คนเป นเบาหวานก นน ำตาลได ว นละก กร ม

การตรวจร่างกายโดยที่ยังไม่มีความผิดปกติใดๆ หรืออาจมีอาการเพียงเล็กน้อย ถือเป็นการค้นหาโรคที่อาจแฝงอยู่โดยยังไม่ปรากฎอาการผิดปกติ ช่วยให้ตรวจพบแนวโน้มการเกิดโรคหรือโรคในระยะเริ่มต้น ส่งผลให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรค รวมถึงช่วยลดความรุนแรง และภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้หากพบโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ทั้งนี้ การดูแลร่างกายทั้งการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายเป็นประจำอย่างถูกต้องเหมาะสม รวมไปถึงการดูแลทางด้านจิตใจและการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เช่นกัน

จะเห็นได้ว่า การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ถือเป็นกุญแจสำคัญสู่การมีสุขภาพที่สมบูรณ์แบบ ส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ ครบทั้งการป้องกันและดูแลรักษา เป็นประโยขน์ต่อตัวคุณและครอบครัวอย่างมาก

โรคเบาหวาน

ปัจจุบันคนไทยเป็นโรคเบาหวานกันมากขึ้น และพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีอายุน้อยลง โดยผลการสำรวจข้อมูลคนไทยที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานมากถึง 9.5% โดย 2 ใน 3 ของผู้ป่วยเท่านั้นที่ทราบว่าตนเองเป็นโรคเบาหวาน ส่วนที่เหลือ 1 ใน 3 นั้นไม่ได้รับการตรวจและรักษาอย่างถูกวิธี

โรคเบาหวานถือว่าเป็นภัยเงียบที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย เป็นโรคที่อาจไม่แสดงอาการใดๆ ต้องทำการวินิจฉัยด้วยการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับน้ำตาลในเลือดจึงจะทราบว่าเป็นโรคเบาหวาน ทั้งนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่นั้นมักตรวจพบว่าเป็นโรคเบาหวานจากการตรวจสุขภาพประจำปี

เกณฑ์การวินิจฉัยเบาหวานมีหลายวิธี เช่น การวัดระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ซึ่งค่าปกติของระดับน้ำตาลควรน้อยกว่า 100 มก./ดล. หากมากกว่า 126 มก./ดล. ถือว่าเป็นเบาหวาน อย่างไรก็ตาม หากระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 100-125 มก./ดล. ถือว่ามีความเสี่ยง หรือเรียกว่าเป็นภาวะเบาหวานแฝงเท่านั้น

นอกจากนี้ สามารถตรวจฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (Hemoglobin A1C - HbA1C) ซึ่งเป็นการตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือดตลอดระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมาได้เช่นกัน โดยค่าปกติ HbA1C น้อยกว่า 5.7 mg% หากพบค่า HbA1C อยู่ในช่วง 5.7 mg% ถึง 6.4 mg% ถือว่าเสี่ยงเป็นเบาหวาน และเป็นผู้ป่วยเบาหวานเมื่อมีค่า HbA1C มากกว่าหรือเท่ากับ 6.5 mg%

โรคความดันโลหิตสูง

โรคนี้เป็นโรคที่ต้องได้รับการดูแลและใส่ใจอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากสามารถส่งผลให้เกิดโรคร้ายแรงอื่นๆ ตามมาได้ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น ทั้งนี้ ค่าความดันโลหิตของคนปกตินั้นอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ค่าความดันโลหิตที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง คือ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป

ความน่ากลัวของโรคความดันโลหิตสูง คือ ผู้ป่วยมากกว่า 90-95 เปอร์เซ็นต์ ไม่สามารถตรวจหาสาเหตุที่ชัดเจนของโรคได้ พบเพียงปัจจัยเสี่ยง เช่น อายุที่มากขึ้น การมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน อาหารที่รับประทานเป็นประจำ หรือแม้แต่พันธุกรรม นอกจากนี้ ยังมักไม่แสดงอาการ แต่เบื้องหลังนั้นได้สร้างความเสียหายต่อหลอดเลือดและหัวใจอย่างมาก ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพเรื้อรังอื่นๆ ที่อาจตามมาได้ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น

โรคไขมันในเลือดสูง

ระดับไขมันในเลือดมีความสำคัญต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง ตีบ และอุดตัน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจโดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจ นอกจากนั้นผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงยังมีโอกาสเป็นโรคสมองขาดเลือด ส่งผลให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตตามมา หรือเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้ โดยระดับคอเลสเตอรอลปกติที่ยอมรับได้ คือ ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ส่วนไตรกลีเซอไรด์ ควรน้อยกว่า 150 มก./ดล. รวมถึงไขมันชนิดดี (HDL) ควรมีค่ามากกว่า 60 มก./ดล. และไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ควรมีค่าน้อยกว่า 130 มก./ดล.

โรคหัวใจ

โรคหัวใจนั้น เป็นโรคที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ อาจเป็นในส่วนของหลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจ โรคหัวใจแต่กำเนิด หรือโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น มีปัจจัยเสี่ยงมาจากอายุที่มากขึ้น เพศ พันธุกรรม โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง มีภาวะอ้วน หรือชอบรับประทานอาหารไขมันสูง ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ และไม่ค่อยออกกำลังกาย ทำให้มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่เต็มอิ่ม เหนื่อยง่าย คลื่นไส้

ทั้งนี้ เนื่องจากโรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของทั้งเพศชายและเพศหญิง การตรวจหัวใจในรูปแบบต่างๆ ตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ชำนาญการด้านหัวใจ จะช่วยทำนายความเสี่ยงของโอกาสเกิดโรคหัวใจ เพื่อรู้เท่าทันและป้องกันโรคหัวใจได้ตั้งแต่เริ่มต้น เช่น การตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ หากได้ค่าการตรวจตั้งแต่ 400 ขึ้นไป ก็บ่งบอกว่าอาจมีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบแฝงอยู่ เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ รวมไปถึงการดูแลทางด้านต่างๆ เช่น อาหาร การออกกำลังกาย ก็มีผลต่อสุขภาพและมีข้อห้าม/ข้อควรระวังสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจด้วยเช่นกัน

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

ค่าความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากที่สุด การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และไขมันในเลือด เป็นการตรวจเบื้องต้นเพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง หากพบข้อบ่งชี้ภาวะหลอดเลือดสมอง อาจต้องมีการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ตรวจค่าการอักเสบของหลอดเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram) ว่ามีจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติหรือไม่ ตรวจการไหลเวียนเลือดของหลอดเลือดแดงในสมอง (Transcranial Doppler Ultrasound) และตรวจหลอดเลือดแดงบริเวณคอที่ไปเลี้ยงสมองด้วยคลื่นความถี่สูง (Carotid Duplex Ultrasound) ทั้งนี้ การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองด้วยวิธีต่างๆ จะช่วยชี้ตำแหน่งหลอดเลือดสมองผิดปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงหาความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ก่อนเกิดอาการ

แม้การตรวจสุขภาพ จะไม่ได้เป็นการรับประกันว่าผู้ตรวจจะปลอดจากโรคต่างๆ แต่การตรวจสุขภาพในกรณีที่ยังไม่มีอาการ จะช่วยให้ค้นพบโรคตั้งแต่ระยะเริ่มแรก อีกทั้งหากเสริมด้วยการดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงและอาหารรสจัด ออกกำลังกายเป็นประจำ ลดความเครียด นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และหมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น รวมถึงพบแพทย์เพื่อปรึกษาการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมที่สามารถทำได้ก่อนป่วย ก็สามารถส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีแบบ 360 องศาได้

สุขภาพดีครบสูตร ที่สมิติเวช

ไม่ต้องป่วยก็พบแพทย์ได้ ด้วยโปรแกรม HEALTH RACE

โปรแกรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ที่ช่วยสร้างสถิติใหม่ในการดูแลสุขภาพให้ดีด้วยตัวคุณเอง นอกจาก โปรแกรมการตรวจร่างกายแบบองค์รวมด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงแล้ว ยังเพิ่มการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องระยะยาว ด้วยแนวคิด “เพื่อนคู่คิดสุขภาพ (Health Companion)” ช่วยดูแลแนะนำอย่างใกล้ชิดตลอดโปรแกรม ตามหลักคิด “4อ” หรือการเติมเต็ม 4 ปัจจัยหลักของการมีสุขภาพดีให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยเติมเต็มความอุ่นใจและเสริมความมั่นใจให้คุณตลอดระยะการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ด้วยโปรแกรมเฉพาะบุคคล (Personaliz2/ed program) ที่สามารถปรับให้เหมาะสมได้ตามไลฟ์สไตล์และเป้าหมายที่ต้องการ

สุขภาพดีได้ด้วย 4อ

  • อาหาร – การดูแลด้านอาหารที่เฉพาะ เพื่อสุขภาพที่ดีและตรงกับเป้าหมายของตัวเองมากที่สุด รับคำแนะนำจากนักกำหนดอาหาร ที่มีประสบการณ์
  • อิ่มกาย – การดูแลด้านการออกกำลังกายในแบบเฉพาะบุคคล โดยมีการประเมินก่อนการออกกำลังกายโดยแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจและด้านกีฬา มีการใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย อาทิเช่น เครื่อง Isokinetic รวมถึงการดูแลต่อเนื่องโดยนักเวชศาสตร์การกีฬา เพื่อสุขภาพที่ดีแบบยั่งยืน
  • อิ่มอารมณ์ – การดูแลด้านอารมณ์และจิตใจโดยทีมแพทย์เฉพาะทาง เพราะเมื่อสุขภาพกายดีแล้ว ต้องไม่ลืมดูแลสุขภาพใจด้วยเช่นกัน
  • อิ่มนอน – การดูแลด้านการนอนหลับ ซึ่งหากมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ นอนหลับไม่มีคุณภาพ หรือนอนกรน ก็ควรได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมกับปัญหาการนอนหลับที่เผชิญอยู่ได้

สำหรับผู้ที่สนใจการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ผู้ที่สนใจการดูแลสุขภาพแบบที่สามารถเลือกกำหนดโปรแกรมเองได้แบบเฉพาะบุคคล (Personalized program) ผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพโดยมีผู้ชำนาญการด้านต่างๆ คอยดูแลอย่างใกล้ชิด หรือผู้ที่มาตรวจสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ ผิดปกติจากค่ามาตรฐาน และแพทย์แนะนำให้ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ก่อนอาการจะทวีความรุนแรงและต้องรับประทานยาไปตลอดชีวิต สามารถติดต่อที่ศูนย์สุขภาพ เพื่อให้ Health Companion ติดต่อกลับและให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการมีสุขภาพองค์รวมที่ดีกับโปรแกรม HEALTH RACE ได้

ทำยังไงให้น้ำตาลสะสมลดลง

หากพบ 'ค่าน้ำตาลสูง' ควรทำอย่างไร ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ลดอาหารประเภทให้พลังงาน เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ลดน้ำหนักด้วยวิธีที่เหมาะสม ทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5 ครั้งต่อสัปดาห์ เช่น การออกกำลังกาย การเดินเร็ว ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล

ผู้ป่วยเบาหวานมีชีวิตอยู่ได้กี่ปี

ผู้ป่วยเบาหวานจะมีอายุขัยเฉลี่ยสั้นกว่า คนปกติเกือบจะในทุกวัย อย่างเช่น ในวัย 60 ปี ผู้เป็นเบาหวานจะมีอายุขัยเฉลี่ยสั้นกว่า 5.4 ปี และเมื่อวัย 90 ปี ก็ยังสั้นกว่ากัน 1 ปี

ผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรกินผักอะไร

มันฝรั่ง/เผือก/ข้าวโพด ถ้ากินเยอะจะทำให้น้ำตาลเลือดสูง

กินอะไรช่วยลดน้ำตาลในเลือด

โรงพยาบาลนนทเวช.

13 อาหาร ลดน้ำตาลในเลือดคนท้อง เลี่ยงเป็น โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ... .

1. บร็อคโคลื่ ... .

2. อาหารทะเล ... .

3. ฟักทอง เมล็ดฟักทอง ... .

4. พืชตระกูลถั่ว ... .

5. กิมจิ ... .

6. กระเจี๊ยบ อาหาร ลดน้ำตาลในเลือดคนท้อง ... .

7. คะน้า.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง