ช มชนด งเด ม ตกการสำรวจในเขตพ นท อ ทยาน

เอ็ม บี เค กรุ๊ปจับมือภาครัฐจัดเวิร์กชอป

เผยแพร่: 6 มิ.ย. 2560 14:51 ปรับปรุง: 6 มิ.ย. 2560 15:07 โดย: MGR Online

บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) นำโดย นางสาวศิรฐา สุขสว่าง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการสายการตลาด ร่วมด้วย นางประเสริฐสุข จามรมาน ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก นายสุเมธา วิเชียรเพชร ผู้อำนวยการสำนักจัดการกากของเสียและอันตราย กรมควบคุมมลพิษ และนายบรรพต อมราภิบาล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและเผยแพร่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย นายโสภันฑ์ วงศ์ดวงคำพู ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตปทุมวัน จับมือแก้ปัญหาโลกร้อนจากต้นเหตุ กระตุ้นภาคครัวเรือนให้เปลี่ยนพฤติกรรม ลดการผลิตขยะ นำกลับมาแปรรูปใช้ใหม่และแยกเพื่อนำเข้าระบบรีไซเคิล จัดเวิร์กชอปให้เยาวชนและชุมชนในย่านปทุมวัน ในกิจกรรม 'Transform to Use : DIY ขยะถอดรูป' ที่ลานกีฬาจารุเมือง เขตปทุมวัน พร้อมส่งมอบถังแยกขยะพูดได้ดีไซน์น่ารักให้แก่โรงเรียนในเขตปทุมวัน

แชร์งานครู Teachers Sharing Download

  • Publications :0
  • Followers :0

(คู่มือ) หนังสือเรียนสสวท พื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.3 ล.2

(คู่มือ) หนังสือเรียนสสวท พื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.3 ล.2 คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เล่ม 2 ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!

Create your own flipbook

View Text Version Likes : 0 Category : All Report

  • Follow
  • Upload
  • 0
  • Embed
  • Share

(คู่มือ) หนังสือเรียนสสวท พื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.3 ล.2

ทุกปีจากการขยายตวั ด้านเศรษฐกิจและสังคม และด้วยลกั ษณะพืน้ ท่ีตั้งที่อยรู่ ิมแม่น้ำและชายทะเล จงึ เป็นแหล่ง

รบั ขยะจากต้นแมน่ ้ำหลังสวน และจากคลน่ื ซดั มาจากทะเล โดยเทศบาลตำบลปากนำ้ หลงั สวนยงั ขาดสถานที่ทิ้ง

หรือระบบกำจัดขยะทีถ่ กู หลักสุขาภิบาล นอกจากน้ีประชาชนสว่ นใหญย่ ังขาดจติ สำนึกในการจัดการขยะ เห็นแก่

เนื่องจากน้ำท่วม-ขอพูดในฐานะคนสุราษฎร์ฯ

เผยแพร่: 4 เม.ย. 2554 13:55 โดย: บัณรส บัวคลี่

1. การเตือนภัยพุนพิน

น้ำท่วมหนักรอบนี้บอกอะไรเราเยอะมาก บอกตรง ๆ ผมไม่เชื่อใครก็ตามที่ออกมาให้สัมภาษณ์ว่านี่เป็นเหตุการณ์ปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ ท่านที่พูดคงมีความรู้ความเชี่ยวชาญร่ำเรียนมาโดยตรงผมก็ยอมรับว่าองค์ความรู้ทางวิชาการสู้ท่านไม่ได้ในทุกกรณี แต่ทว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับโลกของเราในวันนี้หรือในอีกไม่กี่วันข้างหน้ามันมีแนวโน้มว่าเกินไปจากศาสตร์หรือองค์ความรู้และสถิติที่มนุษย์บันทึกไว้

ก่อนหน้าเหตุสึนามิที่ภาคใต้ วงวิชาการทางด้านนี้แทบไม่มีใครเชื่อว่ามันจะเกิดที่อันดามัน..แต่ที่สุดมันก็เกิด !

จู่ ๆ ก็นึกถึงเพชรพระอุมา...โลกเราวันนี้มันก็คงคล้าย ๆ กับคณะเดินป่าของคุณชายเชษฐา วราฤทธิ์-รพินทร์ ไพรวัลย์ในเรื่องเพชรพระอุมาที่แม้ว่าแต่ละคนต่างก็เชี่ยวชาญผ่านศึกมาโลกมนุษย์แต่พอผ่านลึกเข้าไปในป่าดึกดำบรรพ์ไปเจอสิ่งพิสดารพันลึกที่เหนือกว่าศาสตร์โลกมนุษย์บันทึกไว้ยังไงยังงั้น ดังนั้นการจะประเมินหรือมองสถานการณ์ที่เกิดให้ถูกต้องแม่นยำจึงอาจไม่สามารถใช้ประสบการณ์หรือความรู้แบบเดิมมาวัดได้อีกต่อไป

ผมเกิดและโตที่สุราษฏร์ธานีแม้ว่าชีวิตช่วงหลังมาปักหลักที่เมืองเหนือแต่ก็คุ้นเคยกับฉากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่เกิดรอบนี้ดี ทั้งเดินทางทั้งทำงานทั้งแวะบ้านเพื่อนกินดื่มตั้งแต่หัวไทร-ปากพนัง-เมืองนคร-ท่าศาลา-สิชล-กาญจนดิษฐ์ ไปจนถึงพุนพินซึ่งจมบาดาลอยู่เวลานี้...ผมจึงหดหู่กว่าเหตุที่เกิดที่อื่นอยู่พอสมควร ที่โพสต์เล่นหัวในเฟซบุ๊กน่ะไม่ได้เป็นคนไม่มีหัวใจหรอกนะครับ ญาติพี่น้องอยู่โน่นหมดสวนยางสวนปาล์มก็ฉิบหายเหมือนกับคนอื่น ๆ นั่นแหละแต่ก็ไม่รู้จะโศกเศร้าฟูมฟายมากมายไปทำไม

แอบตามข่าวสารน้ำท่วมพุนพินแบบเกาะติดมาก่อนหน้าหลายวันเพราะผมผูกพันกับพุนพิน นั่นเพราะบ้านคุณปู่-คุณย่าอยู่ที่นั่น, คุณปู่ทำงานรถไฟจึงมีบ้านอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟ ผมโตมาไม่เจอคุณปู่แล้วแต่ก็ไป ๆ มา ๆ บ้านดอน-พุนพินนี่แหละจึงทราบดีว่าพื้นที่ละแวกนั้นท่วมบ่อย ยิ่งโตขึ้นมาพอจะรู้จักสภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดยิ่งเข้าใจชัดเจนขึ้น ว่าไปแล้วทั้งพุนพินและพระแสงเป็นเมืองสำคัญในเส้นทางการค้าโบราณเชื่อมต่อคาบสมุทรจากฝั่งอันดามันมาอ่าวไทยโดยมีแม่น้ำหลวงหรือแม่น้ำตาปีที่ ร.6 พระราชทานชื่อให้เมื่อ พ.ศ. 2458 เป็นเส้นทางเชื่อมต่อ ที่น้ำท่วมพุนพินเพราะมันเป็นที่ราบสุดท้ายก่อนลงอ่าวไทยครับไม่ท่วมตัวเมืองบ้านดอนเพราะภูมิศาสตร์ของบ้านดอนแยบยลมาก ปริมาณน้ำต่อให้มากขนาดไหนจะถูกรองรับจากฝั่งในบางหรือฝั่งตรงกันข้ามตัวตลาดที่ประกอบด้วยคลองเล็กคลองน้อยเหมือนใยแมงมุม คนในบางอยู่กับน้ำ คุ้นกับน้ำดี ตอนผมเด็ก ๆ ไม่มีถนนเข้าถึงต้องเรือสถานเดียวดังนั้นพุนพินจึงกลายเป็นเป้าหมายโจมตีของกองทัพน้ำมหึมาจากทั้งนครศรีฯ และพื้นที่ตอนใน

ดูข่าวเมื่อเที่ยงวันอาทิตย์ ทีวี.ข่าวช่องหนึ่ง (ทีวี.ข่าวไม่ใช่ข่าวทีวี) ส่งนักข่าวสาวน้อยรายงานความทุกข์ยากของคนในพื้นที่พุนพิน คำถามที่เป็นชุดมาตรฐานของสำนักนี้คือ 1.มีการช่วยเหลือมาถึงหรือยัง 2.ต้องการอะไร ตัดไปอีกช่วงนักข่าวสาวน้อยอีกคนก็รายงานด้วยชุดคำสัมภาษณ์แบบเดียวกันคือ 1. มีใครมาช่วยหรือยัง 2. ต้องการอะไร แต่พอฟังคำตอบของพี่น้องคนสุราษฏร์ฯ ผมน้ำตาซึมเพราะรู้ถึงหัวจิตหัวใจของคนปักษ์ใต้ดี สิ่งที่พี่ชายคนนั้นตอบนักข่าวไม่ใช่เป็นเรื่องของการแบมือขอความช่วยเหลือแบบสงเคราะห์ กดรีโมตดูทีวีไทย มีน้องชายคนหนึ่งที่พุนพินบอกว่า สิ่งที่ต้องการมากที่สุดคือข้อมูลที่ถูกต้องว่าน้ำจะขึ้นหรือลดกันแน่มันสับสน เพราะจะได้ตัดสินใจถูกว่าจะเฝ้าบ้านต่อหรือต้องหนีน้ำก้อนใหญ่กว่าที่เคยพบ

ผมเข้าใจทันทีว่าที่น้องชายคนนี้ต้องการคืออะไร ? เพราะจากการติดตามข่าวสารปริมาณน้ำที่ลงมาจากพระแสง เคียนซา ก่อนจะถึงพุนพินผมได้พบว่ากรมชลประทานไม่ได้ลงทุนติดตั้งระบบเตือนภัยโทรมาตรน้ำที่จุดพุนพินเหมือนกับจุดอื่น ๆ ดังที่แสดงในเว็บไซต์ของศูนย์อุทกวิทยาและบริหารน้ำภาคใต้

//hydro-8.com

ซึ่งแสดงสถิติปริมาณน้ำรายชั่วโมงในช่วงวิกฤตแค่ 3 จุดเฝ้าระวังเท่านั้น ก็คือ X.195 บ้านท่าโพธิ์ อ.ฉวาง (นครศรีฯ) จุด x37A บ้านย่านดินแดง พระแสง (สุราษฏร์) และสุดท้ายคือจุด X217 อ.เคียนซา หากใครที่สนใจเรื่องน้ำท่วมจะเข้าใจระบบการแจ้งเตือนด้วยโทรมาตรน้ำ เพราะเครื่องมือดังกล่าวจะแสดงค่าความสัมพันธ์ของระดับและปริมาณน้ำรายทาง เช่น หากจุดแรกเกินระดับ จุดที่สองจะเริ่มท่วมในภายในเวลาเท่าไหร่ ซึ่งจะมีผลต่อจุดที่สามในเวลาอีกเท่าไหร่? ปรากฏว่าเครื่องมือดังกล่าวไม่ได้แสดงปริมาณที่จุด อ.พุนพินเอาไว้ จะมีแต่เครื่องมือวัดปกติของกรมชลประทานที่รู้เฉพาะภายในหากไม่ประกาศให้สาธารณะรู้ก็จะไม่มีใครรู้

ติดตามระดับน้ำตาปีที่ผิดปกติก่อนพุนพินจะท่วม 2 วันพอเห็นระดับน้ำที่เตอนบนผิดปกติ ผมก็ทวิตข้อความแจ้งผ่านทวิตเตอร์ และบางข้อความพ่วงลงเฟซบุ๊กด้วยว่าที่พุนพินจะท่วมใหญ่

มีข้อความหนึ่งเขียนว่า.. “บอกกล่าวเพื่อนสุราษฏร์ ช่วยกันนำลิงค์ไปเผยแพร่ ขณะนี้(เที่ยง30) ระดับน้ำตาปีที่พระแสงเกินกว่าตลิ่งและเริ่มท่วมแล้ว...ก้อนน้ำนี้จะเดินทางมาถึงพุนพินและในเมืองต่อไป ให้สังเกตมาตรฐาน 11.70 และ 733 ลบ.ม./วินาที นักข่าวในพื้นที่ควรถามระดับวิกฤติที่ X5B พุนพินว่าอยู่ที่เท่าไร เพื่อได้เฝ้าระวัง” ปรากฏตอนดึกของคืนวันที่ 31 เพื่อนเก่าแก่คนหนึ่งซึ่งมีบ้านอยู่ริมแม่น้ำในตัวเมืองพุนพินแจ้งตอบในเฟซบุ๊กว่าน้ำเริ่มเข้าบ้านแล้วและผมมาทราบภายหลังว่าบ้านเธอโดนหนักมากจนบัดนี้ระหว่างเขียนก็ยังผจญน้ำอยู่

แปลกใจว่าคนพุนพินจำนวนหนึ่งไม่ได้รับคำเตือนว่าน้ำปริมาณมหาศาลกว่าที่เคยพบกำลังเดินทางมา !

จุดที่สังเกตเห็นจากเรื่องนี้คือในขณะที่กรมอุตุฯ ประกาศเตือนน้ำท่วม น้ำบ่า และยังมีฝนตกหนักเป็นระยะ ๆ ซึ่งก็เป็นการดีที่ราชการทำหน้าที่เตือนอย่างต่อเนื่อง (ใครว่าเขาไม่เตือน..ก็มีหลักฐานโทนโท่ว่าเขาเตือน) แต่เมื่อลงมาถึงระดับปฏิบัติในพื้นที่กลับมีช่องโหว่ในรายละเอียดอยู่ โดยเฉพาะตอนที่ระดับน้ำล้นตลิ่งที่พระแสง ต่อมาถึงเคียนซาในวันที่ 30 มีนาคมนั้น ราชการในพื้นที่มีเวลาถึง 1 วันเต็มที่แจ้งประชาชนในเขตพุนพินให้รอรับปริมาณน้ำมหาศาลที่จะทะลักมาท่วม ผมไม่ทราบว่ามีกลไกเตือนภัยลักษณะดังกล่าวได้ทำหรือไม่ทำอย่างไรบ้างแต่เท่าที่รู้คือเพื่อนผมที่อยู่ริมน้ำรู้ตัวอีกทีก็น้ำทะลักเข้าบ้านในคืนวันที่ 31 แล้ว

ไม่โทษกรมชลประทานขนาดที่ต้องเอาให้เป็นผู้ร้ายให้ได้หรอกครับ เพราะระบบที่ติดตั้งมันออกแบบมาเช่นนี้

ในทางกลับกันหากเกิดกรณีแบบนี้ซ้ำขึ้นมาอีกกรมชลประทานจะเป็นผู้ร้ายทันทีเพราะพลาดมาแล้วยังพลาดซ้ำในจุดเดิม (รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ระดับจังหวัดในพื้นที่ด้วย)

2. สื่อกับกรอบคิดรัฐต้องช่วย ประชาชนแบมือ

จากที่ได้เขียนไปข้างต้นว่ารู้สึกไม่สบอารมณ์กับคำสัมภาษณ์ของข่าวทีวี.สำนักหนึ่ง (ซึ่งหากเจอหลายช่องก็คงบอกว่าหลายสำนักบังเอิญที่กดรีโมตมาช่องนี้พอดี) ที่ดูเหมือนว่าชุดคำสัมภาษณ์ของเธอได้สะท้อนถึงชุดความคิดแบบมาตรฐานสังคมไทย นั่นคือพอเกิดเหตุรัฐบาล(กลาง)ต้องรีบช่วย ถ้าของช่วยยังเดินทางมา “สงเคราะห์” ไม่ถึงกะไดบ้านถือว่าเป็นความผิดพลาดของรัฐ และเป็นความชอบธรรมที่นักข่าวจะเอาไมค์ไปจ่อถามรายคนว่ารัฐช่วยเหลือหรือยังและต้องการอะไรบ้าง ?

เราท่านทั้งหลายกำลังเผชิญหน้ากับความเสี่ยงในภัยพิบัติธรรมชาติมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่สังคมไทยกลับมองข้ามกลไกใกล้ตัวในพื้นที่ ในท้องถิ่น ในจังหวัด และการประสานเครือข่ายจังหวัดใกล้เคียง แม้กระทั่งเครือข่ายราษฎรอาสาที่เข้มแข็งยิ่ง

แทนที่สื่อจะส่งเสริมกระบวนการช่วยเหลือแบบเครือข่าย นำเสนอภาพบวกที่ควรยกย่องของ อบต.เทศบาลฯ อบจ.ในจังหวัดว่ามีบทบาทแค่ไหนอย่างไร ติดปัญหาทรัพยากรเครื่องไม้เครื่องมือตรงไหนอย่างไร ? นำเสนอกระบวนการราษฎรอาสาที่ถักเป็นเครือข่ายอยู่ในโซเชี่ยลมีเดียและก้มหน้าเข้าไปบรรเทาสาธารณะอย่างเงียบ ๆ ไม่เอาหน้าเหมือนกับบริษัทห้างร้านบางแห่ง สื่อกลับส่งเสริมกรอบคิดแบบให้พื้นที่แบมือขอความช่วยเหลือ “สงเคราะห์” จากส่วนกลางเท่านั้นซึ่งในระยะยาวแล้วกลไกรอส่วนกลางไปช่วยมันยิ่งล้าสมัยลงไปเรื่อย ๆ

โดยส่วนใหญ่เพื่อนสื่อก็ทำหน้าที่กันเข้มแข็งดีครับ แต่ผมบ่นสำหน่อยกับเพื่อนสื่อที่ทำงานแบบไม่คิดมากมีไมโครโฟนก็จ่อถามรายคนเดือดร้อนมั้ย เดือดร้อนแค่ไหน ต้องการอะไร แล้วสุดท้ายคือมีใครไปช่วยหรือยัง สมมติถ้าตอบว่ายังก็จะสะท้อนภาพต่อว่ารัฐบกพร่องในการสงเคราะห์ (สู้สื่อบางสื่อสงคราะห์เก่งกว่า) แต่ละเลยนำเสนอภาพรวมของสถานการณ์ การชี้ปัญหาให้ตรงเพื่อเตือนภัยต่อหรือบอกเล่าให้รู้ว่าสถานการณ์เดินทางมาถึงขั้นไหน จุดตรงไหนต้องการความช่วยเหลือด่วน (ด่วนจริง ๆ ทำนองว่ามีคนไข้ มีทารก มีคนติดเกาะใกล้ตายต้องการหน่วยกู้ชีพ ฯลฯ)

เพราะที่สุดแล้วสื่อไม่ได้มีบทบาทหน้าที่แค่รายงานสถานการณ์ Who What When Where Why How? เท่านั้น สำหรับสถานการณ์ที่โลกกำลังทวงคืนเช่นนี้สื่อยังเป็นตัวช่วยให้สังคมสร้างกลไก ภูมิคุ้มกัน ระบบรับมือ รวมไปถึงกรอบความคิดและทัศนคติของคนในสังคมด้วย

จะเป็นการแย่มากสำหรับโลกยุคธรรมชาติทวงคืนที่ทั้งสื่อและประชาชนประสานเสียง เกิดเหตุ-รัฐต้องช่วย-ของช่วยยังไม่มา-แบมือ-ปาดน้ำตา-ท้องถิ่นอ่อนแอรอส่วนกลางอย่างเดียว

ผมเชื่อว่าการรับมือความไม่แน่นอนของธรรมชาติไม่สามารถพึ่งพากลไกรัฐ (และกลไกสื่อ) จากส่วนกลางด้านเดียวเท่านั้นแบบที่เกิดในหลายพื้นที่หลายครั้ง (ขนาดที่คำเตือนยังต้องรอประกาศจากส่วนกลางเลย) หัวใจหลักของการเตรียมรับมือต้องเริ่มจากครอบครัว-ชุมชน-ท้องถิ่น-องค์กรท้องถิ่น เป็นหลักก่อน

การรายงานข่าวแบบสังคมสงเคราะห์มีก็มีได้ครับ แต่ขอบาลานซ์กับแง่มุมอื่น ๆ ให้มันสมดุลรวมถึงการสนับสนุนให้ชุมชน-ท้องถิ่นเข้มแข็งขึ้นจะดีไหมครับเพื่อนสื่อ ?

3.สาธารณูปโภค

น้ำท่วมรอบนี้ทำให้คนใต้ขาดน้ำประปา ? น่าสนใจไหมน้ำท่วมแต่ไม่มีน้ำใช้

โดยทั่วไปแล้วเรามักจะคุ้นกันดีกรณีที่ฝนตกหนักน้ำบ่าอาจจะเกิดไฟฟ้าดับได้ เพราะไฟฟ้ามันไม่ค่อยถูกกับน้ำเสาล้มต้นเดียวการไฟฟ้าก็ต้องหยุดการจ่ายไฟไปทั้งเฟส แต่น้ำท่วมรอบนี้ประปาก็ต้องหยุดจ่ายเพราะโรงสูบน้ำไม่มีไฟฟ้า ต่อให้มีไฟฟ้าโรงสูบน้ำดิบก็ท่วม

มีเพื่อนหาดใหญ่คนหนึ่งบอกว่าตอนน้ำท่วมหาดใหญ่เขามีอาหารแห้งมีแก๊สแต่ไม่มีไฟฟ้า หุงข้าวไม่เป็นต้องอาศัยเพื่อนบ้านที่หุงเป็นมาช่วย เพื่อนคนนี้ก็รุ่นราวคราวเดียวกันคือวัย 40 ต้นเลยหลักสี่ไปเกือบถึงรังสิตแล้ว ผมมานั่งนับนิ้วดูเพื่อนฝูงรุ่นราวคราวเดียวทั้งหญิงชายก็คงจะมีครึ่ง-ครึ่งที่หุงข้าวด้วยแก๊สหรือเตาถ่านไม่เป็น และยิ่งเมื่อย้อนทบทวนดูเด็กรุ่นที่กำลังเติบโตในสังคมตอนนี้ยิ่งน่าห่วงว่าคนไทยรุ่นใหม่จะสามารถช่วยเหลือตัวเองในยามที่ไม่มีไฟฟ้า-ประปาส่งมาตามท่อได้อย่างไร ?

สมมติแค่ไม่มีไฟฟ้า-ประปาสัก 3 วัน พื้นที่นั้นโกลาหลน่าดู !!

เหตุการณ์ที่เกิดที่หาดใหญ่และสุราษฏร์-นครฯ ต่อเนื่องกันมาทำให้ผมนึกถึงของฝากจากเพื่อนภรรยาที่เป็นแอร์โฮสเตสเธอให้ ไฟฉายแบบบีบเพื่อชาร์ตแบตฯ เป็นของขวัญปีใหม่ที่ผ่านมา ผมมองข้ามเจ้าสิ่งนั้นเพราะเข้าใจว่าเป็นของเล่นทั้ง ๆ แล้วมันก็คือเครื่องมือฉุกเฉินยามที่ไม่มีไฟฟ้า ใช้แค่พลังงานจากมือก็ทำให้ส่องสว่างได้ และทำให้นึกถึงเมื่อหลายปีก่อนไปสิบสองปันนาคณะเดียวกับพี่จอบ-คุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เดินดูของที่ห้าง ๆ หนึ่งแกสนใจวิทยุเอฟเอ็ม-เอเอ็มหน้าตาประหลาดเทอะทะเครื่องหนึ่งซึ่งผมมองไม่เห็นความน่าประทับใจใด ๆ ในตัวมันเลย ปรากฏว่าเจ้าวิทยุเครื่องนี้ใช้พลังงานมือหมุนเพื่อชาร์จแบต แบบว่าไม่ต้องอาศัยไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่อื่น จำได้ว่าคุณจอบแกจด ๆ จ้อง ๆ เสียดายตังค์ก็เสียดายอยากได้ก็อยาก...จนเมื่อกลับมาถึงห้องพักแล้วอดรนทนไม่ได้ โบกแท็กซี่กลับไปห้างเดิมเพื่อซื้อเจ้าวิทยุมือหมุนเครื่องนั้นกลับมาเมืองไทย

พอเกิดเหตุฉุกเฉินแบบนี้ แบบที่เพื่อนฝูงผู้ประสบภัยต้องเซฟแบตเตอรี่มือถือ ทำให้ไม่สามารถติดตามข่าวสารใด ๆ ได้แม้กระทั่งจากโซเชี่ยลมีเดียทำให้ผมนึกถึงเจ้าไฟฉายมือบีบ(ที่กลายเป็นของเล่นลูก) กับวิทยุมือหมุนของพี่จอบขึ้นมาทันที

ไป ๆ มา ๆ เห็นทีนับจากนี้การอาศัยอยู่ในเมืองไทย (ใหญ่อุดม) ของเรานั้นประชาชาวไทยทั้งหลายจำต้องมีกระเป๋าฉุกเฉินเหมือนคนญี่ปุ่นคน แอล.เอ./ซานฟรานซิสโกเขามี และไม่เพียงเท่านั้นเห็นทีหลักสูตรลูกเสือคงต้องเน้นย้ำเรื่องการดำรงชีวิตพื้นฐาน หาน้ำมาต้ม ก่อไฟหุงหาอาหารด้วยตนเองให้เป็นอย่างจริงจังเพิ่มขึ้น

4. การถือกำเนิดของเครือข่ายอาสาประชาชน

สุดท้ายสั้น ๆ ผมชื่นชมบทบาทของเครือข่ายประชาชนที่อาสาสมัครช่วยกันคนละไม้ละมือประสานงานผ่านเครือข่ายโซเชี่ยลมีเดียอย่างน่าตื่นตาตื่นใจ แสดงให้เห็นถึงน้ำใจคนไทยและความพร้อมของคนไทยที่จะรองรับเหตุการณ์ไม่คาดฝันใด ๆ จากนี้ต่อไป

ที่น่าสนใจตอนนี้ก็คือประชาชนพลเมืองกำลังสร้างระบบและกลไกของตนเองขึ้นมาคู่ขนานกับกลไกของภาครัฐ ในความมืดมิดก็มีแง่งามของความหวังดำรงอยู่ ในฐานะที่เป็นลูกหลานคนใต้คนหนึ่งที่สวนปาล์มชัยบุรีหายไปกับสายน้ำ(เหมือนกับคนอื่น) ขอขอบคุณวีรบุรุษนิรนามเหล่านั้นมา ณ ที่นี้ด้วยความตื้นตันใจ.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง