โครงการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตัวอย่าง

ในการจัดการศึกษาโดยเน้นการจัดการศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่การปฏิบัติ และเพื่อเป็นการร่วมรำลึกและเทิดพระเกียรติในพระมหากรุณาธิคุณและพระบารมีพระสมเด็จพระปรมินมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงมีสายพระเนตรที่ยาวไกลต่อประเทศและเหล่าพสกนิกรทั้งหลาย โรงเรียนบ้านต้นปริง ขอร่วมแสดงความจงรักภักดีและร่วมเทิดพระเกียรติพระองค์ท่าน โดยน้อมนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา โดยยึดตามแนวพระราชดำรัสปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 9 ที่ให้ความสำคัญของ ความพอประมาณ ความเพียงพอ โดยอาศัยเงื่อนไขของความรู้ คุณธรรม ความมีเหตุผล ความมีภูมิคุ้มกันและควบคู่กับโครงการพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนสุดา โรงเรียนได้นำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่สถานศึกษาและเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสถานศึกษาพอเพียง โดยให้นักเรียนและบุคคลากรในโรงเรียนได้ร่วมกันขับเคลื่อนและถือปฏิบัติเพื่อเป็นราชพลีและร่วมเทิดพระเกียรติ อีกนัยหนึ่ง“สถานศึกษา” นับเป็นอีกด่านสำคัญที่มีบทบาทอย่างยิ่งในการหล่อหลอมคุณลักษณะและคุณธรรมขั้นพื้นฐานให้แก่นักเรียน เพราะเมื่อเด็กและเยาวชนได้รู้ เข้าใจ และมีประสบการณ์เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงตั้งแต่วัยเยาว์ จะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อความเสี่ยงในโลกยุคใหม่ได้ ที่สำคัญเด็กที่ได้ซึมซับและมีความเข้าใจในเศรษฐกิจพอเพียงจะสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณธรรมและดำเนินชีวิตพอเพียงอย่างมีคุณภาพ และเพื่อส่งเสริมในด้านอาหารและโภชนาการให้นักเรียนที่มีปัญหาในด้านน้ำหนักส่วนสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์

กรอบแนวคิด

กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

การบริการอาหารกลางวันเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญยิงสำหรับนักเรียน เพราะการรับประทานอาหาร กลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการและมีการจัดทำอาหารกลางวันอย่างเพียงพอ จะทำให้นักเรียนมีสุขภาพดี และแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค เมื่อนักเรียนมี่สุขภาพและพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงยอมส่งผลให้นักเรียน เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี 1เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ตัวชี้วัดความสำเร็จ :

นักเรียนเข้าร่วมโครงการทุกคน

100.00 2เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมตามแนวทฤษฎีใหม่และตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตัวชี้วัดความสำเร็จ :

นักเรียนเข้าร่วมโครงการทุกคนร้อยละ 100

100.00 3เพื่อให้นักเรียนมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ :

นักเรียนมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ร้อยละ 85

85.00

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน) จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 83 กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน) นักเรียนทั่วไป41 - นักเรียนอ้วน12 - นักเรียนไม่รับประทานอาหารเช้า10 - บุคคลากรโรงเรียนบ้านต้นปริง10 - อสม10 -

การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (บรรยายเพิ่มเติม)

1.ชี้แจงรายละเอียดโครงกาในโรงเรียน 2.ร่วมหาแนวทางการทำโครงการในโรงเรียน 3. แบ่งกลุ่มนักเรียนรับผิดชอบโครงการ 4.กำหนดระยะเวลาการทำโครงการในโรงเรียน 5.ประเมินผลการดำเนินงานการทำโครงการในโรงเรียน 6.สรุปการทำโครงการในโรงเรียน

"โครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่ออาหารกลางวัน โรงเรียนบ้านพอบิด (โรงเรียนบ้านพอบิด) จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ม. 9 ตำบลท่าประดู่ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา 90160

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ โครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่ออาหารกลางวัน โรงเรียนบ้านพอบิด (โรงเรียนบ้านพอบิด)

บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่ออาหารกลางวัน โรงเรียนบ้านพอบิด (โรงเรียนบ้านพอบิด) " ดำเนินการในพื้นที่ ม. 9 ตำบลท่าประดู่ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา 90160 รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 20,000.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"

สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ ความเป็นมา/หลักการเหตุผล วัตถุประสงค์โครงการ กิจกรรม/การดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย ผลลัพธ์ที่ได้ การประเมินผล ปัญหาและอุปสรรค ข้อเสนอแนะ เอกสารประกอบอื่นๆ

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัส แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชน ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจให้ทันต่อยุคโลกาภิวัฒน์ ที่มีเป้าหมายมุ่งให้เกิดความสมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม โดยยึดหลักการ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุมกันในตัวที่ดี ภายใต้เงื่อนไข ความรู้คู่คุณธรรม ที่ต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน ตลอดจนเสริมสร้างจิตใจของคนทั้งชาติทุกระดับชั้น ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบพอเพียง และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โรงเรียนบ้านพอบิด มีนโยบายปฏิรูปการศึกษา โดยยึดคุณธรรมนำความรู้ เห็นความสำคัญของหลักเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาบูรณาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน จึงได้จัดทำโครงการบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้นักเรียนมีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการบริโภคตลอดช่วงการศึกษา โดยใช้ผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตขึ้นภายในโรงเรียนมาประกอบอาหาร
  2. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้านการทำการเกษตร ด้านอาหารโภชนาการ และสุขภาพอนามัย
  3. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันกับการเรียนการสอนในหลักสูตร
  4. เพื่อพัฒนาเด็กและเยาชนในโรงเรียนในการเจริญเติบโตและทั้งร่างกาย สติปัญญาและอารมณ์อย่างเต็มศักยภาพ
  5. เพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก่ชุมชน และผู้ปกครอง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมการเพาะชำต้นไม้
  2. กิจกรรมตลาดนัดนักเรียนร่วมกับชุมชน
  3. กิจกรรมการทำปุ๋ยหมัก
  4. กิจกรรมการเลี้ยงปลาดุก
  5. กิจกรรมการเพาะเห็ด
  6. จัดทำแปลงเกษตรและปลูกปลูกผักปลอดสารพิษ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้ นักเรียน 55

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ครูนักเรียนและชุมชนได้รับการปลูกฝังความรู้ตามแนวทางการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง ๒.ครูนักเรียนได้รับการปรับเปลี่ยนการเรียนรู้การสอนให้มีความสอดคล้องกับแนวทางตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่าด้วยเรื่อง “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ๓.ครูนักเรียนชุมชนสามารถนำความรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในสถานศึกษาและสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้กับชุมชน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์** กิจกรรมของโครงการผลผลิต*ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมการเลี้ยงปลาดุก

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

รายละเอียดกิจกรรมการเลี้ยงปลา (การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน)

  1. สำรวจพื้นที่ในการทำบ่อเลี้ยงปลา
  2. เตรียมพื้นที่ในการทำบ่อเลี้ยงปลา
  3. ครูและนักเรียนร่วมขุดบ่อปลา
  4. เติมน้ำลงไปในบ่อดินที่ขุดไว้
  5. ครูและนักเรียนร่วมกันปล่อยพันธุ์ปลาดุกลงไปในบ่อปลา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ปลาดุกสำหรับส่งเข้าโรงครัวใช้ทำอาหารกลางวันสัปดาห์ละ 5 กิโลกรัม ตลอดการทำโครงการ 150 กิโลกรัม

55 0

2. กิจกรรมการเพาะชำต้นไม้

วันที่ 13 พฤษภาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

นำดินและขุยมะพร้าวมาผสมกัน และนำดินที่ได้จากการผสมมาใส่ถุงเพาะชำขนาดเล็ก ถุงเพาะชำขนาดกลาง กระถางเพาะชำ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิตที่ได้ คือได้ทำการผสมดินและเตรียมดินใส่ถุงเพาะชำและกระถางเพาะชำ

55 0

3. กิจกรรมการทำปุ๋ยหมัก

วันที่ 24 พฤษภาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

อุปกรณ์การทำปุ๋ย 1.ปุ๋ยคอก(จากมูลสัตว์) จำนวน 100 กิโลกรัม 4 ถุงปุ๋ย 2.แกลบดำ จำนวน 100 กิโลกรัม 4 ถุงปุ๋ย 3.รำละเอียด 5-10 กิโลกรัม 4.ปุ๋ยชีวภาพน้ำ (น้ำหมักชีวภาพ) จำนวน 2 ลิตร 5.กากน้ำตาล จำนวน 2 ลิตร 6.น้ำ (ถ้าเป็นน้ำประปาควรตั้งทิ้งไว้ 2 วัน เพื่อให้กลิ่นคลอรีนระเหย) ใช้ จำนวน 25-30 ลิตร 7.บัวรดน้ำ ขนาด 20 ลิตร 8.ถังพลาสติกขนาด 50 ลิตร 1 ใบ

วิธีการทำ 1.เตรียมสถานที่ ใช้ลานที่มีพื้นเสมอกันเป็นที่ผสม 2.เทวัสดุ ในข้อ 1,2,3 กองรวมกัน บนลานที่ผสมปุ๋ย 3.ผสมวัสดุ 4,5,6 ผสมลงในถัง คนให้เข้ากัน 4.ใช้บัวรดน้ำ ตักน้ำที่ผสมแล้ว รดลงกองปุ๋ย แล้วคลุกเคล้าผสมให้เข้ากันกลับไปมา จนหมดน้ำที่ผสมไว้ ใช้มือบีบดู ถ้าเป็นก้อน ไม่มีน้ำไหลออกมาตามง่ามมือ ก็เป็นอันใช้ได้ 5.ทำกองปุ๋ยเป็น สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความสูงไม่เกิน 1 ฟุต (ถ้าสูงมากจะเกิดความร้อนจะทำให้จุลินทรีย์ตาย) คลุมด้วยกระสอบป่าน หรือกระสอบปุ๋ยทิ้งไว้ในที่ร่ม 48 ชั่วโมง สามารถนำไปใช้ได้

การนำไปใช้ 1.ในนาข้าว ควรหว่านก่อนทำการไถกลับ หรือหว่านขณะมีน้ำขัง ในอัตราส่วน 400 กิโลกรัม ต่อไร่ ประโยชน์ จะช่วยให้ข้าวเจริญเติบโต ผลผลิตดี ลดต้นทุนการซื้อปุ๋ย 2..ไม้ผล ควรใส่ โดยขุดรอบทรงพุ่ม 1 หน้าจอบ และใช้ดินเก่ากลบ ในอัตราส่วนพอประมาณ ประโยชน์ ใช้แทนปุ๋ย รองก้นหลุมก่อนปลูกไม้ผล ช่วยเร่งการเจริญเติบโต ลดต้นทุน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ปุ๋ยหมักชีวภาพในการใส่ต้นไม้

55 0

4. กิจกรรมการเพาะเห็ด

วันที่ 7 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

ขั้นตอนกิจกรรมการเพาะเห็ด

  • สำรวจพื้นที่ในการทำโรงเพาะเห็ด
  • จัดทำโรงเพาะเห็ด
  • สั่งซื้อก้อนเห็ดสำเร็จรูปจำนวน 430 ก้อน
  • ครูและนักเรียนร่วมกันจัดก้อนเห็ดในโรงเพาะเห็ด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้เห็ดสำหรับโครงการอาหารกลางวัน สัปดาห์ละ 2 กิโลกรัม ตลอดการทำโครงการได้ 8 กิโลกรัม และสามารถจำหน่ายให้ผู้ปกครองในชุมชน

55 0

5. จัดทำแปลงเกษตรและปลูกปลูกผักปลอดสารพิษ

วันที่ 5 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

รายละเอียดการจัดทำแปลงเกษตรสำหรับปลูกผักปลอดสารพิษ

  1. สำรวจพื้นที่สำหรับการจัดทำแปลงผัก
  2. ปรับพื้นที่สำหรับการจัดทำแปลงผัก
  3. จัดซื้ออุปกรณ์สำหรับการจัดทำแปลงผัก - อิฐบล็อค - ทราย - ปูนซีเมนต์ - ตะปู
  4. ดำเนินการจัดทำแปลงผักโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีและผู้ปกครอง

กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ

  • ปลูกผักบุ้ง 20 ล้อ
  • บวบ 10 ล้อ
  • ผักกวางตุ้ง 10 ล้อ
  • ถั่วฝักยาว 10 ล้อ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิตที่ได้

  • ปลูกผักบุ้ง 20 ล้อ เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตป้อนสู่โรงครัวเพื่อทำอาหารให้เด็กรับประทานสัปดาห์ละ 3 กิโลกรัม ตลอดระยะเวลาทำโครงการสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 20 กิโลกรัม
  • บวบ 10 ล้อ เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตป้อนสู่โรงครัวเพื่อทำอาหารให้เด็กรับประทานสัปดาห์ละ 2 กิโลกรัม ตลอดระยะเวลาทำโครงการสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 10 กิโลกรัม
  • ผักกวางตุ้ง 10 ล้อ เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตป้อนสู่โรงครัวเพื่อทำอาหารให้เด็กรับประทานสัปดาห์ละ 3 กิโลกรัม ตลอดระยะเวลาทำโครงการสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 20 กิโลกรัม
  • ถั่วฝักยาว 10 ล้อ เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตป้อนสู่โรงครัวเพื่อทำอาหารให้เด็กรับประทานสัปดาห์ละ 2 กิโลกรัม ตลอดระยะเวลาทำโครงการสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 9 กิโลกรัม

55 0

6. กิจกรรมตลาดนัดนักเรียนร่วมกับชุมชน

วันที่ 23 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

รายละเอียดกิจกรรมการปลูกผักบุ้ง 1. สำรวจพื้นที่ในการปลูกผักบุ้ง 2. เตรียมพื้นที่ในการปลูกผักบุ้งโดยใช้ล้อยางรถยนต์ 3. ใส่ดินและปุ๋ยคอกในล้อยาง 4. ปลูกผักบุ้งในล้อยางจำนวน 20 ล้อ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ผักบุ้งสำหรับโครงการอาหารกลางวันจำนวน 20 ล้อและจำหน่ายให้ผู้ปกครองในชุมชน

55 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม: บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ :

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย 1 เพื่อให้นักเรียนมีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการบริโภคตลอดช่วงการศึกษา โดยใช้ผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตขึ้นภายในโรงเรียนมาประกอบอาหาร ตัวชี้วัด : ร้อยละของนักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันครบถ้วนตามหลักโภชนาการสร้างความมั่นคงด้านอาหารในโรงเรียน ครัวเรือนและชุมชนเพิ่มขึ้น 80.0095.00

สมุดบันทึกสุขภาพ

2 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้านการทำการเกษตร ด้านอาหารโภชนาการ และสุขภาพอนามัย ตัวชี้วัด : ร้อยละของนักเรียนที่สามารถนำความรู้และประสบการณ์ด้านการเกษตร การจัดทำบัญชีครัวเรือนไปใช้ รวมถึงการประกอบอาชีพในอนาคตเพิ่มขึ้น 70.0090.00

ครัวเรือนต้นแบบ

3 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันกับการเรียนการสอนในหลักสูตร ตัวชี้วัด : ร้อยละของนักเรียนที่สามารถบูรณาการการเรียนรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ได้ 70.0095.00

ตารางเรียน ตารางสอน

4 เพื่อพัฒนาเด็กและเยาชนในโรงเรียนในการเจริญเติบโตและทั้งร่างกาย สติปัญญาและอารมณ์อย่างเต็มศักยภาพ ตัวชี้วัด : ร้อยละของนักเรียนที่มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ขึ้น 80.0095.00

ผลการเรียน

5 เพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก่ชุมชน และผู้ปกครอง ตัวชี้วัด : มีการขยายผลไปสู่หมู่บ้าน/ชุมชน 70.0090.00

ครัวเรือนต้นแบบ

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน) จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 55กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน) นักเรียน 55

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้นักเรียนมีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการบริโภคตลอดช่วงการศึกษา โดยใช้ผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตขึ้นภายในโรงเรียนมาประกอบอาหาร (2) เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้านการทำการเกษตร ด้านอาหารโภชนาการ และสุขภาพอนามัย (3) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันกับการเรียนการสอนในหลักสูตร (4) เพื่อพัฒนาเด็กและเยาชนในโรงเรียนในการเจริญเติบโตและทั้งร่างกาย สติปัญญาและอารมณ์อย่างเต็มศักยภาพ (5) เพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก่ชุมชน และผู้ปกครอง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมการเพาะชำต้นไม้ (2) กิจกรรมตลาดนัดนักเรียนร่วมกับชุมชน (3) กิจกรรมการทำปุ๋ยหมัก (4) กิจกรรมการเลี้ยงปลาดุก (5) กิจกรรมการเพาะเห็ด (6) จัดทำแปลงเกษตรและปลูกปลูกผักปลอดสารพิษ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง