ค ณสมบ ต ผ ม ส ทธ สอบ ก.พ.พ เศษ

คืออะไรกันแน่ แล้วก็อาจจะเกิดความสงสัยทำไมการสอบนี้ถึงมีการแข่งขันสูง และคนเลือกที่จะไปสอบกันเยอะในทุกปี แล้วการสอบ กพ สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง

หรือแม้แต่ใครที่เกิดสนใจอยากสอบ กพ แต่ยังไม่รู้รายละเอียดของการสอบ ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติต่าง ๆ วุฒิการศึกษา รวมถึงรายละเอียดของข้อสอบ ก.พ. บทความนี้จะช่วยทุกคนไขข้อข้องใจเหล่านี้ด้วยข้อมูลเบื้องต้นที่จำเป็นจะต้องรู้ นอกจากนี้ยังมีทริคดี ๆ เกี่ยวกับการเตรียมตัวสอบ ก.พ. และยังมีคำถามที่พบบ่อยมาฝากอีกด้วย

สอบ ก.พ. คืออะไร

การสอบ ก.พ. อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.พ. (OCSC) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ซึ่งเป็นองค์การที่ดูแลด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือน มีหน้าที่ในการส่งเสริมการพัฒนาข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีคุณภาพชีวิตและการทำงานที่ดี รวมถึงร่วมพัฒนาระบบการบริหารกำลังคนในราชการให้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของชาติอย่างมีประสิทธิภาพ

การสอบ ก.พ. คืออะไร?

การสอบ ก.พ. จึงเป็นการสอบแข่งขัน เพื่อคัดเลือกบุคคลในระดับวุฒิการศึกษา และสาขาวิชาชีพที่แตกต่างกัน ที่มีความสนใจอาชีพราชการให้เข้ามาทำงานให้กับหน่วยงานราชการ การสอบ กพ จึงเปรียบเสมือนตัวกลางระหว่างผู้ที่ต้องการทำงานราชการกับหน่วยงานราชการที่ขาดแคลนคนนั่นเอง

ปัจจุบันการสอบ กพ จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ การสอบ กพ ภาค ก, ภาค ข และภาค ค โดยในปี 2563 มีผู้ที่เข้าสอบ กพ ทั้งสิ้น 500,000 คน นับเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง แต่กลับมีอัตราการสอบผ่านเพียง 2.72% หรือคิดเป็น 13,604 คนเท่านั้น

สอบ ก.พ. ทํางานอะไรได้บ้าง

หลังจากได้รู้เบื้องต้นว่าการสอบ ก.พ. คืออะไร หลาย ๆ คนก็คงจะมีคำถามต่อมาอีกว่า มีการสอบ กพ เพื่ออะไร, การสอบนี้สามารถใช้ต่อยอดทำอะไรได้ และสอบ กพ ทำงานอะไรได้บ้าง โดยทั่วไปการสอบ กพ จะสามารถนำไปใช้ในการทำงานในหน่วยงานราชการต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย ตัวอย่างเช่น

– นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

– นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ

– นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ

– พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

– เภสัชกรปฏิบัติการ

– นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ

– นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

– นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

คุณสมบัติและอายุของผู้เข้าสอบ ก.พ.

การสอบ กพ คุณสมบัติและอายุนับเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทราบก่อนที่จะทำการสมัครสอบ โดยการสอบ ก.พ. นั้นมีคุณสมบัติและอายุ ดังนี้

– มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี (ไม่กำหนดอายุสูงสุด)

– มีสัญชาติไทย

– ต้องเป็นผู้ที่จบการศึกษาแล้ว หรือผู้ที่กำลังศึกษาชั้นปีสุดท้ายของระดับ ปวช. ปวท. ปวส. อนุปริญญา ปริญญาตรี หรือปริญญาโท

– ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม (ตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551)

สอบ ก.พ. ใช้วุฒิอะไรในการสมัคร

โดยทั่วไปการสอบ ก.พ. จะแบ่งระดับวุฒิการศึกษาที่รับสมัครสอบออกเป็น 4 ระดับ นอกจากนี้การสอบ ก.พ. ใช้วุฒิอะไรบ้าง รวมถึงความแตกต่างของแต่ละระดับเป็นอย่างไร เราจะพาไปทำความเข้าใจกัน

1. ระดับ 1 คือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

2. ระดับ 2 คือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

3. ระดับ 3 คือระดับปริญญาตรี เป็นระดับที่มีคนสอบมากที่สุด

4. ระดับ 4 คือระดับปริญญาโท

การสอบ ก.พ. ที่แบ่งตามวุฒิการศึกษาจะมีความแตกต่างกันในการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) โดยการสอบภาค ก. จะแบ่งออกเป็น 3 วิชา ได้แก่

  • วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)

ผู้สอบที่มีระดับต่ำกว่าปริญญาตรีและระดับปริญญาตรี จะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 หรือ 60 คะแนน และผู้สอบที่มีระดับปริญญาโทต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 หรือ 65 คะแนน

  • วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)

ผู้สอบในทุกระดับชั้นจะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 หรือ 25 คะแนน

  • วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)

ผู้สอบทุกระดับชั้นจะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 หรือ 30 คะแนน

การสอบ ก.พ. มีทั้งหมดกี่ภาค สอบอะไรบ้าง

ภาค ก. การสอบวัดความรู้ ความสามารถทั่วไป

การสอบภาค ก. เป็นการสอบภาคความรู้ ความสามารถทั่วไปที่มีการจัดสอบเป็นประจำในทุกปี นับเป็นด่านแรกที่ต้องสอบให้ผ่านจึงจะไปสอบขั้นต่อไปได้ ภาค ก. จะแบ่งออกเป็น 3 วิชา ได้แก่

  • วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์

มีเนื้อที่คลอบคลุม 4 ประเด็น ได้แก่ การคิดวิเคราะห์เชิงภาษา, การคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม และการคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยจะเป็นข้อสอบจำนวน 50 ข้อ 100 คะแนน

  • วิชาภาษาอังกฤษ

เป็นวิชาที่วัดทักษะด้านต่าง ๆ ของภาษาอังกฤษในระดับเบื้องต้น โดยจะแยกเป็น 4 หมวดหมู่ ได้แก่ การพูด การเขียน การอ่าน และการฟังภาษาอังกฤษ ข้อสอบจำนวน 25 ข้อ 50 คะแนน

  • วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี

เป็นการทดสอบความรู้ที่เป็นพื้นฐานของการเป็นข้าราชการที่ดี ข้อสอบจำนวน 25 ข้อ 50 คะแนน

โดยมีประเด็นที่สำคัญ ได้แก่

– ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

– หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

– วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

– หน้าที่และความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่ราชการตลอดจนเจตคติและจริยธรรมสำหรับข้าราชการ

ภาค ข. การสอบวัดความรู้ ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง

การสมัครสอบก.พ. ภาค ข. ผู้สมัครสอบจะต้องนำหนังสือรับรองการสอบผ่านภาค ก. มายืนยันก่อนจึงจะสามารถสมัครได้ การสอบในภาค ข. เป็นการสอบที่เน้นใช้ความรู้และความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ผู้จัดสอบ กพ ในภาคนี้จะเป็นหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่เปิดรับสมัคร

การสอบภาค ข. จะมีการเปิดสอบสำหรับหลายตำแหน่ง โดยตำแหน่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจากผู้สมัคร ได้แก่ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ, นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ นิติกร และเจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน เป็นต้น

ภาค ค. การสอบสัมภาษณ์

เมื่อผู้เข้าสอบได้สอบผ่านทั้งภาค ก. และภาค ข. แล้ว ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการสอบคัดเลือกข้าราชการคือการสอบสัมภาษณ์ โดยจะมีผู้สัมภาษณ์หน่วยงานต้นสังกัดนั้น ๆ มาร่วมทำการทดสอบ นอกจากนี้อาจมีการทดสอบเพิ่มเติมตามความเหมาะสม เช่น ทดสอบร่างกาย หรือทดสอบจิตวิทยา

การสอบ ก.พ. แบบ E-exam คืออะไร

การสอบ ก.พ. แบบ E-exam หรือการสอบ กพ อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการสอบด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับบุคคลทั่วไป โดยจะเปิดรับสมัครคนละรอบกับ paper and pencil และจะทำการจัดสอบเฉพาะระดับปริญญาตรีและปริญญาโทเท่านั้น

ซึ่งแตกต่างจากการสอบแบบ paper and pencil ที่เป็นการสอบแบบปกติด้วยการฝนกระดาษคำตอบ สำหรับผู้สนใจทั่วไป การสอบรูปแบบนี้ยังมีศูนย์สอบทั้งสิ้น 500,000 ที่นั่ง จาก 15 จังหวัดทั่วประเทศไทย หากผู้สมัครสอบ กพ ได้ทำการสอบแบบ E-exam ไปแล้วก็สามารถลงสอบแบบ paper and pencil ได้อีกครั้งในปีเดียวกัน

ขั้นตอนการสมัครสอบ ก.พ.

การสอบ ก.พ. จะมีขั้นตอนการสมัครสอบ ดังนี้

1. สมัครสอบผ่านทางเว็บไซต์ //job2.ocsc.go.th ไปที่หัวข้อ “สมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประจำปี 2564” จากนั้นคลิก “สมัครสอบ”

2. กรอกข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ

3. เลือกรอบสอบและศูนย์สอบที่สะดวกในการสอบ กพ

4. ชำระเงินค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ 330 บาท ภายในวันที่กำหนด

5. หลังจากชำระเงินแล้ว 1 วัน จึงเข้าตรวจสอบเว็บไซต์ //job2.ocsc.go.th หากยังไม่มีรูปถ่ายของผู้สมัคร จะต้องอัพโหลดรูปก่อน (รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1*1.5 นิ้ว)

6. พิมพ์บัตรประจำตัวสอบ พร้อมลงลายมือชื่อให้เรียบร้อยเพื่อนำไปในวันสอบ กพ

สอบ ก.พ. วันไหน ?

โดยปกติการสอบ กพ จะประกาศรับสมัครสอบประมาณเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคมของทุกปี และมีการจัดสอบช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม และประกาศผลช่วงเดือนกันยายน สำหรับการสอบ กพ 64 วันไหนนั้น จากข้อมูลล่าสุดจะจัดสอบวันที่ 8 และ 29 พฤษภาคม 2565

วิธีเตรียมตัวก่อนสอบ ก.พ.

สำหรับการเตรียมตัวสอบ กพ 65 นั้น การสอบ กพ ยังไงให้ผ่านเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลให้กับหลาย ๆ คน วันนี้เราจะมาบอกเทคนิคว่าสอบ กพ อ่านอะไรบ้างให้ผ่านฉลุย ดังนี้

ศึกษาข้อรายละเอียดข้อสอบ

เพื่อให้ทราบเนื้อหาของข้อสอบ และจำนวนข้ออย่างชัดเจน ทำให้อ่านเนื้อหาสำคัญได้อย่างตรงจุด ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการอ่านได้ และเหลือเวลาไปใช้ในการทบทวนส่วนอื่นแทนได้

ฝึกทำข้อสอบเก่า

ข้อสอบเก่าจะช่วยสร้างความคุ้นเคยกับข้อสอบ เมื่อลงสนามจริงจะได้ไม่ตื่นเต้น นอกจากนี้ยังเป็นการบอกแนวข้อสอบที่สำคัญได้อีกด้วย

จับเวลาทุกครั้งเมื่อทำข้อสอบ

การจับเวลาจะช่วยให้สามารถจัดการกับเวลาได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการทำข้อสอบไม่ทันได้

ลงเรียนคอร์สติวสอบ ก.พ. ออนไลน์

ในปัจจุบันการลงคอร์สติวสอบ กพ ออนไลน์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการจัดเตรียมเนื้อหาที่ต้องใช้ในการสอบอย่างครบถ้วน มีการเน้นเนื้อหาที่สำคัญ พร้อมแจ้งรายละเอียดการสอบที่สำคัญ นอกจากนี้การเรียนในรูปแบบออนไลน์ยังสะดวกสบาย และเหมาะอย่างยิ่งกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

คำถามที่พบบ่อยเรื่องการสอบ ก.พ.

สอบ ก.พ. ใช้เวลากี่ชั่วโมง?

การสอบ ก.พ. ใช้เวลา 3 ชั่วโมงในการทำข้อสอบ เฉลี่ยข้อละ 1.8 นาที

สอบ ก.พ. ได้ถึงอายุเท่าไหร่?

การสอบ ก.พ. ไม่มีการจำกัดอายุ

สอบ ก.พ. ใส่ชุดอะไร?

แต่งกายด้วยชุดที่สุภาพเรียบร้อย ไม่ควรใส่กางเกงยีนส์ และสามารถใส่รองเท้าผ้าใบได้

สอบ ก.พ. ได้กี่ครั้ง? ผลคะแนนมีอายุกี่ปี?

การสอบ ก.พ. ไม่มีการจำกัดจำนวน สามารถสมัครได้ทุกปี และผลสอบไม่มีวันหมดอายุ

ข้อสรุปเรื่องการสอบ ก.พ.

การสอบ ก.พ. เป็นการสอบคัดเลือกรูปแบบหนึ่งเพื่อเข้าทำงานในหน่วยงานราชการ การสอบ กพ นับเป็นการสอบที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจึงมีการแข่งขันที่สูง เนื่องจากสามารถใช้ในการสมัครงานราชการได้หลากหลายหน่วยงาน

การสอบ ก.พ. จะเป็นการสอบเพื่อวัดความรู้และความสามารถในระดับต่าง ๆ ข้อสอบจะไม่ได้ยากจนเกินไปแต่จะต้องใช้ความรอบคอบ และจะต้องจัดการเวลาให้ดี การสอบ กพ ให้ผ่านจะต้องใช้ความมุ่งมั่นและการฝึกฝน แต่ถ้าหากต้องการตัวช่วยการลงเรียนคอร์สติวสอบ กพ ออนไลน์ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจในปัจจุบัน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง