การจ ดการโลจ สต กส และโซ อ ปทาน ป.ตร ภาคปกต ม.ราม

บทความนี้จะมาตอบทุกคำถามของน้องๆ ที่สงสัยเกี่ยวกับการเรียนในคณะหรือสาขาทางด้าน "โลจิสติกส์" โลจิสติกส์ คืออะไร? เรียนยังไง เรียนที่ไหน จบไปทำงานอะไรได้บ้าง?

โลจิสติกส์ คืออะไร? อย่างที่น้องๆ หลายคนพอทราบมาบ้างว่า สาขาวิชาโลจิสติกส์ นั้น เกี่ยวข้องกับการจัดการระบบขนส่ง หรือการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ทั้งภาคพื้นดิน ทางเรือ และทางอากาศ แต่โลจิสติกส์ไม่ใช่แค่เรื่องของการขนส่งเท่านั้น สายงานด้านนี้ยังรวมไปถึงกระบวนการ วิธีการ การวางแผนสินค้าคงคลัง การจัดเก็บ ควบคุม การบริหารธุรกิจ รวมถึงต้องเข้าใจเกี่ยวกับการเงิน การตลาดเบื้องต้นในการทำธุรกิจอีกด้วย

เรียนยังไง? เกี่ยวกับอะไรบ้าง? สำหรับคนที่เข้ามาเรียนในสาขาทางด้านโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็นคณะหรือสาขาของมหาวิทยาลัยที่ไหน ในเรื่องหลักสูตร จะได้เจอวิชาหลักคล้ายกัน นั่นคือ น้องๆ ปี 1 จะได้เรียนพื้นฐานวิชาทั่วไป เช่น ธุรกิจ การบริหารจัดการ การตลาด การเงิน ภาษาอังกฤษ แคลคูลัส สถิติ มนุษยศาสตร์ เป็นต้น

ในปีต่อๆ มาจะได้เรียนรายวิชาเฉพาะ เช่น การขนส่งและการกระจายสินค้า วัสดุและการบรรจุภัณฑ์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนอุปสงค์และสินค้าคงคลัง การจัดการโซ่อุปทานเชิงกลยุทธ์ เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโลจิสติกส์ การค้าการจัดการ เป็นต้น และจากนั้นน้องๆ จะได้เรียนการสัมมนาทางโลจิสติกส์ รวมถึงออกสหกิจศึกษาในชั้นปีที่ 4

เผยแพร่: 3 ก.ย. 2557 00:03 โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน/ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - เครือข่ายขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน 8 คน ถูกทหาร จทบ.สุราษฎร์ฯควบคุมตัว ขณะเดินเท้าจากอำเภอดอนสักนำตัวไปควบคุมไว้ที่ค่ายวิภาวดีรังสิต ขณะที่ "อ.ประวีณ จุลภักดี" 1 ใน 8 ที่ถูกควบคุมตัวออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทหารปล่อยตัวเพื่อนทั้ง 8 คนโดยไม่มีเงื่อนไข ด้านกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเตรียมชงเรื่องด่วนเสนอรมว.พลังงาน เพื่อให้รัฐบาลใหม่พิจารณาเจรจาพื้นที่ปิโตรเลียมทับซ้อนไทย-กัมพูชา สัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 และการต่ออายุสัมปทานแหล่งเอราวัณ-บงกชอ่าวไทย ขณะที่กลุ่มจับตาปฏิรูปพลังงานไทยยันต้องชัดเจน 2 เรื่องก่อนเดินหน้าคือ 1.เขตแดน 2.การให้สิทธิ์สำรวจ "สุรชัย"ยันการเจรจามีผลต่อเขตแดนต้องผ่านสนช. อดีตบิ๊กพท.ชม“ธนะศักดิ์”เดินหน้าถกแหล่งพลังงาน

วานนี้ (2 ก.ย.) หลังจากที่เครือข่ายขาหุ้นปฏิรูปพลังงานออกเดินเท้าบนถนนสายสุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช จากพื้นที่ อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อมุ่งหน้าเข้าสู่ อ.กาญจนดิษฐ์ และ อ.เมืองสุราษฎร์ธานี แต่ขณะที่เครือข่ายขาหุ้นปฏิรูปพลังงานเดินเท้าจนเหลือระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตรจะเข้าสู่พื้นที่ อ.กาญจนดิษฐ์ ปรากฏว่ามีทหารพระธรรมนูญ จังหวัดทหารบก (จทบ.) สุราษฎร์ธานี พร้อมเจ้าหน้าที่สารวัตรทหารหลายคนได้เข้ามาควบคุมตัวเครือข่ายขาหุ้นจำนวน 8 คน

ประกอบ 1.ดร.โอภาส ตันฐากูร อดีตนักวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 2.นายประวีณ จุลภักดี ผู้ประสานงานเครือข่ายขาหุ้นฯ สุราษฎร์ธานี อาจารย์มหาวิทยาลัยสุราษฎร์ธานี 3.นายอุดม สีนวล 4.นายวิชชุนัย วิวัฒน์ 5.นายนพดล ยาจิตร์ 6.นายศรเดช คำแก้ว 7.นายอนุวัฒน์ พ่วงเกิด และ 8.นายบุญธรรม ฉวาง โดยทั้งหมดถูกควบคุมตัวที่จังหวัดทหารบกสุราษฎร์ธานี ค่ายวิภาวดีรังสิต ในตัวเมืองสุราษฎร์ธานี

โดยทหารอ้างว่าทั้งหมดกระทำผิดตามประกาศ และคำสั่งของ คสช.ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาเดียวกับที่เครือข่ายขาหุ้นฯจำนวน 11 คนถูกควบคุมตัวไปที่ค่ายเสนาณรงค์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 20 ส.ค.ที่ผ่านมา

นายประวีณ จุลภักดี หนึ่งในเครือข่ายขาหุ้นฯที่ถูกควบคุมตัว เปิดเผยว่าได้รับการแจ้งจากทหารเพียงว่าเป็นการเชิญตัวมาพูดคุย แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ทหารได้นำแบบฟอร์มมารให้ทั้ง 8 คนเซ็นชื่อ ในแบบฟอร์มมีเนื้อหาระบุว่า เราจะต้องไม่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวที่ขัดกับคำสั่ง คสช.อีก โดยขณะนี้ทางเครือข่ายได้กรอกไปเพียงประวัติ และกำลังหารือกันว่าจะเซ็นชื่อยินยอมในคำสั่งดังกล่าวหรือไม่

ด้านนายเอกชัย อิสระทะ ผู้ประสานงานเครือข่ายขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังมีการหารือกับทางเครือข่ายที่เหลือว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป โดยเฉพาะในเรื่องของกิจกรรมว่าหากจะยังมีต่อไป ใครจะเป็นผู้รับไม้ต่อ และยังจะสามารถจัดกิจกรรมนี้ได้ต่อไปหรือไม่ คาดว่าจะรู้ข้อสรุปในวันพรุ่งนี้ (3ก.ย.)

มีรายงานข่าวแจ้งว่า หลังจากทหารพระธรรมนูญ จทบ.สุราษฎร์ธานี และสารวัตรทหารเข้าควบคุมตัวเครือข่ายขาหุ้นทั้ง 8 คนไปไว้ที่จังหวัดทหารบกสุราษฎร์ธานี ค่ายวิภาวดีรังสิต นายประวีณ จุลภักดี ผู้ประสานงานเครือข่ายขาหุ้นฯ สุราษฎร์ธานี อาจารย์มหาวิทยาลัยสุราษฎร์ธานี 1 ใน 8 เครือข่ายขาหุ้นฯที่ถูกควบคุมตัวได้ประกาศอดข้าวประท้วงทันทีตั้งแต่เวลา 12.00 น. โดยจะอดไปจนกว่าทางทหารจะปล่อยตัว

**11 ขาหุ้นปฏิรูปพลังงานออกแถลงการณ์

ขณะที่ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ และนายประสิทธิชัย หนูนวล ตัวแทนเครือข่ายขาหุ้นฯ 11 คนที่ถูกควบคุมตัวเมื่อวันที่ 20 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า "สืบเนื่องจากการที่ฝ่ายทหารได้เข้าควบคุมตัวเครือข่ายขาหุ้นจังหวัดสุราษฎร์ธานีจำนวน 8 คน ซึ่งนำโดย ดร.โอภาส ตันติฐากูร อดีตนักวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในวันนี้ (2 ก.ย.) นับเป็นการใช้อำนาจที่ไม่เหมาะสม ท่ามกลางบรรยากาศการมีรัฐบาลใหม่ที่จะมาทำหน้าที่ในการปฏิรูปประเทศไทย

แม้ว่าประสบการณ์ของคณะ 11 ขาหุ้นปฏิรูปพลังงานที่ถูกควบคุมตัวในวันที่ 20-23 ส.ค.57 ที่ค่ายเสนาณรงค์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาจะได้รับการดูแลทั้งที่พัก อาหาร และมีการให้เกียรติเป็นอย่างดี แต่สิทธิและเสรีภาพที่ถูกนำไปกักขังนั้นเป็นสิ่งที่ทดแทนกันไม่ได้

อย่างไรก็ตาม ในครั้งนั้นเป็นช่วงเวลาที่ยังไม่มีรัฐบาลใหม่ มีแต่เพียง คสช.เท่านั้น การใช้อำนาจรัฐประหารฉบับเต็มภายใต้ข้อสรุปจากการเจรจาที่ว่า "ต่างคนต่างต้องทำหน้าที่" จึงเป็นสิ่งที่พอจะเข้าใจได้ แต่การจับกุม 8 ขาหุ้นสุราษฎร์ธานีในวันนี้ เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีรัฐบาลใหม่แล้วและต้องการบรรยากาศการปฏิรูปจากทุกภาคส่วนแล้ว การจับกุมจึงเป็นการคุกคามต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและบรรยากาศการปฏิรูปที่ต้องการการเปิดกว้างและมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย

เครือข่ายขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน เป็นการรวมตัวอย่างหลวมๆ ของผู้คนที่มีความสนใจด้านการปฏิรูปพลังงาน และมีความเห็นร่วมที่จะขอมีส่วนร่วมในการปฏิรูปพลังงาน เพราะนิยามการปฏิรูปพลังงานนั้นมีการสร้างวาทกรรมมากมายจนอาจบิดเบือนไปจากเจตจำนงของประชาชนได้ ประชาชนต้องการพลังงานสะอาดยั่งยืนและปราศจากมลพิษไม่ใช่การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน

ประชาชนต้องการให้ราคาน้ำมันและก๊าซมีความเป็นธรรมด้วยการจัดสรรผลประโยชน์ที่เป็นธรรมไม่ใช่ให้เอกชนร่ำรวยบนความทุกข์ยากของประชาชน ประชาชนต้องการให้มีการยกเลิกการให้สัมปทานมาใช้ระบบการแบ่งปันผลผลิตเฉกเช่นเดียวกับนานาประเทศในโลก ประชาชนต้องการให้มีการโซนนิ่งแยกพื้นที่ผลิตพลังงานและพื้นที่ผลิตอาหารให้แยกออกจากันไม่ให้มีมลพิษมาปนเปื้อนแหล่งผลิตอาหารของชาติ

ข้อเสนอเหล่านี้เป็นเจตจำนงอันบริสุทธิ์เพื่อผลประโยชน์ของคนในชาติ และกิจกรรมการเดินวันละโยชน์สู่กรุงเทพมหานคร ก็เป็นเพียงกิจกรรมเพื่อนำเสนอข้อเสนอดังกล่าวให้สังคมไทยตื่นตัวเพื่อการยื่นต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติในที่สุด

คณะ 11 ขาหุ้นปฏิรูปพลังงานขอเรียกร้องให้ผู้บังคับการค่ายวิภาวดีรังสิต ปล่อยตัว 8 ขาหุ้นสุราษฎร์ธานีที่ถูกควบคุมตัวโดยไม่มีเงื่อนไขในทันที และเปิดโอกาสให้ขาหุ้นปฏิรูปพลังงานที่ยังมีจิตใจมุ่งมั่นได้ทำหน้าที่ในการเดินวันโยชน์ต่อไปโดยไม่ขัดต่อกฎอัยการศึก ด้วยการเดินไม่เกิน 5 คน เพื่อแสดงเจตนารมณ์การปฏิรูปพลังงานจนถึงกรุงเทพมหานคร

**ก.พลังงานชงเปิดสัมปทานปิโตรฯไทย-เขมร

ด้านนายคุรุจิต นาครทรรพ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า กรมฯเตรียมเสนอเรื่องเร่งด่วนให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนใหม่พิจารณา 3 เรื่องได้แก่ การเจรจาพื้นที่ปิโตรเลียมทับซ้อนไทย-กัมพูชา การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 และการต่ออายุสัมปทานแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติพื้นที่แหล่งเอราวัณและบงกช ที่จะหมดอายุปี 2565-2566 ซึ่งทั้งหมดจะเป็นการสร้างความมั่นคงต่อระบบพลังงานของไทยในอนาคต

"ทั้งหมดรมว.พลังงานก็ต้องเสนอให้รัฐบาลเห็นชอบ ซึ่งการหารือเมื่อเร็วๆนี้ที่เป็นข่าว ไม่ได้หารือรายละเอียดเกี่ยวกับพื้นที่ปิโตรเลียมไทย-กัมพูชาแต่อย่างใดโดยเป็นเพียงการ พูดคุยถึงภาพรวมความร่วมมือในทุกๆ มิติทั้งการค้า คมนาคม รวมถึงพลังงานและพลังงานเองก็ไม่ได้มีเพียงปิโตรเลียมแต่ยังรวมถึงไฟฟ้าด้วย" นายคุรุจิตกล่าว

ทั้งนี้ขั้นตอนการเจรจาพื้นที่ปิโตรเลียมทับซ้อนไทย-กัมพูชา เป็นระดับนโยบายที่รัฐบาลใหม่ และ คสช. จะตัดสินใจในการดำเนินงานและการเจรจาทางกระทรวงต่างประเทศจะเป็นแกนนำในการเจรจาหรือหัวหน้าทีมโดยกระทรวงพลังงานจะเป็นส่วนหนึ่งของทีมดังกล่าวเท่านั้นและการเจรจาต้องวางกรอบแนวทางของฝ่ายไทยเมื่อเสร็จแล้วจึงจะไปเจรจากับรัฐบาลกัมพูชา

สำหรับความต้องการก๊าซธรรมชาติในไทยปี 2557 อยู่ที่ประมาณ 5,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน นำเข้า 20% โดยประเมินกันว่าการผลิตก๊าซฯ ของไทยจะสูงสุดในปี 2558 หลังจากนั้นจะเริ่มน้อยลงหากไม่มีการลงทุนผลิตและสำรวจเพิ่มเติม ในขณะที่ประเทศไทยไม่ได้มีการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่มานาน 7 ปีแล้ว

แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่จะ เสนอเปิดเป็นรูปแบบให้ผลตอบแทนแก่รัฐเพิ่มขึ้น และจะให้เอกชนเสนอผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษให้มากที่สุด ในขณะที่สัญญาของแหล่งเอราวัณบางส่วนและบงกชที่จะหมดอายุในปี 2565-2566 ก็จะกำหนดผลตอบแทนแก่รัฐให้สูงขึ้นจากเดิมที่เป็นสัญญาไทยแลนด์ 1 ผลตอบแทน 60 %ก็จะปรับมาเป็นอย่างน้อย 70% ตามเป็นสัญญาไทยแลนด์ 3 หรือจะเป็นรูปแบบอื่นก็แล้วแต่รัฐบาลใหม่จะพิจารณา

"สัมปทานรอบ 21 คงจะต้องกำหนดเรื่องผลตอบแทนแก่รัฐเพิ่มขึ้นตามเสียงเรียกร้องภาคประชาชน แต่ก็ต้องยอมรับว่าพื้นที่ปิโตรเลียมของไทยเป็นแหล่งเล็กๆ และพบได้ปริมาณต่ำ ซึ่งขึ้นอยู่กับเอกชนจะสนใจหรือไม่ หากไม่ก็คงจะต้องมีการปรับรูปแบบและเปิดสัมทานรอบใหม่อีก" แหล่งข่าวกล่าว

นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและกรรมการกลุ่มจับตาปฏิรูปพลังงาน กล่าวว่า การเจรจาพื้นที่ปิโตรเลียมทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชานั้นเครือข่ายภาคประชาชนได้มีการเสนอภาพรวมต่อพล.อ.ประจิน จั่นตอง หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจคสช.ไปแล้ว และหากมีการเดินหน้าเจรจาจริงก็จะเสนออีกรอบ โดยประเด็นที่รัฐบาลใหม่ควรจะต้องดำเนินการให้ชัดเจนจริงๆ คือ 1. เขตแดน ที่จะต้องชัดเจนว่าจะเป็นอย่างไรแน่ เพราะไม่เช่นนั้นจะเกี่ยวข้องกับอธิบไตยของประเทศ 2. การให้สิทธิสำรวจ โดยทางเครือข่ายภาคประชาชนต้องการให้เป็นระบบแบ่งปันผลผลิต โดยเป็นการรับจ้างผลิตเพื่อให้ปิโตรเลียมที่ได้ตกเป็นของรัฐไม่ใช่ตกเป็นของเอกชนแล้วไทยต้องไปรับซื้อต่อเช่นที่ผ่านมา

"เราได้เสนอหลักการไปแล้วในหลายเวทีในการสัมปทานปิโตรเลียมไม่ว่าจะเป็นรอบใหม่หรือที่ใดๆ ก็ตามที่ไทยมผลประโยชน์ควรจะเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตและให้ผู้ได้สิทธิ์เป็นเพียงการรับจ้างผลิตแล้วจ่ายเป็นปิโตรเลียมให้กับรัฐ" นายอิฐบูรณ์กล่าว

*****เจรจามีผลต่อเขตแดนต้องผ่านสนช.

ด้านนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่า ถ้ามีการเจรจาอะไรที่มีผลต่ออาณาเขต หรือผลประโยชน์ใดๆ ก็ตาม ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฯ ก็จะต้องเสนอเรื่องดังกล่าวต่อ สนช. แต่หลังจากนี้คาดว่า จะมีการตั้งคณะกรรมการประสานงาน (วิป) ของรัฐบาล เพื่อทำงานประสานกับวิปสนช. ซึ่งจะเป็นการทำงานประสานกัน เพราะหากมีประเด็นข้อกฎหมายใดที่มีความแตกต่างกันนั้น วิปทั้งสอง ก็จะมีการทำงานกันเพื่อหาข้อยุติในชั้นวิปทั้งสองฝ่ายก่อน

***พท.ชม“ธนะศักดิ์”เดินหน้าถกแหล่งพลังงาน

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรมว.พลังงานและคณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการปฏิรูปพลังงานว่า สิ่งที่อยากให้คำนึงมากที่สุดคือการหาแหล่งพลังงานอนาคตให้พอเพียงกับการเติบโตของประเทศ

"ต้องขอชื่นชม พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกฯ และรมว.ต่างประเทศที่จะเริ่มเจรจา แหล่งพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยและประชาชนไทยอย่างแน่นอน เพราะจะทำให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานไปอีกอย่างน้อย 30-40 ปี ซึ่งจะช่วยส่งเสริมธุรกิจปิโตรเคมีที่มูลค่ามหาศาลของไทยด้วยทั้งนี้คาดว่ามีแต่รัฐบาลนี้เท่านั้นที่จะสามารถดำเนินการได้สำเร็จจึงขอเป็นกำลังใจให้"

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง