การหาอ ตราส วนความช น ท อ ณหภ ม ต างๆ

ปฏิกิริยาเคมี หมายถึง การที่สารตั้งต้นเปลี่ยนไปเป็นผลิตภัณฑ์(สารใหม่) เมื่อเวลาผ่านไปปริมาณของสารตั้งต้นจะลดลงขณะที่ปริมาณสารใหม่จะเพิ่มขึ้นจนในที่สุด

ก. ปริมาณสารตั้งต้นหมดไป หรือเหลือสารใดสารหนึ่งและมีสารใหม่เกิดขึ้น เรียกว่า ปฏิกิริยาเกิดสมบูรณ์ (ไม่เกิดสมดุลเคมี) เช่น A + BC จากปฏิกิริยาบอกได้ว่า A และ B หมดทั้งคู่หรือเหลือตัวใดตัวหนึ่ง ขณะเดียวกันจะมีสารC เกิดขึ้น ข. ปริมาณสารตั้งต้นยังเหลืออยู่(ทุกตัว) เกิดสารใหม่ขึ้นมา เรียกว่าปฏิกิริยาเกิดไม่สมบูรณ์(เกิดสมดุลเคมี) ซึ่งจะพบว่า ความเข้มข้นของสารในระบบจะคงที่ (สารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์) อาจจะเท่ากัน มากกว่า หรือน้อยกว่าก็ได้ เช่น สมดุลของปฏิกิริยา A + BC จากปฏิกิริยาบอกได้ว่าทั้งสาร A และ B เหลืออยู่ทั้งคู่ ขณะเดียวกันสาร C ก็เกิดขึ้น จนกระทั่งสมบัติของระบบคงที่ ชนิดของปฏิกิริยาเคมี

  • ปฏิกิริยาเนื้อเดียว (Homogeneous Reaction) หมายถึง ปฏิกิริยาที่สารตั้งต้นทุกตัวในระบบอยู่ในสภาวะเดียวกัน หรือกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น

3H2(g) +N2(g)2NH3(g)

  • ปฏิกิริยาเนื้อผสม (Heterogeneous Reaction) หมายถึง ปฏิกิริยาที่สารตั้งต้นอยู่ต่างสภาวะกันหรือไม่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น

Mg(s) + 2HCl(aq) MgCl(aq) +H2(g)

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี (rate of chemical reaction) หมายถึง ปริมาณของสารใหม่ที่เกิดขึ้นในหนึ่งหน่วยเวลาหรือปริมาณของสารตั้งต้นที่ลดลงในหนึ่งหน่วยเวลา ชนิดของอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

  • อัตราการเกิดปฏิกิริยาเฉลี่ย (average rate) หมายถึง ปริมาณของสารใหม่ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในหนึ่งหน่วยเวลา
  • อัตราการเกิดในปฏิกิริยาขณะใดขณะหนึ่ง (instantaneous rate) หมายถึง ปริมาณของสารที่เกิดขึ้นขณะใดขณะหนึ่งในหนึ่งหน่วยเวลาของช่วงนั้น ซึ่งมักจะหาได้จากค่าความชันของกราฟ

หน่วยของอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

ในแต่ละปฏิกิริยาเมื่อมีการหาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีก็จะมีหน่วยต่างๆกันขึ้นอยู่กับชนิดของสารที่นำมาหาอัตราการเกิดปฏิกิริยา ซึ่งหน่วยของอัตราการเกิดปฏิกิริยาก็คือหน่วยของปริมาณของสารที่เปลี่ยนแปลงในหนึ่งหน่วยเวลาที่ใช้ เช่น ถ้าเป็นสารละลายจะใช้หน่วยความเข้มข้น คือ โมลต่อลิตรต่อวินาที หรือโมล.ลิตร-1วินาที-1 หรือ โมล/ลิตร.วินาที ถ้าเป็นก๊าซ จะใช้หน่วยปริมาตรคือลบ.ซม.ต่อวินาที หรือ ลบ.ดม.วินาที หรือลิตรต่อวินาที ถ้าเป็นของแข็งจะใช้หน่วยน้ำหนักคือกรัมต่อวินาที ซึ่งโดยทั่วไปหน่วยที่ใช้กันมากคือเป็นโมล/ลิตร.วินาที

บทเรียนที่ 2 กฎอัตราและค่าคงที่ของกฎอัตรา

กฎอัตราและค่าคงที่ของกฎอัตรา กฎอัตรากล่าว่า อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเป็นสัดส่วนโดยตรงกับผลคูณของความเข้มข้นของสารตั้งต้นและความเข้มข้นแต่ละค่ามีเลขยกกำลัง ซึ่งแล้วแต่ปฏิกิริยาใดโดยเฉพาะถ้าปฏิกิริยาทั่วไปเป็นดังนี้ aA+bB → cC+dD

ตามกฎดังกล่าวสามารถเขียนให้อยู่ในรูปความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ได้ดังนี้

สมการนี้เรียกว่ากฎอัตรา หรือสมการอัตรา V = อัตราการเกิดปฏิกิริยา k = ค่าคงที่ของอัตรา และเป็นค่าคงที่เฉพาะปฏิกิริยาที่อุณหภูมิคงที่ n,m = เลขยกกำลังความเข้มข้นอาจเป็นจำนวนเต็มบวกหรือเศษส่วนก็ได้

กฎอัตราบอกให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของสารตั้งต้นกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เช่น ถ้ากฎอัตรา คือ V = k[A]2[B]0 แสดงว่าอัตราการเกิดปฏิกิริยาไม่ขึ้นกับความเข้มข้นของสาร B แต่ขึ้นอยู่กับ [A]2 คือถ้าเพิ่ม [A] เป็น 2 เท่า อัตราการเกิดปฏิกิริยา (V) จะเพิ่มขึ้น 22 = 4 เท่า เป็นต้น

ค่า n และ m เป็นค่าที่ได้จากการทดลอง แต่อย่างไรก็ตามบางกรณีอาจทราบค่า n และ m ได้ถ้าปฏิกิริยาใดเกิดขึ้นเพียงขั้นเดียว n และ m จะมีค่าเท่ากับตัวเลขแสดงจำนวนโมลของสารตั้งต้นในสมการที่ดุลแล้ว เช่น ถ้าปฏิกิริยาระหว่าง A และ B เกิดขึ้นเพียงขั้นเดียวดังนี้ 2A + B → C + D กฎอัตราของปฏิกิริยานี้คือ

V = k[A]2 [B]

ในปฏิกิริยา ที่เกิดขึ้นมากกว่า 1 ขั้น ค่า n และ m จะมีค่าไม่เท่ากับตัวเลขแสดงจำนวนโมลของสารในสมการที่ดุลแล้ว ของปฏิกิริยารวม เพราะอัตราการเกิดปฏิกิริยาขึ้นอยู่กับขั้นที่ช้าที่สุดซึ่งเรียกว่า ขั้นกำหนดอัตรา กรณีนี้กฎอัตราจึงต้องพิจารณาจากสมการที่ดุลแล้วของขั้นที่ช้าที่สุด เช่น ปฏิกิริยาระหว่างก๊าซ NO กับก๊าซ H2 เกิดขึ้น 2 ขั้นดังนี้

ขั้นที่ 1 2NO (g) + H2 (g) → N2 (g) + H2O2 (g) เกิดช้า ขั้นที่ 2 H2O2 + H2 (g) → 2H2 O เกิดเร็ว ปฏิกิริยารวมคือ 2NO (g) + 2H2 (g) → N2 (g) + 2H2O (g)

อัตราการเกิดปฏิกิริยาขึ้นอยู่กับขั้นที่ 1 ดังนั้นกฎอัตราของปฏิกิริยานี้คือ

V = k[NO] 2 [H2] ไม่ใช่ V = k[NO]2 [H2]2 คิดจากสมการรวม

วิธีการทดลองหาค่า n,m และกฎอัตรา ในการศึกษาผลของความเข้มข้นของสารตั้งต้นต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีต่างๆ นั้นใช้วิธีการทดลองวัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเป็นชุดๆ โดยในการทดลองแต่ละชุดนั้นให้ความเข้มข้นของสารตั้งต้นที่จะศึกษาเปลี่ยนแปลง ส่วนความเข้มข้นของสารตั้งต้นตัวอื่นๆ รวมทั้งภาวะต่างๆ ให้คงที่ เช่นปฏิกิริยา

NO2 (g) + CO (g) → CO2 (ag) + NO (g) ที่ 430 ๐C เมื่อทำการทดลอง 2 ชุด โดยชุดที่ 1 ให้ความเข้มข้นของ NO2 คงที่ ส่วนชุดที่ 2 ให้ความเข้มข้นของ CO คงที่ ผลการทดลองเป็นดังนี้

จากการทดลองชุดที่ 1 เมื่อเพิ่ม [CO] เป็น 2 เท่า อัตราการเกิดปฏิกิริยา ก็เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าด้วยแสดงว่า n = 1

จากการทดลองชุดที่ 2 เมื่อเพิ่ม [NO2] เป็น 2 เท่าอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าด้วย แสดงว่า m = 1

ดังนั้น[CO]

V = k[NO2][CO] สมการนี้คือกฎอัตรา

การคำนวณหาค่า n,m กฎอัตราและค่าคงที่ของอัตรา

ตัวอย่างจากปฏิกิริยา

2NO(g) + O2 (g) → 2NO2 (g)

ซึ่งเกิดที่ 25 ๐C มีข้อมูลดังต่อไปนี้

จงหา

1. ค่า n 2. ค่า m 3. กฎอัตรา 4. k 5. จงคำนวณหาอัตราเริ่มต้นของการเกิด NO2 ถ้าความเข้มข้นเริ่มต้นของ NO = 0.04 mol dm-3 และความเข้มข้นเริ่มต้นของ O2 = 0.015 mol dm-3

วีธีทำ

1. หาค่า n โดยเลือกการทดลองที่ 3 และการทดลองที่ 4 ซึ่งความเข้มข้นของ O2 คงที่ จากกฎอัตรา V = k[NO]n [O2]m ผลการทดลองที่ 3แทนค่าในสมการทั่วไป 0.021 = k [0.01]n [0.03]m (1) ผลการทดลองที่ 4แทนค่าในการสมการทั่วไป 0.084 = k [0.02]n [0.03]m (2)

สมการ (2) /สมการ (1)

\= 4 = 2n 2 2 = 2n n = 2

2. หาค่า m โดยเลือกการทดลองที่ 1 และการทดลองที่ 2 ซึ่งความเข้มข้นของ NO คงที่

ผลการทดลองที่ 1 แทนค่า ในสมการทั่วไป 0.007 = k[0.01] n [0.01] m (3) ผลการทดลองที่ 2 แทนค่าในสมการทั่วไป 0.014 = k[0.01] n [0.02] m (4)

สมการ (4) / สมการ (3) \= 2 = 2 m m = 1

3. หากฎอัตรา

จาก V = k[NO] n [O 2 ] m เนื่องจาก n = 2 และ m = 1 กฎอัตราคือ V = k [NO] 2 [ O 2 ]

4. หาค่า k

จากV = k[NO]2 [O2]

ใช้ค่าต่างๆ ในการทดลองที่ 1 แทนค่าในกฎอัตรา 0.007 mol dm-3 s-1 k[0.01 mol dm-3 ]2 [0.01 mol dm-3]

K = ค่าคงที่ของอัตรา = 7.0 x 103 dm6 mol-2 s -1

5. อัตราเร็วเริ่มต้นของการเกิด NO2 เมื่อความเข้มข้นเริ่มต้นของ NO = 0.04 mol dm-3 และความเข้มข้นเริ่มต้นของ O2 = 0.015 mol dm-3 จากฎอัตราที่ได้ V = k [NO]2 [O2] K = 7.0 x 103 dm6 mol-2 s -1

บทเรียนที่ 3 ทฤษฎีการชน

หลายๆ คนอาจมีคำถามอยู่ในใจว่า "ปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้อย่างไร" ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ก็พยายามที่จะใช้ทฤษฎีอธิบายการเกิดปฏิกิริยา หนึ่งในทฤษฎีที่อธิบายการเกิดปฏิกิริยาได้ค่อนข้างชัดเจน คือทฤษฎีการชน (collision theory)ซึ่งกล่าวว่า "ปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่ออนุภาคของตัวทำปฏิกิริยา (อะตอม โมเลกุล หรือไอออน ) เกิดการชนกัน ถ้าการชนนั้นมีทิศทางที่เหมาะสมและมีพลังงานมากพอก็จะทำให้พันธะเดิมแตกออกและสร้างเป็นพันธะใหม่ขึ้นมา"ซึ่งทฤษฎีการชนนี้จะอธิบายได้เฉพาะปฏิกิริยาเคมีที่มีสารเข้าทำปฏิกิริยาตั้งแต่สองอนุภาคขึ้นไป โดยอาจเป็นสองอนุภาคที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้

จากทฤษฎีการชนจะสังเกตได้ว่า การชนที่ประสบผลสำเร็จหรือการชนที่ทำให้เกิดสารผลิตภัณฑ์จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญสองอย่าง คือ

1. ทิศทางของการชน (orientation of collision)

2. พลังงานของการชน (energy of collision)

1. ทิศทางของการชน

ตัวอย่างปฏิกิริยาระหว่างโพแทสเซียมอะตอม (K) กับเมทิลไอโอไดด์ (CH3I) ได้เป็นโพแทสเซียมไอโอไดด์ (KI) และอนุมูลเมทิล (CH3)

ปฏิกิริยานี้จะเกิดได้ดีที่สุดเมื่อ K ชนกับ I ในทิศทางที่โมเลกุล CH3I หันด้านอะตอมของ I เข้าหา K โดยตรง ส่วนการชนที่อะตอมของ K ชนกับ CH3นั้นจะเป็นการชนที่เกิดผลิตภัณฑ์น้อยมากหรือแทบจะไม่เกิดเลย ดังนั้นในการศึกษาจลนพลศาสตร์เคมีจึงควรพิจารณาการจัดตัวของโมเลกุลขณะเกิดการชนด้วย

ถ้าจะมองในเรื่องของทฤษฎีการชนแล้ว เราก็คงพอจะมองภาพออกว่า ถ้าสารตั้งต้นเป็นแก๊สหรือของเหลวคงเกิดปฏิกิริยาได้ง่าย เพราะอนุภาคที่เป็นแก๊สหรือของเหลวเคลื่อนที่ได้ง่าย โดยเฉพาะแก๊ส ถ้าเราใช้ความดันช่วยบีบให้อนุภาคเข้ามาชิดกันมากขึ้น ปฏิกิริยาก็จะยิ่งเกิดได้ง่ายมากขึ้น

2. พลังงานของการชน

อนุภาคชนกันในทิศทางที่เหมาะสมแล้วก็ยังไม่เพียงพอ สิ่งที่สำคัญมากกว่านั้นก็คือ พลังงาน เพราะถึงแม้ว่าอนุภาคจะชนกันในทิศทางที่ถูกต้องแต่พลังงานของอนุภาคมีไม่มากเพียงพอ ก็ไม่อาจที่จะเกิดปฏิกิริยาได้

เราได้ทราบมาแล้วว่าการเกิดปฏิกิริยาเคมีย่อมเกี่ยวข้องกับการสลายพันธะเดิมและสร้างพันธะใหม่ ซึ่งการสลายพันธะเดิมต้องใช้พลังงานอย่างแน่นอน พลังงานในที่นี้ก็คือพลังงานที่เราเรียกว่า พลังงานก่อกัมมันต์ (activation energy) นั่นเอง

อนุภาคที่ชนกันต้องมีพลังงานจลน์รวมกันแล้วมีค่าอย่างน้อยเท่ากับพลังงานก่อกัมมันต์ (activation energy, Ea)ซึ่งเป็นพลังงานต่ำที่สุดที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาได้ ถ้ามีพลังงานต่ำกว่านี้ก็จะไม่เกิดปฏิกิริยา แต่ถ้ามีพลังงานจลน์หลังการชนมากกว่าหรือเท่ากับพลังงานก่อกัมมันต์ อนุภาคของสารตั้งต้นที่เข้าชนกันก็จะรวมตัวกันเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนกัมมันต์ (activated complex)ซึ่งสารเชิงซ้อนนี้จะอยู่ตัวได้เพียงชั่วขณะ หลังจากนั้นจะเปลี่ยนไปเป็นสารผลิตภัณฑ์

พิจารณาปฏิกิริยา A + B > C + D

กราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงพลังงานศักย์สำหรับ ก) ปฏิกิริยาคายความร้อน ข) ปฏิกิริยาดูดความร้อน

จากกราฟ

ถ้าสารผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นมีพลังงานต่ำกว่าสารตั้งต้น (สารผลิตภัณฑ์เสถียรกว่าสารตั้งต้น) ในขณะเกิดปฏิกิริยาก็จะมีการคายความร้อนควบคู่ไปด้วย เราจึงเรียกปฏิกิริยาชนิดนี้ว่าปฏิกิริยาคายความร้อน (exothermic reaction)

ถ้าสารผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นมีพลังงานมากกว่าสารตั้งต้น (สารผลิตภัณฑ์เสถียรน้อยกว่าสารตั้งต้น) ในขณะเกิดปฏิกิริยาก็จะมีการดูดความร้อนควบคู่ไปด้วย เราจึงเรียกปฏิกิริยาชนิดนี้ว่าปฏิกิริยาดูดความร้อน (endothermic reaction)

พลังงานก่อกัมมันต์เปรียบเสมือนผนังกั้นอนุภาคที่มีพลังงานต่ำกว่าพลังงานก่อกัมมันต์ไม่ให้เกิดปฏิกิริยา ในปฏิกิริยาทั่วๆ ไป อนุภาคของสารตั้งต้นมักมีจำนวนมาก แต่จะมีจำนวนอนุภาคเพียงบางส่วนที่มีพลังงานจลน์มากพอที่จะข้ามผนังนี้ไปได้ ซึ่งอนุภาคเหล่านี้เป็นอนุภาคที่มีโอกาสชนกันแล้วเกิดปฏิกิริยา

รูปการแจกแจงพลังงานของอนุภาคของแมกซ์เวล-โบลซ์มันน์ (Maxwell-Boltzmann Distribution)

หมายเหตุ : พลังงานก่อกัมมันต์เป็นพลังงานรวมเมื่อโมเลกุลชนกัน ไม่ใช่พลังงานของแต่ละโมเลกุล ดังนั้น โมเลกุลที่มีพลังงานต่ำกว่าEaอาจชนกันแล้วมีพลังงานถึงEaได้

อนุภาคในพื้นที่ใต้กราฟทางด้านขวาของพลังงานก่อกัมมันต์เท่านั้นที่มีโอกาสชนกันแล้วเกิดปฏิกิริยาเพราะเป็นอนุภาคที่มีพลังงานสูง ส่วนอนุภาคในพื้นที่ใต้กราฟทางด้านซ้ายของพลังงานก่อกัมมันต์ซึ่งเป็นอนุภาคส่วนใหญ่จะมีโอกาสชนกันได้แต่ไม่มีพลังงานมากพอที่จะเกิดปฏิกิริยา

ถ้าอนุภาคไม่มีพลังงานมากพอที่จะทำปฏิกิริยา ต้องทำอย่างไร

ก. เปลี่ยนรูปร่างของกราฟให้โย้ไปทางขวามากขึ้น (ทำให้อนุภาคที่มีพลังงานสูงมีมากขึ้น) ข. เปลี่ยนตำแหน่งของพลังงานก่อกัมมันต์ ให้เลื่อนมาทางซ้ายมากขึ้น (ลดพลังงานก่อกัมมันต์ลง)

คำตอบคือถูกทั้งข้อ ก และ ข

ถ้าเราอยากทำให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามข้อ ก หรือ ข จะทำอย่างไร

ข้อ ก เปลี่ยนรูปร่างของกราฟให้โย้ไปทางขวามากขึ้นด้วยการเพิ่มอุณหภูมิ (ดูปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา : อุณหภูมิ) ข้อ ข เปลี่ยนตำแหน่งของพลังงานก่อกัมมันต์ ให้เลื่อนมาทางซ้ายมากขึ้นด้วยการเติมตัวเร่งปฏิกิริยา (ดูปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา: ตัวเร่งปฏิกิริยา)

บทเรียนที่ 4 ปฏิกิริยาอันดับต่าง ๆ

ปฏิกิริยาอันดับหนึ่งและปฏิกิริยาอันดับสองเป็นปฏิกิริยาที่พบมากที่สุด ส่วนปฏิกิริยาอันดับศูนย์ (zero order) นั้นมีไม่มากนัก ปฏิกิริยาอันดับศูนย์เป็นปฏิกิริยาที่ศึกษาได้ง่ายเพราะมีกฎอัตราเป็นดังนี้

r = k[A]0=k

ดังนั้น ปฏิกิริยาชนิดนี้จึงมีอัตราการเกิดคงที่เสมอ ไม่ขึ้นกับความเข้มข้นของสารตั้งต้น

ตัวอย่างการสลายตัวของ NH3บนผิวของโมลิบดีนัม (ตัวเร่งปฏิกิริยา) การเพิ่มความดัน (เพิ่มความเข้มข้น) ของแก๊สไม่ได้ช่วยเพิ่มอัตราการเกิดปฏิกิริยา ซึ่งเราจะเรียกว่า เป็นปฏิกิริยาอันดับศูนย์ (zero-order reaction)

จะเห็นได้ว่า อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะคงที่ตลอดเวลาที่เกิดปฏิกิริยา ถ้าเราเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง [A] กับ t ก็จะได้กราฟเป็นเส้นตรงที่มีความชัน -k

กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง [A] กับ t สำหรับปฏิกิริยาอันดับศูนย์

สำหรับปฏิกิริยาอันดับศูนย์ เราสามารถหาครึ่งชีวิตได้โดยการแทนค่า [A] = [A]0/2 ลงในสมการ จะได้

จะสังเกตได้ว่า ค่าครึ่งชีวิตของปฏิกิริยาอันดับศูนย์แตกต่างจากค่าครึ่งชีวิตของปฏิกิริยาอันดับหนึ่งและอันดับสอง เราจึงสามารถบอกความแตกต่างของปฏิกิริยาอันดับศูนย์จากปฏิกิริยาหนึ่งและอันดับสองโดยใช้ครึ่งชีวิตได้

ปฏิกิริยาอันดับหนึ่ง (first-order reaction)คือ ปฏิกิริยาที่อัตราการเกิดปฏิกิริยาขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารตั้งต้นยกกำลังหนึ่ง

ปฏิกิริยา

อัตราการเกิดปฏิกิริยา

จัดสมการใหม่เป็น

ทำการอินทิเกรตจาก t = 0 ถึง t = t

จะได้ (เมื่อ [A]0เป็นความเข้มข้นของ A ที่เวลา t = 0)

หรือ

ถ้าเราเขียนกราฟของ [A] กับเวลา t จะได้กราฟที่แสดงการลดลงของความเข้มข้นของสารตั้งต้นเมื่อเวลาเปลี่ยนไป

ถ้าเราเขียนกราฟของ ln [A] กับเวลา t จะได้กราฟเป็นเส้นตรงที่มีความชัน - k (k = ค่าคงที่อัตรา) เมื่อเวลาผ่านไป ค่า [A] ก็จะลดลงไปเช่นกัน

กราฟแสดงลักษณะเฉพาะตัวของปฏิกิริยาอันดับหนึ่ง

ก) กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง [A] กับ t ข) กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ln [A] กับ t

จากกราฟ ข) เราก็จะทราบค่าคงที่อัตราจากค่าความชันของกราฟ

จากกราฟ ก) เมื่อปริมาณ [A] ลดลงไปครึ่งหนึ่ง (เริ่มต้น [A]0เหลือ [A]0/2) ณ เวลา t นั้นเราจะเรียกว่าครึ่งชีวิต (half-life, t1/2)ของปฏิกิริยา ซึ่งเป็นค่าคงตัวของปฏิกิริยา และขึ้นอยู่กับค่า k เท่านั้น

ปฏิกิริยาอันดับสอง (second-order reaction)คือ ปฏิกิริยาที่อัตราการเกิดปฏิกิริยาขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารตั้งต้นยกกำลังสอง หรือขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารตั้งต้นสองชนิด แต่ละชนิดยกกำลังหนึ่ง

กรณีที่มีสารตั้งต้นชนิดเดียว

อัตราการเกิดปฏิกิริยา

จากวิธีทางแคลคูลัส จะได้ว่า

กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง 1/[A] กับ t สำหรับปฏิกิริยาอันดับสอง

สำหรับปฏิกิริยาอันดับสอง เราสามารถหาครึ่งชีวิตได้โดยการแทนค่า [A] = [A]0/2 ลงในสมการ จะได้

จะสังเกตได้ว่า ค่าครึ่งชีวิตของปฏิกิริยาอันดับสองมีค่าขึ้นอยู่กับความเข้มข้นเริ่มต้นของสารตั้งต้น ซึ่งแตกต่างจากค่าครึ่งชีวิตของปฏิกิริยาอันดับหนึ่ง เราจึงสามารถบอกความแตกต่างของปฏิกิริยาอันดับหนึ่งและอันดับสองโดยใช้ครึ่งชีวิตได้

กรณีที่มีสารตั้งต้น 2 ชนิดอัตราการเกิดปฏิกิริยา

อันดับรวมของปฏิกิริยานี้เป็นอันดับสอง หรือเราอาจบอกว่า เป็นปฏิกิริยาอันดับหนึ่งเมื่อเทียบกับสาร A หรือ B ก็ไม่ผิด

หมายเหตุ :ในที่นี้จะไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดของปฏิกิริยาที่มีสารตั้งต้นตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป เพราะจะมีความซับซ้อนมาก

เราสามารถที่จะตรวจว่า ปฏิกิริยานั้นๆ เป็นปฏิกิริยาอันดับใดได้ไม่ยากนัก

ถ้าเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ln C (C = ความเข้มข้น) กับเวลา t แล้วได้กราฟเป็นเส้นตรง เราก็บอกได้ทันทีว่า ปฏิกิริยานั้นเป็นปฏิกิริยาอันดับหนึ่ง

ถ้าเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง 1/C (C = ความเข้มข้น) กับเวลา t แล้วได้กราฟเป็นเส้นตรง เราก็บอกได้ทันทีว่า ปฏิกิริยานั้นเป็นปฏิกิริยาอันดับสอง

ในความเป็นจริงแล้วยังมีปฏิกิริยาที่เป็นปฏิกิริยาอันดับสาม (third-order reaction) อยู่ด้วย ซึ่งกฎอัตราของปฏิกิริยาอันดับสามอาจเป็นได้หลายแบบ เช่น

หรือเราจะบอกว่า ปฏิกิริยาเป็นปฏิกิริยาอันดับสองเมื่อเทียบกับสาร [A] หรือเป็นปฏิกิริยาอันดับหนึ่งเมื่อเทียบกับสาร [B] ก็ได้

หมายเหตุ :ปฏิกิริยาอันดับสามมีความซับซ้อนมาก จึงไม่อธิบายในส่วนของรายละเอียด

บทเรียนที่ 5 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา : ธรรมชาติของสารตั้งต้น

สารแต่ละชนิดมีสมบัติในการทำปฏิกิริยาเร็ว - ช้าแตกต่างกัน เช่น

ในบีกเกอร์ทั้งสองใบมีน้ำที่หยดสารละลายฟีนอล์ฟทาลีนเอาไว้แล้ว จะสังเกตได้ว่าน้ำยังคงไม่มีสี (เพราะเหตุใด) ทีนี้ลองใส่ก้อนโลหะโซเดียม (ขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว) และแผ่นโลหะแมกนีเซียม (ขนาด 0.5 x 1.0 cm2) ลงไปซิ

ปฏิกิริยาของโลหะโซเดียม (Na) กับน้ำ (เมื่อมีฟีนอล์ฟทาลีนอยู่)

ปฏิกิริยาของแผ่นโลหะแมกนีเซียม (Mg) กับน้ำ (เมื่อมีฟีนอล์ฟทาลีนอยู่)

สมการการเกิดปฏิกิริยาเป็นดังนี้

ปฏิกิริยาในสองบีกเกอร์ต่างกันที่ใช้ Na หรือ Mgเท่านั้น แสดงว่าอัตราการเกิดปฏิกิริยาขึ้นอยู่กับธรรมชาติของสารตั้งต้น

บอกได้ไหมว่า ทำไมฟีนอล์ฟทาลีนจึงทำให้สารละลายเปลี่ยนเป็นสีชมพูได้

บทเรียนที่ 6 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี (ความเข้มข้นและความดัน)

ปฏิกิริยาส่วนใหญ่เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้น อัตราการเกิดปฏิกิริยาก็มักจะเพิ่มขึ้น มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลเบื้องต้นที่ต้องทราบก็คือ อัตราการเกิดปฏิกิริยาที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้เป็นสัดส่วนกับความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นเสมอไป การที่จะระบุว่าอัตราการเกิดปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงไปเท่าใดได้มาจากการทดลองเท่านั้น

กรณีที่ 1: การเพิ่มความเข้มข้นมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา

การเพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้นในปฏิกิริยาก็เท่ากับการเพิ่มอนุภาคของสารที่เข้าทำปฏิกิริยา เมื่อมีอนุภาคของสารมากขึ้น โอกาสที่จะชนกันแล้วเกิดปฏิกิริยาก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย

ตัวอย่างปฏิกิริยา

ความดัน (pressure)ความเข้มข้นของแก๊สมักจะใช้การเปลี่ยนความดันเพื่อเปลี่ยนแปลงความเข้มข้น ในเมื่อการเปลี่ยนแปลงความดันเปรียบเหมือนกับการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้น ดังนั้นความดันจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา

ทำไมการเพิ่มความดันของแก๊สจึงเหมือนกับการเพิ่มความเข้มข้น

ให้พิจารณาสมการ

ลองเปลี่ยนรูปสมการนี้ใหม่

n คือจำนวนโมล และ V คือปริมาตร ดังนั้น n/V ก็คือความเข้มข้น และพบว่าในเทอม RT จะคงที่ตราบใดที่ T คงที่ เมื่อ n/V คือความเข้มข้น ดังนั้นความดัน (P) จึงเป็นแปรผันตรงกับความเข้มข้น (n/V) นั่นเอง (นักเรียนสามารถศึกษาเรื่องความดันเพิ่มเติมได้ในเรื่อง"แก๊ส")

บทเรียนที่ 7 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฎิกิริยาเคมี (อุณหภูมิ)

การเพิ่มอุณหภูมิเป็นสภาวะที่สามารถเพิ่มการชนได้ เพราะเมื่อเพิ่มอุณหภูมิหรือให้ความร้อนแก่สารในปฏิกิริยา อนุภาคจะมีพลังงานจลน์เพิ่มขึ้น จะเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น ชนกันมากขึ้น โอกาสที่จะชนกันแล้วเกิดปฏิกิริยาก็จะมีมากขึ้น เมื่อเกิดปฏิกิริยามากขึ้นอัตราการเกิดปฏิกิริยาก็เพิ่มขึ้นนั่นเอง

ปฏิกิริยาเคมีโดยทั่วไปเมื่อมีการเพิ่มอุณหภูมิจะส่งผลให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น แต่ในบางปฏิกิริยาอุณหภูมิก็ไม่มีส่วนที่จะทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น เช่น ปฏิกิริยาระหว่างไฮโดรเจนไอออนและไฮดรอกไซด์ไอออนในปฏิกิริยาสะเทิน(neutralization reaction) เป็นต้น

การอธิบายว่าอุณหภูมิเป็นปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา ต้องใช้ทฤษฎีการชน และกราฟการแจกแจงพลังงานของอนุภาคของแมกซ์เวล-โบลซ์มันน์ ดังนี้

การแจกแจงพลังงานของอนุภาคของแมกซ์เวล-โบลซ์มันน์

อนุภาคในพื้นที่ใต้กราฟทางด้านขวาของพลังงานก่อกัมมันต์เท่านั้นที่มีโอกาสชนกันแล้วเกิดปฏิกิริยาเพราะเป็นอนุภาคที่มีพลังงานสูง ส่วนอนุภาคในพื้นที่ใต้กราฟทางด้านซ้ายของพลังงานก่อกัมมันต์ซึ่งเป็นอนุภาคส่วนใหญ่จะมีโอกาสชนกันได้แต่ไม่มีพลังงานมากพอที่จะเกิดปฏิกิริยา ถ้าลองสร้างกราฟการแจกแจงพลังงานของอนุภาคเมื่อให้ความร้อนแก่สารในปฏิกิริยาเปรียบเทียบกับกราฟเดิม จะได้ดังรูป

การแจกแจงพลังงานของอนุภาคเมื่อให้ความร้อนแก่สารในปฏิกิริยา

พบว่ารูปร่างของกราฟเปลี่ยนแปลงไป โดยจะโย้ไปทางขวามากขึ้น โปรดสังเกตว่าเส้นกราฟไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก อนุภาคซึ่งมีโอกาสชนกันได้แต่ไม่มีพลังงานมากพอที่จะเกิดปฏิกิริยาก็ยังเป็นอนุภาคส่วนใหญ่ อนุภาคในพื้นที่ใต้กราฟทางด้านขวาของพลังงานก่อกัมมันต์ที่มีโอกาสชนกันแล้วเกิดปฏิกิริยาก็ยังมีเป็นส่วนน้อย แต่ก็มีจำนวนมากขึ้นเพียงพอที่จะทำให้ปฏิกิริยาเกิดมากขึ้น จนทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้นด้วย ดังจะเห็นได้จากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้ที่อุณหภูมิห้อง มักจะมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 9 - 11oC โดยเฉพาะอย่างยิ่งปฏิกิริยาคายความร้อน การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเพียงเล็กน้อยจะส่งผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาอย่างมากเช่น ปฏิกิริยาระหว่างน้ำ (ที่มีสารละลายฟีนอล์ฟทาลีน) กับโลหะแมกนีเซียมจะเกิดช้ามากที่อุณหภูมิห้อง แต่จะทำปฏิกิริยากับน้ำร้อนได้เร็วขึ้น

ปฏิกิริยาของแผ่นโลหะแมกนีเซียม (Mg) กับน้ำร้อน (เมื่อมีฟีนอล์ฟทาลีนอยู่)

หมายเหตุ :ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องพลังงานก่อกัมมันต์และผลของอุณหภูมิต่อค่าคงที่อัตรา

บทเรียนที่ 8 ตัวเร่งปฏิกิริยา

ตัวเร่งปฏิกิริยา(catalyst) ในบางกรณี การเพิ่มอัตราการเกิดปฏิกิริยาโดยเพิ่มอุณหภูมิหรือความเข้มข้นของสารตั้งต้นอาจไม่เหมาะในเชิงปฏิบัติ วิธีที่เหมาะที่สุดคือ การเติมตัวเร่งปฏิกิริยาลงไป เช่น การเตรียมแก๊สออกซิเจน (O2) จากการเผาโพแทสเซียมคลอเรต (KClO3) จะได ้O2ค่อนข้างช้า ถ้าเราเติมแมงกานีสไดออกไซด์ (MnO2) ลงไปด้วย MnO2จะช่วยเร่งให้เกิด O2ได้เร็วขึ้น แต่สุดท้ายแล้วมันเองจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง มีเพียง KClO3เท่านั้นที่เปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ คือ KCl และ O2เราจึงให้ความหมายของตัวเร่งปฏิกิริยาว่าเป็นสารที่ทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาสูงขึ้นโดยที่สารตัวเร่งปฏิกิริยาสามารถกลับคืนสู่รูปเดิมได้ ตัวเร่งปฏิกิริยาอาจจะเข้าทำปฏิกิริยาแล้วเกิดเป็นสารมัธยันตร์ (intermediate) แต่ก็จะกลับคืนรูปเดิมได้ในปฏิกิริยาย่อยขั้นต่อๆ ไป

การอธิบายว่าตัวเร่งปฏิกิริยาเป็นปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา ก็ยังคงต้องใช้ทฤษฎีการชน และกราฟการกระจายอนุภาคของแมกซ์เวล-โบลซ์มันน์เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ดังนี้

การแจกแจงพลังงานของอนุภาคเมื่อไม่มีตัวเร่งปฏิกิริยา

การแจกแจงพลังงานของอนุภาคเมื่อมีตัวเร่งปฏิกิริยา

รูปแรกเราคงคุ้นเคยกันดีแล้ว ส่วนรูปที่สองเป็นกราฟการแจกแจงพลังงานของอนุภาคเมื่อมีตัวเร่งปฏิกิริยา จะสังเกตได้ว่ามีบางอย่างเปลี่ยนไป สิ่งที่เปลี่ยนไปก็คือ ตำแหน่งของพลังงานก่อกัมมันต์เลื่อนมาทางซ้ายมากขึ้น จำนวนอนุภาคทางขวาของพลังงานก่อกัมมันต์มีมากขึ้น จึงเพิ่มโอกาสให้อนุภาคเกิดปฏิกิริยามากขึ้น ดังนั้นการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาจึงทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

โปรดระวังว่าตัวเร่งปฏิกิริยาไม่ได้เป็นตัวลดหรือทำให้พลังงานก่อกัมมันต์ลดลง แต่เป็นวิถี (pathway) หรือเส้นทางเลือกซึ่งมีพลังงานก่อกัมมันต์ต่ำกว่าพลังงานก่อกัมมันต์เดิม ที่กล่าวเช่นนี้ได้ก็เพราะอนุภาคที่มีพลังงานสูง (อยู่แล้ว) ก็ยังสามารถชนกันแล้วเกิดปฏิกิริยาที่สภาวะเดิมที่ไม่มีตัวเร่งปฏิกิริยาได้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง