การ น า เข า เคร อง ด ม แอลกอฮอล

กฎหมาย โฆษณา แอลกอฮอล์ อัปเดตปี 2565 ที่ร้านอาหารต้องรู้ ! เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มที่มีการควบคุม มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ทำให้บุคคลทั่วไป รวมถึงร้านอาหาร ต้องระวังอย่างยิ่ง เพราะมีโทษปรับและทำให้ร้านอาหารของเราสะดุดไปชั่วขณะได้ มาทำความเข้าใจ กฎหมายการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก่อนที่จะนำ “เหล้า เบียร์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์” เข้ามาขายในร้านอาหาร

อ่านข้อควรระวังแบบฉบับเข้าใจง่าย ที่ร้านอาหารควรทำความเข้าใจก่อนนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้ามาจำหน่ายในร้านอาหาร เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดและอาจทำผิดกฎหมายโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งกฎหมายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ได้เข้าใจยากหรือน่ากลัวอย่างที่คิด แต่เพียงต้องเข้าใจเจตนาของการ “ห้ามโฆษณา” เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เสียก่อน

กฎหมายการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีผลบังคับใช้ทั้งบุคคลทั่วไป รวมถึง ร้านอาหาร และสถานบันเทิง Hungry Hub ได้รวม กฎหมาย โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แบบฉบับทำความเข้าใจง่าย ลดความสับสนสำหรับร้านอาหาร เคลียร์ชัด

กฎหมาย การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มที่มีการควบคุม มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 กฎหมายได้ระบุข้อความไว้ ว่า

สำหรับบุคคลทั่วไป/ผู้ประกอบการ

ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึง แสดงชื่อ หรือ เครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นั่นหมายความว่า ทั้งบุคคลทั่วไป และผู้ประกอบการร้านอาหาร จะไม่สามารถโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบตรงๆ โจ่งแจ้งได้เลย รวมถึง “การประชาสัมพันธ์” เชิงอวดอ้างสรรพคุณ หรือชักจูงใจให้ดื่มแอลกอฮอล์ ก็ไม่สามารถทำได้เช่นกัน สรุปง่ายๆ ดังนี้

  • x ห้ามโพสต์เห็นยี่ห้อแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะถือเป็นการโฆษณาประชาสัมพันธ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • x ห้ามโพสต์ชักชวนให้ดื่มแอลกอฮอล์
  • x ห้ามโพสต์อวดอ้างสรรพคุณ แม้ะจะไม่มีชื่อแบรนด์ หรือโลโก้ ก็ถือว่าผิดกฎหมาย
  • x ห้ามโพสต์เชิญชวน ชักจูงให้ลอง ไม่ว่าทางตรงและทางอ้อม
  • x ห้ามถ่ายภาพแอลกอฮอล์ที่ไม่มีขายในไทย
  • x ห้ามถ่ายของแถมที่มีโลโก้แอลกอฮอล์

สำหรับผู้ผลิต

ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภท สามารถโฆษณาเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ได้ ตั้งแต่เวลา 22.00-05.00 น. โดยมีข้อบังคับ ดังนี้

  • กระทำการได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม
  • ไม่มีการปรากฏภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • สามารถใช้ภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นๆ
  • ไม่มีข้อความชักจูง เชิญชวน หรืออวดอ่างสรรพคุณ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
  • ให้มีการแสดงข้อความคำเตือนทุกครั้ง และตลอดเวลาขณะที่มีการแสดงภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือภาพสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิต เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เวลาขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

สำหรับการจำหน่าย หรือขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากจะกำหนดอายุผู้ซื้อ 20 ปีขึ้นไป ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้กำหนดเวลาขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็น 2 ช่วงเวลา ดังนี้

  • 11.00 – 14.00 น.
  • 17.00 – 24.00 น.

วันที่ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

  • วันสำคัญทางศาสนา วันมาฆบูชา วันวิสาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา (หรือวันอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์)
  • วันเลือกตั้ง

การจัดส่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านเดลิเวอรี่

การขายเหล้า สุรา และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ มีผลบังคับใช้ห้ามจำหน่ายในเวลาที่กฎหมายกำหนด และ ไม่จัดส่งไปยังสถานที่ที่ห้ามไว้ เช่น วัด , โรงเรียน , สถานที่ราชการ , หอพัก และเขตโรงงาน

ข้อควรระวังสำหรับอื่น ๆ เกี่ยวกับการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

1.ไม่สามารถให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานหรือกิจกรรม รางวัลชิงโชค การแสดง การให้บริการ หรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เพิ่มเติมกับผู้ที่ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

2.ไม่สามารถ ลด แลก แจก แถม หรือ แลกเปลี่ยนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ หรือสิ่งที่เป็นการชักชวนทั้งทางตรงและทางอ้อม

ข้อควรระวัง ที่เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การถ่ายรูปเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

หัวข้อสำคัญที่ทั้งบุคคลทั่วไป รวมถึงร้านอาหาร ผู้ประกอบการต่างๆ ต้องรู้ นั่นคือ การถ่ายรูปเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้านอาหารไม่สามารถถ่ายรูปเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยติดเครื่องหมายการค้า หรือแก้วเครื่องดื่มได้ รวมถึงภาพที่สื่อไปถึงการชักชวน จูงใจให้ซื้อเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นสิ่งที่ร้านอาหารควรหลีกเลี่ยงทั้งการโฆษณาและประชาสัมพันธ์

หรือ ในกรณีที่ลูกค้าถ่ายรูปเครื่องดื่มในเวลาที่ห้ามจำหน่าย ก็อาจทำให้ร้านอาหารเข้าข่ายจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระยะเวลาที่ห้ามจำหน่ายได้

บทลงโทษ หากกระทำผิด

พระราชบัญญัติฯ หมวด 7 บทกำหนดโทษ มาตรา 43 ระบุไว้ว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 32 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บน Facebook

*ข้อสำคัญที่ห้ามเลื่อนผ่าน* สินค้าประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สามารถโฆษณาบน Facebook , Instagram , TIktok หรือ Youtube ได้ เนื่องจากผิดกฎหมายมีผลบังคับใช้ตามประเทศนั้น ๆ หรือหากพูดง่ายๆ เราไม่สามารถโฆษณาบนสื่อออนไลน์ได้เลยนั่นเอง

แล้ว โฆษณา แอลกอฮอล์ แบบไหนที่สามารถทำได้บ้าง ?

อ่านมาถึงตรงนี้ คงเข้าใจกันแล้วว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่สามารถทำการโฆษณาแบบโจ่งแจ้งได้เลย ไม่ว่าจะถ่ายภาพขวด แก้ว กระป๋อง โลโก้แบรนด์ หรือใช้ถ้อยคำที่สื่อไปทางชักชวนให้ดื่มแอลกอฮอล์ แล้วผู้ประกอบการแบบเราๆ จะทำอย่างไรได้บ้าง?

1. โฆษณาตามที่กฎหมายกำหนด

  • (1) ไม่เป็นภาพเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือบรรจุภัณฑ์ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • (2) ไม่มีข้อความอันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณ คุณประโยชน์ คุณภาพของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • (3) ไม่เป็นการชักจูงใจให้มีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม
  • (4) ไม่แสดงให้ปรากฏในรูปแบบ ลักษณะ หรือภาพใดๆ ที่สามารถสื่อให้เห็นหรือทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นภาพของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือภาพบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ช่วงเวลา 05:00 – 22:00 น. ไม่สามารถเผยแพร่ โฆษณา เชิญชวน ให้ซื้อหรืออวดอ้างสรรพคุณ ยกเว้นภาพลักษณ์หรือกิจการของร้านอาหารเท่านั้น
  • ช่วงเวลา 22:00 – 05:00 น. สามารถระบุป้ายกลางแจ้งได้ แต่ต้องระบุคำเตือน “สุราเป็นเหตุทำให้พิการและเสียชีวิตได้” และอื่น ๆ

2.โฆษณาเชิงให้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ โดยไม่แสดงภาพสินค้า

เป็นการกล่าวถึงแอลกฮอล์โดยไม่แสดงโลโก้แบรนด์ สัญลักษณ์สินค้า เป็นเชิงให้ความรู้ ให้ข้อมูล โดยไม่อวดอ้างสรรพคุณ และไม่มีข้อความชักจูงให้ลอง เช่น บทความให้ความรู้ ชนิดของไวน์

3.การถ่ายทอดสดการแสดง งานบอล จากต่างประเทศ โดยเห็นสัญลักษณ์สินค้าได้

เป็นสปอนเซอร์การแข่งขันกีฬา กิจกรรม การแสดง งานบอล จากต่างประเทศ ตัวอย่างที่มักเห็น คือ แบรนด์ใหญ่ๆ อย่าง Chang ที่เป็นผู้สนับสนุนการแข่งขันฟุตบอล เป็นต้น

หากร้านอาหารต้องการโปรโมทเครื่องดื่ม จะต้องเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เช่น เครื่องดื่มม็อกเทล มีหน้าตาสวยงามเหมือนค็อกเทลแต่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เป็นตัวช่วยส่งเสริมการขายที่ได้ผลตอบรับที่ดี และยังเป็นตัวทำกำไรให้กับร้านอาหารได้เป็นอย่างดี ทำความรู้จักม็อกเทลมากขึ้น ได้ที่ : ม็อกเทล – Mocktail เครื่องดื่ม ที่เพิ่มยอดขายให้กับ ร้านอาหาร ได้มากกว่า 30%

การจำหน่ายแอลกอฮอล์สำหรับร้านอาหารและสถานบันเทิง กฎหมายไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพียงทำความเข้าใจ และมีระบบจัดการหน้าร้านให้จำหน่ายตรงตามเวลาที่กฎหมายกำหนด และตรวจสอบการใช้คำโฆษณาก่อนทำการตลาด ประชาสัมพันธ์ ก็ทำให้ร้านอาหารหมดความกังวลในส่วนนี้ไป

อ้างอิง:

  • //workpointtoday.com/explaine-alcohol/
  • //203.157.213.6/nitikarn/lawyerclub/download/seminar/d.pdf

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ Hungry Hub เพื่อเพิ่มโอกาส เพิ่มยอดขายให้ร้านของคุณ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : สำหรับโรงแรม / สำหรับร้านอาหาร

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง