รอยส กท ม ความหมายเก ยวก บช ว ต

นอกจากคะแนนเสียง "ทะลุล้าน" ของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 17 ที่ได้คะแนนสูงสุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. แล้ว การเลือกตั้งท้องถิ่นของกรุงเทพฯ และเมืองพัทยาในรอบเกือบ 1 ทศวรรษ ยังมีอะไรน่าสนใจเกิดขึ้นอีกบ้าง

บีบีซีไทยบันทึกข้อมูลและเหตุการณ์น่าสนใจในวันเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) และนายกเมืองพัทยา 22 พ.ค.

1. ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ

ผู้ว่าฯ กทม.

ผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุด 10 อันดับแรกจากการรายงานผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. อย่างไม่เป็นทางการที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์กรุงเทพมหานคร ณ เวลา 01.55 น. ของวันที่ 23 พ.ค.

  • นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ (1,386,215 คะแนน)
  • นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (254,647 คะแนน)
  • นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร (253,851 คะแนน)
  • นายสกลธี ภัททิยกุล (230,455 คะแนน)
  • พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง (214,692 คะแนน)
  • น.ส. รสนา โตสิตระกูล (78,993 คะแนน)
  • น.ต. ศิธา ทิวารี (73,720 คะแนน)
  • นายวีรชัย เหล่าเรืองวัฒนะ (20,742 คะแนน)
  • พ.ท.หญิง ฐิตา รังสิตพล มานิตกุล (19,841 คะแนน)
  • น.ส. วัชรี วรรณศรี (8,274 คะแนน)

ส.ก.

ผู้สมัครที่ได้รับเลือกเป็น ส.ก. เป็นผู้สมัครสังกัดพรรคเพื่อไทย 19 คน พรรคก้าวไกล 14 คน พรรคประชาธิปัตย์ 9 คน พรรคไทยสร้างไทย 2 คน พรรคพลังประชารัฐ 2 คน กลุ่มรักษ์กรุงเทพ 2 คน และผู้สมัครอิสระ 2 คน

ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด 5 อันดับแรก คือ

  • น.ส. รัตติกาล แก้วเกิดมี พรรคไทยสร้างไทย เขตสายไหม (44,507 คะแนน)
  • นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา พรรคเพื่อไทย เขตลาดกระบัง (38,130 คะแนน)
  • นายนวรัตน์ อยู่บำรุง พรรคเพื่อไทย เขตหนองแขม (29,996 คะแนน)
  • น.ส.นฤนันมนต์ ห่วงทรัพย์ พรรคเพื่อไทย เขตคลองสามวา (29,867 คะแนน)
  • นายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร พรรคเพื่อไทย เขตจอมทอง (28,443 คะแนน)

นายกเมืองพัทยา

จนถึงช่วงสายของ 23 พ.ค. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดชลบุรี (กกต.ชลบุรี) ยังไม่รับรองผลการเลือกตั้งนายกเมืองพัทยาและสมาชิกสภาเมืองพัทยา เนื่องจากพบว่ามีบัตรเลือกตั้งนายกเมืองพัทยาหายใน 2 หน่วยเลือกตั้ง ส่วนการเลือกตั้งสมาชิกสภาเมืองพัทยาพบกรณี "บัตรเขย่ง" คือแจกบัตรเลือกตั้งเกินไป 1 ใบใน 2 หน่วยเลือกตั้ง กกต.ชลบุรี จึงต้องส่งเรื่องให้ กกต. ส่วนกลางวินิจฉัย และสั่งการให้มีการเลือกตั้งใหม่เฉพาะหน่วยที่มีปัญหา

อย่างไรก็ตามผลการนับคะแนนการเลือกตั้งนายกเมืองพัทยาเมื่อ 22 พ.ค. นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ กลุ่มเรารักพัทยา ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนน 14,633 เสียง โดยสื่อมวลชนหลายสำนักรายงานคะแนนอย่างไม่เป็นทางการของผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกเมืองพัทยาทั้ง 4 คน ดังนี้

  • นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ กลุ่มเรารักพัทยา 14,633 คะแนน
  • นายสินธ์ไชย วัฒนศาสตร์สาธร กลุ่มพัทยาร่วมใจ 12,736 คะแนน
  • นายกิตติศักดิ์ นิลวัฒนโฒชัย คณะก้าวหน้า 8.794 คะแนน
  • นายศักดิ์ชัย แต่งฮ่อ ผู้สมัครอิสระ 896 คะแนน

คำบรรยายวิดีโอ,

เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. : สรุปเหตุการณ์ 22 พ.ค. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ชนะเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.

2. ผู้มาใช้สิทธิ

ผู้ว่าฯ กทม.

จำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. อยู่ที่ร้อยละ 60 เศษ ซึ่งน้อยกว่าร้อยละ 70 ที่ กกต. ตั้งเป้าไว้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 4,402,948 คน
  • ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาแสดงตนขอรับบัตรเลือกตั้ง จำนวน 2,673,696 คน
  • ร้อยละของผู้มาใช้สิทธิ 60.73
  • เขตที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด คือ เขตทวีวัฒนา ร้อยละ 67.65
  • เขตที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุด คือ เขตดุสิต 45.82
  • บัตรดี จำนวน 2,561,447 บัตร คิดเป็นร้อยละ 95.80
  • บัตรเสีย จำนวน 40,017 บัตร คิดเป็นร้อยละ 1.5
  • บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน จำนวน 72,227 บัตร คิดเป็นร้อยละ 2.7

ส.ก.

  • ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดของหน่วยที่นับคะแนนแล้ว 4,357,098 คน
  • ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งของหน่วยที่นับคะแนนแล้ว 2,635,283 คน
  • ร้อยละของผู้มาใช้สิทธิ 60.48

นายกเมืองพัทยา

  • ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 78,018 คน มีผู้มาใช้สิทธิ 38,320 คน
  • ร้อยละของผู้มาใช้สิทธิ 49.96
  • บัตรดี 36,575 ใบ คิดเป็นร้อยละ 95.45
  • บัตรเสีย 1,001 คิดเป็นร้อยละ 2.61
  • บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 744 ใบ คิดเป็นร้อยละ 1.94

3. ปัญหาว่าด้วยสีหมึกปากกา

การเลือกตั้งท้องถิ่นกรุงเทพมหานครในวันที่ 22 พ.ค. ประเด็นที่มีการพูดถึงมากที่สุดคือเรื่องสีหมึกของปากกาที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้กาบัตรเลือกตั้ง

เสียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่องสีของปากกา ที่ใช้กากบาทเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. เมื่อนายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งออกมาแนะนำให้ประชาชนใช้ปากกาสีน้ำเงินในการลงคะแนนเลือกตั้งเท่านั้น

นายอิทธิพรกล่าวว่า หากประชาชนจะนำปากกามาเองสามารถนำมาได้ แต่ที่หน่วยเลือกตั้งได้จัดปากกาไว้คอยอำนวยความสะดวกไว้เช่นกัน มีการทำความสะอาดตลอดเวลาตามแนวทางปฏิบัติ ขอเน้นย้ำว่า "หากนำปากกามาเอง ขอให้เป็นปากกาเฉพาะสีน้ำเงินเท่านั้น อย่านำสีอื่นมา เพราะจะทำให้บัตรเสียได้"

เช่นเดียวกับนายฐิติเชฏฐ์ นุชนาฏ กรรมการ กกต. ที่ระบุว่า หากประชาชนนำปากกามาเองขอเฉพาะสีน้ำเงิน ห้ามใช้ปากกาน้ำมัน ปากกาเคมี เพราะเวลากากบาทแล้วเลอะเลือน จะทำให้เป็นบัตรเสียได้

  • เลือกตั้งผู้ว่าฯ ประชาชนกำหนดชะตากรุงเทพฯ
  • กรุงเทพฯ"เมืองเทพสร้าง" กับปัญหาที่รอผู้ว่าฯ คนใหม่แก้
  • เส้นทาง "มาราธอน" ของชัชชาติ ก่อนถึงเส้นชัยผู้ว่าฯ กทม.

การออกมาระบุถึงสีและชนิดของปากกาของ กกต. เกิดขึ้นในระหว่างที่พวกเขาเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ตรวจเยี่ยม และสังเกตการณ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง อนุญาตให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนำปากกาติดตัวไปเองและใช้กาบัตรเลือกตั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสปากกาที่หน่วยเลือกตั้งจัดเตรียมไว้ ด้วยเหตุผลด้านอนามัยในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ด้านนายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร ชี้แจงระหว่างการแถลงข่าวสรุปสถานการณ์การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ว่า ตามกฎหมายเลือกตั้งไม่มีข้อกำหนดว่าต้องใช้หมึกสีไหน แต่เจ้าหน้าที่ได้ขอร้องให้ใช้ปากกาสีน้ำเงิน เพราะคิดว่ามองเห็นได้ชัดเจน แต่ยืนยันว่าใช้ปากกาสีไหนก็ได้ สีดำก็ได้ หรือไม่ต้องเอาปากกาไปเลยก็ได้ ไปใช้ปากกาที่หน่วยเลือกตั้งเตรียมไว้ให้

ความสับสนที่เกิดขึ้น ทำให้ ผอ.การเลือกตั้งประจำท้องถิ่น กทม. ส่งหนังสือถึงสั่งการไปยังผู้อำนวยการเขตทุกเขตว่าในการนับคะแนน ไม่ว่าบัตรเลือกตั้งนั้นจะใช้หมึกปากกาสีไหน แต่ถ้าขีดกากบาทแล้วไม่เป็นบัตรเสียก็ให้นับเป็นคะแนน

ที่มาของภาพ, Thai news Pix

คำบรรยายภาพ,

ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งหย่อนบัตรลงหีบที่หน่วยเลือกตั้งแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ

ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ อาจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมา "ถอนใจ" ผ่านโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวซึ่งตั้งค่าเป็นสาธารณะ เนื้อหาตอนหนึ่งระบุว่า "หากกรรมการนับคะแนนจะวินิจฉัยว่าบัตรดังกล่าวเป็นบัตรเสียตามแนวทางที่ กกต. ชี้แจง โดยการประชาสัมพันธ์แจ้งข้อมูลนี้ ไม่ได้เป็นที่รับรู้ทั่วถึงทั่วไปในเวลาล่วงหน้าพอสมควร ทั้งเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งก็มิได้ชี้แจงให้ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งระมัดระวังประเด็นนี้ให้แจ้งชัด น่าสงสัยว่า แนวทางนี้มีเหตุผลทางกฎหมายอย่างไร มีตัวบทแจ้งชัด หรือเป็นเพียงการตีความของ กกต. ถอนใจ"

ด้าน ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความในทวิตเตอร์เตือนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าอย่าสร้างความสับสนให้เจ้าหน้าที่นับคะแนน และการให้ความเห็นใด ๆ ต้องดูข้อกฎหมายประกอบ

ดร.ประจักษ์ระบุว่า กกต. ต้องไม่ใช้อำนาจเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จะออกความเห็นประการใด ควรดูข้อกฎหมายประกอบ ต้องไม่สร้างความสับสนให้เจ้าหน้าที่นับคะแนน ไม่ทำลายเจตนารมณ์ของผู้เลือกตั้ง และไม่ทำให้ กกต. กลายเป็นอุปสรรคในการใช้สิทธิของประชาชนเสียเอง

"หลักการเลือกตั้ง ควรทำให้ประชาชนใช้สิทธิได้ง่ายที่สุดและมากที่สุดตามเจตนารมณ์ของเขา ไม่ควรนับบัตรเสียจากเรื่องหยุมหยิม เช่น ใช้ปากกาสีอะไร กากบาทเกินช่อง ใช้เครื่องหมายอื่นนอกจากกากบาท"

ดร.ประจักษ์เสนออีกด้วยว่า ในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งหน้าควรใส่ชื่อผู้สมัครในบัตรเลือกตั้ง และควรจัดให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้าและเลือกตั้งนอกเขตได้

ที่มาของภาพ, Thai NEws PIx

คำบรรยายภาพ,

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ มีคะแนนนำที่หน่วยเลือกตั้งในเขตพญาไท ระหว่างการนับคะแนน

4. รวมเหตุการณ์ทำผิดกฎหมายเลือกตั้งใน กทม.

นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร แถลงข่าวสรุปสถานการณ์การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. โดยระบุว่ามีเหตุการณ์ที่เข้าข่ายกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งดังนี้

ฉีกบัตรเลือกตั้ง 3 ราย

  • เขตสวนหลวง: หน่วยเลือกตั้งที่ 25 แขวงอ่อนนุช พบผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ก. แต่ได้ทำการฉีกบัตรเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เจ้าหน้าที่นำตัวส่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระโขนง
  • เขตสัมพันธวงศ์: หน่วยเลือกตั้งที่ 7 แขวงตลาดน้อย พบผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งใช้สิทธิเลือกตั้งเฉพาะผู้ว่าฯ กทม. และได้ทำการฉีกบัตรเลือกตั้ง ส.ก. โดยให้เหตุผลว่าไม่รู้จะเลือกใครและกลัวบุคคลอื่นจะนำบัตรเลือกตั้งไปใช้ เจ้าหน้าที่นำตัวส่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย 2
  • เขตบางซื่อ: ผู้ใช้สิทธิฉีกบัตรเลือกตั้งทั้งของผู้ว่าฯ กทม. และบัตรเลือกตั้ง ส.ก.

ขยำบัตรเลือกตั้ง 1 ราย

เขตคลองเตย: หน่วยเลือกตั้งที่ 74 แขวงคลองเตย พบผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งขยำบัตรเลือกตั้ง ส.ก. และผู้ว่าฯ กทม. และทิ้งลงพื้น เจ้าหน้าที่นำตัวส่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลท่าเรือ

นำบัตรเลือกตั้งออกจากหน่วยเลือกตั้ง 1 ราย

เหตุเกิดที่เขตบางซื่อ เจ้าหน้าที่ได้ประสาน สน.เตาปูน ติดตามและนำตัวไปดำเนินคดี

ทำบัตรเลือกตั้งชำรุด 1 ราย

เหตุเกิดที่เขตหนองแขม เนื่องจากผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งเข้าใจว่าหย่อนบัตรผิดหีบ จึงดึงบัตรเลือกตั้งกลับคืน ทำให้บัตรชำรุด เจ้าหน้าที่ รปภ. นำตัวไปลงบันทึกประจำวันที่ สน.หนองแขม

ถ่ายภาพบัตรเลือกตั้งขณะเลือกตั้ง

เหตุเกิดที่เขตราชเทวี ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งทำเครื่องหมายกากบาทลงในบัตรลงคะแนน แล้วใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพบัตรเลือกตั้งขณะอยู่ในคูหาเลือกตั้ง เพื่อให้เห็นเครื่องหมายลงคะแนนในคูหาเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมและส่งพนักงานสอบสวน สน.พญาไท

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

บรรยากาศการนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งท้องถิ่นกรุงเทพฯ ซึ่งมีทั้งหมด 6,718 หน่วย

ที่มาของภาพ, Thai NEWS PIX

คำบรรยายภาพ,

เจ้าหน้าที่ชูบัตรเลือกตั้ง ส.ก. ระหว่างการนับคะแนน

5. ติดเชื้อโควิด-19 ก็ใช้สิทธิได้

การเลือกตั้งท้องถิ่น กทม. และเมืองพัทยา เมื่อ 22 พ.ค. ศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศปก.ศบค.) และ กกต. ได้อนุญาตให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ไปใช้สิทธิลงคะแนนได้ โดยได้จัดคูหาแยกไว้ให้เป็นการเฉพาะ สำหรับผู้ที่มีอุณหภูมิร่างกายเกิน 37.5 องศาเซลเซียส

นายขจิต ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ณ เวลา 16.00 น. ได้รับรายงานว่ามีผู้ป่วยโควิด-19 มาใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่า กทม. และ ส.ก. ทั้งหมด 93 ราย

มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ทำให้ กทม. ประกาศปิด 437 รร. สังกัด กทม. หนึ่งวันหลังเลือกตั้ง คือในวันที่ 23 พ.ค. เพื่อจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานและทำความสะอาดอาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนให้ปลอดเชื้อและปลอดภัยก่อนการจัดการเรียนการสอนปกติ และให้จัดการสอนชดเชยในภายหลัง

ที่มาของภาพ, Thai NEws Pix

คำบรรยายภาพ,

ทุกหน่วยเลือกตั้งจะมีจุดวัดอุณหภูมิผู้ที่มาใช้สิทธิ หากอุณหภูมิเกิน 37.5 องศาเซลเซียส จะต้องไปลงคะแนนไว้ที่คูหาซึ่งจัดแยกไว้เฉพาะ

คำสั่งนี้ออกมาตั้งแต่ช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยอาศัยอำนาจตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการสั่งปิดสถานศึกษาชั่วคราวเนื่องจากเหตุพิเศษ พ.ศ.2543 ข้อ 5

นายเกรียงไกร จงเจริญ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา กทม. กล่าวว่า ในการเลือกตั้ง ส.ก. และผู้ว่าราชการ กทม. 22 พ.ค. มีการใช้วัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ของโรงเรียนในสังกัด กทม. รวมทั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ซึ่งมีความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อโควิด-19 จึงต้องปิดโรงเรียน 1 วันภายหลังการเลือกตั้ง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง