การจ าพรรษาของภ กษ ม ว ธ อย างไร

วันออกพรรษา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันมหาปวารณา เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธแบบไทย-ลาว "วันออกพรรษา" มีสาเหตุเนื่องมาจาก "วันเข้าพรรษา" ที่มีมาแล้วเมื่อวันแรม 1 ค่ำเดือน 8 อันเป็นวันที่พระภิกษุทั้งหลายอธิษฐานใจเข้าอยู่พรรษาครบไตรมาส คือ 3 เดือน ตามพระพุทธบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมค้างคืนนอกสถานที่ที่ท่านตั้งใจอยู่ไว้ เมื่อมีวันเข้าพรรษาก็จำเป็นต้องมีวันออกพรรษา

อ่านข่าว : วันเข้าพรรษา 2566 ประวัติและความสำคัญ

วันออกพรรษา เป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาจำพรรษา 3 เดือนของพระสงฆ์เถรวาท จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 สำหรับวันออกพรรษา ปี 2566 จะตรงกับวันที่ 29 ตุลาคม

ความสำคัญของวันออกพรรษา

วันออกพรรษา คือ วันที่สิ้นสุดระยะการจำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน (นับตั้งแต่วันเข้าพรรษา) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันมหาปวารณา" คำว่า "ปวารณา" แปลว่า อนุญาต หรือ ยอมให้

ในวันออกพรรษานี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรม เรียกว่า มหาปวารณา เป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันได้ เพราะในระหว่างเข้าพรรษา พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข การให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนได้ ทำให้ได้รู้ข้อบกพร่องของตน และยังเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันด้วย

เมื่อพระสงฆ์จำพรรษาครบไตรมาสได้ปวารณาออกพรรษาและได้กรานกฐินแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ หรือข้อยกเว้นพระวินัย 5 ข้อ คือ

  • เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา (ออกจากวัดไปโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งเจ้าอาวาสหรือพระสงฆ์รูปอื่นก่อนได้)
  • เที่ยวไปไม่ต้องถือไตรจีวรครบสำรับ 3 ผืน
  • ฉันคณโภชน์ได้ (โภชนะที่คณะรับนิมนต์ไว้)
  • เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา (ยกเว้นสิกขาบทข้อนิสสัคคิยปาจิตตีย์บางข้อ)
  • จีวรลาภอันเกิดในที่นั้นเป็นของภิกษุ (เมื่อมีผู้มาถวายจีวรเกินกว่าไตรครองสามารถเก็บไว้ได้โดยไม่ต้องสละเข้ากองกลาง)

ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันออกพรรษาที่นิยมปฏิบัติ คือ

ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ

เป็นประเพณีที่นิยมกระทำกันมานานแล้วในวันออกพรรษา ซึ่งเรียกว่า "ตักบาตรเทโว" หรือเรียกชื่อเต็มตามคำพระว่า "เทโวโรหณะ" แปลว่าการหยั่งลงจากเทวโลก หรือการตักบาตรนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตักบาตรดาวดึงส์" และการตักบาตรเทโวนี้ จะกระทำในวันขึ้น 15 เดือน 11 หรือวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ก็ได้

เชื่อว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงสู่โลกหลังจากเสด็จขึ้นไปจำพรรษาอยู่ในดาวดึงส์ถ้วนไตรมาส และแสดงอภิธรรมเทศนาโปรดพระมารดาในเทวโลกนั้นมาตลอดเวลา 3 เดือน เมื่อถึงวันมหาปวารณา คือวันสุดท้ายของการอยู่จำพรรษา จึงเสด็จมายังโลกมนุษย์โดยเสด็จมาทางบันไดสวรรค์ลงที่ประตูเมืองสังกัสสะ อันตั้งอยู่เหนือกรุงสาวัตถี วันที่เสด็จลงจากเทวโลกนั้นเรียกกันว่า “วันเทโวโรหณะ” ตรงกับวันมหาปวารณาเพ็ญเดือน 11 วันนั้นถือกันว่าเป็นวันบุญกุศล ที่สำคัญวันหนึ่งของพุทธบริษัท โบราณเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ”วันพระเจ้าเปิดโลก”

วันรุ่งขึ้นจากวันนั้นเป็นวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 จึงมีการทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ กันเป็นการใหญ่ เพื่อเฉลิมฉลองการเสด็จลงจากเทวโลกของพระพุทธเจ้าโดยพุทธบริษัทได้พร้อมใจกันใส่บาตรแด่พระสงฆ์ที่อยู่ทั้งหมดในที่นั้นกับทั้งพระพุทธองค์ด้วยโดยไม่ได้นัดหมายกันมาก่อนภัตตาหารที่ถวายในวันนั้นส่วนใหญ่เป็นเสบียงกรัง ของตนตามมีตามได้

ปรากฏได้มีการใส่บาตรในวันนั้นแออัดมาก ผู้คนเข้าไม่ถึงพระสงฆ์จึงเอาข้าวสาลีของตนห่อบ้าง ทำเป็นปั้นๆ บ้างแล้วโยนเข้าถวายพระ นี่เองจึงเป็นเหตุหนึ่งที่นิยมทำข้าวต้มลูกโยน เป็นส่วนสำคัญของการตักบาตรเทโวโรหณะ เป็นประเพณีว่าถึงวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 (บางแห่งก็ทำในขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ทุกๆ ปี ควรทำบุญตักบาตรให้เหมือนครั้งดั้งเดิมเรียกว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ จนทุกวันนี้

ในจังหวัดสมุทรปราการจะมีประเพณีรับบัวหรือโยนบัว ซึ่งจัดในวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 11

ประเพณีชักพระ

ทางภาคใต้จะมีประเพณีชักพระ หรือแห่พระ หรือลากพระ จะมีชักพระทางบก และชักพระทางน้ำ โดยจะมีการนำพระพุทธรูปขึ้นเรือแห่ไปตามลำน้ำให้ผู้คนทำบุญ โดยจะเรียกเรือที่ชักพระว่าเรือพนม บางท้องที่จะมีประเพณีโยนดอกบัวถวายเป็นพุทธบูชาด้วย โดยประเพณีชักพระในปัจจุบันมีทั้งบนบกและในน้ำ เรียกว่าเรือพนมทางบกและเรือพนมทางน้ำ (เนื่องจากในปัจจุบันผู้คนนิยมเดินทางทางบก แทนเดินทางทางน้ำอย่างในอดีตที่บ้านเรือนผู้คนอยู่จะตามริมน้ำ จึงเกิดการชักพระทางบกขึ้น) ซึ่งปกติจัดในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11

ประเพณีจุดประทีปคืนวันออกพรรษา

เป็นประเพณีที่จุดเทียนหรือไต้น้ำมัน โดยจะจุดในคืนวันออกพรรษา เป็นรูปต่างๆ ที่มองจากบนฟ้าจะเห็นเป็นรูปหรือข้อความต่างๆ ซึ่งจะเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น ธรรมจักร ดอกบัว ใบโพธิ์ เป็นต้น

เชื่อกันว่าเป็นการจุดไฟถวายเพื่อให้พระพุทธเจ้าทรงทอดพระเนตรเห็นจากสวรรค์ โดยจำลองเหตุการณ์เหมือนเมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากทรงโปรดพุทธมารดา โดยที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาในวันออกพรรษา และจะเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ถึงในเวลาเช้าโดยมีประชาชนมารับเสด็จต่างพากันมาใส่บาตรพระพุทธเจ้า ดังนั้นจึงถือกันว่าในช่วงเวลากลางคืนพระองค์จะยังทรงเสด็จอยู่ระหว่างสวรรค์และโลกมนุษย์ จึงต่างพากันจุดประทีปเพื่อรับเสด็จ

โดยประเพณีชาวไทใหญ่ที่แม่ฮ่องสอน จะมีการจัดขบวนแห่เทียนหลู่เตียนเหง(เทียนพันเล่ม) ประเพณีแห่จองพารา (ปราสาทพระพุทธเจ้า) เพื่อรับเสด็จพระพุทธเจ้า โดยชาวไทใหญ่จะเรียกประเพณีนี้ว่า ปอยออกหว่า หรือ ปอยเหลินสิบเอ็ด วัดพระธาตุดอยเว้า อ.แม่สาย จ.เชียงราย จะมีประเพณีปอยต้นแป๊ก (ต้นเกี้ยะ)

ส่วนทางภาคอีสาน จะมีประเพณีจุดไต้น้ำมัน เป็นเวลา 3 วัน ในวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 11 เรียกว่าการไต้น้ำมันน้อย ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 เรียกว่าการไต้น้ำมันใหญ่ ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 เรียกว่าการไต้น้ำมันล้างหางประทีป

ประเพณีจุดไฟตูมกา ใน จ.ยโสธร, ประเพณีจุดประทีปตีนกาจังหวัดกาญจนบุรี, และหลายพื้นที่ที่ติดแม่น้ำ เช่น จ.หนองคายและนครพนม ก็จะมีประเพณีไหลเรือไฟและลอยกระทงสายหรือที่เรียกอีกอย่างว่าไข่พญานาคในคืนวันออกพรรษา

ประเพณีเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก

การเทศน์มหาชาติ คือ เทศนาเวสสันดรชาดก เป็นบุญพิธีที่นิยมจัดให้มีกันมาแต่โบราณ ส่วนมากจัดให้มีในวัดเป็นหน้าที่ของชาวบ้านและวัดนั้น ๆ จะตกลงร่วมกันจัด ปกตินิยมให้มีหลังฤดูทอดกฐิน ผ่านไปแล้วจนตลอดฤดูหนาว นิยมจัดเป็นงานสองวัน คือ วันเทศน์เวสสันดรชาดกทั้ง 13 กัณฑ์วันหนึ่ง และวันเทศน์จตุราริยสัจจกถา ท้ายเวสสันดรชาดกอีกวันหนึ่ง

วันแรกเริ่มงานด้วยพิธีทำบุญตักบาตรพระทั้งวัด หรือเลี้ยงพระตามจำนวนที่เห็นสมควร แล้วเริ่มเทศน์เวสสันดรชาดก ตามแบบเทศน์ต่อกันไปจนสุด 13 กัณฑ์ ถึงเวลากลางคืนบางแห่งจัดปีพาทย์ประโคมระหว่างกัณฑ์หนึ่ง ๆ ตลอดทั้ง 13 กัณฑ์ด้วย

ประเพณีถวายผ้ากฐินทาน

เป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง นิยมทำกันตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ไปจนถึงกลางเดือน 12 (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 - วันลอยกระทง) คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน แล้วจึงเย็บ เพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมือนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอ เหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว

เช่น ตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ แม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วย ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์ (ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว)

ประเพณีตักบาตรพระร้อย

ประเพณีตักบาตรพระร้อย หรือ ใส่บาตรพระร้อยรูป เป็นบุญประเพณีของชาวประเพณีโดยเฉพาะ ส่วนมากจัดพิธีขึ้นทางน้ำเนื่องด้วยแต่เดิมบ้านอยู่ติดริมน้ำลำคลอง จึงใช้เรือสัญจร พระส่วนมากจึงใช้เรือบิณฑบาต

เนื่องมาแต่ความเชื่อเดิมว่าหลังวันเสด็จลงจากเทวโลก คือวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 หรือวันตักบาตรเทโว พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงนำพระภิกษุสงฆ์จำนวนเป็นร้อยออกบิณฑบาต ชาวประชาจึงหลั่งไหลมาถวายสักการะต้อนรับด้วยดอกไม้และบิณฑบาตทาน จึงมีพิธีตักบาตรเทโวขึ้น แต่ชาวปทุมธานีนิยมกำหนดเอาพระบิณฑบาตจำนวนร้อยรูป จึงเรียกว่า ตักบาตรพระร้อยสืบมา

วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ตรงกับวันอะไร

สรุปว่า "วันออกพรรษา" ตามที่เรียกและเข้าใจกันทั่วไป (และจะกล่าวถึงต่อไปในบทความนี้) คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ส่วน "วันออกพรรษาจริง" ตามพระวินัย คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11.

การจำพรรษาของภิกษุมีวิธีอย่างไร

การจำพรรษาด้วยการอธิษฐานจิต คือ การที่ภิกษุแต่ละรูปไปประชุมกันในอุโบสถ ทำวัตร สวดมนต์ ทำพิธีขอขมากันแล้ว แต่ละรูปจะนั่งกระโหย่งแล้วตั้งจิตอธิษฐานว่า “ข้าพเจ้าจะจำพรรษาในอารามนี้ครบ 3 เดือน” นั้นก็คือ ในระยะเวลา 3 เดือน ภิกษุผู้จำพรรษาจะไม่ไปค้างแรม ณ ที่ใดเลย จะอยู่ประจำที่ในอาราม ที่ตนอธิษฐานจิตนี้

1 พรรษา มี ระยะเวลา กี่ เดือน

คำว่า หนึ่งพรรษา ในแต่ละแห่งมีความหมายต่างกัน คือหนึ่งพรรษา หมายถึง ช่วงเข้าพรรษา ฤดูฝน ๓ เดือน ก็ได้หนึ่งพรรษา หมายถึง ๑ ปีก็ได้ เช่น เวลาที่พระท่านพบกัน ท่านมักจะถามกันว่า ท่านบวชมากี่พรรษาแล้ว ถ้าบวชมา ๑๐ ปี ท่านก็บอกว่า บวชมาแล้ว ๑๐ พรรษา

พิธีออกพรรษา มีความหมายและกําหนดการไว้อย่างไร

วันออกพรรษา เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ที่ร่วมกันในวัดหรือสถานที่ซึ่ง อธิษฐานเข้าตลอดระยะเวลา 3 เดือน ในวันนี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรม ซึ่งเรียกว่า วันมหาปวารณา คือ วันที่พระภิกษุ์สงฆ์ทุกรูปจะอนุญาตให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในเรื่องราวเกี่ยวกับความประพฤติต่างๆ นับตั้งแต่พระสังฆเถระ ได้แก่ พระภิกษุ์ผู้ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง