การ ม ประจำเด อน หล ง ข ด มดล ก

ผู้หญิงจำนวนไม่น้อย ที่คงมีคำถามเช่นนี้อยู่ในใจ คุณจะทราบได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่ไข่จะตก? ต้องมีเพศสัมพันธ์กันช่วงไหน? จึงจะมีโอกาสในการตั้งครรภ์สูงสุด

แต่ก่อนจะเริ่มนับวันไข่ตกลองมาทำความเข้าใจกับประจำเดือนกันก่อนค่ะ

ประจำเดือน เกิดจากการลอกตัวของเยื่อบุโพรงมดลูก โดยปกติรอบเดือนจะมาทุก 28 ± 7 วัน นั่นคือบางคนอาจมีรอบเดือนสั้นทุก 21 วันหรือรอบเดือนยาวสุด 35 วัน ระยะเวลาหลังจากไข่ตกจนถึงวันแรกของการมีประจำเดือนจะค่อนข้างคงที่ที่ 14 ± 2 วัน

ดังนั้นรอบเดือนยาวหรือสั้นจึงขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ทำให้ไข่เจริญเติบโตพร้อมปฏิสนธิ คุณควรจดวันแรกที่มีประจำเดือนไว้ทุกครั้ง เพื่อเก็บเป็นข้อมูลในการคาดคะเนวันไข่ตก วันที่ควรมีเพศสัมพันธ์ หรือช่วยในการคุมกำเนิดได้หากไม่ต้องการมีบุตร

ประจำเดือน ถูกควบคุมโดยฮอร์โมน FSH ( Follicle Stimulating Hormone ) และ LH ( Luteinising Hormone ) ซึ่งหลั่งมาจากต่อมใต้สมอง ในช่วงแรกๆของการมีประจำเดือน FSH จะหลั่งออกมามาก เพื่อกระตุ้นให้ไข่ และถุงไข่ ( Follicle ) มีการเจริญเติบโต ครั้งแรกๆจะมีไข่โตขึ้นมาหลายฟอง แต่จะมีไข่เพียง 1 ฟองเท่านั้นที่ถูกคัดเลือกให้มีการเจริญเติบโตต่อไป ส่วนฟองที่เหลือจะฝ่อไม่มีการเจริญต่อ

ในขณะที่ไข่เจริญเติบโต ถุงไข่จะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน ( Estrogen ) ซึ่งทำหน้าที่สร้างเยื่อบุผนังโพรงมดลูก ช่วงกลางรอบเดือนใกล้ไข่ตก ต่อมใต้สมองจะหลั่ง LH ออกมาเป็นจำนวนมาก มีหน้าที่ช่วยให้ไข่เจริญเติบโตเต็มที่พร้อมที่จะปฏิสนธิ ถุงไข่แตกออก ไข่หลุดออกมาจากถุงไข่ ซึ่งเรียกว่า “ ตกไข่ “ นั่นเอง

ไข่จะถูกจับเข้าไปในท่อนำไข่ และถุงไข่ที่ยังคงเหลืออยู่เรียกว่า คอร์ปัสลูเตียม ( Corpus luteum ) จะสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ( Progesterone ) เพื่อเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกให้พร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน

ไข่ที่ตกมาจะเดินทางเข้าสู่ท่อนำไข่ หากมีเชื้ออสุจิเข้าไปพบ จะเกิดการปฏิสนธิและแบ่งตัวเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนจะเดินทางมายังโพรงมดลูกที่เตรียมไว้แล้ว และฝังตัวเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น ใช้เวลาเดินทางเข้าโพรงมดลูก 3 วัน ใช้เวลาฝังตัวในเยื่อบุโพรงมดลูกอีก 3 วัน คอร์ปัสลูเตียมจะทำงานต่อไป แต่หากไม่เกิดการปฏิสนธิ คอร์ปัสลูเตียมจะหยุดสร้างฮอร์โมน เยื่อบุโพรงมดลูกจะลอกหลุดออกมาพร้อมเลือดเป็นประจำเดือน

การนับรอบเดือน

จะนับจากวันแรกของการมีประจำเดือนจนถึงวันแรกของการมีประจำเดือนรอบถัดไป ในผู้หญิงที่มีรอบระดูสม่ำเสมอจึงสามารถคำนวณวันตกไข่ได้

โดยจดวันแรกที่มีประจำเดือน แล้วนับย้อนหลังไปอีก 14 วัน นั่นคือวันที่ไข่ตกในรอบเดือนนั้น หรือง่ายๆก็คือ เกิดการตกไข่ 14 วันก่อนที่จะมีประจำเดือน

เช่น รอบเดือน 28 วัน จะตกไข่วันที่ 14 ของรอบเดือน, รอบเดือน 30 วัน จะตกไข่วันที่ 16 ของรอบเดือน คนที่มีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอมักจะมีปัญหาเรื่องการตกไข่

ปัจจุบันมีชุดทดสอบการตกไข่ โดยตรวจวัดระดับ LH จากปัสสาวะ ในช่วงใกล้ไข่ตก LH จะเพิ่มมากขึ้น และสูงสุดในวันที่ไข่ตก ( LH surge ) จะเกิดแถบสีขึ้นจางๆ แล้วเข้มขึ้นเรื่อยๆ แสดงว่าใกล้จะตกไข่ ขอแนะนำให้มีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้งขึ้นในช่วงนี้ และแถบสีจะจางลงอีกครั้งหลังจากตกไข่ไปแล้ว ซึ่งเป็นวิธีง่ายๆ อาจทำเองดูก่อน ถ้ายังไม่ตั้งครรภ์หรือตรวจไม่พบว่ามีแถบขึ้นแบบไข่ตก ก็ต้องใช้วิธีตรวจเลือดแทน ซึ่งจะให้ความแม่นยำและละเอียดกว่าการตรวจปัสสาวะ

ฮอร์โมนเพศเปลี่ยนแปลงไป หรือบางคนมีระบบสารรับรู้ในเรื่องของอารมณ์ตอบสนองผิดปกติต่อฮอร์โมนเพศที่เปลี่ยนแปลง ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่ ประวัติคนในครอบครัวเป็นPMS หรือ Premenstrual Syndrome(เฉพาะเพศหญิง) หรือมีพื้นอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่าย ฉุนเฉียวง่าย ควบคุมอารมณ์ได้ไม่ดีก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคดังกล่าวได้เช่นกัน

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS - Polycystic Ovary Syndrome) คือ ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ ทำให้ผู้ป่วยมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน แอนโดรเจน และอินซูลินอยู่ในภาวะที่ไม่สมดุล เกิดถุงน้ำขนาดเล็กจำนวนหลายใบอยู่ในรังไข่ ซึ่งอาจเกิดเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ จึงทำให้รังไข่มีขนาดโตขึ้น และส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ สิวขึ้น ขนดก หรือมีบุตรยาก โดยมักพบในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นหลัก

สารบัญ

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ เกิดจากอะไร?

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัดแน่ชัด อาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม เชื้อชาติ สิ่งแวดล้อม หรือหลายๆ ปัจจัยรวมกัน แต่กลไกผิดปกติที่เกิดขึ้นหลัก จะมีดังนี้

  • มีความผิดปกติที่ทำให้เกิดภาวะตกไข่ไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนไม่ปกติ จนนำมาสู่การมีบุตรยาก
  • มีความผิดปกติของระดับหรือการทำงานของฮอร์โมนเพศชาย ทำให้หน้ามัน สิวขึ้นง่าย ขนดก
  • มีความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับขบวนการเผาผลาญน้ำตาล กลูโคสในร่างกาย ทำให้มีความเสียงในการเกิดโรคเบาหวาน

    อาการของภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

ผู้ป่วยภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบมักมีอาการหรือรู้สึกถึงความผิดปกติภายหลังจากมีประจำเดือนครั้งแรก ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยส่วนใหญ่จะแสดงอาการหลักๆ ดังนี้

คือการนำเนื้อเยื่อภายในมดลูกออกเพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยหรือรักษาความผิดปกติที่เกิดจากมดลูก เช่น การมีเลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติ เป็นต้น ทั้งยังอาจใช้สำหรับผู้ที่มีภาวะแท้งบุตร โดยบางครั้งต้องนำชิ้นส่วนรกที่ตกค้างภายในมดลูกออก เพื่อทำความสะอาด และป้องกันการมีเลือดออกที่อาจเกิดขึ้น แพทย์จะใช้เครื่องมือหรือยาเหน็บเพื่อช่วยในการเปิดปากมดลูก และขูดเนื้อเยื่อในมดลูกออกด้วยเครื่องมือขูดเนื้อเยื่อ

ข้อบ่งชี้สำหรับการขูดมดลูก

การขูดมดลูกเพื่อการวินิจฉัย ใช้สำหรับเก็บตัวอย่างเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrium) เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น

  • มีภาวะเลือดออกจากโพรงมดลูกผิดปกติหรือหลังจากหมดประจำเดือน
  • สงสัยว่ามีเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติ

ปกติแล้ว แพทย์มักใช้การตรวจชิ้นเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial Biopsy) กรณีที่ต้องการเก็บเนื้อเยื่อเพียงบางส่วนเพื่อตรวจวิเคราะห์ แต่อาจจำเป็นต้องขูดมดลูกในกรณีที่ปริมาณเนื้อเยื่อจากการเก็บตัวอย่างไม่เพียงพอ นอกจากนี้ อาจมีการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูกร่วมกับการขูดมดลูกด้วย โดยการสอดเครื่องมือเข้าสู่มดลูกเพื่อบันทึกภาพถ่ายภายใน จึงช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นติ่งเนื้อเล็ก ๆ และเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อที่มีความผิดปกติเพื่อนำไปตรวจวินิจฉัยได้

นักพยาธิวิทยาจะนำตัวอย่างเนื้อเยื่อไปตรวจวิเคราะห์โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ ซึ่งสามารถตรวจหาอาการต่าง ๆ ต่อไปนี้

  • มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial Cancer)
  • ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกที่หนาตัวผิดปกติ (Endometrial Hyperplasia)
  • ติ่งเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial Polyp)

การขูดมดลูกเพื่อการรักษา (Therapeutic D and C) คือการขูดเนื้อเยื่อภายในมดลูก ซึ่งใช้กับกรณีต่อไปนี้

  • การมีเลือดออกจากอวัยวะเพศมากหรือนานเกินไป อาจใช้การขูดมดลูกกรณีที่ไม่สามารถรักษาด้วยการใช้ยาได้
  • การรักษาภาวะครรภ์ไข่ปลาอุก (Molar Pregnancy) ภาวะครรภ์ไข่ปลาอุกคือการเกิดเนื้องอกที่รกในครรภ์ ซึ่งสามารถรักษาได้โดยการขูดมดลูก
  • การแท้งบุตร หากเนื้อเยื่อจากครรภ์สามารถหลุดออกมาได้เองทั้งหมด ก็ไม่จำเป็นต้องรับการรักษาเพิ่มเติม แต่ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องเข้ารับการขูดมดลูก เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีเนื้อเยื่อใด ๆ ตกค้างอยู่
  • การทำแท้ง ในกรณีที่กฎหมายอนุญาต และได้รับการพิจารณาว่ามีข้อบ่งชี้ในการทำแท้ง ผู้ทำแท้งอาจต้องเข้ารับการขูดมดลูกเพื่อนำเนื้อเยื่อภายในมดลูกออก
  • การตกเลือดหลังคลอด (Postpartum Hemorrhage) การขูดมดลูกใช้รักษาอาการเลือดออกในปริมาณที่มากเกินไปหลังการคลอดบุตรได้

ข้อจำกัดในการขูดมดลูก

การขูดมดลูกมีข้อจำกัดในกรณีต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าอาจตั้งครรภ์ไม่ควรเข้ารับการรักษาด้วยการขูดมดลูก
  • เนื่องจากการขูดมดลูกต้องทำขณะแยกขา 2 ข้างออกจากกันและใส่เครื่องมือถ่างช่องคลอดแบบปากเป็ด (Speculum) ในช่องคลอด หากผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง หรือมีข้อจำกัดในการแยกขาออก เช่น ข้อสะโพกอักเสบรุนแรง อาจไม่สามารถทำการขูดมดลูกได้

การเตรียมตัวก่อนการขูดมดลูก

การเตรียมตัวในการเข้ารับการขูดมดลูกมีดังต่อไปนี้

  • ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบหากผู้ป่วยสงสัยว่าอาจตั้งครรภ์ กำลังรับประทานยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด มีความผิดปกติเกี่ยวกับเลือด หรือมีประวัติการแพ้ต่าง ๆ
  • ผู้ป่วยบางรายอาจต้องเข้ารับการตรวจเลือดก่อนขูดมดลูก เช่น การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด หรือตรวจการแข็งตัวของเลือด
  • อาจต้องงดดื่มน้ำและรับประทานอาหารเป็นเวลา 1 คืนก่อนเข้ารับหัตถการ
  • แพทย์อาจให้ผู้ป่วยเหน็บยาขยายปากมดลูกก่อนเข้ารับการรักษา 1 วัน เพื่อให้ปากมดลูกกว้างขึ้นและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
  • ผู้ป่วยควรพาผู้ที่ไว้ใจได้มาด้วยเพื่อดูแลหลังทำการขูดมดลูก เนื่องจากฤทธิ์ของยาชา หรือยาสลบอาจทำให้ไม่สามารถกลับบ้านหลังทำการขูดมดลูกได้เพียงลำพัง

ขั้นตอนการรักษา

ผู้ป่วยจะนอนหงาย โดยวางขาทั้ง 2 ข้างแยกออกจากกันบนเตียงตรวจภายในหรือขาหยั่ง ซึ่งมีลักษณะเดียวกับที่ใช้ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap Smear) และอาจต้องใช้ยาสลบ ยาชาเฉพาะจุด หรือยาระงับความรู้สึกผ่านหลอดเลือดดำ โดยขึ้นอยู่กับความแตกต่างของกระบวนการรักษาในผู้ป่วยแต่ละราย จะมีการเฝ้าดูสัญญาณชีพของผู้ป่วยตลอดการรักษา ซึ่งโดยทั่วไปมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. แพทย์จะทำความสะอาดปากมดลูกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และอาจใช้การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก (Hysteroscopy) เพื่อตรวจดูเนื้อเยื่อก่อนเริ่มต้นกระบวนการ
  2. แพทย์จะสอดเครื่องมือถ่างช่องคลอดแบบปากเป็ด เพื่อเปิดผนังช่องคลอดและเข้าถึงปากมดลูก
  3. หลังจากถ่างปากมดลูกแล้ว แพทย์จะสอดเครื่องมือขูดเนื้อเยื่อ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับช้อน และทำการขูดเนื้อเยื่อรอบ ๆ ผนังมดลูกออก
  4. กรณีที่เครื่องมือขูดเนื้อเยื่อไม่สามารถเก็บเนื้อเยื่อออกได้ทั้งหมด แพทย์อาจใช้เครื่องมือสำหรับดูด เพื่อเก็บเนื้อเยื่อที่ตกค้างอยู่
  5. แพทย์จะนำเครื่องมือต่าง ๆ ออกจากร่างกายเมื่อปริมาณตัวอย่างเนื้อเยื่อเพียงพอ หรือเมื่อไม่มีเนื้อเยื่อตกค้างภายในมดลูก และส่งตัวอย่างไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจวิเคราะห์ต่อไป

ขั้นตอนหลังการขูดมดลูก

โดยทั่วไปผู้ป่วยจะพักฟื้นในโรงพยาบาลเป็นเวลา 2-3 ชั่วโมงหลังสิ้นสุดกระบวนการ เพื่อเฝ้าดูอาการที่อาจเกิดขึ้น เช่น การมีเลือดออกจากช่องคลอดในปริมาณมาก ทั้งยังให้ร่างกายสามารถฟื้นตัวจากฤทธิ์ของยาสลบ หรือยาชา ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียนได้

ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ตามปกติหลังการรักษา 1-2 วัน แต่ไม่ควรใช้ผ้าอนามัยแบบสอด สวนล้างอวัยวะเพศ หรือมีเพศสัมพันธ์หากแพทย์ไม่อนุญาต การขูดมดลูกอาจทำให้รอบประจำเดือนเปลี่ยนแปลง หรือเกิดปวดบิดที่ท้องน้อยได้เล็กน้อย ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยยาลดการอักเสบ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟ่น ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการหรือเข้ารับการรักษาอื่น ๆ เพิ่มเติมต่อไป

ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ หากมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีไข้
  • มีการเจ็บปวดที่ท้องน้อยเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องเกิน 48 ชั่วโมง
  • มีเลือดไหลมากจนอาจต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกชั่วโมง
  • มีของเหลวกลิ่นเหม็นไหลออกจากช่องคลอด

ผลการตรวจเนื้อเยื่อ

ผู้ป่วยสามารถสอบถามแพทย์เกี่ยวกับระยะเวลาโดยประมาณในการตรวจวิเคราะห์เนื้อเยื่อได้ โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยที่เข้ารับการขูดมดลูกต้องเข้าพบแพทย์อีกครั้งหนึ่งเพื่อติดตามผล โดยแพทย์จะแจ้งผลการตรวจให้ทราบอีกครั้งว่า ผลเนื้อเยื่อเป็นเซลล์ธรรมดาหรือเซลล์มะเร็งที่จำเป็นต้องรับการรักษาเพิ่มเติม

ความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

โดยทั่วไปการขูดมดลูกมักไม่เป็นอันตราย แต่ในบางกรณีอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ดังนี้

การติดเชื้อหรือมีเลือดออกจากช่องคลอด บางกรณี การขูดมดลูกอาจยังมีเนื้อเยื่อบางส่วนตกค้างอยู่ ซึ่งร่างกายสามารถขับออกมาเองได้โดยไม่เป็นอันตรายใด ๆ แต่หากเกิดการติดเชื้อหรือมีเลือดออกจากช่องคลอดมากขึ้น ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการขูดมดลูกซ้ำอีกครั้งหนึ่ง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง