฐาน CIE 1931 (International Commission on Illumination) หรือ ISO/CIE 10527 หรือเทียบเท่า เช่น JIS
  • เปรียบเทียบผลการตรวจวัดกับเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด, มาตรฐานของสถาบันหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง

เสียง (Noise)

  • ตรวจวัดเพื่อประเมินระดับเสียงที่อาจมีผลกระทบต่อระบบการได้ยินของผู้ปฏิบัติงาน และเพื่อให้ทราบประเภทและลักษณะของเสียงใช้ประโยชน์ในการควบคุมป้องกันเสียง เครื่องตรวจวัดระดับเสียงมีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรฐาน IEC 651 Type 2 หรือเทียบเท่า เช่น ANSI S1.4, BS EN 60651, AS/NZS 1259.1 เป็นต้น หรือดีกว่า เช่น IEC 60804, IEC 61672, BS EN 60804, AS/NZS 1259.2 เป็นต้น
  • ระดับเสียงแบบพื้นที่ (Leq 5 นาที) ตรวจวัดเฉพาะเสียงดังต่อเนื่อง (Continuous Noise) แบบคงที่ (Steady-state Noise) เป็นลักษณะเสียงดังต่อเนื่อง มีระดับเสียงเปลี่ยนแปลงไม่เกิน3 dB(A)
  • ระดับเสียงเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน (TWA: Time WeightedAverage) ตรวจวัดระดับเสียงประเภทเสียงดังต่อเนื่องแบบไม่คงที่ (Non-steady Stat Noise) เป็นลักษณะเสียงดังต่อเนื่อง ที่มีระดับเสียงเปลี่ยนแปลงเกินกว่า 10 dB(A) และเสียงดังเป็นช่วง ๆ (Intermittent Noise)
  • ปริมาณเสียงสะสมที่ตัวบุคคล (Noise Dose) เพื่อประเมินเป็นระดับเสียงที่สัมผัสเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน (TWA: Time Weighted Average) เครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม (Noise Dosimeter) มีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรฐานIEC 61252 หรือเทียบเท่า เช่น ANSI S1.25 หรือดีกว่า
  • เสียงกระทบหรือเสียงกระแทก (Impulse or Impact Noise) เพื่อประเมิน การสัมผัสกับระดับเสียงกระทบหรือกระแทกที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นและอันตรายจะเกิดขึ้นกับระบบการได้ยิน ขึ้นกับระดับเสียงและจำนวนครั้งที่สัมผัส ตรวจวัดด้วยเครื่องวัดเสียงกระทบหรือกระแทก (Impulse or Impact Noise Meter) มีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรฐาน IEC 61672 หรือ IEC 60804 หรือเทียบเท่า เช่น ANSI S1.43 หรือดีกว่า
  • ระดับเสียงแบบพื้นที่แยกความถี่ (Sound Pressure Level and Octave band Analyzer) เพื่อประเมินลักษณะของเสียงใช้เป็นข้อมูลในการจัดการควบคุม ป้องกันผลกระทบจากเสียง เครื่องมือวิเคราะห์ความถี่เสียง
  • แผนผังแสดงระดับเสียง (Noise Contour Map) โดยใช้ Software ที่ออกแบบมาสำหรับใช้ในงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ทราบการกระจายตัวของเสียงในรูปแบบของแผนที่เสียงในแต่ละพื้นที่มีเสียงอยู่ระดับใดในภาพรวม เพื่อใช้ในการจัดการควบคุม ป้องกันผลกระทบจากเสียงและจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน

สารเคมี (Chemical Agents)

  1. การตรวจวัดเพื่อประเมินปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีในสภาพแวดล้อมการทำงานในลักษณะของ
  • เส้นใย เช่น ฝุ่นฝ้าย, ฝุ่นแอสเบสตอส
  • ฝุ่นรวม (Total Dust)
  • ฝุ่นขนาดเล็กหายใจเข้าถึงระบบทางเดินหายใจส่วนปลาย (Respirable Dust)
  • ฝุ่นสารพิษ (Toxic Dust) ของสารโลหะหนักต่าง ๆ
  • ก๊าซ (Gas) ที่เป็นของไหลในสภาพวะปกติ
  • ละออง(Mist) เป็นอนุภาคของของเหลวที่เกิดจากการสเปรย์, การชุบ
  • ไอระเหย (Vapour) ที่เกิดจากสารทำละลาย
  • ฟูม (Fume) ที่เกิดจากอนุภาคของของแข็ง

2) การตรวจวัดและวิเคราะห์ระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายทางห้องปฏิบัติการใช้วิธีการเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่เป็นมาตรฐานสากล หรือเป็นที่ยอมรับโดยอ้างอิงวิธีการจากหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ได้แก่

  • NIOSH: The National Institute for Occupational Safety and Health
  • OSHA: Occupational Safety and Health Administration
  • ACGIH: American Conference of Governmental Industrial hygienists
  • JISHA: Japan Industrial Safety and Health Association
  • ISO: International Organization for Standardization
  • สมอ: สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  • ASTM: American Society for Testing and Material

3) เครื่องมือและอุปกรณ์ตรวจวัดและวิเคราะห์สารเคมีอันตรายทางห้องปฏิบัติการ ได้รับการสอบเทียบความถูกต้อง (Calibration)การตรวจสอบและบำรุงรักษาตามบริการของหน่วยงานมาตรฐานอ้างอิง หรือตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตกำหนด

4) ผลการตรวจวัดและวิเคราะห์สารเคมีอันตรายประเมินผลโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2560 หรือเกณฑ์มาตฐาน

  • PEL: Permissible Exposure Limit ตามข้อกำหนดของ OSHA
  • REL: Recommended Exposure Limit ตามข้อเสนอแนะของ NIOSH
  • TLV: Threshold Limit Values ตามข้อเสนอแนะของ ACGIH

3. การตรวจวัดด้านชีวภาพ

การตรวจวิเคราะห์ปริมาณจุลินทรีย์ในอากาศ

  • ปริมาณแบคทีเรียรวม
  • ปริมาณเชื้อรารวม

– เก็บตัวอย่างอากาศด้วยวิธีการใช้เครื่องดูดอากาศให้จุลินทรีย์ในอากาศตกกระทบบนจานอาหารเลี้ยงเชื้อ และนำจานอากาศเลี้ยงเชื้อไปบ่มในตู้อบให้จุลินทรีย์เจริญเติบโตและทำการวิเคราะห์จำนวนต่อไป

– การประเมินผลเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน ตามข้อเสนอแนะของสถาบันหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง

4. การตรวจวัดและประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor Air Quality)

คุณภาพอากาศภายในอาคารที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลกระทบกับสุขภาพอนามัย หรือเกิดอาการเจ็บป่วยของผู้ใช้อาคารจำเป็นจะต้องมีการบริหารจัดการเพื่อควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคารอย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพ

พารามิเตอร์ที่ใช้เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศในอาคาร ได้แก่

  • อุณหภูมิ
  • ความชื่นสัมพัทธ์
  • ความเร็วลม
  • ปริมาณความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
  • ปริมาณความเข้มข้นของคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
  • ปริมาณความเข้มข้นของฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde)
  • ปริมาณความเข้มข้นของไอระเหยอินทรีย์ทั้งหมด (TVOC)
  • ปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นละอองอนุภาคขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM2.5), 10 ไมครอน (PM10)
  • ปริมาณแบคทีเรียรวมในอากาศ
  • ปริมาณเชื้อรารวมในอากาศ

พารามิเตอร์พิเศษเฉพาะพื้นที่ ได้แก่

  • -ปริมาณความเข้มข้นของไนโตรเจนไดออกไซด์(NO2)
  • -ปริมาณความเข้มข้นของโอโซน (O3)
  • -ปริมาณไรฝุ่น (สารก่อภูมิแพ้)
  • -อื่น ๆ

การประเมินผลเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานตามข้อเสนอแนะของสถาบัน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น ASHRAE, SINGAPORE STANDARD Code of practice for indoor air quality for air-conditioned buildings เป็นต้น

5. การประเมินสภาพการทำงานด้านการยศาสตร์ (Ergonomics)

เพื่อประเมินสภาพการทำงานในลักษณะงานต่าง ๆ ทั้งงานในสำนักงาน,ในกระบวนการผลิตหรือกระบวนการทำงานที่มีท่าทางการทำงาน, การใช้ส่วนของร่างกายทำงานไม่เหมาะสมและต่อเนื่องที่อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้ทำงาน เช่น เกิดการเมื่อยตัว, บาดเจ็บกล้ามเนื้อ, เกิดภาระบาดเจ็บสะสมจากการทำงาน เป็นต้น

รูปแบบการประเมินพิจารณาให้เหมาะสมกับลักษณะการทำงาน ได้แก่

  • แบบประเมินท่าทางร่างกายส่วนบน RULA (Rapid Upper Limb Assessment)
  • แบบประเมินท่าทางร่างกายทั้งลำตัว REBA (Rapid Entire Body Assessment)
  • แบบประเมินความเสี่ยงในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ (A proposed RULA for computer users)
  • แบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยวิธีการ ROSA (Rapid Offices Strain Assessment)

ผลการประเมินเพื่อใช้เป็นแนวทางในการควบคุม ป้องกัน และปรับปรุงแก้ไขสภาพการทำงานที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ เจ็บป่วย เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน

6. การตรวจวัดและประเมินสภาพการทำงานในสถานที่อับอากาศ (Inspection&Evaluation in Confine Spaces)

เพื่อตรวจวัดและประเมินสภาพอากาศในที่อับอากาศและลักษณะการทำงานที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายและชีวิตของผู้ปฏิบัติงาน โดยการตรวจประเมิน

  • การเตรียมความพร้อมของการทำงานในที่อับอากาศ
  • ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
  • การตรวจวัดปริมาณออกซิเจน
  • การตรวจวัด % การระเบิด (% LEL)
  • การตรวจวัด % ก๊าซที่ทำให้เกิดการระเบิด

การประเมินผลเปรียบเทียบกับมาตรฐานตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547, มาตรฐานตามข้อกำหนด ของ OSHA หรือตามข้อเสนอแนะของ NIOSH

7. การตรวจวัดและประเมินระบบระบายอากาศและห้องสะอาด

เพื่อประเมินระบบระบายอากาศในพื้นที่การทำงานจัดไว้ให้เหมาะสมมีประสิทธิภาพเพียงพอแต่ละลักษณะงานอย่างไร โดยการตรวจวัดและประเมิน

  1. ระบบระบายอากาศ (Ventilation)
  • การระบายอากาศโดยทั่วไปในพื้นที่การทำงาน, ตรวจวัดความเร็วลมเฉลี่ย, ทิศทางการไหลของอากาศ
  • ตรวจวัดและประเมินประสิทธิภาพของระบบระบายอากาศเฉพาะแห่ง (Local Exhaust Ventilation), ความเร็วลมหน้า Hood, ใน Duct, อัตราการไหลของอากาศ
  • ตรวจวัดและประเมินอัตราการไหลเวียนอากาศ (Air Change per Hour) ในพื้นที่การทำงาน
  • ตรวจวัดและประเมินประสิทธิภาพของตู้ดูดควัน (Fume Hood) ในห้องปฏิบัติการ

การประเมินผลเปรียบเทียบกับมาตรฐาน ภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522, มาตรฐานตามข้อเสนอแนะของ ASHRAE, มาตรฐานตามข้อกำหนดของ OSHA และสถาบันหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง

  1. ห้องสะอาด (Clean Room)
  • ตรวจวัดและประเมินระดับความสะอาดของห้องสะอาด (Clean Room)
  • ตรวจสอบการไหลเวียนของลมสะอาด (Airflow Tests)
  • ตรวจสอบอนุภาคฝุ่นและมวลสารภายในห้องสะอาด (Cleanliness Classification Tests)
  • ตรวจสอบแรงดันอากาศภายในห้องสะอาด (Room Pressurization Test)
  • ตรวจสอบอุณหภูมิและความชื้นภายในห้องสะอาด (Temperature and Humidity Test)

มาตรฐานที่ใช้ประเมินคุณลักษณะของห้องสะอาด

  • มาตรฐาน Federal Standard 209E เช่น Class 100, 1000, 10,000, 100,000
  • มาตรฐาน ISO Standard 14644-1 เช่น ISO Class 5, 6, 7, 8

8. การตรวจวัดและประเมินคุณภาพบรรยากาศทั่วไป

การตรวจวัดและประเมินคุณภาพบรรยากาศทั่วไปเพื่อการเฝ้าระวัง

  • เสียงรบกวน ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง(Leq 24 Hour) และระดับเสียงสูงสุด (Lmax)
  • ระดับเสียงของยานพาหนะ
  • ปริมาณความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 100 ไมครอน (TSP), ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10),ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)
  • ปริมาณสารมลพิษทางอากาศ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์(CS2), ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO),ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2), ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)(0.12 ppm)(0.30 mg/m3), ก๊าซโอโซน (O3)
  • ปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compounds)ในบรรยากาศโดยทั่วไปที่เป็นสารก่อมะเร็ง (carcinogen) และสารที่มิได้เป็นสารก่อมะเร็ง (non-carcinogen) ตามประกาศกรมควงคุมมลพิษ เช่น อะซิทัลดีไฮด์ (Acetaldehyde), อะครอลีน(Acrolein), อะคริโลไนไตรล์(Acrylonitrile), เบนซีน (Benzene), เบนซิลคลอไรด์ (Benzyl Chloride), คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (Carbon Tetrachloride),คลอโรฟอร์ม (Chloroform)และอื่น ๆ

9. การตรวจวัดและประเมินปริมาณสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน

สารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน โดยออกจากปล่อง หรือช่อง หรือท่อระบายอากาศของโรงงานไม่ว่าจะผ่านระบบบำบัดหรือไม่ก็ตาม

การตรวจวัดใช้วิธีการที่องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา(United States Environmental Protection Agency: US-EPA)กำหนดไว้ หรือใช้วิธีตามมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าที่กรมควบคุมมลพิษเห็นชอบ

ปริมาณสารเจือปนที่การตรวจวัดและประเมิน ได้แก่

  • ฝุ่นละออง(Total Suspended Particulate: TSP)
  • โลหะ พลวง (Antimony), สารหนู (Arsenic), ทองแดง (Copper), ตะกั่ว (Lead), ปรอท (Mercury)
  • ก๊าซ คลอรีน (Chlorine), ไฮโดรเจนคลอไรด์ (Hydrogen chloride), กรดกำมะถัน (Sulfuric acid), คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide), ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide), ออกไซด์ของไนโตรเจน (Oxides of Nitrogen)
  • สารระเหยอินทรีย์ ไซลีน (Xylene), ครีซอล (Cresol), และอื่น ๆ
  • การตรวจค่าความทึบแสง (Opacity)

10. การตรวจสอบคุณภาพน้ำ

ตรวจสอบคุณภาพน้ำบริโภค ตามข้อกำหนดของกฎหมายหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น

  • ตามผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค
  • น้ำดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
  • น้ำบาดาลที่ใช้บริโภค
  • ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำประปาดื่มได้สของกรมอนามัย

การตรวจสอบประกอบด้วยคุณลักษณะและดัชนีคุณภาพน้ำที่กำหนดแตกต่างกันไป เช่น

  • ทางกายภาพ

สี (Color), รส (Taste), กลิ่น (Odour),ความขุ่น (Turbidity), ความเป็นกรด-ด่าง (pH)

  • ทางเคมี

ปริมาณสารทั้งหมด (Total solids), คราบกระด้างทั้งหมด (Total dissolved solids),, CI–, F–,

โลหะ Fe, Mn, Cu, Zn, Ca, Mg, Hg

สารเป็นพิษ Hg, Pb, As, Se, Cr, CN, Cd, Ba

  • ทางจุลชีววิทยา Standard Plate Count, MPN, E.coli, Coliform Bacteria, Disease-causing Bacteria

ตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งตามข้อกำหนดของกฎหมายหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น

  • ตามมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
  • มาตรฐานน้ำทิ้งลงบ่อน้ำบาดาล
  • มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด
  • มาตรฐานน้ำทิ้งจากที่ดินจัดสรร
  • มาตรฐานควบคุมการระเหยน้ำทิ้งจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
  • มาตรฐานน้ำทิ้งจากแหล่งเฉพาะอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด

การตรวจสอบประกอบด้วยคุณลักษณะและดัชนีคุณภาพน้ำที่กำหนดแตกต่างกันไปแต่ละมาตรฐาน เช่น

ทางกายภาพ:

ความเป็นกรด-ด่าง (pH), อุณหภูมิ (Temperature),สี (Color)

ทางเคมี:

ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (Total Dissolved Solids), ของแข็งแขวงลอยทั้งหมด(Total Suspended Solids),ปริมาณตะกอนหนัก (Settleable Solids), BOD (Biochemical Oxygen Demand), COD (Chemical Oxygen Demand), ซัลไฟด์ (Sulfide), ไซยาไนด์ (Cyanide: HCN), น้ำมันและไขมัน (Fat, Oil and Grease), TKN, โลหะหนัก: Zn, Cr, As, Cu, Hg, Cd, Ba, Se, Pb, Ni, Mn

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง