ตัวอย่าง คำฟ้อง ผู้รับ เหมา ทิ้ง งาน

สวัสดีครับ วันนี้ทีมงานทนายจะมาแนะนำในหัวข้อกรณี ผู้รับเหมาทิ้งงาน ควรมีพยานหลักฐานและการฟ้องร้องต่อสู้คดีอย่างไรบ้าง

บทนำความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับผู้รับเหมาทิ้งงาน

กรณี ผู้รับเหมาทิ้งงาน

จ้างทำของและ หลักนิติกรรมและสัญญาทั่วไป

ความหมายของสัญญาจ้างทำของ

สัญญาว่าจ้างทำของ นั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จ ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นสาระสำคัญของสัญญาจ้างทำของ มีดังนี้

  1. สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาต่างตอบแทน

กล่าวคือ ผู้รับจ้างจะต้องทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างต้อง ให้สินจ้างเพื่อผลงานนั้น ทั้งนี้สินจ้างดังกล่าวอาจเป็นเงินตราหรือทรัพย์สินอย่างอื่นก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน

  1. สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาที่มุ่งถึงผลสำเร็จของงานที่ทำเป็นสำคัญ

กล่าวคือ วัตถุประสงค์ของสัญญาจ้างทำของ คือ “ผลสำเร็จของงาน” ไม่ใช่ต้องการ เฉพาะแต่แรงงานของผู้รับจ้างเท่านั้น เช่น จ้างก่อสร้างบ้าน ทำเฟอร์นิเจอร์ ติดกระจก ซ่อมหลังคาบ้าน จ้างตัดเสื้อผ้า หรือจ้างว่าความ เมื่อไม่ใช่การจ้างแรงงาน นายจ้างจึงไม่ต้อง รับผิดร่วมกับลูกจ้างใน ผลแห่งการละเมิดต่อบุคคลภายนอก ผู้รับจ้างจึงมีอิสระในการทำงาน มากกว่าลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน โดยที่ผู้รับจ้างไม่ได้อยู่ในความควบคุม บังคับบัญชาของผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิจะสั่งงาน หรือบงการผู้รับจ้าง

  1. สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ

สรุปฟ้องได้หรือไม่

สัญญาจ้างทำของเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาตกลงกัน แม้ด้วยวาจาก็สามารถ ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแต่อย่างใด

ผู้ว่าจ้างอาจเคยเจอปัญหาผู้รับจ้างทิ้งงาน กล่าวคือ มีการเบิกเงินค่างานไปแล้ว แต่ไม่ยอมก่อสร้างงานใดๆให้แล้วเสร็จ ซึ่งย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ว่าจ้างได้ ในหลายแง่ เช่น เกิดความเสียหายจากการส่งมอบงานที่ล่าช้า ทำให้งานไม่เสร็จตามที่กำหนดในสัญญา ซึ่งมีผลทำให้ผู้ว่าจ้างต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการที่ผิดสัญญานั้น

และแม้กฎหมายในเรื่องของการจ้างทำของ ไม่ได้กำหนดแบบตามกำหมายไว้ว่าต้องทำเป็นหนังสือสัญญา ลงลายมือชื่อเป็นสำคัญ ซึ่งจะสามารถใช้ฟ้องร้องคดีขึ้นศุ่ศาลได้ แต่ผมเห็นว่า การนี้แม้กฎหมายมิได้กำหนดแบบตามกฎหมายไว้แต่อย่างใด ก็ควรให้ผู้ว่าจ้างควรทำหนังสือสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ลงลายมือชื่อ ให้เรียบร้อย และระบุสาระสำคัญ เช่น กำหนดระยะเวลาการก่อสร้าง , กำหนดว่าหากมีการผิดนัดเกิดขึ้นต้องมีการแสดงความรับผิดชอบจากการผิดนัดส่งมอบงานล่าช้าอย่างไร , แบบการก่อสร้างให้แสดงรายละเอียดการใช้วัสดุ ,การแบ่งจ่ายค่าจ้าง ,จะชำระกันกี่งวด และวันที่เท่าไรบ้าง เห็นว่าสิ่งเหล่านี้ควรทำเป็นสัญญาแสดงให้ชัดเจน

กรณีที่ผู้รับเหมาทิ้งงานควรทำอย่างไร

วิธีแก้และดำเนินคดีทางกฎหมาย กรณีผู้รับเหมาทิ้งงาน

ผู้ว่าจ้างสามารถบอกเลิกสัญญาได้ และหาผู้รับจ้างรายใหม่เข้ามาทำให้เสร็จทันที หรือบอกเลิกสัญญา

กรณีมีการจ่ายค่างานไปแล้วนั้น

เห็นว่าผู้ว่าจ้างสามารถเรียกเงินค่างานคืนได้ในส่วนที่ผู้รับจ้างเหมาก่อสร้างมิได้ดำเนินการก่อสร้าง เช่น เบิกเงินค่างานไปทั้งหมด ๕๐๐,๐๐๐ บาท ผู้รับเหมาก่อสร้างได้ดำเนินการก่อสร้างเพียง ๒๐๐,๐๐๐ บาท เท่านั้น เช่นนี้ผู้ว่าจ้างมีสิทธเรียกคืนได้จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งผู้ ว่าจ้างต้องหาบุคคลมาประเมินส่วนนี้ด้วย หรือผู้ว่าจ้างสามารถเรียกเงินค่าปรับจากการส่งมอบงานล่าช้าตามที่ตกลงไว้ในสัญญา และในส่วนของค่าเสียหาย ผู้ว่าจ้างสามารถเรียกได้จากความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่น ค่าเสียหายจากการที่ผู้ว่าจ้างต้องหาผู้รับเหมารายใหม่ , ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากส่งมอบงานล่าช้า , ค่าเสียโอกาสที่เราได้รับ

กรณีผู้รับเหมาทิ้งงาน หรือกลัวผู้รับเหมาจะทิ้งงงานสามารถแก้ไขได้ด้วยสัญญา อีกส่วนหนึ่งที่เป็นส่วนสำคัญ คือการบอกเลิกสัญญารับเหมาก่อสร้าง ผู้ว่าจ้างจะต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ผู้รับเหมาทราบเป็นระยะพอสมควรด้วย

3. ขอคำปรึกษาทนาย (ผมเข้าใจว่าในเขตกรุงเทพ ทุกศาลน่าจะมี "ทนายอาสา" ให้คำปรึกษาฟรีอยู่ แนะนำให้ปรึกษามากกว่า 2 คนขึ้นไป เพื่อนำเปรียบเทียบคำแนะนำที่ทนายอาสาให้เราว่าควรดำเนินการอย่างไร) สำหรับในเขตต่างจังหวัด น่าจะไปขอคำปรึกษาได้ที่ศาลประจำจังหวัดนั้นๆ #

ทนายอาสาให้คำปรึกษาฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย

(บางคนให้คำปรึกษาดี บางคนให้คำปรึกษาแบบซ่อนเงื่อนนิดๆ (ทนายก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ ถ้าเราใช้บริการเขา โดยว่าจ้างเขาดำเนินคดีกับผู้รับเหมา เขาก็มีรายได้) ก็ต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบอีกครั้งว่าควรใช้บริการทนายคนใดดี)

4. ขอคำปรึกษาทนาย

ตามสำนักทนายความ

# ปกติ สำนักทนายความแต่ละแห่งจะให้คำปรึกษาฟรี (ประมาณ 10-20 นาที) หลังจากนั้นค่อยพิจารณาว่า จะใช้บริการสำนักทนายความแห่งไหนก็ค่อยว่ากัน

ตอนนี้ ใจจริงผมยังไม่อยากฟ้องคดีแพ่ง เนื่องจากค่าทนายที่เรียกมาในวงเงินความเสียหายประมาณ 3-4 แสนบาทนั้น ทนายเรียกค่าบริการอยู่ที่ 3-5 หมื่นบาท (แต่ละแห่งอาจไม่เท่ากัน) ผมเลยได้ความรู้ใหม่มาว่า เราสามารถใช้บริการ "งานไกล่เกลี่ย" ก่อนการฟ้องร้องบังคับคดีได้ เพราะใจจริงแล้ว ผมไม่อยากเสียเวลาและค่าใช้จ่ายไปกับค่าทนายและค่าคดีความอื่นๆ อันทำให้ศาลมีงานเยอะขึ้นแต่อย่างใด แต่อยากหาคนกลางมาช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยเสียก่อน (ซึ่งถ้าหากไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จก็ค่อยฟ้องร้องกันอีกที)

กรณีผมนั้น เขตอำนาจศาลอยู่ ศาลจังหวัดสมุทรปราการ ดังนั้นผมจะไปติดต่อให้ทางเจ้าหน้าที่ช่วยดำเนินการไกล่เกลี่ยให้ในกรณีของผมเสียก่อน ส่วนผลจะเป็นอย่างไรก็ว่ากันไปตามกฎหมายอีกครั้งหนึ่ง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง