Cooling tower อ ณหภ ม กระเปาะ เป ยก

วิธีการอนุรักษ์พลังงานที่เกี่ยวข้องกับหอผึ่งน้ำ ซึ่งมีหลากหลายวิธี เช่น

  • การเปิดใช้งานหอผึ่งน้ำให้เหมาะสม (Cooling tower optimization) วิธีนี้คือการเปิดใช้งานหอผึ่งน้ำให้สามารถทำอุณหภูมิน้ำด้านออกได้ใกล้เคียงกับอุณหภูมิกระเปาะเปียก (Wet bulb temperature) มากที่สุด เป็นต้น

กราฟแสดงค่าอุณหภูมิกระเปาะเปียกเฉลี่ยรายชั่วโมงแต่ละเดือนของกรุงเทพมหานคร

  • การปรับปรุงประสิทธิภาพหอผึ่งน้ำให้มีประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนความร้อนดีขึ้น เช่น การเปลี่ยน Filler การปรับอัตราการไหลให้เหมาะสม การปรับเปลี่ยนทิศทางให้สอดคล้องกับทิศทางของลม การปรับมุมของใบพัดให้กินลมมากขึ้น การเปลี่ยนชนิดหอผึ่งน้ำ เป็นต้น
  • การปรับปรุงคุณภาพน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี เช่น การติดตั้งระบบ Automatic bleed off การติดตั้งระบบ Ozone generator การติดตั้งระบบ silver copper การใช้สารเคมีประสิทธิภาพสูง เป็นต้น
  • การปรับปรุงอุปกรณ์ต้นกำลัง เช่น การเปลี่ยนใบพัดจากชนิดอลูมิเนียมเป็น Fiber glass การติดตั้ง VSD (Variable speed drive) ที่ Fan motor หรือที่ Condenser water pump การเปลี่ยนชุดขับของ Fan motor จากสายพานเป็นเกียร์ เป็นต้น

ทั้งนี้ไม่ว่าจะเลือกใช้วิธีไหนในการอนุพลังงาน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือควรจะมีการตรวจวัดเพื่อประเมินผลประหยัดที่จะได้ก่อนดำเนินการปรับปรุง เนื่องจากบางวิธีอาจะไม่คุ้มค่าในการลงทุนถ้าปัจจุบันมีการดูแลรักษาหอผึ่งน้ำดีอยู่แล้ว จากวิธีการอนุรักษ์พลังงานด้านบนเรามาดูตัวอย่างการปรับปรุงการเปิดใช้งานหอผึ่งน้ำให้เหมาะสมกับอุณหภูมิกระเปาะเปียก เนื่องจากวิธีนี้เป็นวิธีการดำเนินงานที่ง่ายที่สุด เห็นผลการประหยัดชัดเจน แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่าหลายๆ ที่มักไม่ค่อยให้ความสนใจกับวิธีนี้ ซึ่งอาจจะเกิดจากความไม่เข้าใจหรือไม่ใส่ใจในการปรับปรุงก็เป็นได้

ตัวอย่าง อาคารแห่งหนึ่งเปิดใช้งานเครื่องทำน้ำเย็นขนาด 800 ตัน จำนวน 2 ชุด และเปิดใช้งานหอผึ่งน้ำขนาด 1,000 ตัน จำนวน 2 ชุด อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นเข้าหอผึ่งน้ำ 94.3 oF อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นออกจากหอผึ่งน้ำ 85.1 oF ขณะที่อุณหภูมิกระเปาะเปียกเท่ากับ 75.1 oF กำลังไฟฟ้ารวมของเครื่องทำน้ำเย็นเท่ากับ 989.5 kW กำลังไฟฟ้าของ Fan motor ของหอผึ่งน้ำเท่ากับ 43.2 kW รวม 1,032.7 kW

ประสิทธิภาพการระบายความร้อน = 94.3 – 85.1 / 94.3 – 75.1 \= 0.4792 หรือ 47.92%

ปรับปรุงโดยการเปิดหอผึ่งน้ำขนาด 1,000 ตัน เพิ่มอีก 1 ชุด โดยไม่เปิด Condenser water pump ปรากฏว่าอุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นเข้าหอผึ่งน้ำเท่ากับ 89.2 oF และออกเท่ากับ 81.2 oF กำลังไฟฟ้ารวมของเครื่องทำน้ำเย็นเท่ากับ 934.2 kW กำลังไฟฟ้าของ Fan motor ของหอผึ่งน้ำเท่ากับ 64.4 kW (เพิ่มขึ้นจากการเปิดหอผึ่งน้ำเพิ่ม21.2 kW) รวม 968.6 kW ผลการดำเนินการแสดงดังรูป

กราฟแสดงผลการปรับปรุงการเปิดหอผึ่งน้ำเพิ่มขึ้น

ประสิทธิภาพการระบายความร้อน = 89.2 – 81.2 / 89.2 – 75.1 \= 0.5674 หรือ 56.74% กำลังไฟฟ้าที่ลดลง = 1,032.7 – 968.6 \= 64.1 kW อาคารเปิดใช้งาน 10 ชั่วโมงต่อวัน และ 250 วันต่อปี ต้นทุ้นค่าพลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 3.50 บาท/kWh ดังนั้นสามารถประหยัดพลังงานได้ = 64.1 kW x 10 hr/day x 250 day/yr \= 160,250 kWh/yr หรือ = 560,875 บาท/ปี

จากการดำเนินการดังตัวอย่างจะเห็นว่าการเปิดใช้งานหอผึ่งน้ำตามค่าที่ออกแบบไว้นั้นอาจจะไม่ใช้จุดที่ดีที่สุดสำหรับการประหยัดพลังงาน แต่ทั้งนี้ในการดำเนินการดังกล่าวผู้ Operate จำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถในการสังเกตุและคำนวณเพราะถ้าบางครั้งเปิดจำนวนหอผึ่งน้ำมากเกินไปก็จะทำให้สิ้นเปลืองพลังงานได้เช่นกัน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง