กำหนดให ผ ทำบ ญช ม หน าท อย างไรบ าง

คำเตือน การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี (CPD)

1. จำนวนชั่วโมงที่ต้องพัฒนาความรู้ต่อเนื่องฯ ผู้ทำบัญชีต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง ภายในวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคมของทุกปี โดยต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการบัญชีไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ภายในวันที่ 30 มกราคมของปีถัดไป ผู้ทำบัญชีมีหน้าที่ - แจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี ประจำปี และ - ยืนยันรายชื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่รับทำบัญชี และสถานภาพการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชี (ที่มีการรับทำบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี)

2. การแจ้ง แจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีพร้อมทั้งยืนยันรายชื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่รับทำบัญชี และสถานภาพการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีฯ ได้ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า www.dbd.go.th > บริการออนไลน์ > ผู้ทำบัญชี > ระบบงาน e-Accountant

3. บทกำหนดโทษ ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และกรณีพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีไม่ครบตามที่กำหนดต้องพัฒนาความรู้ต่อเนื่องฯ ให้ครบจำนวนชั่วโมงตามระยะเวลาที่ขาดหายไป แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 24 ชั่วโมง

กองกำกับบัญชีธุรกิจ โทร. 0 2547 4395 และ 0 2547 4408

อยากเริ่มต้นรับงานบัญชีแต่ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร ขึ้นทะเบียนที่ไหน เตรียมเอกสารอะไรบ้าง สารพัด คำถามของนักบัญชีมือใหม่ที่อยากจะเริ่มต้นรับงานบัญชีแต่ไม่มั่นใจว่าจะเริ่มต้นถูกต้องหรือเปล่า ในบทความนี้เราจะมาแนะนำวิธีการรับงานบัญชี Step-by-Step ว่าควรทำอะไรก่อนหลังและขึ้นทะเบียน ผู้ทำบัญชีมีขั้นตอนยังไงบ้าง

ก่อนอื่นเลยต้องอธิบายกันก่อนว่า คำว่า “นักบัญชี” ในแวดวงนี้มีความหมายกว้าง เพราะอาจจะหมายถึง “นักบัญชีที่ขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชี” หรือนักบัญชีทั่วไปที่เป็นผู้ช่วยผู้ทำบัญชีหรืออยู่ในทีมบัญชีแบบที่ “ไม่ได้ขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชี” กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก็ได้ เนื่องจากปกติแล้ว 1 ธุรกิจก็จะมีคนที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีคนเดียวเท่านั้น

แต่สำหรับใครที่เบื่อการเป็นลูกทีมแล้ว อยากรับบัญชีงานเอง เซ็นรับรองการทำบัญชีเองแบบสวยๆ ก็ทำได้เช่นกัน เพียงแค่ทำตามขั้นตอนนี้ค่ะ

เลือกอ่านได้เลย!

1. เช็กวุฒิการศึกษา

เราจะขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชีได้ ก็ต่อเมื่อเราจบการศึกษาวุฒิระดับอนุปริญญา หรือ ปวส. ทางการบัญชี หรือเทียบเท่าเป็นอย่างน้อย โดยกฎหมายจะแบ่งประเภทงานบัญชีที่เรารับได้ไว้ 2 ประเภทตามวุฒิ

  • ระดับ ปวส. ทางการบัญชี สามารถเป็นผู้ทำบัญชีให้เฉพาะห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัด ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท
  • ระดับปริญญาตรี สามารถเป็นผู้ทำบัญชีให้กิจการได้ทุกประเภท

ถ้าตอนนี้ใครมีประสบการณ์ แต่ว่ายังไม่มีวุฒิ แนะนำว่าหาเวลาไปเก็บวุฒิการศึกษาด้านบัญชีเพิ่มเติม ให้เรียบร้อยเป็นลำดับแรก

2. ต้องมีลูกค้าอย่างน้อย 1 ราย

อาจจะดูย้อนแย้งไปนิดสำหรับการขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชี เพราะว่าถ้าจะขึ้นทะเบียนให้ครบถ้วนทุกกระบวนการ อย่างน้อยเราต้องมีลูกค้า 1 ราย เพื่อมาแจ้งชื่อค่ะ เนื่องจากว่าในขั้นตอนการขึ้นทะเบียน ผู้ทำบัญชีกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าระบุไว้ว่า เราต้องกรอกข้อมูลนิติบุคคลที่เรารับทำบัญชีลงไปด้วยนั่นเองค่ะ

3. ขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชีแบบออนไลน์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ถ้าวุฒิการศึกษาครบ และมีลูกค้าแล้ว 1 ราย เราก็สามารถขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชีได้แล้วผ่านระบบออนไลน์ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่เรียกว่าระบบ e-Accountant ตามขั้นตอนนี้

  • เข้าสู่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • เลือก บริการออนไลน์ > เลือก ผู้ทำบัญชี > ระบบงานผู้ทำบัญชี (e-Accountant)

  • กดยอมรับคำเตือนการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี (CPD) และระบบงานผู้ทำบัญชี (ระบบงาน e-Accountant)

  • กรอกรหัสผู้ทำบัญชี (เลขบัตรประจำตัวประชาชน)

  • เลือกการแจ้งรายละเอียดการทำบัญชีครั้งแรก (ส.บช. 5)

  • เมื่อเข้าระบบงานแจ้งรายละเอียดการทำบัญชีครั้งแรก เราจะพบหน้าจอ “ข้อมูลพื้นฐาน” ดังต่อไปนี้ ให้กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐาน ที่อยู่ วุฒิการศึกษา แล้วก็กด “ถัดไป” ได้เลย

  • กรอกข้อมูลการเป็นสมาชิก หรือขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพ ซึ่งตามกฎหมายกำหนดว่า ผู้ทำบัญชีจะต้องเข้าเงื่อนไขสมาชิก 1 ใน 2 ข้อนี้ แต่ถ้าใครยังไม่ได้เป็นสมาชิกหรือขึ้นทะเบียนกับสภาไว้ก็ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะเราสามารถแจ้งความประสงค์ขอสมัครสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีได้เลย และค่าธรรมเนียมจะอยู่ที่ปีละ 500 บาท
  • จากนั้นตอบคำถามในหัวข้อนอกจากการเป็นผู้ทำบัญชีแล้ว ปัจจุบันประกอบอาชีพ และตอบคำถามในหัวข้อโปรแกรมที่ใช้ในการบันทึกบัญชี

  • เพิ่มฐานะผู้ทำบัญชีและรายละเอียดนิติบุคคล โดยมีให้เราเลือกทั้งหมด 3 ฐานะ คือ
  • ฐานะพนักงานของกิจการ หมายถึง ต้องเป็นพนักงานประจำของบริษัทนั้น และบริษัทแต่งตั้งเป็นผู้ทำบัญชี
  • ฐานะผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ หมายถึง เป็นผู้ทำบัญชีที่ไม่ขึ้น (สังกัด) ภายใต้ผู้ใด
  • ฐานะสำนักงานบริการรับทำบัญชี หมายถึง เป็นผู้ทำบัญชีในสังกัดสำนักงานบริการรับทำบัญชี และสำนักงานบริการมอบหมายให้เป็นผู้ทำบัญชีให้แก่บริษัทลูกค้าของสำนักงาน

  • เพิ่มธุรกิจที่รับทำบัญชี นี่แหละขั้นตอนสำคัญ ที่ตอบคำถามทุกคนว่า ทำไมเราต้องมีลูกค้างานบัญชีเจ้าแรกเอาไว้ก่อน เพราะว่าเราต้องกรอกข้อมูลในขั้นตอนนี้ให้ครบถ้วนนั่นเอง

ถ้าเป็นผู้ทำบัญชี “ฐานะพนักงานของกิจการ” รายชื่อธุรกิจที่รับทำบัญชีจะแสดงให้เนื่องจากได้กรอกข้อมูลตั้งแต่การกรอกข้อมูลในหัวข้อฐานะผู้ทำบัญชีแล้ว

แต่ถ้าเป็นผู้ทำบัญชีใน “ฐานะผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ” และ “ฐานะสำนักงานบริการรับทำบัญชี” ผู้ทำบัญชีต้องแจ้งรายชื่อธุรกิจโดยคลิกที่ปุ่ม เพิ่มรายการ และกรอกรายละเอียดธุรกิจที่รับทำบัญชี ใส่ปีงบการเงิน และวันที่รับทำบัญชีให้ครบถ้วน จากนั้นกด “ยืนยันข้อมูล”

  • แนบเอกสารหลักฐานให้เรียบร้อย

เอกสารที่ต้องแนบทั้งหมด ประกอบด้วย

  1. หลักฐานการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพ (ถ้าเป็นการสมัครครั้งแรกให้พิมพ์ Bill Payment ไปชำระและแนบในระบบได้เลย)
  1. บัตรประชาชน ที่ยังไม่หมดอายุ
  1. ทะเบียนบ้าน ฉบับเป็นปัจจุบัน
  1. วุฒิการศึกษา
  1. รูปถ่ายครึ่งตัว

และที่สำคัญเอกสารทุกหน้า เราต้องรับรองสำเนาโดยเขียนคำว่า สำเนาถูกต้อง พร้อมลายเซ็น และ ชื่อ-นามสกุลตัวบรรจง ของผู้ทำบัญชีให้ชัดเจน

4. ตรวจสอบผลการขึ้นทะเบียน

ถ้ากรอกข้อมูลครบ เอกสารครบ เราก็เพียงแค่รอผลการอนุมัติจากระบบ e-Accountant ได้เลย โดยไม่ต้องเฝ้าหน้าจอให้เมื่อย เพราะว่าถ้าเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเสร็จสิ้น ระบบจะส่งข้อความอีเมลมาถึงเราว่า “...รับแจ้งเป็นผู้ทำบัญชี...” เรียบร้อยแล้ว

ส่วนใครที่ข้อมูลไม่ถูกต้อง อาจจะต้องแก้ไขเพิ่มเติม ระบบก็จะแจ้งรายละเอียดกับเราทางอีเมลด้วยเช่นกัน

หลังจากที่ได้เป็นผู้ทำบัญชีเรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถพิมพ์หนังสือรับรองการเป็นผู้ทำบัญชีจากระบบ e-Accountant ได้ เป็นอันว่าเราเริ่มรับงานบัญชีและเป็นผู้ทำบัญชีแบบสมบูรณ์ 100% แล้ว

เห็นไหมว่า การเริ่มต้นรับงานบัญชีไม่ได้ยากอย่างที่คิด ขอแค่เพียงเรามีวุฒิการศึกษาพร้อม และมีลูกค้าอย่างน้อยสัก 1 ราย ก็ขึ้นทะเบียนทำบัญชีได้สบายๆ เลยละ และที่สำคัญการขึ้นทะเบียนในครั้งนี้ก็จะเป็น “ประตูสู่โอกาส” ให้ทุกคนเริ่มต้นรับลูกค้าคนถัดไปได้อย่างภาคภูมิอีกด้วยค่ะ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง