คำสอนท อ อนส ภาพ ม อำนาจในการเปล ยนแปลงมากกว า

เปิดบันทึก ‘101 Visual Journal 2023 : Graphic’ เล่าเบื้องหลังงานภาพกราฟิก โดย ณัฐพล อุปฮาด, พิรุฬพร นามมูลน้อย และวนา ภูษิตาศัย

ปี 2023 เป็นปีที่มีเรื่องต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ทั้ง สงครามรัสเซีย-ยูเครน ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ การเลือกตั้งประเทศไทย A.I. Disruption ภาวะโลกรวนที่สร้างความแปรปรวนอย่างไม่ทัน คาดคิด

ทีมกราฟิกได้ติดตามเรื่องราวมากมายผ่านการอ่านบทความ พร้อมทั้งตีความบทความออกมาเป็นภาพ ครบเครื่องทุกรสทั้ง ภาพโลกที่ผันผวน ภาพการเมืองที่ทรงพลัง ภาพเศรษฐกิจที่ท้าทาย ภาพสะท้อนปัญหาสังคม รวมถึงภาพศิลปะวัฒนธรรมที่ความนิยมแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ

ไม่ว่าเรื่องจะเป็นแบบไหน โจทย์หลักในการทำภาพของพวกเราก็คือ ’ทำอย่างไรให้ภาพสื่อไปถึงใจผู้อ่าน’ แต่การตอบคำถามที่เหมือนจะดูง่ายๆ นั้น ต้องผ่านกระบวนการคิด การตีความบทความที่ซับซ้อน และการเชื่อมโยงประเด็นในทุกแง่มุมอย่างครบถ้วน

จากการทำภาพประกอบกว่าหลายร้อยบทความตลอดทั้งปี นี่คือ 10 ภาพประกอบที่เหล่ากราฟิกภูมิใจ พร้อมเบื้องหลังการตีความของพวกเรา ที่อยากชวนให้ทุกท่านมาร่วมคิดตามไปด้วยกัน

เมื่อเสรีนิยมใหม่โต้มา-สามัญชนสู้ชีวิตกลับ: บทแนะนำเศรษฐศาสตร์การเมืองในชีวิตประจำวันและเสรีนิยมใหม่จากเบื้องล่าง

เรื่อง: ตฤณ ไอยะรา ภาพประกอบ: ณัฐพล อุปฮาด

บทความพูดถึงการต่อสู้ของสามัญชนกับเสรีนิยมใหม่ จึงตีความเป็นภาพจากส่วนหนึ่งของบทความที่กล่าวว่า ‘กลุ่มสามัญชนเหล่านี้ใช้ความสร้างสรรค์และทุนรอนของตนเองในการต่อต้านและปรับเปลี่ยน…’

จึงเป็นที่มาของภาพของการต่อสู้และต่อต้าน ด้วยเท่าที่พละกำลังของตัวเองจะมี

ขาลง ‘กาแฟไทย’ วิกฤตครั้งใหญ่ที่ขมกว่ารสชาติกาแฟ

เรื่อง: อรุณวตรี รัตนธารี ภาพประกอบ: ณัฐพล อุปฮาด

บทความพูดถึงกาแฟไทยมีความนิยมลดลง ทั้งยังมีอุปสรรคมากมาย ทั้งกำแพงภาษีนำเข้า-ส่งออก และต้นทุนที่สูงมากขึ้น จึงเปรียบเปรยเป็นแก้วกาแฟที่กำลังแตก และกาแฟกำลังไหลออกจากแก้ว เพื่อให้สื่อถึงความนิยมลดต่ำลง ความไม่มั่นคงและเปราะบางของกาแฟไทย

อ่านบทความได้ที่: ขาลง ‘กาแฟไทย’ วิกฤตครั้งใหญ่ที่ขมกว่ารสชาติกาแฟ

Gen Z โปรดเป็นมิตรกับองค์กรไว้เถิดจะเกิดผล:

ตลาดแรงงานและโลกของความเป็นมืออาชีพ

เรื่อง: พิมพ์ชนก พุกสุข ภาพประกอบ: ณัฐพล อุปฮาด

‘ความเป็นมนุษย์ในรูปแบบของความให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน ความเป็นมืออาชีพ การสื่อสารด้วยเหตุผลและความเข้าอกเข้าใจ หรือสร้างมิตรภาพระหว่างการทำงานด้วยกัน’ คือส่วนหนึ่งในบทความที่นำมาปรับเป็นภาพประกอบบทความ โดยได้พยายามทำภาพให้สื่อถึงการไม่พยายามสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน ถึงมีเพื่อนร่วมงานพยายามเข้าหา แต่ก็มักจะปิดกั้นตัวเองและไม่เปิดรับสิ่งใดจากองค์กร

อ่านบทความได้ที่: Gen Z โปรดเป็นมิตรกับองค์กรไว้เถิดจะเกิดผล: ตลาดแรงงานและโลกของความเป็นมืออาชีพ

วัยรุ่นกับช่วง ‘Gap Year’ เมื่อชีวิตจริงของเด็กไทยไม่ชวนให้

ฝันหวาน และการศึกษาที่เป็นเหมือนพริวิลเลจ

เรื่อง: ภัคจิรา มาตาพิทักษ์ ภาพประกอบ: ณัฐพล อุปฮาด

บทความพูดถึงเรื่องวัยรุ่นกับช่วง ‘Gap Year’ เลยอยากสื่อถึงความหลากหลายของวัยรุ่น ที่จะก้าวเข้าสู่ชีวิตมหาวิทยาลัย ทั้งที่สอบติด หรือเลือกที่จะ Gap Year ด้วยเหตุผลส่วนตัว เลยวาดภาพประกอบออกมาในหลายๆ กิจกรรม ทั้ง วาดรูป ท่องเที่ยว อ่านหนังสือ รวมถึงการตามหาความชอบของตัวเองให้เจอ ซึ่งตามบทความไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถ Gap Year ได้โดยที่บ้านพร้อมสนับสนุน

อ่านบทความได้ที่: วัยรุ่นกับช่วง ‘Gap Year’ เมื่อชีวิตจริงของเด็กไทยไม่ชวนให้ฝันหวาน และการศึกษาที่เป็นเหมือนพริวิลเลจ

เมื่อ ‘ชายแท้’ กลายเป็น ‘ชายแทร่’: จากเฮมิงเวย์ถึงนักสื่อสารวิทยาศาสตร์

เรื่อง: โตมร ศุขปรีชา ภาพประกอบ: ณัฐพล อุปฮาด

‘และบ่อยครั้งที่ผู้ชาย ‘กลัว’ ว่าผู้หญิงจะมีอำนาจเหนือตัวเอง โดยเฉพาะเวลาที่ตัวเองอ่อนแอ’

เป็นส่วนหนึ่งจากบทความ เลยนำมาปรับเป็นภาพประกอบที่ผู้ชายมีอำนาจเหนือผู้หญิง โดยใช้ขนาดของผู้หญิงและผู้ชายมีขนาดแตกต่างกันเพื่อให้ภาพสามารถเล่าเรื่องเสมือนว่าผู้ชายอยากจะมีอำนาจมากกว่า ผู้หญิง

อ่านบทความได้ที่: เมื่อ ‘ชายแท้’ กลายเป็น ‘ชายแทร่’: จากเฮมิงเวย์ถึงนักสื่อสารวิทยาศาสตร์

ไม่มีเสรีภาพทางวิชาการในมหาวิทยาลัยชายขอบ

เรื่อง: สมชาย ปรีชาศิลปกุล ภาพประกอบ: พิรุฬพร นามมูลน้อย

เนื้อหาพูดถึงการจำกัดเสรีภาพในงานวิชาการของเหล่านักวิชาการในมหาลัยชายขอบ การเผชิญกับการคุกคามต่อเสรีภาพในการแสดงความเห็นทางการเมืองในงานวิชาการ

จากบทความได้แปลงภาษาเขียนให้ออกมาเป็นภาษาภาพจากการถอดใจความของบทความ ไม่มีเสรีภาพทางวิชาการในมหาวิทยาลัยชายขอบ ออกมาเป็นคำว่า ไม่มีเสรีภาพ + งานวิชาการ จึงใช้องค์ประกอบของคุก สะท้อนภาพของการถูกจำกัดพื้นที่ทางความคิดเห็น มาบวกกับ ดินสอ หนังสือ สื่อถึงงานเขียน บวกเข้ากับ นก ที่เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอิสระแต่กลับถูกจำกัดพื้นที่ให้อยู่ในกรอบ

อ่านบทความได้ที่: ไม่มีเสรีภาพทางวิชาการในมหาวิทยาลัยชายขอบ

‘สันติภาพไม่สามารถเกิดขึ้นจากปลายกระบอกปืน’:

ความฝันและความหวังของเยาวชนชายแดนใต้ที่รอวันผลิบาน

เรื่อง: ศุภวิชญ์ ศิริสวัสดิ์วัฒนา ภาพประกอบ: พิรุฬพร นามมูลน้อย

เนื้อหาของงานพูดถึงเสียงของเยาวชนชายแดนใต้ที่ต้องเผชิญอยู่กับเหตุการณ์ความรุนแรง ว่าพวกเขามีความคิด ความหวัง และความฝันเกี่ยวกับพื้นที่ที่พวกเขาเรียกว่า ‘บ้าน’ อย่างไร

จากบทความเนื้อหาพูดถึงสันติภาพ ความฝัน ความหวัง พอจะตีความออกมาเป็นภาพ จึงพยายามสะท้อนให้เห็นถึงภาพความฝันและความหวัง ผ่านการใช้ภาพของนกที่เป็นสัญลักษณ์ถึงความสันติภาพ บวกกับ ‘เงามือ’ ที่เราเล่นกันตอนเด็กๆ คือการทำมือเลียนแบบลักษณะของสิ่งต่างๆ โดยใช้เงาทำให้เกิดภาพของสิ่งที่จินตนาการถึงอยู่

อ่านบทความได้ที่: ‘สันติภาพไม่สามารถเกิดขึ้นจากปลายกระบอกปืน’:ความฝันและความหวังของเยาวชนชายแดนใต้ที่รอวันผลิบาน

คำพิพากษาศาลฎีกา META แห่งเนติบัณฑิตไทย

เรื่อง: ดิศรณ์ ลิขิตวิทยาวุฒิ ภาพประกอบ: พิรุฬพร นามมูลน้อย

เนื้อหาของงานพูดถึงสูตรลัดของเหล่าเนติบัณฑิตในประเทศไทย ที่ใช้ชีวิตเหมือนกับเกมมีสูตรลัดตายตัวว่าจะเล่นยังไงให้ชนะ สูตรลัดของเหล่าเนติก็คือการการยึดถือแนวคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นธงคำตอบ

จากบทความจึงทำให้เราจินตนาการไปถึงการใช้ประตูโดเรมอน ที่สามารถนำพาเราไปถึงจุดหมายที่เราคิดไว้ได้อย่างรวดเร็ว เป็นเหมือนสูตรลัดที่จะนำไปถึงชัยชนะ

อ่านบทความได้ที่: คำพิพากษาศาลฎีกา META แห่งเนติบัณฑิตไทย

เด็กฝึกงาน = แรงงานฟรีถูกกฎหมาย(?):

เปิด พ.ร.บ.ฝึกงานเพื่อปูทางให้ผู้ฝึกงานมีตัวตน

เรื่อง: ภัคจิรา มาตาพิทักษ์ ภาพประกอบ: พิรุฬพร นามมูลน้อย

เนื้อหาของงานพูดถึงเสียงของนักศึกษาฝึกงานและช่องโหว่ของกฎหมายนักศึกษาฝึกงานที่บีบคนเหล่านี้ให้เป็นเหมือนแรงงานฟรีที่ถูกกฎหมาย

จากบทความทำให้เรานึกถึง สลิปเงินเดือน จึงใช้เป็นตัวบอกเล่าภาพของค่าตอบแทน และประโยคที่พูดกันทั่วไปว่าฝึกงานได้ประสบการณ์ก็พอ มาผสมรวมให้เกิดภาพใหม่ของสลิปเงินเดือนที่ถูกจ่ายค่าตอบแทนเป็นประสบการณ์

อ่านบทความได้ที่: เด็กฝึกงาน = แรงงานฟรีถูกกฎหมาย(?): เปิด พ.ร.บ.ฝึกงานเพื่อปูทางให้ผู้ฝึกงานมี ตัวตน

โปสเตอร์เปิดซีรีส์: เลี้ยงเด็กหนึ่งคน ใช้คนทั้งหมู่บ้าน

ครีเอทีฟ: ธนกร เนตรจอมไพร ภาพถ่าย: เมธิชัย เตียวนะ ภาพประกอบ: พิรุฬพร นามมูลน้อย

ผลงาน Spotlight ว่าด้วยระบบนิเวศที่เอื้อให้เด็กและเยาวชนไทยเติบโตอย่างมีคุณภาพและเป็นสุข ดังสำนวนที่ว่า ‘เลี้ยงเด็กหนึ่งคน ใช้คนทั้งหมู่บ้าน’

งานนี้เป็นงานที่ทำให้เราได้ฝึกความคิดและวิธีและความเป็นไปได้การวางตำแหน่งของภาพเป็นอย่างมาก ว่าเราจะทำคอลลาจออกมายังไงให้สะท้อนถึงเด็ก จะใช้ shape ของภาพจริงๆ หรือการตัดปะมาเรียงต่อๆ ให้ดูเป็นภาพของเด็ก ซึ่งก็ได้ลองหาความเป็นไปได้ออกมาหลายๆ รูปแบบ ได้คิดและทดลองกับการทำงานของตัวเองว่าจะใช้ภาพไหนบ้าง สถานการณ์ไหนบ้าง ที่จะช่วยทำให้โปสเตอร์สามารถเล่าคอนเซ็ปต์ออกมาให้ได้ครบถ้วน

อ่านได้ที่: Spotlight: เลี้ยงเด็กหนึ่งคน ใช้คนทั้งหมู่บ้าน

โทษอาญาเฟ้อ: ภาพสะท้อนจารีตปกครองแบบไทยๆ

เรื่อง: ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ ภาพประกอบ: วนา ภูษิตาศัย

สาเหตุที่ตาชั่งเอนเอียงไปฝั่งใดฝั่งหนึ่ง หากไม่ใช่เพราะน้ำหนักของฝั่งหนึ่งหนักเกินไป ก็เป็นเพราะความเอนเอียง ไม่เที่ยงตรง-ไม่ยุติธรรม

ฉากหน้าของตาชั่งที่เอียง ก็เพราะจำนวน ‘โทษอาญา’ ที่มีจำนวนมากจนเฟ้อ และไม่ใช่แค่เพียงปริมาณที่หนักหนา แต่โทษอาญายังเป็นโทษที่มีต้นทุนการดำเนินคดีแสนแพง รวมถึงบทลงโทษยังรุนแรงถึงขั้นจำคุก

ในขณะที่ภาพเงาเบื้องหลังกลับสะท้อนให้เห็นว่า สาเหตุที่แท้จริงของตาชั่งเอียง คือการให้น้ำหนักกับ ‘รัฐ’ มากกว่าสิทธิเสรีภาพของ ‘ปัจเจกบุคคล’

เพราะเมื่อใดก็ตามที่อำนาจและผลประโยชน์ของรัฐอยู่เหนือกว่าหลักนิติธรรม-ความยุติธรรมแล้ว รัฐก็สามารถใช้โทษอาญาที่เป็นโทษหนักในการจำกัด ริดรอนสิทธิ-ชีวิตของประชาชนได้ โทษอาญาในฐานะเครื่องมือของรัฐจึงยังคงมีบทบาทและมีจำนวนมากจนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ยังมีเงาของ ‘มือที่มองไม่เห็น’ คอยกดให้ตาชั่งเอนเอียงมาฝั่งรัฐ สื่อให้เห็นว่าความอยุติธรรมไม่ได้อยู่ๆ เกิดขึ้น หากแต่เป็นผลพวงของการใช้อำนาจ การกำกับให้เป็นไปตามความต้องการของคน บางกลุ่ม

อ่านได้ที่: โทษอาญาเฟ้อ: ภาพสะท้อนจารีตปกครองแบบไทยๆ

การกดปราบผู้ลี้ภัยข้ามชาติ: ปัญหาและทางออกใต้เงาพันธมิตรเผด็จการอาเซียน

บทความโดย เจณิตตา จันทวงษา ภาพประกอบ: วนา ภูษิตาศัย

พอเห็นถึงชื่องานเรื่องการ ‘กดปราบ’ ก็ชวนให้นึกไปถึงการกด (press) – กดดัน (pressure) และเมื่อพูดถึงการ ‘กด’ ในประเด็นเรื่องการลี้ภัยข้ามชาติแล้ว ก็นึกต่อไปถึงการกดตราประทับลงบนพาสปอร์ต ที่นอกจากตราประทับจะเป็นสัญลักษณ์ของการเดินทางข้ามชาติแล้ว การประทับตรายังเปรียบได้กับคำอนุญาตและคำตัดสินว่าบุคคลนั้นสามารถลี้ภัยได้หรือไม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการที่บางประเทศในอาเซียนร่วมใจกันใช้กดปราบผู้ลี้ภัยทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการยกเลิกหนังสือเดินทาง, ปฏิเสธการเข้าประเทศ หรือส่งกลับประเทศต้นทาง ส่งผลให้ผู้ลี้ภัยจำนวนไม่น้อยสูญหายและเสียชีวิตลงจากความร่วมมือระหว่างชาติดังกล่าว

และเพื่อแสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของประเด็นที่เกิดขึ้น จึงให้ตราประทับรูปประเทศอยู่เหนือตัวผู้ลี้ภัย ให้เหมือนว่าการตัดสินใจของเหล่าผู้นำประเทศนั้นมากไปกว่าการประทับตราพาสปอร์ต แต่รวมไปถึงความเป็นความตายของผู้ลี้ภัยที่อยู่ในกำมือของผู้นำเหล่านี้

อ่านได้ที่: การกดปราบผู้ลี้ภัยข้ามชาติ: ปัญหาและทางออกใต้เงาพันธมิตรเผด็จการอาเซียน

ออกแบบ ‘สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)’ อย่างไรให้นำไปสู่รัฐธรรมนูญของประชาชน

บทความโดย เจณิตตา จันทวงษา ภาพประกอบ: วนา ภูษิตาศัย

ภาพของรัฐธรรมนูญมักจะดูเป็นของที่อยู่สูงและดูห่างไกล ไม่ว่าจะด้วยเพราะสัญลักษณ์ของรัฐธรรมนูญที่ถูกวางอยู่บนยอดพานสูง หรือเพราะเป็นเรื่องที่มีเพียงคนบางกลุ่มเท่านั้นที่จะแตะต้องและแก้ไขได้ ยังไม่รวมถึงเนื้อหาสาระในร้ฐธรรมนูญ-คำถามลงประชามติที่ต้องอาศัยการตีความภาษาทางกฎหมาย ทั้งหมดนี้ยิ่งตอกย้ำให้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่ทั้งไม่เข้าใจ-เข้าไม่ถึงสำหรับประชาชนคนธรรมดา

ดังนั้น เมื่อเนื้อความของงานชิ้นนี้พยายามพูดถึงการออกแบบ สสร. ที่นำไปสู่รัฐธรรมนูญ ‘ของ’ ประชาชน เราจึงนึกถึงภาพของรัฐธรรมนูญแบบใหม่ แบบที่อยู่ใกล้ – ไม่ว่าใครก็สามารถเข้าถึงได้ เปลี่ยนให้ตัวรัฐธรรมนูญที่ถูกตั้งไว้เฉยๆ ได้คลี่คลายออก ทั้งเปิดออกเพื่อให้สามารถแก้ไข เพิ่มเติมสาระได้ใหม่ๆ และเปิดออกเพื่อเป็นบันไดให้คนทั่วไปก้าวขึ้นไปถึงยอดได้

โดยนอกจากบันไดจะเชื่อมให้รัฐธรรมนูญไม่ได้ดูเหนือหรือไกลเกินเอื้อมแล้ว ภาพของบันไดที่ต้องอาศัยแรงในการปีนป่ายยังสะท้อนถึงกระบวนการไปสู่รัฐธรรมนูญฉบับที่พวกเราใฝ่ฝันได้ดี เพราะการจะได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญของประชาชนอย่างแท้จริงแล้ว รัฐธรรมนูญจะต้องไม่ใช่สิ่งที่ถูกหยิบยื่นให้หรือเสกสร้างขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน หากแต่ต้องเป็นกระบวนการที่อาศัยเวลา สั่งสมจากความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมจากคนหมู่มาก รวมถึงคนกลุ่มชายขอบที่มักถูกมองข้าม ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มชาติพันธุ์ ผู้สูงวัย หรือเด็กเยาวชน ภาพสุดท้ายที่ออกมาจึงเป็นภาพของเส้นทางไปสู่รัฐธรรมนูญ ที่ระหว่างทางมีกลุ่มคนแตกต่างหลากหลายร่วมเดินทางไปด้วยกัน

อ่านได้ที่: ออกแบบ ‘สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)’ อย่างไรให้นำไปสู่รัฐธรรมนูญของประชาชน

ตรวจระบบเลือกตั้ง: พรรคการเมืองได้ ส.ส. ตรงกับเสียงที่เราให้ไปแค่ไหน?

บทความโดย วรดร เลิศรัตน์ ภาพประกอบ: วนา ภูษิตาศัย

เนื้อความของงานชิ้นนี้พยายามตั้งคำถามกับระบบการเลือกตั้งในปัจจุบัน ว่าจำนวนที่นั่ง สส.แต่ละพรรค สอดคล้องกับคะแนนเสียงเลือกตั้งมากน้อยเพียงใด โดยชี้ให้เห็นว่าในขณะที่บางพรรคการเมืองต้องใช้จำนวนเสียงมากถึงหลักแสนเสียงต่อ 1 ที่นั่ง สส. อีกพรรคใช้จำนวนเสียงเพียงหลักหมื่นเท่านั้น

เพื่อสื่อสารถึงประเด็นดังกล่าว จึงเลือกใช้ภาพของเก้าอี้ตั้งอยู่บนยอดสูงสุดเป็นภาพแทนของที่นั่ง สส. และใช้ภาพของบัตรเลือกตั้งซึ่งเป็นภาพแทนของคะแนนเสียง ประกอบกันเป็นเส้นทางที่นำไปสู่จุดหมายปลายทางนั้น และถึงแม้จะมีปลายทางเดียวกัน แต่เส้นทางและวิธีการจะไปถึงนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

ในขณะที่ฝั่งหนึ่งจำเป็นต้องใช้คะแนนเสียงเป็นจำนวนมาก มีบัตรเลือกตั้งกองเป็นตั้งๆ ซึ่งอาจมองได้ว่าเส้นทางฝั่งนี้ยาก ต้องอาศัยแรง ทุน(เสียง)ที่มากจึงจะปีนป่ายไปถึงยอดได้ ในเวลาเดียวกันนั้น อีกฝั่งกลับสามารถใช้คะแนนเสียงที่น้อยกว่า ใช้บัตรเลือกตั้งไม่กี่ใบแต่เรียงตัวกันในลักษณะบันได ที่ส่งให้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง สส.ได้อย่างง่ายดายกว่า

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง