Charcoal breast feeding ก นช วงให นมล กได ม ย

คุณแม่หลังคลอดอาจจะมีข้อสงสัยว่า ให้นมอยู่อยู่อะไรกินได้หรือกินไม่ได้ อาหารหรือเครื่องดื่มชนิดไหนที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากว่าจะเป็นสารที่ปนเปื้อนไปยังน้ำนม ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการของลูกน้อย คุณปุณยวีร์. อัครอรุณพัฒน์ หัวหน้าแผนกศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ.วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย ให้รายละเอียดเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับคุณแม่ค่ะ

อาหารที่คุณแม่ให้นมลูกควรหลีกเลี่ยง

แอลกอฮอล์

ไม่ว่าจะดื่มมาก ดื่มน้อย หรือแค่เพียงจิบเดียว ก็ถือว่าไม่ควรและเสี่ยงอันตราย เนื่องจากแอลกอฮอล์เป็นสารที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท เมื่อแอลกอฮอล์เจือปนผ่านไปกับน้ำนมและเข้าสู่ร่างกายของทารก อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสมองของลูกและสุขภาพของคุณแม่

ชา กาแฟ คาเฟอีน การดื่มหรือกินอาหารที่มีคาเฟอีนสูง อาจรบกวนการนอนหลับของทารกที่กินนมแม่ได้ แต่ถ้าหากต้องการดื่มคาเฟอีน หรือกินอาหารที่มีคาเฟอีน ควรจำกัดไว้เพียง 1-2 แก้วต่อวัน

อาหารทะเล อาหารทะเลแม้จะมีสารอาหารจำพวกโปรตีน และโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นอาหารที่มีประโยชน์ แต่สำหรับช่วงที่คุณแม่ให้นมลูก อาจจะต้องระวังเพราะอาหารทะเลบางชนิดอาจมีการปนเปื้อนของสารปรอท ซึ่งหากส่งผ่านไปยังน้ำนม อาจมีผลต่อระบบประสาทและพัฒนาการของทารกได้

อาหารปรุงไม่สุก อาหารที่ไม่ได้ผ่านการปรุง หรืออาหารค้างคืน เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อย เช่นซูชิ แหนม ปลาร้า ที่อาจทำให้เกิดภาวะติดเชื้อจนมีอาการท้องเสียหรืออาหารเป็นพิษตามมาได้ รวมไปถึงอาหารค้างคืนที่ต้องนำมาอุ่นกินทีหลังหรืออาหารที่ผ่านการต้มหรือตุ๋นเป็นเวลานาน ๆ เพราะเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้คุณแม่เกิดอาการท้องเสียได้ง่าย

ผลไม้รสเปรี้ยว ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวบางชนิดจะมีกรดสูง อาจทำให้ลูกน้อยเกิดอาการมีอาการจุกเสียด แน่นท้อง รู้สึกไม่สบายตัว มีอาการคันตามผิวหนังหรือเป็นผื่นผ้าอ้อมได้ค่ะ สำหรับคุณแม่ที่ต้องการเพิ่มวิตามินซีในน้ำนม แนะนำให้กินสับปะรดหรือมะม่วงแทนก็ได้ค่ะ

นมวัว เด็กบางคนอาจจะมีอาการแพ้นมวัว เพราะในนมวัว มีสารที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กเกิดอาการกรดไหลย้อน หรืออุจจาระผิดปกติ และมีปัญหาน้ำหนักตัวเพิ่มมากผิดปกติได้ การได้รับนมวัวผ่านทางนมแม่ ก็อาจส่งผลทำให้เด็กแพ้นมวัวได้ตั้งแต่แรกคลอด

อาหารประเภทรสจัด หากลูกน้อยมีอาการ เช่น หงุดหงิดง่าย ร้องไห้ไม่หยุด นอนหลับยาก รู้สึกไม่สบายตัว นอนหลับได้ไม่นาน ตื่นบ่อยผิดปกติ คุณแม่อาจจะต้องพิจารณาถึงอาหารที่ทานว่ารสจัดเกินไปหรือเปล่า เพราะอาหารรสจัดจะทำให้รสชาติของน้ำนมจะเปลี่ยนไป เมื่อลูกกินนมก็อาจจะทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้ คุณแม่ควรกินอาหารที่มีส่วนผสมของกระเทียมที่ เนื่องจากกระเทียมมีสารอัลลิซิน จะช่วยให้คุณแม่ผลิตน้ำนมได้มากขึ้นและช่วยให้ลูกน้อยกินนมแม่ได้เยอะมากขึ้นค่ะ

อาหารประเภทนมถั่วเหลือง ข้าวสาลี ข้าวโพด และถั่ว เป็นกลุ่มอาหารที่มีโปรตีนสูง อาจทำให้ลูกมีอาการแพ้ เช่น มีผื่นคัน หายใจเสียงดัง เป็นลมพิษ หรือมีอาการทางระบบทางเดินอาหาร ลูกอาจมีอาการท้องอืด มีแก๊สในกระเพาะ หรือมีอาการท้องเสีย

ช่วงหลังคลอดถือเป็นช่วงที่วัยทารกจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหาร จากน้ำนมแม่มากที่สุด เพราะนมแม่จะผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของลูก ดังนั้นคุณแม่จึงควรเลือกกินอาหารที่บำรุงน้ำนม และต้องระมัดระวังในการรับประทานเป็นพิเศษ เพื่อให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีพัฒนาการที่ดี

น้ำนมแม่มีประโยชน์ต่อทารกมาก มีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและยังเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ทารก ทารกควรได้ดื่มนมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือน หลังจากนั้นให้อาหารอื่นเพิ่มควบคู่กับการดื่มนมแม่ต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 2 ปีหรือนานกว่านั้น ด้วยเหตุนี้แม่จึงไม่ควรหยุดให้นมทารกในช่วงเวลาที่กล่าวมาโดยไม่จำเป็น ในกรณีที่จำต้องใช้ยาซึ่งแม้ว่ายาส่วนใหญ่ถูกขับออกทางน้ำนมได้ แต่มักมีปริมาณต่ำและไม่เป็นอันตรายต่อทารกที่ดื่มนมแม่ มียาเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่ต้องระวังเป็นพิเศษหรือห้ามใช้ในช่วงที่ให้นมทารก ด้วยเหตุนี้แม่จึงไม่ควรเป็นกังวลมากเกินไปจนไม่ยอมใช้ยาหรือมีการใช้ยาแต่หยุดให้นมทารก ยาแก้ปวด-ลดไข้เป็นยาที่ใช้กันมาก แม่ที่ให้นมทารกจึงมักมีความกังวลว่าจะส่งผลเสียถึงทารกที่ดื่มนมแม่ เช่นเดียวกันกับยาแก้ข้ออักเสบ ซึ่งในที่นี้หมายถึงยาในกลุ่มเอ็นเสด (เป็นยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือ NSAIDs) แม่ที่ให้นมทารกบางรายอาจมีความจำเป็นต้องใช้ ยาในกลุ่มนี้นอกจากใช้บรรเทาอาการของโรคข้ออักเสบแล้ว บางชนิดยังใช้เป็นยาแก้ปวด-ลดไข้ได้ ในบทความนี้ให้ข้อมูลทั่วไปของยาแก้ปวด-ลดไข้และยาแก้ข้ออักเสบ ยาเหล่านี้ที่ใช้ได้กับแม่ช่วงที่ให้น้ำนมทารก และข้อแนะนำในการใช้ยาเหล่านี้ในแม่ช่วงให้น้ำนมทารก

ภาพจาก : //lacted.org/iable-breastfeeding-education-handouts/breastfeeding-and-medications/

ข้อมูลทั่วไปของยาแก้ปวด-ลดไข้และยาแก้ข้ออักเสบ

ยาแก้ปวด-ลดไข้ ยาที่ใช้กันแพร่หลายเพื่อบรรเทาอาการปวดและลดไข้ ได้แก่ พาราเซตามอล (paracetamol หรือ acetaminophen) ใช้บรรเทาอาการปวดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ปวดศีรษะ ปวดบาดแผล ปวดฟัน ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ มีประสิทธิภาพดี ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง กลไกการออกฤทธิ์ค่อนข้างซับซ้อนและยังไม่ชัดเจน เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการยับยั้งเอนไซม์ "ไซโคลออกซิจีเนส" หรือ "ค็อกซ์" (cyclooxygenase หรือ COX) เช่นเดียวกับยาในกลุ่มเอ็นเสด (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อ ยาแก้ข้ออักเสบ ที่จะกล่าวต่อไป) แต่ออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลาง จึงไม่มีฤทธิ์บรรเทาอาการอักเสบ นอกจากนี้ยังอาจออกฤทธิ์เกี่ยวข้องกับระบบแคนนาบินอยด์ (endocannabinoid system), วิธีประสาทซีโรโทนิน (serotonergic pathway) และไอออนแชลเนล (ion channels) หลายชนิด เป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัยเมื่อใช้ตามขนาดที่แนะนำและใช้เป็นเวลาสั้น ๆ อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจพบ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เกิดผลเสียต่อตับและไต ซึ่งความเสี่ยงต่อการเกิดผลเสียต่อตับและไตพบได้มากขึ้นหากใช้ในขนาดสูงหรือใช้เป็นเวลานาน ยานี้ถูกขับออกทางน้ำนมในปริมาณน้อยและแม่ช่วงที่ให้นมทารกใช้ยานี้ได้

ยาในกลุ่มเอ็นเสดมีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดได้เช่นกัน โดยเลือกใช้ชนิดหรือรูปแบบที่ออกฤทธิ์ได้เร็ว เช่น ไอบูโพรเฟน (ibuprofen), ไดโคลฟีแน็กโพรแทสเซียม (diclofenac potassium), นาพร็อกเซนโซเดียม (naproxen sodium) ยาเหล่านี้ถูกขับออกทางน้ำนมในปริมาณน้อยและใช้กับแม่ที่ให้นมทารกได้ ยาในกลุ่มเอ็นเสดหลายชนิดลดไข้ได้ ยาที่ใช้กันมากกว่ายาอื่นในกลุ่ม ได้แก่ ไอบูโพรเฟนและนาพร็อกเซน ส่วนแอสไพริน (aspirin) แม้ใช้บรรเทาปวด-ลดไข้และบรรเทาอาการของโรคข้ออักเสบได้ แต่ยานี้ถูกขับออกทางน้ำนมได้มากกว่ายาอื่น อีกทั้งทารกอาจเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการไรย์ (ดูหัวข้อ ยาแก้ปวด-ลดไข้และยาแก้ข้ออักเสบในน้ำนมแม่ ที่จะกล่าวต่อไป)

ยาแก้ข้ออักเสบ ยาที่ใช้รักษาโรคข้ออักเสบมีมากมาย ในที่นี้จะกล่าวถึงยาในกลุ่มเอ็นเสด ซึ่งเป็นยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal antiinflammatory drugs หรือ NSAIDs) บุคลากรทางการแพทย์มักเรียกสั้น ๆ ตามชื่อย่อในภาษาอังกฤษว่า “NSAIDs (เอ็นเสด)” การที่เรียกยาในกลุ่มเอ็นเสดว่า “ยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์” เนื่องจากมียาบรรเทาอาการอักเสบชนิดที่เป็นยาสเตียรอยด์ด้วย ซึ่งเป็นยามีฤทธิ์เลียนแบบฮอร์โมนกลุ่มกลูโคคอร์ติคอยด์ (glucocorticoids) ในร่างกาย ยาในกลุ่มเอ็นเสดมีมากมาย เช่น แอสไพริน (aspirin หรือ acetyl salicylic acid), ไอบูโพรเฟน (ibuprofen), ไดโคลฟีแน็ก (diclofenac), นาพร็อกเซน (naproxen), ไพร็อกซิแคม (piroxicam), เซเลค็อกสิบ (celecoxib) ดูชื่อยาเพิ่มเติมในเรื่อง ยาแก้ปวดข้อ ข้ออักเสบ-กลุ่มเอ็นเสด ยาในกลุ่มเอ็นเสดนอกจากใช้บรรเทาอาการอักเสบและอาการปวดในโรคข้ออักเสบแล้ว บางชนิดยังนำมาใช้บรรเทาอาการปวดในกรณีอื่น (เช่น ปวดบาดแผล ปวดฟัน ปวดประจำเดือน ปวดศีรษะ) และใช้ลดไข้ได้ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น

การที่ยาในกลุ่มเอ็นเสดที่นำมาใช้บรรเทาอาการอักเสบและอาการปวดได้นั้น มีกลไกการออกฤทธิ์ที่สำคัญ คือ การยับยั้งเอนไซม์ "ไซโคลออกซิจีเนส" หรือ "ค็อกซ์" (cyclooxygenase หรือ COX) เอนไซม์นี้ทำหน้าที่สร้างสารพรอสตาแกลนดิน (prostaglandins) ซึ่งมีบทบาทมากมายในร่างกาย รวมถึงเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดอาการปวด อาการอักเสบและไข้ ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ "ค็อกซ์" จะลดการสร้างสารพรอสตาแกลนดิน จึงลดอาการปวด อาการอักเสบและไข้ ยาในกลุ่มเอ็นเสดมีผลไม่พึงประสงค์หลายอย่าง เช่น เกิดแผลในกระเพาะอาหาร รบกวนการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มเล็กน้อย เป็นอันตรายต่อไต ยาบางชนิดเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและภาวะสมองขาดเลือด โดยผลไม่พึงประสงค์เหล่านี้พบได้มากหรือน้อยแตกต่างกันตามฤทธิ์ยาในการออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ "ค็อกซ์" (ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง ยาแก้ปวดข้อ ข้ออักเสบ-กลุ่มเอ็นเสด) ส่วนด้านประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการของโรคข้ออักเสบให้ผลไม่แตกต่างกัน

ยาแก้ปวด-ลดไข้และยาแก้ข้ออักเสบในน้ำนมแม่

ยาส่วนใหญ่ถูกขับออกทางน้ำนมได้แต่มักมีปริมาณต่ำและไม่เป็นอันตรายต่อทารกที่ดื่มนมแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ในช่วงสั้น เช่นเดียวกันกับยาแก้ปวด-ลดไข้และยาแก้ข้ออักเสบ ไม่ว่าจะเป็นพาราเซตามอลหรือยาในกลุ่มเอนเสดชนิดที่ใช้กันมาก อย่างไรก็ตามการที่จะแนะนำให้ใช้กับแม่ที่ให้นมทารกนั้น จะขึ้นกับข้อมูลทางวิชาการว่ายาเหล่านั้นมีการใช้แล้วไม่ส่งผลเสียต่อทารกที่ดื่มนมแม่และให้หลีกเลี่ยงยาที่ยังไม่มีข้อมูล สำหรับยาแก้ปวด-ลดไข้และยาแก้ข้ออักเสบที่ใช้ได้กับแม่ที่ให้นมทารกแสดงไว้ในตาราง พร้อมทั้งมีขนาดยาที่ทารกได้รับทางน้ำนมเมื่อแม่มีการใช้ยาระยะสั้นในช่วงแรกของการคลอด แม้ว่ายาในกลุ่มเอ็นเสดหลายชนิดสามารถใช้กับแม่ที่ให้นมทารกได้ แต่ยาที่ได้รับการแนะนำมากที่สุดคือ ไอบูโพรเฟน ส่วนยาที่มีค่าครึ่งชีวิตยาว (ค่าครึ่งชีวิตเป็นช่วงเวลาที่จำเพาะสำหรับยาแต่ละชนิด ซึ่งทุก ๆ ช่วงเวลานี้ระดับยาในเลือดแม่จะลดลงครึ่งหนึ่งเรื่อยไป ดังนั้นยาที่มีค่าครึ่งชีวิตยาวจะอยู่ในร่างกายแม่และในน้ำนมได้นาน) เช่น นาพร็อกเซน, ไพร็อกซิแคม จะใช้น้อยกว่า นอกจากนี้ยาที่มีค่าครึ่งชีวิตยาวหากเข้าสู่ร่างกายทารกอาจเกิดการสะสมได้ ด้วยเหตุนี้ยาที่มีค่าครึ่งชีวิตสั้นจึงมีการใช้มากกว่า

กรณีแอสไพริน (เมื่อยาเข้าสู่ร่างกายถูกเปลี่ยนเป็นซาลิไซเลตอย่างรวดเร็ว) ยานี้นอกจากใช้เพื่อบรรเทาปวด-ลดไข้และบรรเทาอาการของโรคข้ออักเสบแล้ว ยาในขนาดต่ำยังใช้ลดการเกิดลิ่มเลือดในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด คาดว่าแม่ที่รับประทานยาในขนาดสูง (1 กรัม) และทารกดื่มนมแม่อย่างเต็มที่ในช่วง 12 ชั่วโมงนับจากแม่ได้รับยา ขนาดยาที่ทารกได้รับราว 9.4% คิดเทียบจากขนาดยาที่แม่ได้รับ หากแม่ได้รับแอสไพรินในขนาดต่ำคือ 81-325 มิลลิกรัม และทารกดื่มนมแม่อย่างเต็มที่ ขนาดยาที่ทารกได้รับราว 0.4% คิดเทียบจากขนาดยาที่แม่ได้รับ อย่างไรก็ตามทารกอาจเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการไรย์ (Reye's syndrome บางแห่งเรียกกลุ่มอาการเรย์ เป็นกลุ่มอาการที่เกิดเมื่อใช้ยาบางชนิดโดยเฉพาะแอสไพริน ในเด็กที่เพิ่งทุเลาจากการติดเชื้อไวรัส ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ที่เป็นผลมาจากความผิดปกติที่สมองและตับ ทำให้เด็กเกิดการอาเจียน กระสับกระส่าย สับสน ชัก หมดสติ อาการเหล่านี้เกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน) จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้แอสไพรินในแม่ที่ให้นมทารก

ยาในน้ำนมแม่จะเป็นอันตรายต่อทารกหรือไม่?

ยาที่ถูกขับออกทางน้ำนมจะส่งผลเสียต่อทารกหรือไม่นั้นขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ (1) ปริมาณยาในน้ำนมแม่ ซึ่งปริมาณยาในน้ำนมจะมากหรือน้อยขึ้นกับคุณสมบัติของยาแต่ละชนิดและปริมาณยาที่แม่ได้รับ (ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณยาในน้ำนมแม่ได้ในเรื่อง ยาในน้ำนมแม่ ตอนที่ 1 : ยาลดความดันโลหิต) (2) การดูดซึมยาจากทางเดินอาหารทารก หากยาที่จับกับแคลเซียมในน้ำนมจะไม่ถูกดูดซึมจากทางเดินอาหารทารก (3) อายุทารก หากมีอายุมากขึ้นจะกำจัดยาได้เร็วกว่าทารกแรกคลอดหรือทารกคลอดก่อนกำหนด และจะได้รับผลกระทบจากยาน้อยกว่า (4) ผลของยาหรือฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยาแต่ละชนิดจะส่งผลต่อทารกได้แตกต่างกัน และ (5) ปริมาณยาที่ทารกบริโภคผ่านทางน้ำนม ต้องไม่เกินขนาดยาที่แนะนำสำหรับใช้กับทารก โดยทั่วไปหากขนาดยาที่ทารกบริโภคผ่านทางน้ำนมน้อยกว่า 10% ของขนาดยาที่มีการใช้ในทารก ถือว่ายานั้นสามารถใช้กับแม่ช่วงที่ให้นมทารกได้โดยใช้เป็นเวลาสั้น ๆ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง