ขออน ม ต จ างล บเคร องม อทางการแพทย

ธรรมชาติคือแหล่งกำเนิดและเป็นที่พึ่งพิงของทุกชีวิตบนโลก และทรัพยากรธรรมชาติก็เปรียบเป็นสมบัติล้ำค่าของมนุษย์ แต่ยิ่งเกิดการพัฒนาเศรษฐกิจมากขึ้นเท่าไร ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น เรานำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์จนหลงลืมไปว่ามันมีวันหมด ลดน้อย หรือเสื่อมโทรมได้

มนุษย์ทุกคนล้วนมีส่วนในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของทุกคนเช่นกันที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเราควรจะเริ่มต้นจากปลูกฝังความคิดที่ถูกต้องก่อน

ปลูกฝังแนวคิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ตระหนัก

ปัญหาทรัพยากรจะไม่สามารถแก้ไขได้เลยหากไม่มีใคร ‘มองเห็น’ มันก่อน การตระหนักถึงปัญหาจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง เราควรช่วยกันกระจายให้ผู้คนรับรู้เกี่ยวกับปัญหาในวงกว้าง ด้วยการใช้สื่อต่างๆ ทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์

ส่งเสริม

สร้างรากฐานจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมที่มั่นคงด้วยการให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้คน ทั้งเยาวชนและประชาชนทั่วไป ทั้งในสถานศึกษาอย่างโรงเรียน มหาวิทยาลัย รวมถึงระบบเรียนรู้อื่นๆ นอกห้องเรียน ส่งเสริมให้คนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่ตัวเองอาศัยอยู่

สนับสนุน

สนับสนุนโครงการ งานวิจัย หรือการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับด้านสิ่งแวดล้อม แล้วผลักดันให้เกิดการต่อยอดนำไปใช้จริง

9 วิธีอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

“การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ คือ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ได้ประโยชน์สูงสุด” ในขณะเดียวกันเกิดมลพิษน้อยที่สุดด้วย เพื่อให้มีทรัพยากรธรรมชาติใช้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต ในบทความนี้เราแนะนำ 9 วิธีอนุรักษ์ทรัพยากร ดังนี้

1. ประหยัดการใช้สิ่งต่างๆ ในบ้าน

วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับทุกคนทั้งในครัวเรือน หรือในระดับองค์กร เราสามารถลดการใช้ (Reduce) หรือประหยัดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยการใช้เท่าที่จำเป็น ใช้อย่างคุ้มค่า และกำจัดการใช้ที่ไม่จำเป็นหรือมีแนวโน้มที่จะสูญเปล่า แม้จะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่เมื่อร่วมมือกันคนละนิดคนละหน่อยก็สามารถลดการใช้ทรัพยากรได้จำนวนมหาศาล

ตัวอย่าง ลดการใช้น้ำ เปิดใช้เท่าที่จำเป็น ปิดก๊อกน้ำเมื่อไม่ใช้, ลดการใช้ไฟฟ้าด้วยการปรับอุณหภูมิแอร์ให้เหมาะสม, เลือกใช้หลอดไฟประหยัด, ลดใช้จานพลาสติกใช้ครั้งเดียว แก้วกระดาษ หรือกล่องโฟม เป็นต้น

2. ใช้ซ้ำ สำหรับสิ่งของที่สามารถใช้ได้

การใช้ซ้ำ (Reuse) คือ การนำสิ่งของที่ยังใช้ได้กลับมาใช้ซ้ำ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดปริมาณขยะได้จำนวนมาก เพราะสิ่งของบางอย่างสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้มากกว่าหนึ่งครั้ง นอกจากนี้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าใหม่ เราควรพิจารณาก่อนว่าของเก่าที่มีอยู่นั้นสามารถนำกลับมาใช้อีกครั้งได้หรือไม่ และหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง

ตัวอย่าง ใช้ถุงพลาสติกซ้ำ, เขียนซ้ำกระดาษหน้าเดียว, นำกล่องบรรจุภัณฑ์มาใส่ของหรือดัดแปลงใหม่ เป็นต้น

3. รีไซเคิลวัสดุต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การรีไซเคิล (Recycle) หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ คือการนำสิ่งของที่ไม่สามารถใช้ได้แล้วมาผ่านกระบวนการแปรรูปจนเกิดเป็นของสิ่งใหม่ อย่างไรก็ตามวิธีนี้จำเป็นต้องใช้พลังงานในการแปรรูป ดังนั้นจึงต้องเอามาใช้เป็นขั้นตอนสุดท้าย พวกเราช่วยในการรีไซเคิลได้โดยการแยกขยะให้ถูกวิธี

ตัวอย่าง นำกระดาษที่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการรีไซเคิลเพื่อทำเป็นกระดาษแข็ง, ขวดแก้ว, พลาสติก

4. ซ่อมแซมสิ่งที่ชำรุด ถ้าไม่เสียอย่าเพิ่งทิ้ง

สิ่งของบางอย่างเมื่อเกิดการชำรุด หากได้รับการซ่อมแซมเพียงเล็กน้อยก็สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก แถมอายุการใช้งานเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งสามารถลดได้ทั้งค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติด้วย

ตัวอย่าง การซ่อมแซม รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ ไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์ใช้ในบ้านอย่างโต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น

5. ทดแทนวัสดุที่เป็นมลพิษด้วยของจากธรรมชาติ

สิ่งของบางอย่างสร้างมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อม หรือทำให้เกิดการสิ้นเปลือง ซึ่งเราสามารถใช้สิ่งของชนิดอื่นทดแทนได้ นอกจากนี้การปลูกต้นไม้ก็เป็นการทดแทนทรัพยากรที่ถูกใช้ไปอีกวิธีหนึ่ง

ตัวอย่าง ใช้ถุงผ้าแทนถุงกระดาษ, เตรียมแก้วน้ำของตัวเองแทนที่จะใช้ขวดพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง

6. ป้องกันไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย

ขั้นตอนนี้คือการดูแลไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย รวมไปถึงควบคุมและป้องกันของเสียให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด ออกกฎหมายมาบังคับใช้เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากร

ตัวอย่าง การเฝ้าระวังการทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำ คูคลอง การจัดทำแนวป้องกันไฟป่า เป็นต้น

7. ฟื้นฟูทรัพยากรที่สูญเสียไปในเหตุการณ์ต่างๆ

ทรัพยากรธรรมชาติสามารถเสื่อมลงได้จากการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม เก็บเกี่ยวผลผลิตมากเกินไปหรือบ่อยเกินไป จนเกิดมลภาวะตามมา เราจะต้องฟื้นฟูทรัพยากรที่ถูกทำลายให้กลับเป็นปกติ ก่อนจะนำไปใช้ต่อไป ซึ่งขั้นตอนการฟื้นฟูอาจจะกินระยะเวลายาวนานหลายปีเลยทีเดียว

ตัวอย่าง การเข้าร่วมโครงการช่วยปลูกป่า โครงการฟื้นฟูธรรมชาติ

8. เลือกใช้พลังงานและเทคโนโลยีที่ดีต่อโลก

การพัฒนาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นอีกทางเลือกที่ดี หลายๆ เทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถประหยัดการใช้พลังงานได้ เช่น หลอดไฟ LED ประหยัดพลังงาน, โซลาร์ เซลล์ (Solar cell), บ้านประหยัดพลังงาน ควบคุมการเปิด-ปิดไฟผ่านสมาร์ทโฟน เป็นต้น

ตัวอย่าง การใช้หลอดไฟ LED ประหยัดพลังงาน, โซลาร์ เซลล์ (Solar cell), บ้านประหยัดพลังงาน ควบคุมการเปิด-ปิดไฟผ่านสมาร์ทโฟน เป็นต้น

9. ศึกษาต่อยอดเรื่องสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

ปัจจุบันโลกมีเทคโนโลยีและงานวิจัยเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติอยู่มากมาย ข้อมูลบางอย่างอาจเก่าเกินไปหรือไม่ได้การอัปเดต วิธีอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสุดท้าย และสำคัญที่สุดคือการ “ศึกษา” โดยเฉพาะทรัพยากรรอบตัวเรา เมื่อเข้าใจการดำเนินงาน ความเป็นไป และวิธีการจัดการแล้ว ก็จะยิ่งทำให้เราตระหนัก และสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อเข้าสู่หนทางแห่การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้ดีขึ้น

สรุป

เพราะว่าธรรมชาติเชื่อมโยงกับทุกชีวิต การที่เราละเลยกับการอนุรักษ์ทรัพยากรจึงเหมือนเป็นการทำร้ายอีกหลายชีวิตในอนาคต ดังนั้นการอนุรักษ์ทรัพยากรจึงเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของทุกคนที่ต้องช่วยกัน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง