Boi ลงท นแบบ ออโตเมช น ม ระยะเวลาในการขอ boiไหมคะ

ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 4 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาและกระจาย ความเจริญไปสู่ภูมิภาค สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จึงได้มีการจัดตั้งสำนักงานภูมิภาคแห่งแรกขึ้นในปี 2531 ที่จังหวัดนครราชสีมา โดยเรียกว่า หน่วยปฏิบัติงานส่งเสริมการลงทุน ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุน...

ในกรณีดังกล่าวนี้บริษัทต้องยื่นขอขยายเวลาภายในหรือล่วงหน้ากี่วันคะ และต้องไปยื่นขอขยายเวลาที่ BOI ใช่ไหม ใช้เวลาในการอนุมัติกี่วัน และช่วงระหว่างเวลาที่เรายื่นขออนุมัติอยู่ ยกตัวอย่างเช่น ใช้สิทธิได้ภายในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ และเรายื่นเรื่องขอขยายเวลาวันที่ 1 กุมภาพันธ์ แต่จะมีการนำเข้าเครื่องจักรหรือแม่พิมพ์เข้ามาถึงไทยประมาณวันที่ 20 กุมภาพันธ์ จะสามารถใช้สิทธิได้หรือไม่

1.การยื่นขยายเวลาเครื่องจักร ต้องยื่นที่ BOI โดยกำหนดเวลาพิจารณาไว้ไม่เกิน 45 วันทำการ (หรือ 20 วัน กรณีขยายเวลาเฉพาะแม่พิมพ์) แต่ส่วนใหญ่มักจะใช้เวลาไม่นานมากนัก

2.การยื่นก่อนล่วงหน้ากี่วัน ไม่ได้กำหนดไว้ชัดเจน แต่หากดูจากระยะเวลาพิจารณาที่ BOI กำหนด ก็ควรยื่นล่วงหน้าได้ตั้งแต่ 2 - 2.5 เดือน ก่อนครบกำหนดวันนำเข้าเครื่องจักร

3.หากเครื่องจักรเข้ามาหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาไปแล้ว แต่การพิจารณาอนุมัติขยายเวลายังไม่แล้วเสร็จ บริษัทต้องยื่นขออนุญาตใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร หรือชำระภาษีอากรไปก่อน จากนั้น เมื่อได้รับอนุมัติขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรเรียบร้อยแล้ว จึงสามารถยื่นสั่งปล่อยถอนค้ำประกันหรือสั่งปล่อยคืนอากรได้ต่อไป

การขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรและแม่พิมพ์นั้น ในแบบฟอร์ม "รายการเครื่องจักรที่ขอขยายเวลาการนำเข้า FIN-EM 02-05" หน้าที่4/4 1. จะต้องกรอก "รายการแม่พิมพ์" ลงไปด้วย หรือ "รายการเครื่องจักร" อย่างเดียว 2. "แบบขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรและเปิดดำเนินการ หน้าที่1/4" ในส่วนที่ต้องระบุ "ยื่นขอรับการส่งเสริมวันที่.........................................." คือไม่ทราบวันที่ยื่นจริงๆ สามารถใช้วันที่ที่ระบุในส่วนของบัตรส่งเสริมตรงไหนได้บ้าง 3. เอกสารแนบที่จะยื่นขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรนั้น จะต้องแนบ "รายการเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบพิจารณาเรื่องการขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร" ด้วยหรือไม่

1. ให้กรอกข้อมูลทั้งเครื่องจักรและแม่พิมพ์ที่ต้องการขยายระยะเวลานำเข้า

2. วันที่ยื่นขอรับการส่งเสริม ไม่จำเป็นต้องกรอกก็ได้

3. ให้ยื่นใบรายการเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการพิจารณาฯ ไปด้วยพร้อมกัน

บริษัทสามารถผลิตและส่งขายได้เลย แล้วยืนสูตรการผลิตเพื่อขอตัดบัญชีภายหลังได้ใช่รึเปล่า กรณีนี้บริษัทสามารถใช้ได้กับทุกบัตรที่ได้รับการส่งเสริมรึเปล่า บริษัท มี 3 บัตร บัตรที่ 1. นำเข้ามาประกอบและส่งออก บัตรที่ 2. ฉีดขึ้นรูปแล้วส่งออก บัตรที่ 3 . IPO ทั้ง 3 บัตร สามารถยื่นสูตรภายหลังจากผลิตและส่งขายใช่รึเปล่า

ระบบ rmts-2011 มีการกำหนดสูตรเป็น revision เพื่อกำหนดว่าสูตรนั้นจะมีผลใช้ในช่วงเวลาใด แต่ต่อมาพบว่า เกิดปัญหาในการใช้งานมากพอสมควร เช่น ใบขนที่ส่งออกในช่วงที่ revision

2 มีผลใช้งาน อาจจะมีสูตรการผลิตตาม revision

1 ก็ได้ เท่าที่ตรวจสอบล่าสุดคือ ปัจจุบันจะไม่ตรวจสอบว่าวันส่งออกในใบขนขาออก เป็นวันที่ในช่วงของสูตรการผลิต revision ใด คือ ตอนยื่นตัดบัญชี บริษัทสามารถเลือกได้โดยอิสระว่าจะใช้ revision ใด มาตัดบัญชีก็ได้

ดังนั้น แม้บริษัทจะส่งออกไปก่อนที่จะขอสูตรการผลิต ก็สามารถนำใบขนที่ส่งออกไปแล้ว มายื่นขอตัดบัญชีตามสูตรการผลิต revision ที่ยื่นขอในภายหลังได้

ตามประกาศที่ ง. ๑ / ๒๕๖๑ เรื่องการงดให้การส่งเสริมการลงทุนในประเภทกิจการ 7.5 และประเภทกิจการ 7.6 คำถาม งดให้การส่งเสริม แต่บริษัทที่ได้บัตรส่งเสริมก่อนหน้านี้ ไม่มีผลกระทบและยังคงใช้ได้ต่อไปถูกต้องไหม

การงดการให้ส่งเสริมกิจการ IHQ และ ITC ตามประกาศ กกท.ที่ 1/2561 ไม่มีผลกระทบกับโครงการ IHQ และ ITC ที่ได้รับส่งเสริมไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่หากสิทธิประโยชน์การนำเข้าวัตถุดิบตามมาตรา 36 ของกิจการ ITC ที่ได้รับส่งเสริมอยู่เดิมสิ้นสุดลง จะได้รับการขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบหรือไม่ หรือจะขยายเวลาโดยมีเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติมหรือไม่ คงต้องรอคำชี้แจงจาก BOI อีกครั้งหนึ่ง

ในกรณีทางบริษัทฯ ต้องการยื่นขอขยายเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียวนั้น จำเป็นต้องทำหนังสือนำของบริษัทฯ หรือไม่

การยื่นงานบางเรื่อง BOI ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขให้ต้องยื่นหนังสือนำส่งด้วย แต่ปกติควรทำหนังสือนำส่ง (หัวจดหมายบริษัท) แนบไปด้วยทุกครั้ง

เนื่องจากบริษัทได้รับบัตรส่งเสริมแล้ววันที่ 6 มกราคม 2559 ปัจจุบันยังไม่ได้นำเข้าเครื่องจักร จึงรบกวนสอบถามว่าจะเริ่มนับเวลาตั้งแต่เมื่อไร เริ่มนับแต่วันได้รับบัตร หรือวันนำเข้าเครื่องจักรครั้งแรก

ระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรจะนับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริม กรณีสอบถามคือ 6 ม.ค.59 - 5 ก.ค 61

อยากทราบว่าวัตถุดิบนำเข้าตามมาตรา 36(1) BOI จะต้องผลิตและส่งออกภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้นำเข้า เงื่อนไขนี้จะเหมือนกับมาตรา 29 ของกรมศุลกากรหรือเปล่าคะ เพราะตามมาตรา 29 (19 ทวิ) ถ้าวัตถุดิบนำเข้ามาและไม่ผลิต และไม่ส่งออกภายใน 1 ปีนับจากวันนำเข้า จะไม่สามารถขอคืน import duty ได้, แต่ BOI คือเรื่องการตัด stock (ซึ่งไม่ได้จ่าย Import duty & VAT ตอนนำเข้า)

ตาม ประกาศ สกท ที่ ป.3/2556 ข้อ 12 เมื่อสิทธิประโยชน์มาตรา 36 สิ้นสุดลง วัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิตามมาตรา 36 จะต้องผลิตและส่งออกภายใน 1 ปี นับจากวันสิ้นสุดสิทธิ และต้องตัดบัญชีให้เสร็จภายใน 2 ปีนับจากวันสิ้นสุดสิทธิ แต่ปัจจุบันประกาศดังกล่าวถูกยกเลิกแล้ว โดย ประกาศ สกท ที่ ป.8/2561 และเปลี่ยนเป็นดังนี้

ข้อ 13 เมื่อสิทธิประโยชน์มาตรา 36 สิ้นสุดลง วัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิตามมาตรา 36 จะต้องตัดบัญชีให้เสร็จภายใน 2 ปี นับจากวันสิ้นสุดสิทธิ

สรุปคือ ตามประกาศฉบับปัจจุบัน วัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิมาตรา 36 จะผลิตส่งออกเกินกว่า 1 ปีนับจากวันสิ้นสุดสิทธิก็ได้ แต่จะต้องตัดบัญชีให้เสร็จสิ้นภายใน 2 ปีนับจากวันสิ้นสุดสิทธิ ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าว แตกต่างกับการนำเข้าโดยใช้สิทธิมาตรา 19 ทวิ ของกรมศุลกากร

คำว่าวันสิ้นสุดสิทธิ หมายถึงมาตรา 36 หมดอายุ ไม่ได้ไปขอขยายเวลาการนำเข้าใช่ไหม เพราะถ้าบริษัทฯ ขยายเวลาการนำเข้าวัตถุดิบทุกๆ 2 ปี ตามระเบียบของ BOI นั่นก็หมายความว่าไม่มีวันสิ้นสุดสิทธิใช่ไหม

หากยื่นขยายระยะเวลานำเข้า และได้รับอนุมัติขยายเวลา ก็ถือว่าสิทธิมาตรา 36 ไม่ได้สิ้นสุดลง ถูกต้องแล้ว อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 2562 เป็นต้นไป ในการยื่นขอขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบ บริษัทจะต้องดำเนินการตัดบัญชีใบขนสินค้าขาออกที่มีอายุเกิน 1 ปี นับถึงวันที่ยื่นขอขยายเวลา ให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะได้รับการพิจารณาอนุมัติการขยายเวลา ตามเงื่อนไขข้อ 8 (3) ของประกาศ สกท ที่ ป.8/2561

กรณีที่บริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมฯ BOI ในส่วนของผลิตภัณฑ์แล้วนั้น หากได้มีการนำเข้าแม่พิมพ์เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ ที่ยังไม่ได้ขออนุมัติสูตรการผลิต อยากทราบว่าสามารถนำเข้าแม่พิมพ์ภายใต้สิทธิ BOI ได้หรือไม่

การจะนำเข้าแม่พิมพ์โดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรขาเข้า มีเงื่อนไขคือ

- ต้องนำเข้ามาในช่วงระยะเวลาที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี

- ต้องเป็นแม่พิมพ์ที่สอดคล้องกับกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริม

ส่วนการจะขออนุมัติสูตรการผลิตแล้วหรือไม่นั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการขอใช้สิทธินำเข้าเครื่องจักรแม่พิมพ์ เช่น กิจการที่ผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายในประเทศ จะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบ และไม่ต้องทำสูตรการผลิต แต่หากได้รับสิทธิตามมาตรา 28, 29 ก็สามารถขอยกเว้น/ลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักรและแม่พิมพ์ได้ โดยไม่ต้องทำสูตรการผลิต

กำลังจะทำเตรียมเอกสารที่จะยื่นขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร และ เปิดดำเนินการ ครั้งที่ 3 แต่มาพบว่า ข้อมูลที่ยื่นขอขยายเวลาครั้งที่ 2 เกือบทั้งหมด เช่น รายการเครื่องจักรทั้งที่แจ้งนำเข้ามาแล้ว และรายการที่ขอขยายเวลาที่ยื่นไว้ ไม่ใช่ข้อมูลและรายการเครื่องจักรสำหรับบัตรส่งเสริมนั้น (ตามที่ผู้บริหารแจ้งมาภายหลัง เนื่องจาก บริษัทมีบัตรฯ 2 ใบ โดยแบ่งแยกรุ่นสินค้าไปในแต่ละบัตรฯ และมีรุ่นที่ยังไม่ได้รับการส่งเสริม ) บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง จำเป็นต้องทำหนังสือชี้แจงไปยังสำนักงานฯ ก่อน ที่จะทำการยื่นขอขยายเวลาครั้งที่ 3 หรือ สามารถทำการยื่นขอขยายเวลานำเข้าครั้งที่ 3 โดยใช้ข้อมูลที่ถูกต้องยื่นได้เลย

รายการเครื่องจักรที่ขอขยายเวลานำเข้า เป็นเพียงแผนการเท่านั้น เมื่อจะมีการนำเข้าจริง ก็ต้องขออนุมัติแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีรายการเครื่องจักรเหล่านั้นให้เรียบร้อยก่อน จึงจะนำเข้ามาโดยใช้สิทธิได้ ดังนั้น แม้ว่าในการขอขยายเวลานำเข้าครั้งที่ 1 หรือ 2 จะมีการแจ้งข้อมูลคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง แต่เมื่อได้รับอนุมัติไปแล้ว ก็ถือว่าขั้นตอนจบเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องชี้แจงแก้ไขอะไรอีก ครั้งนี้หากจะยื่นขยายเวลานำเข้าเป็นครั้งที่ 3 ก็ขอให้เตรียมข้อมูลให้ถูกต้อง

บริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนสำหรับกิจการ IPO/ITC บริษัทฯ สามารถซื้อผลิตภัณฑ์กับบริษัทที่เป็น Trending (Non-BOI) โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1) บริษัทฯ เปิด P/O คำสั่งซื้อ และชำระเงินค่าสินค้า ให้กับบริษัท A (Trending (Non-BOI)) 2) บริษัท A (Trending (Non-BOI)) ซื้อผลิตภัณฑ์จากบริษัท B (BOI) และให้เป็นผู้จัดส่งผลิตภัณฑ์ให้บริษัทฯ 3) บริษัทฯ โอนเอกสารตัดบัญชี (Report V) ให้กับบริษัท B (BOI) รบกวนสอบถามตามขั้นตอนดังกล่าวบริษัทฯ สามารถทำได้หรือเปล่า

A (BOI) -> B (Trading Non-BOI) -> C (BOI) -> ส่งออก กรณีนี้ C ไม่สามารถออก report-v ให้กับ A ได้ เนื่องจากไม่มีการซื้อขายกันโดยตรง โดย B สามารถยื่นขอรับส่งเสริมในประเภทกิจการ ITC เพื่อออก report-V จาก C ไป B และ B ไป A เป็นทอดๆ ตามการซื้อขายจริง

หากบริษัทต้องการขายวัตถุดิบที่เป็นโครงการได้รับส่งเสริมการลงทุน แต่วัตถุดิบตัวนั้น มีอากรเป็น 0% อยู่แล้ว และมีต้องมีการ return ให้ vendor บริษัทจะทำวิธีไหนได้บ้างหากต้องการขายวัตถุดิบนั้น

สามารถทำได้ 2 วิธี คือ

1. บริษัท A และ vendor B ยื่นเรื่องขอโอน/ขอรับโอนวัตถุดิบ ต่อ BOI ซึ่งกรณีนี้บริษัท A ไม่ต้องส่งวัตถุดิบนั้นไปต่างประเทศ แต่โอนกลับไปให้ vendor B ไปดำเนินการต่อเอง

2. บริษัท A ยื่นเรื่องขอส่งส่วนสูญเสียไปต่างประเทศต่อ BOI โดยมีขั้นตอนดังนี้

- ยื่นขออนุญาตส่งส่วนสูญเสีย (นอกสูตร) ออกไปต่างประเทศต่อ BOI โดยถือว่าวัตถุดิบที่เหลือจากการผลิตนี้คือส่วนสูญเสีย ตามประกาศ สกท ที่ ป.5/2543

- (แก้ไข) อินวอยซ์และใบขนขาออก ควรระบุชื่อตามสภาพวัตถุดิบที่ซื้อมา และจะส่งออกไปจริง โดย จนท BOI อาจขอให้บริษัทส่งเอกสารหลักฐานเพื่อตรวจสอบว่าเป็นวัตถุดิบที่เหลือจากการผลิตที่ไม่สามารถใช้ตามวัตถุประสงค์เดิมได้

- เมื่อส่งออกแล้ว ยื่นขออนุมัติปรับยอดส่วนสูญเสีย (นอกสูตร) ที่ส่งออกไปต่างประเทศ ต่อ BOI พร้อมทำใบโอนสิทธิให้ Vendor B แนบไปด้วย

- ส่งใบโอนสิทธิที่ได้รับอนุมัติจาก BOI (ฉบับจริง) ให้กับ Vendor B เพื่อให้ Vendor B นำไปตัดบัญชีต่อไป

ตามหนังสือแจ้งมติฯ บริษัทได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรใช้แล้วที่มีอายุเกิน 10 ปี จำนวน 4 เครื่อง, แต่บริษัทอาจนำเข้าไม่ทันตามระยะเวลาที่ขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรมาแล้วจำนวน 3 ครั้ง...ทั้งนี้มีวิธีการใดที่จะขอขยายนำเข้าได้อีกหรือไม่

การกำหนดให้ขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร 3 ครั้ง เป็นไปตามประกาศ ป.1/2548 ซึ่งกำหนดว่า หากไม่สามารถดำเนินการได้ตามนี้ ให้เลขาธิการ BOI เป็นผู้พิจารณาความเหมาะสม และนำเสนอคณะอนุกรรมการ แต่ตอบตรงๆว่า ถ้าเป็นเหตุผลทั่วๆไป เช่น เศรษฐกิจไม่ดี โน่นนี่นั่น ไม่เป็นเหตุผลที่จะขอขยายเวลาเกินกว่า 3 ครั้ง เพราะถ้าไม่พร้อมตอนนี้ จะรอไว้ยื่นเป็นโครงการใหม่ภายหลังเมื่อพร้อมก็ได้ หรือถ้าเป็นกิจการหมวดเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่อนุญาตให้นำเข้าเครื่องจักรได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับการส่งเสริม ก็จะไม่เจอปัญหานี้

เนื่องด้วยบริษัทฯ ได้กำลังจะขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรเป็นครั้งที่ 3 แต่ใบหนังสืออนุมัติของ BOI ครั้งที่ 2 หายไป ต้องทำอย่างไรบ้าง

เมื่อได้รับอนุมัติหนังสืออนุมัติขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร บริษัทจะต้องนำบัตรส่งเสริมและหนังสืออนุมัติดังกล่าว ไปติดต่อกับฝ่ายบัตรส่งเสริมของ BOI เพื่อให้ทำการบันทึกการแก้ไขในท้ายบัตรส่งเสริม หากได้ทำการบันทึกแก้ไขท้ายบัตรส่งเสริมเสร็จสิ้นแล้ว หนังสือแจ้งมติอนุมัติก็ไม่จำเป็นต้องใช้อีกต่อไป เนื่องจากให้ใช้บันทึกการแก้ไขท้ายบัตรส่งเสริมแทน

การรายงานผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ขออนุญาตไปเก็บนอกสถานที่ มีหลักเกณฑ์อย่างไร

การขอนำวัตถุดิบ/ส่วนสูญเสีย/ผลิตภัณฑ์ ไปเก็บนอกสถานที่ ปกติจะพิจารณาอนุมัติให้ทุกรายการที่การยื่นขออนุญาตต่อ BOI

ในกรณีที่ต้องการส่งผลิตภัณฑ์ไปทดสอบต่างประเทศ เนื่องจากเป็น Model ใหม่ที่เพิ่งเริ่มผลิตต้องดำเนินการอย่างไร และเมื่อนำกลับเข้ามาหลังทดสอบเสร็จ จะสามารถนำเข้าโดยยกเว้นภาษีได้หรือไม่

1. การส่งสินค้าตัวอย่างไปทดสอบต่างประเทศ

หากเป็นชื่อเดียวกับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับส่งเสริม และขออนุมัติสูตรการผลิต ก็สามารถตัดบัญชีได้ หากจะยังไม่ขอสูตรการผลิต ก็ส่งออกไปตามปกติ ในข่ายไม่ใช้สิทธิ แต่จะนำมาตัดบัญชีไม่ได้ และต้องชำระภาษีอากรวัตถุดิบในส่วนที่ใช้ในการผลิตนั้น

2. กรณีที่ทดสอบเสร็จแล้ว จะนำกลับเข้ามาอีก

หากนำเข้ามาเพื่อซ่อมแซมและส่งกลับไปต่างประเทศ ก็ขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีตาม ม.36(1) ได้ ในข่ายสินค้านำกลับมาซ่อมเพื่อส่งออก

หากนำเข้ามาในข่ายของตัวอย่างเพื่อส่งกลับออกไปต่างประเทศ ก็อาจขอใช้สิทธิตามมาตรา 36(2) ได้ แต่ถ้าไม่ได้นำเข้ามาเพื่อส่งออก ก็ชำระอากรขาเข้าไปตามปกติ หรืออาจทำใบสุทธินำกลับเพื่อยกเว้นอากรขาเข้าสินค้านั้น แต่จะต้องชำระอากรในส่วนค่าทดสอบที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นค่าบริการที่ติดมากับสินค้า

สิทธิประโยชน์ด้านเครื่องจักรหมด 2 มิถุนายน 57 สามารถขอขยายได้หรือเปล่า และถ้าจะนับวันขอขยายจากเดิมหรือ ณ วันที่ยื่นขอขยาย

การขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร สามารถขอขยายได้ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี กรณีที่ลืมขยาย และสิ้นสุดระยะเวลาไปแล้ว (เช่น ตามกรณีที่สอบถาม) สามารถยื่นขอขยายเวลาได้ โดยจะนับระยะเวลาต่อจากวันที่สิ้นสุดเดิม

ในกรณีบริษัทฯ ยื่นขอขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรครั้งที่ 1 โดยในแบบฟอร์ม BOI : FIN EM 02-05 หน้า 2/4 ต้องระบุวันที่ขอขยายเวลาเปิดดำเนินการเต็มโครงการด้วยหรือไม่ ถ้าต้องระบุ-ต้องนับระยะเวลาออกไปอีกเท่าไร (บริษัทฯ ขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรออกไปอีกเป็นเวลา 12 เดือน ถึงวันที่ 19 มีนาคม 2559)

ถ้ายื่นขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร (ข้อ 3 ในแบบฟอร์ม) ก็ให้ขอขยายเวลาเปิดดำเนินการเต็มโครงการ (ข้อ 4 ในแบบฟอร์ม) ไปด้วยพร้อมกัน ถ้าขอขยายเวลาเครื่องจักร 1 ปี ก็ขยายเวลาเปิดดำเนินการออกไปอีก 1 ปี (ระบุวันที่) เช่นกัน

การนำเข้าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากบริษัทแม่เพื่อมาเป็นตัวอย่างสำหรับการตรวจสอบเมื่อตรวจสอบเสร็จแล้วต้องส่งกลับคืนไปบริษัทแม่ สามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง

การนำผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากต่างประเทศเข้ามาเป็นตัวอย่าง และเมื่อเสร็จวัตถุประสงค์แล้วจะส่งคืนกลับไปต่างประเทศ เข้าข่ายที่จะขอใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้า(และภาษีมูลค่าเพิ่ม) ตามมาตรา 36(2) คือ

มาตรา 36(2) การยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่ผู้ได้รับการส่งเสริมนำเข้ามาเพื่อส่งกลับออกไป กิจการที่มีการผลิตส่งออก ปกติจะได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 36(2) ควบคู่ไปกับมาตรา 36(1) อยู่แล้ว โดยมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดพร้อมกับมาตรา 36(1)

ดังนั้น หากในบัตรส่งเสริมกำหนดให้ได้รับสิทธิมาตรา 36(2) บริษัทก็สามารถยื่นขอ Max Stock (แบบไม่หมุนเวียน) เพื่อขอใช้สิทธินำเข้าตามมาตรา 36(2)

ในกรณีที่เรารับจ้างตรวจสอบผลิตภัณฑ์ โดยการนำผลิตภัณฑ์เข้ามาจากต่างประเทศเพื่อตรวจสอบด้วยกล้อง โดยไม่ผ่านกระบวนการผลิตใดๆ เมื่อตรวจสอบเสร็จส่งกลับคืนให้ลูกค้า ตัวนี้ไม่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ได้ใช่ไหม หรือพอจะมีวิธีใดบ้างที่สามารถทำได้

1. การตรวจสอบด้วยกล้อง เป็นการผ่านกรรมวิธีการผลิตในขั้นตอนการตรวจสอบ

2. กิจการที่มีขั้นตอนเพียงการตรวจสอบ ปกติจะมีมูลค่าเพิ่มต่ำ ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะให้การส่งเสริม คำถามมีข้อมูลไม่เพียงพอ ก็คงตอบได้เท่านี้

ขอ BOI กี่วัน

บีโอไอดำเนินการออกบัตรส่งเสริม ภายใน 10 วันทำการ นับจากวันที่สำนักงานได้รับแบบฟอร์มขอรับบัตรส่งเสริมและหลักฐานครบถ้วน

BOI มีระยะเวลากี่ปี

การให้การส่งเสริมของ BOI ไม่มีการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด แต่สิทธิประโยชน์ทางภาษีจะมีระยะสิ้นสุด เช่น เครื่องจักร 30 เดือน (ขยายเวลาได้ 3 ครั้ง) หรือภาษีเงินได้ 3-8 ปี (ขยายเวลาไม่ได้) เป็นต้น

BOI มีวันหมดอายุไหม

1. บัตรส่งเสริม BOI ไม่มีวันที่หมดอายุบริษัทจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม.......... กรณีบัตร BOI ที่หมดอายุแล้ว และมีบัตรใหม่แล้ว บริษัทสามารถขอยกเลิกบัตรเดิมได้หรือไม่..........

ขอ BOI ยากไหม

ใครที่คิดอยากนำบริษัทเข้ารับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI เราบอกได้เลยว่าไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ต้องจัดการเตรียมเอกสารด้วยความละเอียดรอบคอบ พร้อมกับตรวจสอบว่ากิจการของคุณตรงตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่บีโอไอกำหนดไว้หรือไม่ ถ้าทุกอย่างถูกต้องบริษัทของคุณก็มีโอกาสสูงมากที่จะได้รับการสนับสนุนจาก BOI.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง