Desing หน าต างบานยก อล ม เน ยม

ISBN 978-616-586-552-4 โครงการส่งเสรมิ การวิจัยและสร้างสรรคน์ วัตกรรม ประจ�ำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ หนังสือภายใต้กิจกรรมสวนพฤกษศาสตรโ์ รงเรยี น

ลลี าพรรณพฤกษา

จากชา่ งศลิ ปไ์ ทย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤทธิ์ วฒั นภู

ลีลาพรรณพฤกษาจากช่างศลิ ป์ไทย

ลลี าพรรณพฤกษาจากชา่ งศิลปไ์ ทย

โครงการส่งเสริมการวิจยั และสร้างสรรคน์ วัตกรรม ประจ�ำปงี บประมาณ ๒๕๖๔ โรงเรยี นสาธติ “พิบลู บ�ำเพญ็ ” มหาวิทยาลยั บรู พา

ลผ้ชู ีลว่ ยศาาพสตรราจรารณย์ ดรพ.นฤฤทธกิ์ วษฒั นาภูจากช่างศิลป์ไทย

Asst.Prof. Dr. Narit Vadhanabhu ลลี าพรรณพฤกษาจากช่างศิลป์ไทย

โครงการส่งเสรมิ การวจิ ัยและสรา้ งสรรค์นวัตกรรม ประจำ� ปงี บประมาณ ๒๕๖๔

ลลี าพรรณพฤกษาจากชา่ งศลิ ป์ไทย

ข้อมลู ทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data

นฤทธ์ิ วฒั นภู. ลีลาพรรณพฤกษาจากช่างศิลป์ไทย. ชลบุรี : สาธติ บรู พา, 2564. 214 หน้า. 1. ศลิ ปกรรมไทย. 2. ช่างศิลปะ ไทย. I. ช่ือเรอ่ื ง.

709.593 ISBN 978-616-586-552-4

จัดทำ� โดย : ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.นฤทธ์ิ วัฒนภู โรงเรียนสาธิต “พิบลู บ�ำเพญ็ ” มหาวทิ ยาลัยบูรพา ๗๓ ถ.บางแสนลา่ ง ต.แสนสุข อ.เมอื งชลบุรี จ.ชลบุรี ๒๐๑๓๑ ออกแบบปกและรูปเล่ม : กติ ตคิ ณุ หตุ ะมาน พิมพ์คร้ังท่ี ๑ : เมษายน ๒๕๖๕ พมิ พท์ ่ี : สาธติ บูรพา ๗๓ ถ.บางแสนลา่ ง ต.แสนสุข อ.เมอื งชลบรุ ี จ.ชลบุรี ๒๐๑๓๑

ลลี าพรรณพฤกษาจากชา่ งศลิ ปไ์ ทย

คำ� นำ�

ลลี าพรรณพฤกษาจากชา่ งศิลป์ไทยเลม่ น้ี คือ หนังสอื ทีจ่ ดั ทำ� ขนึ้ เพ่ือเป็นส่วนหนงึ่ ที่ รว่ มสนองพระราชด�ำริของสมเดจ็ พระกนิษฐาธริ าชเจา้ กรมสมเด็จพระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี และไดเ้ ปน็ ส่วนหน่ึงภายใตก้ จิ กรรมการด�ำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรยี น ซ่งึ เป็นกิจกรรมหลกั อย่างหนง่ึ ในโครงการอนุรกั ษพ์ นั ธุกรรมพืช อนั เนอื่ งมาจาก พระราชด�ำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี หรอื ที่เรียกอยา่ งย่อว่า โครงการ อพ.สธ. มีวตั ถปุ ระสงคเ์ พอื่ สร้างจติ ส�ำนกึ ในการอนรุ ักษ์ทรพั ยากรธรรมชาติ โดย เฉพาะพันธกุ รรมพชื ให้เกิดขนึ้ กับผู้เรียน การสร้างจิตส�ำนึกดงั กล่าวอยภู่ ายใตแ้ นวคิดทวี่ ่า ต้นไม้ พืชพรรณนานาชนิด ล้วนมคี วามส�ำคัญและมีคณุ ค่าตอ่ มวลมนษุ ย์ในทกุ มิติ มติ ทิ างด้านศิลปะไทย เป็นอีกหน่งึ มมุ มองทส่ี ะทอ้ นคุณค่า และความสำ� คัญของ พฤกษานานาพนั ธ์ุ โดยรบั รผู้ ่านผลงานช่างศลิ ป์ไทยแต่ละลักษณะ และด้วยการทผี่ เู้ ขยี น เปน็ ช่างศลิ ปะไทย ไดม้ องเหน็ ลลี าและรปู ลักษณ์ทีส่ ะท้อนถึงคุณค่า และสุนทรียภาพทาง ทศั นศิลป์ของรูปแบบพรรณพฤกษาในงานช่างศิลป์ไทย จึงได้รวบรวมและเรียบเรียงเนื้อหา ที่ปรากฏในหนงั สอื นข้ี น้ึ จากต้นแบบแรงบันดาลใจ สู่คตคิ วามเช่อื ความคดิ สร้างสรรค์ ทกั ษะกระบวนการ ฝีไมล้ ายมือ และรสนิยมของช่างศลิ ป์ไทยแตล่ ะแขนง จนกลายเป็น รปู แบบพรรณพฤกษาที่มีลลี าอันหลากหลาย และปรากฏอยใู่ นผลงานศลิ ปกรรมไทยหลาย แขนง ประกอบดว้ ย งานชา่ งเขยี น งานช่างปั้น งานช่างแกะ งานชา่ งลายรดน�ำ้ งานชา่ งลาย ก�ำมะลอ งานชา่ งปิดทองลายฉลุ งานช่างประดบั มกุ งานช่างโลหะ งานชา่ งหล่อ และงาน ชา่ งเคลอื บดนิ เผา ตัวอยา่ งรูปภาพผลงานศลิ ปะไทยทีน่ ำ� มาเสนอในหนังสือน้ี เปน็ เพียงผลงานสว่ น นอ้ ยเม่ือเทียบกับผลผลติ ทางปัญญาของเหลา่ ชา่ งศิลป์ไทย ทไ่ี ด้ปรากฏอย่บู นผืนแผ่นดนิ ปัจจบุ นั หนังสอื เลม่ น้ี อาจมีหน้าท่ีในการเปดิ โลกทศั น์ มุมมองทางความคิด ความรู้ และ ความรู้สึกให้แกผ่ เู้ รียน ผ้สู นใจ ใหส้ ามารถเกิดจติ สำ� นกึ และคล้อยตามไปศึกษา เพ่อื ต่อยอด องคค์ วามรดู้ ้านพันธุกรรมพืชตอ่ ไปในอนาคต

ลลี าพรรณพฤกษาจากช่างศลิ ปไ์ ทย ๓

ผเู้ ขียนต้องขอบพระคณุ ผู้ทรงคุณวุฒทิ กุ ท่าน ท้งั ทเ่ี ปน็ ผู้ทรงคุณวฒุ ิภายใน และ ผทู้ รงคณุ วฒุ ภิ ายนอกจากหลากหลายสถาบนั ทชี่ ่วยตรวจสอบเน้ือหาให้มคี วามถูกตอ้ งและ สมบรู ณ์ ประกอบดว้ ย ศาสตราจารย์ ดร.สมพร ธรุ ี รองศาสตราจารย์ ดร.นยิ ม วงศ์พงษ์คำ� รองศาสตราจารย์ ดร.ฉลอง ทบั ศรี รองศาสตราจารย์ ดร.บญุ เสริม วัฒนกิจ และ รองศาสตราจารย์ ว่าท่ีพนั ตรี ดร.กิตติกรณ์ บ�ำรงุ บุญ ผูเ้ ขยี นตอ้ งขอขอบพระคณุ มา ณ โอกาสนี้ ผู้เขียนขอขอบพระคุณเป็นอยา่ งสูงส�ำหรบั ข้อมูลทม่ี ปี ระโยชน์ ซง่ึ ไดม้ ผี ู้ศึกษาไว้ ก่อนหน้าน้ี มมุ มองความคิดบางประการ อาจแตกตา่ งออกไปตามแนวคิด พ้ืนฐานความรู้ และประสบการณ์ที่ต่างกัน หากเกิดขอ้ บกพรอ่ ง เกิดความเขา้ ใจทคี่ ลาดเคลอื่ น หรอื มีข้อ ผดิ พลาดทปี่ รากฏในหนังสอื น้ี ผู้เขยี นต้องขออภัยไว้ ณ ทน่ี ี้ และจะปรับปรงุ พัฒนากระบวน ทัศน์ของตนให้ดยี ิง่ ขึน้ ตอ่ ไป

นฤทธิ์ วัฒนภู เมษายน ๒๕๖๕

๔ ลลี าพรรณพฤกษาจากช่างศลิ ป์ไทย

สารบัญ

หน้า

ค�ำน�ำ ๓ บทน�ำ ๘ ความร้เู กย่ี วกับช่างศิลป์ไทยโดยสงั เขป ๑๕ งานชา่ งเขยี น ๑๙ งานช่างปัน้ ๔๕ งานช่างแกะสลกั /จำ� หลัก ๕๙ งานชา่ งลายรดน้ำ� ๘๒ งานช่างลายก�ำมะลอ ๑๐๔ งานชา่ งปิดทองลายฉลุ ๑๑๖ งานชา่ งประดับมุก ๑๒๕ งานชา่ งโลหะ ๑๓๕ งานช่างหล่อ ๑๔๒ งานชา่ งเคร่ืองเคลือบดินเผา ๑๕๑ บทวิเคราะห์ ๑๖๗ บทสรุป ๑๙๓ บรรณานุกรม ๑๙๗ ประวตั ิผู้เขยี น ๒๐๑

ลลี าพรรณพฤกษาจากชา่ งศลิ ปไ์ ทย ๕

ลลี าพรรณพฤกษาจากชา่ งศิลปไ์ ทย

ลลี าพรรณพฤกษาจากชา่ งศิลปไ์ ทย

บทนำ�

มนษุ ยม์ ีความผูกพันอยกู่ ับหม่มู วลแมกไม้นานาพนั ธุ์ มาต้งั แตถ่ ือก�ำเนดิ ขน้ึ มาบนโลก ล�ำต้น ดอก ผล ราก ใบ จากพฤกษานานาพันธุ์ แทรกซมึ อยู่กับวถิ ชี วี ิต ความเป็นอยขู่ องมวลมนษุ ย์ เรมิ่ ต้น ตง้ั แต่เกดิ จนกระทง่ั ส้ินชีพลง มนุษย์แสวงหาพืชพรรณท่แี วดล้อมใกลต้ ัวมาเป็นอาหารเพอ่ื ยงั ชีพ แมว้ า่ จะยงั ไม่รู้ถึงคุณประโยชนข์ องพชื แตล่ ะชนิดกต็ าม รูจ้ กั การน�ำใบไม้มาใช้ปกปดิ รา่ งกาย เพ่อื ปอ้ งกันความหนาวเยน็ และลดความอุจาดสายตา ร้จู ักน�ำล�ำต้นของไมช้ นดิ ตา่ งๆ มาสรา้ งเปน็ ทีอ่ ยู่ อาศัย เครอ่ื งมือเครอ่ื งใชล้ ักษณะตา่ งๆ รวมทง้ั รจู้ ักการใชป้ ระโยชนจ์ ากพรรณไม้ในฐานะเป็นสมนุ ไพร สำ� หรบั การรักษาโรคและลดอาการเจ็บปว่ ย จงึ กลา่ วได้ว่า พชื พรรณนานาชนิดลว้ นผูกพนั อยู่กับวิถี ชีวติ ของมนษุ ยม์ าตัง้ แต่เกดิ จนตาย และยังแทรกซมึ อยูใ่ นปัจจัยขั้นพน้ื ฐานของการดำ� รงชวี ิต ทเ่ี รียก ว่า ปัจจัยสี่ ได้แก่ อาหาร เครือ่ งนุ่งหม่ ทอ่ี ยูอ่ าศยั และยารักษาโรค

ปจั จยั สท่ี ่กี ลา่ วถึงขา้ งตน้ เป็นปจั จัยทางกายภาพทีช่ ่วยให้รา่ งกายสามารถด�ำรงอยูไ่ ดอ้ ย่าง ปกติสุข แต่ส่วนที่เกี่ยวข้องกบั สภาพจติ ใจ ความนกึ คดิ คติความเช่ือ ซงึ่ เปน็ พน้ื ฐานทางความรู้สึกของ มนษุ ย์ ก็มีความเกย่ี วพนั อยู่กับพืชพรรณไม้อีกมากมาย ตัวอยา่ งเชน่ การใช้ดอกบัวเปน็ สญั ลักษณ์ แทนพระพทุ ธเจา้ และใชเ้ ป็นเครือ่ งประกอบทางพุทธบชู า การใช้ใบบวั เพื่อรองรบั เสน้ ผมขณะโกนจกุ หรือการปลงผมเพ่อื การบรรพชา อปุ สมบท การใช้ตน้ กล้วย ต้นอ้อย ในขบวนแห่ขันหมาก สำ� หรับ การแตง่ งานเข้าครองเรือน การใช้ไมน้ ามมงคลเพื่อการสร้างบา้ นแปงเมอื งใหม่ หรือการบูชาสิง่ ศกั ดส์ิ ิทธิใ์ นพิธีกรรมต่างๆ ดว้ ยดอกไม้ ใบไม้ และผลไม้อันเปน็ มงคลนาม ฯลฯ

พชื พรรณไม้นานาชนิดทีแ่ วดล้อมอยตู่ ามธรรมชาติ ล้วนมีความส�ำคญั และผูกสัมพันธ์อยู่กับ ทกุ สรรพสงิ่ แทรกอยใู่ นทกุ มิติแหง่ ชวี ิต จนหลายคนอาจมองขา้ มความส�ำคัญ แตห่ ากพจิ ารณาให้ลกึ ซึง้ จะพบว่า ตน้ ไม้เปน็ ส่วนหนึ่งของชวี ติ อำ� นวยประโยชน์ให้สรรพชีวิตดำ� รงอยู่รอด หากไร้พืชพรรณ พฤกษานานาชนดิ จะพบกับความหดห่ทู เี่ กดิ ขน้ึ ต่อความรู้สกึ ความสดช่ืน แจม่ ใส ความเบิกบานจะ ไม่ปรากฏ และอากาศท่บี รสิ ทุ ธอ์ิ ันเป็นผลจากการปลอ่ ยก๊าซออกซเิ จนจะไมเ่ กิดขนึ้ มนษุ ยจ์ งึ ไม่ สามารถแยกออกจากพรรณไมไ้ ดเ้ ลยแมแ้ ต่นอ้ ย

๘ ลีลาพรรณพฤกษาจากช่างศิลป์ไทย

จากความส�ำคัญนานัปการของพรรณไม้ จึงได้เปน็ จดุ เริ่มต้นของกิจกรรมในการบ�ำรงุ รักษา พันธุกรรมพชื และหนงึ่ ในโครงการท่ดี ำ� เนินงานเก่ียวข้องกับพรรณพืชโดยตรง คอื โครงการอนรุ กั ษ์ พันธกุ รรมพืช อนั เนอื่ งมาจากพระราชดำ� ริสมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หรือ อพ.สธ. ซึง่ กิจกรรมหนงึ่ ในโครงการท่ีเกยี่ วขอ้ งกบั การศกึ ษา รกั ษา สรา้ งจิตสำ� นกึ ให้กบั บคุ คลได้เกิด ความตระหนัก เหน็ คณุ ค่า และความสำ� คัญของแต่ละพืชพรรณไม้ คือ งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรยี น

การดำ� เนินงานของกจิ กรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เป็นกิจกรรมหลกั อย่างหนึ่งในการส่ง เสรมิ สนบั สนุน และสร้างจติ ส�ำนึกใหก้ บั บุคคล ผเู้ รยี นได้เหน็ คณุ คา่ ความส�ำคัญของพืชพรรณนานา ชนดิ โดยการขับเคลอื่ นภายใต้กิจกรรมการดำ� เนนิ งาน ๕ องคป์ ระกอบ ได้แก่ การจัดทำ� ปา้ ยช่อื พรรณ ไม้ การนำ� พรรณไมเ้ ขา้ ปลูกในโรงเรยี น การศึกษาข้อมลู ดา้ นตา่ งๆ การรายงานผลการเรยี นรู้ และการนำ� ไปใชป้ ระโยชนท์ างการศกึ ษา (สำ� นกั งานเลขาธกิ ารสภาการศึกษา, ๒๕๖๒, หน้า ๗-๙) รายละเอียดของแตล่ ะองค์ประกอบ มกี ระบวนการทีห่ ลากหลาย แนวคิดของการดำ� เนนิ กิจกรรมจะมี ลักษณะที่ พศิ ิษฐ์ วรอุไร ไดบ้ รรยายถงึ บรรยากาศของการดำ� เนนิ กจิ กรรมไว้ ซ่ึงส�ำนวนภาษามีความ เปน็ ปรัชญาท่ลี ุ่มลกึ ความว่า “บนความเบิกบาน บนความหลากหลาย สรรพสงิ่ สรรพการ กระท�ำ ล้วนสมดุล พชื พรรณ สรรพสตั ว์ สรรพสง่ิ ไดร้ ับความการุณย์ บนฐานของสรรพชีวติ นัก วิทยาศาสตร์ นกั ประดิษฐ์ ศลิ ปกร กวี นกั ตรรกศาสตร์ ปราชญน์ ้อย ปรากฏทว่ั ” (คูม่ อื การดำ� เนินงาน สวนพฤกษศาสตรโ์ รงเรียน พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๐, ๒๕๖๐, หน้า ๔๒) จากเนอื้ ความน้ี หากพินิจอย่าง ถถ่ี ้วน จะรสู้ ึกได้ว่า บรรยากาศของการดำ� เนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรยี น มคี วามครอบคลมุ ทุก มติ ิ ไม่จำ� กัดอยใู่ นวงการใดโดยเฉพาะ และมองเห็นถึงความงดงามของทุกการด�ำเนนิ งานในกจิ กรรมน้ี ซงึ่ สอดประสานกับคณุ คา่ และความสำ� คญั ของพรรณพืช ที่สัมพันธอ์ ยู่กับทุกสรรพชวี ติ ตงั้ แต่เกดิ จน ตาย

พรรณพฤกษาตามธรรมชาตทิ ี่แวดล้อมรายรอบ และผกู พนั อยใู่ นวฒั นธรรมล้วนเก่ยี วโยงกัน ในทกุ มติ ิ ท้งั มิติทางประวตั ิศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์ ภมู ศิ าสตร์ เภสัชศาสตร์ อักษรศาสตร์ หรอื แมก้ ระทั่ง ศลิ ปกรรมศาสตร์ เน่ืองจากได้พบหลกั ฐานทางดา้ นศิลปกรรมบนแผ่นดินไทย อนั เปน็ ผลติ ผลของ มนุษย์ในอดตี ท่ดี �ำรงชพี อยบู่ นแผ่นดินไทยในยุคสมยั ตา่ งๆ และยงั หลงเหลอื หลักฐานมาจนถงึ ปจั จบุ นั

ลลี าพรรณพฤกษาจากชา่ งศลิ ป์ไทย ๙

พบว่า ประดิษฐกรรมเชงิ ชา่ งศลิ ปะไทย ล้วนน�ำรูปแบบ ลักษณะ ลีลาของหม่มู วลพรรณพฤกษานานา ชนิด มาเป็นต้นแบบแห่งแรงบนั ดาลใจในการออกแบบและสรา้ งสรรคผ์ ลงานในลกั ษณะตา่ งๆ ไม่ว่า จะเป็นผลงานในลกั ษณะสถาปตั ยกรรม ประตมิ ากรรม จติ รกรรม ประณตี ศิลป์ ศิลปหัตถกรรม มที ง้ั รปู แบบทีเ่ กี่ยวเนือ่ งดว้ ยพระศาสนา ชนชนั้ ปกครอง รวมท้งั วิถีชีวิตชาวบา้ น หลักฐานทางศลิ ปวตั ถุ เหลา่ น้ี สามารถใช้เป็นเครื่องยืนยันและท�ำความเขา้ ใจในความคิดของบคุ คลในแต่ละยุคสมยั ได้เป็น อยา่ งดวี า่ พฤกษานานาพันธ์ุ มคี วามส�ำคัญ จ�ำเป็น และมีคุณคา่ ผูกพนั กับวถิ ชี ีวติ ของมนุษยม์ ากนอ้ ย เพียงใด ผลงานศลิ ปกรรมทเ่ี กิดข้ึนจากความคดิ ของมนษุ ย์แตล่ ะยุคสมยั ล้วนไดร้ ับแรงบนั ดาลใจหรอื แบบอย่างจากธรรมชาติ ดังท่ี เพลโต (Plato) นกั ปรัชญาชาวกรกี ผทู้ ี่ให้ค�ำนยิ ามของคำ� ว่า ศิลปะ ไว้ วา่ ศิลปะ คอื การเลียนแบบธรรมชาติ (ชลดู นิม่ เสมอ, ๒๕๔๔, หน้า ๕) เพราะธรรมชาตเิ ปน็ ปัจจัย สำ� คญั ทท่ี ำ� ใหเ้ กดิ แรงบนั ดาลใจ ความรสู้ กึ นึกคิดของศลิ ปิน ส�ำหรบั การสรา้ งสรรค์ผลงานศิลปะ นิยาม ท่ี เพลโต เสนอมานั้น ใหค้ วามสำ� คญั กับธรรมชาติทเี่ ปน็ สว่ นส�ำคญั ต่อการเกดิ รูปแบบผลงานศลิ ปะ แตล่ ะลักษณะ พืชพรรณไมต้ ามธรรมชาตกิ ็เช่นเดยี วกนั เปน็ จดุ เร่มิ ตน้ ทางความคดิ และ ผลักดนั ใหช้ ่างศลิ ปะไทย ลงมอื ออกแบบและสร้างสรรคผ์ ลงาน แตก่ ารสร้างสรรค์ผลงานศลิ ปะใน รูปแบบไทย ช่างมิไดล้ อกเลียนมาจากธรรมชาติในลกั ษณะการคัดลอกให้เหมือนจรงิ หากน�ำรูปแบบ ลกั ษณะ ความงดงามของพชื พรรณมาปรงุ แตง่ ผสมผสานรสนยิ มของช่างผูส้ รา้ งหรือจากสมัยนิยม ของกลุ่มชนส่วนใหญเ่ ขา้ ไปด้วย จงึ เกดิ เป็นลีลาอยา่ งใหมท่ ีป่ ระณีต วิจติ รบรรจง เพ่ือน�ำไปแทรกอยู่ ตามพ้นื ทที่ างวฒั นธรรมทุกลักษณะ การศกึ ษาเกี่ยวกบั พรรณพืชมีมาอยา่ งยาวนานต้ังแต่สมยั กรีก โดยมนี กั ปรัชญาชาวกรีก นาม ว่า อรสิ โตเติล (Aristitle) มคี วามสนใจศกึ ษาเก่ยี วกับพรรณพชื โดยเก็บรวบรวมตัวอยา่ งพืช และวาด ภาพแสดงลกั ษณะตา่ งๆ ของพืชไว้ จนกลายเปน็ ผลงานทร่ี ู้จักกนั โดยทัว่ หลงั จากนั้นมนี ักปราชญ์อีก มากมายท่ใี ห้ความสนใจศกึ ษาเกีย่ วกบั พรรณพืชมาโดยตลอด (วนั เพ็ญ ภูตจิ ันทร์, ๒๕๔๗, หน้า ๑) และในปัจจบุ ันมีความตน่ื ตัวจากโครงการอนุรกั ษพ์ นั ธุกรรมพชื อันเนอื่ งมาจากพระราชด�ำรสิ มเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี หรอื อพ.สธ. โดยเร่มิ ต้นจากจดุ ประกายเลก็ ๆ คอื การ

๑๐ ลีลาพรรณพฤกษาจากช่างศิลปไ์ ทย

มองเห็นคณุ คา่ ของต้นไมจ้ ากสมเด็จพระชนกาธิเบศร มหาภมู พิ ลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร ในหลวงรัชกาลท่ี ๙ ขณะยงั ทรงพระชนม์อยู่ พระองคไ์ ดเ้ สดจ็ พระราชด�ำเนินยังจังหวัดเพชรบรุ ี เม่ือปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ทรงทอดพระเนตรเห็นต้นยางนาที่ขึ้นอยูร่ ิมสองฝั่งถนนของอำ� เภอทา่ ยาง เกิดแนวความ คิดและเป็นแรงบันดาลใจต่อการอนรุ กั ษพ์ ชื พรรณไม้ นบั เป็นการวางรากฐานตอ่ มาใหก้ บั สมเดจ็ พระ กนษิ ฐาธิราชเจ้า กรมสมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี ทรี่ ับสนองพระราชปณิธาน ตอ่ มา จนเกดิ เป็นโครงการอนรุ ักษพ์ ันธกุ รรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำ� ริ มาต้ังแตป่ ี พ.ศ. ๒๕๓๕ (คู่มือการดำ� เนนิ งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรยี น พทุ ธศักราช ๒๕๖๐, ๒๕๖๐, หน้า ๖)

ปจั จุบันมสี ถาบันการศึกษา หนว่ ยงานทงั้ ภาครฐั และเอกชนเป็นจำ� นวนมาก ให้ความส�ำคัญ และเกิดความตระหนกั ตอ่ การอนรุ กั ษ์ทรพั ยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะพนั ธุกรรมพืช มีการศกึ ษา เรียน รู้เรอื่ งราวท่ีเก่ียวกับพชื พรรณไม้ในมติ ติ า่ งๆ และนำ� เสนอออกมาเป็นสือ่ แตล่ ะรูปแบบ ตวั อยา่ งเชน่ เอกสารประเภทสอ่ื สงิ่ พมิ พท์ ่เี ผยแพรอ่ ยา่ งกว้างขวาง สอ่ื วิดีทศั น์ นทิ รรศการ รวมทง้ั การด�ำเนิน กจิ กรรมในลักษณะตา่ งๆ ฯลฯ จากส่อื ท่ไี ดเ้ ผยแพร่ออกสสู่ าธารณชน ขอ้ มูลสว่ นใหญ่มกั เกี่ยวข้องกบั การศกึ ษาพชื พรรณไม้ในมติ ิทางวิทยาศาสตรเ์ ป็นหลกั สว่ นการน�ำเสนอในมิติทางสงั คมวฒั นธรรม ปรากฏอยบู่ า้ งแตน่ อ้ ยกวา่ เชน่ หนงั สือ เรอื่ ง พรรณไมใ้ นงานภูมสิ ถาปัตยกรรม (เออื้ มพร วสี มหมาย และคณะ, ๒๕๕๑) หนังสอื เร่ือง พรรณไม้ในวรรณคดี (สุวิทย์ พวงสุวรรณ, ๒๕๔๗) ส่วนที่เกี่ยวข้อง กับงานศิลปกรรมโดยตรง ปรากฏเปน็ เอกสารดา้ นการวิจัย โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธญั บุรี ทศ่ี กึ ษาเกี่ยวกับ บัวกับศลิ ปะ อยูใ่ นการด�ำเนนิ งานภายใต้โครงการอนุรักษพ์ นั ธุกรรมพืช อนั เนื่องมาจากพระราชดำ� รสิ มเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี (อพ.สธ.) เพอื่ สนองพระ ราชด�ำริสมเดจ็ พระกนิษฐาธริ าชเจา้ กรมสมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี (www. rspg.rmutt.ac.th) หรอื หนงั สือ เรือ่ ง พรรณพฤกษาลา้ นนา : จากพันธกุ รรมพืชส่ลู วดลายใน ศิลปกรรม (ฐาปกรณ์ เครอื ระยา, ๒๕๖๓) นอกจากนี้ยังมกี ารสร้างสรรคผ์ ลงานทางทัศนศิลป์อกี จำ� นวนหนึง่ ทไี่ ดแ้ รงบนั ดาลใจจากพืชพรรณไม้ ตวั อย่างเช่น ผลงานการวจิ ยั เรือ่ ง การสร้างสรรค์ จิตรกรรมเพ่ือตกแต่งเฟอร์นิเจอรไ์ ม้ ชดุ ไม้เลอ้ื ย โดย พรสวรรค ์ จนั ดาหงส์ (๒๕๖๓, หน้า ๕๗-๗๖) ทน่ี �ำความงามของพรรณไม้เลื้อย ๓ ชนิด ไดแ้ ก่ ดอกพวงคราม ดอกเลบ็ มอื นาง และดอกสรอ้ ย อนิ ทนลิ มาเปน็ แรงบนั ดาลใจในการออกแบบ และสร้างสรรคเ์ ปน็ ผลงานจิตรกรรมสอี ะครลิ คิ สำ� หรบั

ลลี าพรรณพฤกษาจากช่างศิลป์ไทย ๑๑

การตกแตง่ เฟอร์นเิ จอรไ์ ม้ หรอื ผลงานการวิจยั เชิงสร้างสรรค์ เร่ือง กาแฟอาราบกิ า้ : ภาพสสี ันแหง่ กาลเวลา โดย สกุลทพิ ย์ ใจชมุ่ (๒๕๖๓, หน้า ๑๐๘-๑๒๒) ทน่ี ำ� ความงามของสสี นั ท่เี กิดจากเมลด็ กาแฟอาราบกิ ้า มาออกแบบและสร้างสรรค์เป็นจิตรกรรมสนี �้ำมนั แม้ผลงานการสรา้ งสรรคเ์ หลา่ นี้ จะมิได้มจี ุดมงุ่ หมายเพือ่ การสรา้ งจติ สำ� นึกอนุรักษ์พันธกุ รรมพชื ตามโครงการ อพ.สธ. แตล่ ักษณะ ผลงานส�ำเร็จสามารถเป็นเครื่องมือที่จะช่วยส่งเสริมและปลูกฝังจิตส�ำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรได้เป็น อย่างดี โดยใช้ความงดงามทางทัศนศลิ ปเ์ ปน็ สอ่ื เข้าถึงบคุ คลโดยท่ัวไป

จากกรอบการดำ� เนินงานสวนพฤกษศาสตรโ์ รงเรยี น ภายใตโ้ ครงการอนรุ กั ษพ์ ันธกุ รรมพชื อันเน่อื งมาจากพระราชดำ� ริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี (อพ.สธ.) และจาก ผลงานการศกึ ษาตา่ งๆ จึงเปน็ จุดเร่มิ ต้นให้ผูเ้ ขียนมองเหน็ ถงึ ความสำ� คัญและคุณคา่ ในพนั ธกุ รรมพืช ทกุ ชนดิ และเพอื่ ตอบสนองพระราชดำ� รสิ มเดจ็ พระกนษิ ฐาธริ าชเจา้ กรมสมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี

ในฐานะทีผ่ ้เู ขียนมบี ทบาทเป็นชา่ งศิลปะไทย ศกึ ษา เรียนรู้ ใชข้ ้อมูล และหลักฐานทาง ศิลปกรรมท่ีบรรพบุรษุ ช่างศลิ ป์ไทยไดส้ ร้างสรรค์ และสัง่ สมไวป้ ระดบั บนผืนแผน่ ดนิ ไทยต้ังแตอ่ ดีต จนถึงปัจจุบัน จึงมองเห็นประเดน็ หน่ึงท่ีนา่ สนใจ และสอดคลอ้ งกับกิจกรรมการด�ำเนินงาน สวนพฤกษศาสตรโ์ รงเรียน ประกอบกบั ความงดงามของลลี าพรรณพฤกษาจากความคิด ฝีมอื เชงิ ชา่ ง จงึ เป็นอกี มติ ิหนง่ึ ทจี่ ะช่วยสง่ เสริม สนบั สนุน กระต้นุ ให้เยาวชนเกดิ ความร้สู ึกเหน็ คุณค่า และความ สำ� คญั ของพรรณพฤกษา ผ่านสอ่ื ทางด้านงานช่างศลิ ป์ไทย เนื่องจากการศึกษา เรียนรู้ ปลูกฝัง สรา้ ง จติ ส�ำนกึ ควรอย่ภู ายใต้การดำ� เนนิ งานท่ีมบี รรยากาศทีเ่ บิกบานตามแนวคดิ เชงิ ปรชั ญาที่ พศิ ษิ ฐ ์ วรอุไร ไดเ้ สนอไว้ และเปน็ ไปในแนวทางเดียวกับแนวพระราชด�ำรใิ นสมเด็จพระกนิษฐาธริ าชเจา้ กรมสมเด็จพระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี ท่ีมีพระราชดำ� ริเก่ยี วกับการอนุรักษ์พรรณพืช วา่ “การสอนและอบรมใหเ้ ด็กมจี ิตสำ� นึกในการอนุรักษ์พืชพรรณนนั้ ควรใชว้ ธิ กี ารปลูกฝงั ใหเ้ ด็กๆ เห็นความงดงาม ความนา่ สนใจ และเกิดความปีติที่จะทำ� การศึกษาและอนรุ ักษ์พชื พรรณต่อไป การใช้ วิธีการสอนการอบรมท่ีใหเ้ กิดความรสู้ กึ กลวั วา่ หากไมอ่ นรุ กั ษ์แล้ว จะเกิดผลเสยี เกดิ อันตรายแก่ ตนเอง จะทำ� ให้เดก็ เกดิ ความเครียด ซ่งึ จะเปน็ ผลเสียต่อประเทศระยะยาว” (สำ� นกั งานเลขาธกิ าร สภาการศึกษา, ๒๕๖๒, หนา้ ๑)

๑๒ ลีลาพรรณพฤกษาจากช่างศิลปไ์ ทย

เนือ้ หาที่ปรากฏในหนงั สอื นี้ ผ้เู ขยี นจงึ นำ� เสนอความงดงามของลีลาพรรณไม้ที่เกดิ จากความ คิดสร้างสรรค์ และฝีไม้ลายมอื ของช่างศิลป์ไทย ซ่งึ อาจจะช่วยส่งเสรมิ และสนับสนุนใหผ้ ู้อา่ นเกิด ความสนใจใคร่รตู้ ่อไป เพ่อื ประโยชนต์ ่อการอนรุ ักษพ์ รรณพืชในอนาคต และขอชีแ้ จงว่าการนำ� เสนอ เนอ้ื หาในหนงั สอื น้ี มิไดม้ จี ดุ มงุ่ หมายเพื่อการก�ำหนดอายสุ มัยของผลงานศิลปกรรม ท่นี ำ� มาใช้เป็น ตวั อย่าง หากแตเ่ ป็นการน�ำเสนอเพ่อื ชใ้ี ห้เห็นรปู แบบ ลีลาของพรรณพฤกษา ทเ่ี กิดขน้ึ จากความคดิ สร้างสรรค์ รวมทั้งทักษะฝมี อื ของช่างผู้สรา้ งสรรค์งานศิลปะแตล่ ะแขนงเทา่ นัน้ เพอื่ ให้ผ้อู ่านได้มอง เหน็ และเกิดความรูส้ กึ ถงึ คุณค่า เห็นความส�ำคญั ของพรรณไม้นานาชนดิ ทีแ่ ทรกซึมอยใู่ นวฒั นธรรม ของชาวไทยในทุกมติ ิ อน่ึง จากผลติ ผลทางภูมิปญั ญาและฝีมอื เชงิ ชา่ ง ปรากฏเป็นผลงานศิลปกรรมไทยจ�ำนวน มหาศาล ผเู้ ขียนไมส่ ามารถรวบรวม และนำ� เสนอไดใ้ นพ้นื ท่ีอันจ�ำกัด จงึ ท�ำไดเ้ พียงการเสนอตวั อย่าง จากบางแหลง่ เพ่อื กระตุน้ ความคดิ ความรู้สกึ ของผอู้ ่าน และคาดหวังให้เกิดการต่อยอดความคิด ความรูส้ ึกต่อพรรณพฤกษาในสถานการณ์อ่ืนๆ ตอ่ ไปในอนาคต

ลีลาพรรณพฤกษาจากชา่ งศลิ ปไ์ ทย ๑๓

ลลี าพรรณพฤกษาจากชา่ งศิลปไ์ ทย

ความรู้เกี่ยวกับช่างศลิ ปไ์ ทยโดยสังเขป

ช่างศลิ ป์ไทย เป็นบคุ คลที่มคี วามสามารถในระดบั ทเี่ ช่ียวชาญทางการใชม้ ือ สำ� หรบั การ สรา้ งสรรค์ผลงานศลิ ปะในรปู แบบและรสนยิ มอยา่ งไทย คำ� ว่า ช่าง ถูกนำ� มาใช้เรยี กผูท้ ม่ี ีทกั ษะอัน โดดเด่นในด้านใดด้านหน่งึ เป็นการเฉพาะ ซง่ึ น. ณ ปากนำ�้ (๒๕๓๐, หน้า ๑๗) ได้ให้ค�ำจำ� กดั ความ ของค�ำว่า ช่าง ไว้ว่า เป็นผู้ท่ีมีฝีมอื ทางศิลปะหรือทางการช่าง ตัวอยา่ งเชน่ ชา่ งเขียน ช่างปนั้ ชา่ ง แกะ เปน็ ตน้ จากเนอ้ื ความน้ี หมายถงึ ผ้ปู ฏิบัติงานทางศลิ ปะโดยเฉพาะ แต่ในปจั จุบนั คำ� ว่า ชา่ ง ถูก น�ำมาใชใ้ นวงการอืน่ นอกจากวงการศลิ ปะอย่างอดตี ตามบริบททางสงั คมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ช่าง ยนต์ ชา่ งไฟฟ้า ช่างคอมพิวเตอร์ ช่างกล ฯลฯ เนื่องจากในอดตี พัฒนาการทางเทคโนโลยียงั ไม่ล�้ำสมยั เท่าปจั จุบัน การใชส้ อยสง่ิ ต่างๆ มกั เก่ยี วข้องกบั การพระศาสนา รวมท้งั ชนชนั้ ปกครอง และการดำ� รง ชวี ติ ประจ�ำวนั ของชาวบ้าน ซง่ึ สรรพส่ิงตา่ งๆ ยังคงใช้มือในการประดษิ ฐแ์ ละสร้างสรรค์เป็นส่วนใหญ่ ยงั ไม่เกิดความรหู้ รือวิทยาการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีระดับสูงเขา้ ช่วย ดงั น้นั ค�ำเรียกชื่อช่าง จงึ หมายรวมถงึ ผู้ประดิษฐผ์ ลงานท่ีเก่ียวข้องกบั ผลงานศลิ ปะทีแ่ สดงถงึ ความงามเปน็ หลกั นอกจากน้ี น. ณ ปากน�ำ้ ยงั ได้ขยายความเกี่ยวกบั ค�ำวา่ ชา่ ง ไว้อกี ว่า ผู้ทเ่ี ป็นช่างทมี่ ฝี มี อื โดดเดน่ จะถูกเรียกว่า ครูช่าง สว่ นชา่ งทม่ี ฐี านะเปน็ พระสงฆ์ จะใช้ค�ำวา่ พระอาจารย์ เชน่ พระอาจารย์แดง วัดหงสร์ ัตนาราม พระอาจารย์นาค ท่ีไดเ้ ขยี นภาพจิตรกรรมไว้ภายในหอไตร วดั ระฆงั โฆสติ าราม ฯลฯ (น. ณ ปากนำ้� , ๒๕๓๐, หนา้ ๑๗)

จากหลกั ฐานประเภทศลิ าจารกึ ทำ� ให้ทราบวา่ มกี ารก�ำหนดคำ� ว่า ชา่ ง เพอ่ื ใช้เรียกบคุ คลทม่ี ี ความสามารถอนั เชย่ี วชาญในงานลกั ษณะใดลกั ษณะหนง่ึ เป็นการเฉพาะ โดยปรากฏคำ� วา่ ช่าง ใน เนอื้ ความตั้งแต่สมัยสุโขทัยเปน็ ราชธานี เชน่ ศลิ าจารึก หลกั ท่ี ๑ หรือท่เี รยี กกนั ว่า ศิลาจารกึ พอ่ ขุน รามค�ำแหง มขี อ้ ความหน่งึ ว่า “๑๒๑๔ ศก ปีมะโรง พ่อขุนรามค�ำแหง เจ้าเมืองศรีสัชนาลยั สุโขทัย ปลูกไม้ตาลนี้ไดส้ บิ สี่เขา้ จงึ ให้ ช่าง หันขดานหนิ ต้งั หว่างกลางไมด้ งตาลน้ี” จากข้อความนี้ ท�ำให้ทราบ ว่า บุคคลทส่ี ร้างพระแท่นดงตาล (พระทนี่ ่งั ระหวา่ งดงตาล) เรียกกันว่า ชา่ ง หรือศลิ าจารกึ ทีบ่ นั ทกึ เปน็ อักษรขอมโบราณ ปรากฏอยู่รอบรอยพระพทุ ธบาทสมยั สุโขทยั พบที่วดั เสดจ็ จงั หวดั กำ� แพงเพชร มีเนือ้ ความตอนหนงึ่ ทก่ี ล่าววา่ “ทรงพระเดชบณุ ศกั ดิ์ พเิ ศษท่ัวหล้า ใช้ข้าผดู้ ี ธรรมรจู ี จำ� หลกั ลาย

ลลี าพรรณพฤกษาจากช่างศิลปไ์ ทย ๑๕

บาทลักษณท์ ้งั มวล กแ็ ล้วเสร็จ ในพระบาทสรรเพชญก์ ็บรบิ ูรณ์ศริ ิ เป็นทอง ๑๕๐,๐๐๐ บำ� เหนจ็ ช่าง หล่อ ๑๐ ตำ� ลึง สริ ิประสมเปน็ เงนิ ๓๖ ต�ำลึง ดงั น้แี ล” หรอื อกี ตวั อย่างหนึ่งที่กล่าวถึง ชา่ งสลกั ปรากฏ ขอ้ ความอยู่ในศลิ าจารึกสมยั สุโขทัยเช่นกัน ความว่า “แลว้ ใหค้ นทัง้ หลายไดเ้ ห็นรอยฝา่ ตนี พระพทุ ธ เจ้า เป็นเจา้ เราน้ีมีลายอันไดร้ ้อยแปดสสี อ่ ง (ด้านที่ ๑) “คนทง้ั หลายไหวล้ กั ษณะน.้ี ...ไทยผ.้ ..น...เมอื ง ศรสี ชั นาไล สโุ ขไท หา...คูณ สงั ขยาหาคราไวใ้ ส่ ๑๒...พรณาและนาง...และหารงั ฉลักพระบาทลกั ษณ และให้ทั้งหลายอนโุ มทนาดว้ ยหง” หรืออกี จารกึ หนงึ่ ปรากฏอย่บู นศิลาจารึกจากวดั ตระพังชา้ งเผอื ก เมืองสุโขทัย หลักท่ี ๓๐ และศลิ าจารึกสุโขทัย หลกั ท่ี ๑๐๒ ซ่งึ นกั วชิ าการทางด้านจารกึ เรียกวา่ ศลิ า จารึกภูเขาไกรลาส โดยจารกึ เป็นอกั ษรไทยและเป็นภาษาไทย ความว่า “ค�ำจารึก...พระทางรงใ้ ชให ซงึ่ ว๋วชางขยนตาเมอื งชายกอ” คำ� อา่ นในภาษาปัจจุบันอ่านวา่ “พระทา่ นรงั ใช้ใหช้ ่อื งวั้ ช่างเขียนตา เบือ้ งซา้ ยกอ” จากข้อมูลทป่ี รากฏบนหลกั ศิลาจารกึ แต่ละหลักท่ีนำ� มาเป็นตัวอยา่ งข้างตน้ สามารถใช้ยนื ยัน ได้ว่า ค�ำวา่ ช่าง เป็นคำ� ทถ่ี กู บญั ญตั ขิ ึ้นมาตง้ั แตค่ รงั้ สมัยสโุ ขทัยเปน็ ราชธานี และใชก้ �ำหนดสรรพนาม ของบุคคลท่มี ีทักษะฝมี ือในดา้ นต่างๆ รวมท้งั มกี ารช้เี ฉพาะเจาะจง โดยน�ำกริ ยิ าหรอื วสั ดุทีเ่ ก่ียวขอ้ ง กับผลงานศลิ ปะหรอื กระบวนการสรา้ งสรรค์ผลงานแตล่ ะประเภทมาต่อทา้ ยค�ำวา่ ชา่ ง เพือ่ ชเี้ ฉพาะ ถึงลักษณะผลงานมากย่ิงข้ึน เช่น ชา่ งเขยี น (บุคคลทม่ี ที ักษะกระบวนการเขยี นภาพ ลวดลาย) ชา่ งรัก (บคุ คลท่มี ีความเช่ยี วชาญในการใชป้ ระโยชนจ์ ากยางรกั ส�ำหรบั การสรา้ งสรรค์ผลงานศิลปะ) ช่าง หล่อ (บคุ คลทีม่ ที กั ษะกระบวนการด้วยวิธีการหลอ่ วสั ดแุ ต่ละชนิด) เป็นตน้ ตอ่ มาถึงสมยั อยธุ ยา ปรากฏหลกั ฐานว่ามีการใช้ค�ำวา่ ชา่ ง ส�ำหรับเรียกบุคคลที่มีความ เช่ียวชาญในการสร้างสรรคผ์ ลงานศิลปะเช่นกัน แสดงใหเ้ หน็ ว่า สมัยอยุธยาคงรับอทิ ธพิ ลทางภาษา สืบต่อมาจากสมัยสโุ ขทยั เชน่ ขอ้ ความท่ีปรากฏอยใู่ นพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยธุ ยา ฉบบั สมเดจ็ พระพนรัตน์ ท่ีกลา่ วถึงเหตกุ ารณ์ในสมัยแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรมว่า “ตรสั ทอดพระเนตรเหน็ แท้ว่า เป็นรอยพระพุทธบาทมลี ายลักษณะกงจกั ร ประกอบดว้ ยอัฐตระชตยมหามงคลร้อยแปดประการ ก็ โสมนัสปรีดาปราโมทย์ ถวานทศนยั เหนือพระอตุ มางคสิโรตม์ด้วยเบญจางคประดิษฐเ์ ปน็ หลายครา แลว้ ทรงกรณุ าตรสั สั่งใหช้ ่างจบั การสถาปนาเป็นมณฑปสวมพระพุทธบาทแลสร้างพระอุโบสถ” อีก

๑๖ ลีลาพรรณพฤกษาจากชา่ งศลิ ปไ์ ทย

ตอนหนงึ่ ท่ปี รกฏในเอกสารชิ้นเดียวกนั นี้ กล่าวถึงสมยั สมเด็จพระเจา้ เสือ มเี นอ้ื ความว่า “ปีมะเมยี จตั วาศกนัน้ ทรงพระกรณุ าดำ� รัสให้ชา่ งต่อพระมณฑปพระพทุ ธบาทใหม้ ีหา้ ยอด ใหย้ อ่ เกจ็ มีบนั แถลง แลยอดแทรกดว้ ย นายชา่ งตอ่ อย่างแล้ว เอาเขา้ ทลู ถวาย จงึ ได้มพี ระราชดำ� รัสให้ปรงุ เครือ่ งบนพระ มณฑปตามน้ันแลว้ เสร็จ แลว้ ทรงพระกรุณาให้นายชา่ งพนักงาน จัดการยกเครอื่ งบนพระมณฑป พระพทุ ธบาท ขณะนนั้ พระสังฆราชตามเสด็จขึ้นไปชว่ ยเปน็ แมก่ ารดว้ ย....ฝา่ ยนายชา่ งกระทำ� การ มณฑปพระพุทธบาท ยกเครอ่ื งบนแล้วจงึ จบั การปูนแลการรกั ตอ่ ไป แลการทอง แลการกระจกนน้ั ยงั มิได้ส�ำเรจ็ ”

จากตัวอยา่ งเนอ้ื ความที่ยกมาข้างตน้ ปรากฏประเภทของช่างท่หี ลากหลายมากกว่าในสมยั ก่อนหนา้ แสดงให้เหน็ ถึงพัฒนาการและความสำ� คญั ในการใช้ประโยชนจ์ ากช่างฝมี ือสาขาตา่ งๆ ช่อื เรยี กของช่างฝมี ือแต่ละประเภทมีความชัดเจนขึ้นในสมัยหลังตอ่ มา คือ สมยั รัตนโกสนิ ทร์ โดยปรากฏ อยู่ในกฎหมายตราสามดวง ในสมัยรัชกาลที่ ๑ มกี ารก�ำหนดต�ำแหนง่ ของชา่ งไว้ในพระไอยการ ตำ� แหนง่ นาพลเรอื น เช่น ขุนสุวรรณไชย เจ้ากรมชา่ งรกั นา ๓๐๐ หมื่นรกั ษา ปลักกรมช่างรกั นา ๒๐๐ ช่างรกั เลว นา ๕๐ ขนุ พรมชา่ งมุก นา ๓๐๐ ช่างมุกเลว นา ๕๐ เป็นต้น

ตอ่ มาในสมยั รชั กาลท่ี ๒ ยิง่ มีความชัดเจนเกี่ยวกับต�ำแหนง่ และชื่อเรยี กชา่ งแตล่ ะแขนง โดย ปรากฏอยู่ในหมายรบั สง่ั เรอ่ื ง ประสมขี้ผึง้ ทำ� พุม่ หมากพนมบูชาพระธรรมเทศนา ณ พระทีน่ ่งั อศิ รา วินิจฉยั ซ่งึ ตรงกบั จ.ศ. ๑๑๗๒ (พ.ศ.๒๓๕๓) ความว่า “ช่างจะตอ้ งการส่งิ ของท�ำพุ่มพนมบูชาพระ ธรรมเทศนา ทง้ั สามวนั ...... ใหช้ าวพระคลังศุภรตั จ่ายพานแวน่ ฟ้า ๒ ชนั้ ให้กับขุนชำ� นาญวิชาชา่ ง กลาง..... ทรงโปรดเกล้าให้ชา่ งท�ำโต๊ะลายสลกั เท้าสงิ ห์ ........ ขุนยส่ี านหอ พระคลังขวา รบั ไปสง่ ให้ ช่างทหารในญวนโดยเร็ว” จากเนอ้ื ความน้ี แสดงใหเ้ หน็ ถึงความส�ำคัญของชา่ งแตล่ ะประเภท รวมท้ัง พระเจา้ แผ่นดินใหก้ ารอุปถัมภ์และสนับสนุนชา่ งเป็นอย่างดี และจากบนั ทกึ ในพระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสนิ ทร์ สมัยรชั กาลที่ ๓ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ หนา้ ๑๑ กลา่ วถึงช่างในพธิ จี องเปรียง มี เน้ือความว่า “โปรดให้ขอแรงพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหนา้ ฝ่ายใน และข้าราชการทีม่ กี �ำลังพาหนะมา ท�ำกระทงใหญ่.... คนท�ำนับรอ้ ยคดิ ในการลงทุนทำ� กระทงท้งั ค่าเลีย้ งพระ ชา่ ง เบ็ดเสร็จ ๒๐ ชงั่ (๗๗) หรือในสมัยรชั กาลท่ี ๔ ความส�ำคญั และช่อื ต�ำแหนง่ ของช่างยิ่งมคี วามชดั เจน และมีความเป็นระบบ

ลลี าพรรณพฤกษาจากช่างศิลปไ์ ทย ๑๗

มกี ารจดั จำ� แนกชา่ งใหเ้ ปน็ หมวดหมู่ โดยจัดตง้ั กรม กองตา่ งๆ ทเ่ี กยี่ วขอ้ งกบั การช่างโดยเฉพาะ เชน่ ไพรห่ ลวงขน้ึ ตรงกับกรมพระสุรัสวดี มีกรมชา่ งรัก ชา่ งสนะไทย ชา่ งสนะจีน กรมคลงั มหาสมบตั ิ มี กรมชา่ งทอง กรมชา่ งมกุ กรมมหาดเลก็ มีกรมช่างในไทยซ้าย กรมช่างทหารในไทยขวา กรมช่างสบิ หมู่ กถ็ กู จดั อยใู่ นสังกดั นี้ด้วย (กรมศิลปากร, ๒๕๕๑, หนา้ ๑๐-๑๕) ในปจั จุบนั เหลา่ ชา่ งฝมี อื ที่อยใู่ น หนว่ ยงานราชการ ถูกจัดอยู่ในส�ำนักชา่ งสิบหมู่ สังกดั กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม จากในเนอ้ื ความที่กล่าวถึงชา่ งฝมี ือแตล่ ะประเภท ทป่ี รากฏอยใู่ นหลักฐานทางดา้ นเอกสาร แต่ละลักษณะ ตง้ั แต่สมยั สุโขทัย อยธุ ยา จนมาถงึ รตั นโกสินทร์นั้น ใจความท่ปี รากฏสามารถท�ำให้ เขา้ ใจและเกิดความรสู้ ึกวา่ บคุ คลทมี่ ีหน้าท่หี รือประกอบอาชีพเปน็ ช่าง ในอดีตได้รบั การยกย่อง สง่ เสริม สนับสนนุ ผ้คู นรอบขา้ งให้ความสำ� คญั โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ พระมหากษัตริยใ์ หก้ ารอปุ ถมั ภ์ เป็นอยา่ งดี แสดงใหเ้ ห็นถงึ ความส�ำคญั และความตอ้ งการใชป้ ระโยชน์จากความสามารถและทกั ษะ ฝมี ือของช่างแต่ละประเภท แต่ปัจจบุ ันกลับสวนทางกับสภาพสงั คมวัฒนธรรม ผ้ทู ่ีมีทกั ษะทางศิลปะ หรอื ที่เรียกวา่ ช่างศลิ ป์ นัน้ มิได้รับการสนับสนนุ อยา่ งเต็มทเ่ี หมือนเช่นอดีต ซึ่งอาจเป็นผลมาจาก ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีที่เข้ามาแทรกแซงบทบาทหน้าท่ีของช่างฝีมือในหลายแขนง ซง่ึ ผทู้ ี่ด�ำรงชีพด้วยการเปน็ ช่างศลิ ป์ โดยเฉพาะกลุ่มช่างอิสระ ท่ีต้องดูแล รบั ผดิ ชอบตนเอง ยิง่ ไดร้ ับ ความลำ� บากมากกวา่ กลมุ่ ช่างศลิ ปท์ มี่ สี ังกัด หรือทีเ่ รียกว่า ช่างหลวง ทีไ่ ด้รับเงนิ เดือนจากหน่วยงาน ราชการ ในอดตี นอกจากชา่ งศลิ ป์ ๒ กลุ่มนี้แล้ว ยงั ใหค้ วามสำ� คัญกบั ชา่ งพระ ซึง่ เป็นพระสงฆท์ ม่ี ีฝีมอื ทางศลิ ปะการชา่ ง คอยดแู ลและบำ� รงุ รกั ษาเสนาสนะภายในวดั ซ่งึ ตรงกบั การงานที่ควรปฏิบตั ติ าม หลักพระธรรมวินัย โดยเรยี กว่า “คันถธรุ ะ” จงึ ปรากฏนามของชา่ งพระในอดตี หลายรปู ที่มีทักษะ ฝมี อื และปรากฏผลงานศลิ ปะตามแหลง่ ต่างๆ เช่น พระอาจารย์นาคทเี่ ขยี นภาพจติ รกรรมฝาผนัง ภายในหอไตร วดั ระฆงั โฆสติ าราม ขรัวอินโขง่ ทเ่ี ขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเชิงปริศนาธรรม ภายใน พระอุโบสถ วดั บวรนิเวศวหิ าร ฯลฯ ในปัจจุบันมกี ารกำ� หนดหน่วยงานให้กลุม่ ช่างฝมี ือทางศลิ ปะ เรยี กว่า สำ� นกั ชา่ งสิบหมู่ ขน้ึ

๑๘ ลลี าพรรณพฤกษาจากช่างศลิ ป์ไทย

เพือ่ เปน็ การรวบรวม จ�ำแนกกลมุ่ ช่างออกเป็นหมวดหมตู่ ามลกั ษณะของกรรมวิธสี ร้างสรรค์ และ ลักษณะของผลงาน ไดแ้ ก่ ชา่ งเขยี น ชา่ งป้นั ช่างปนู ช่างหุน่ ชา่ งหล่อ ชา่ งสลัก ชา่ งบุ ช่างรัก ช่างสนะ และช่างกลงึ (กรมศลิ ปากร, ๒๕๕๑, หนา้ ๒๐) การจัดหมวดหมู่ของกลุม่ ช่างดังกลา่ ว เป็นการจดั กลมุ่ อย่างกวา้ งๆ แตล่ กั ษณะผลงานศิลปะไทยมคี วามหลากหลายมากกว่า ๑๐ หมหู่ รือ ๑๐ อย่าง กลุม่ ช่างฝมี ือเหลา่ นี้ มลี ลี าในการน�ำเสนอรปู แบบผลงานศิลปะทแ่ี ตกตา่ งกันออกไปตามรสนิยม แบบแผน กรรมวธิ ี ลักษณะของวสั ดุ รวมท้ังฝมี ือเชงิ ช่างเฉพาะบคุ คล ลีลาพรรณพฤกษาจากฝีไมล้ ายมอื ของบรรดาชา่ งศลิ ปไ์ ทยแต่ละแขนง แต่ละหมู่ หรอื แต่ละ สกลุ ชา่ ง เป็นความหลากหลายทางดา้ นรูปแบบ เกิดเปน็ ความงดงามทางทัศนศลิ ป์ ตามรสนิยม จินตนาการ ความคดิ สรา้ งสรรค์ และความช�ำนาญการของช่างแตล่ ะบุคคล และแตล่ ะยุคสมยั ดงั ท่ีจะ น�ำเสนอตอ่ ไปโดยแบ่งตามลักษณะชา่ งแต่ละแขนง ดังน้ี

งานช่างเขียน

ชา่ งเขียน เปน็ ผ้ทู ่ีสร้างสรรคผ์ ลงานศลิ ปะด้วยกระบวนการเขยี นเปน็ หลัก ตรงกบั คำ� ว่า จิตรกร หมายถึง ผู้สร้างสรรคง์ านจติ รกรรม และสอดคลอ้ งกับค�ำในภาษาอังกฤษว่า Painting แตม่ ี ความแตกต่างจากเทคนิควิธีการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะประเภทน้ีระหว่างจิตรกรรมไทยและตะวันตก กลา่ วคือ งานจติ รกรรมอยา่ งตะวันตก มลี กั ษณะเปน็ การระบาย ซง่ึ ตรงกับคำ� วา่ Painting แต่ผลงาน จิตรกรรมแบบไทย นอกจากจะมีการระบายสีแล้ว ยังใช้วิธีการเขียนในลักษณะอ่ืนด้วย ดังนั้น ผลงานการเขยี นภาพจิตรกรรมอย่างไทย จึงมีลกั ษณะเป็นท้ัง Painting และ Writing ไปพรอ้ มๆ กัน ลีลาพรรณพฤกษา ที่ปรากฏในงานช่างเขยี น มลี ีลาและให้ความรู้สึกทีพ่ ลิว้ ไหว หลุดลอยได้ มากกวา่ ผลงานศลิ ปะประเภทอน่ื ทม่ี ีลกั ษณะเปน็ ประติมากรรม เน่อื งจากผลงานจติ รกรรม เปน็ ภาพ หรือลวดลายทีเ่ ขยี นลงบนแผน่ พนื้ บนฝาผนงั หรอื พืน้ ระนาบ โดยมตี ัวอย่างตามภาพประกอบต่อไปนี้

ลีลาพรรณพฤกษาจากช่างศลิ ป์ไทย ๑๙

ภาพจติ รกรรมฝาผนงั แบบเขียนสี ประดบั บน พ้ืนทส่ี ว่ นฝาผนงั ภายในพระอุโบสถ วัดท่าสุทธาวาส จังหวัดอา่ งทอง (บนั ทึกภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๓)

จากภาพเป็นภาพตน้ มะมว่ งที่มลี ลี าคลา้ ยธรรมชาติ ทขี่ ้ึนจากกรอบสามเหลยี่ ม ที่เรียกว่า “สินเทา” โดยมีลำ� ต้นทคี่ ดไปมา มีการระบายสสี ว่ นใบให้มนี ้�ำหนกั ท่ีแตกต่างกัน และมสี ว่ นผลมะมว่ ง กระจายอยโู่ ดยท่วั ไป โดยผลมะมว่ งทป่ี รากฏน้ี บางสว่ นเปน็ ฝีพระหัตถ์ของสมเดจ็ พระกนษิ ฐาธิราช เจา้ กรมสมเด็จพระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี ทเ่ี สด็จพระราชด�ำเนนิ ทรงวาด ในวนั ที่ ๑๖ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๕๓๖ เพื่อเป็นขวัญและก�ำลังใจใหก้ บั เหลา่ ช่างเขยี นทส่ี รา้ งสรรคผ์ ลงานในคร้งั น้นั อธิบายศพั ท์ สนิ เทา หมายถึง กรอบหรือเสน้ ทมี่ ีลักษณะหยกั ขึ้นลงเหมอื นกระจงั ฟนั ปลา ใชส้ �ำหรับแบง่ พนื้ ที่และกลุ่มภาพออกจากกนั เป็นคนละส่วน บางครัง้ เรียกวา่ “เสน้ แผลง” หรือ “แถบสินเทา” (ราชบัณฑติ ยสถาน, ๒๕๕๗, หนา้ ๑๓๔)

๒๐ ลีลาพรรณพฤกษาจากช่างศลิ ป์ไทย

ภาพจติ รกรรมฝาผนัง ภายในพระท่ีนั่งพทุ ไธสวรรย์ พพิ ิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ ศลิ ปะรตั นโกสินทรต์ อนต้น (บันทกึ ภาพเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๖๔)

บรเิ วณฉากหลังของภาพบคุ คล มีลักษณะเป็นฉากท่ีเรยี กกนั วา่ “ฉากญป่ี ่นุ ” ที่เขยี นดว้ ย ลวดลายพรรณพฤกษา โดยวิธีการเขียนระบายสี และเขียนตัดเสน้ ขอบคมดว้ ยเส้นทองคำ� ลวดลาย ดังกลา่ วมสี ่วยชว่ ยใหต้ วั ภาพท่อี ยใู่ นระยะหนา้ มีความเดน่ ชดั และแสดงออกถึงรายละเอียดที่ประณีต งดงาม จากภาพเปน็ เพยี งบางส่วนของจิตรกรรมท้ังหมดท่ปี รากฏอยบู่ นฝาผนังท่ี ๒๒ (อภวิ นั ทน์ อดุลยพเิ ชฎฐ์, ๒๕๕๕, หนา้ ๑๒๙) เปน็ ภาพท่ีเลา่ เรื่องราวทางพระพทุ ธศาสนา เรยี กว่า พุทธประวตั ิ ตอน เสดจ็ ลงจากสวรรคช์ ั้นดาวดงึ ส์ มาสูม่ นษุ ยโลกใกลก้ ับเมอื งสงั กสั สะ และแสดงพระธรรมเทศนา โปรดพุทธบริษัท ณ เมอื งสงั กัสสะ

อธบิ ายศัพท์ ฉากญี่ปนุ่ หมายถึง แผงบังตาที่ประกอบดว้ ยแผน่ พบั หลายแผน่ ยดื และหดใหส้ ัน้ ไดพ้ อ ประมาณ มีลักษณะการยดื และหดพับคลา้ ยกับพัดญป่ี นุ่ หรือฝาเฟีย้ ม (โชติ กลั ยาณมิตร, ๒๕๔๘, หน้า ๑๖๐)

ลลี าพรรณพฤกษาจากช่างศลิ ปไ์ ทย ๒๑

ภาพจิตรกรรมฝาผนงั ภายในพระท่นี ั่งพุทไธสวรรย์ พพิ ิธภัณฑสถานแหง่ ชาติ พระนคร กรงุ เทพฯ ศลิ ปะรัตนโกสนิ ทรต์ อนตน้ (บนั ทึกภาพเม่ือปี พ.ศ. ๒๕๖๔)

ภาพพรรณไมท้ ี่ปรากฏร่วมอยู่กับภาพส่ิงกอ่ สรา้ งและภาพบุคคล ทม่ี ีลักษณะเป็นไม้ยนื ตน้ ขนาดใหญ่ เมือ่ เทยี บสัดสว่ นระหวา่ งภาพพรรณไมก้ ับสง่ิ ก่อสรา้ งที่อยแู่ วดล้อม ลักษณะลำ� ตน้ ตั้งตรง แผก่ งิ่ กา้ นออกไปทัง้ ซา้ ยขวา ลักษณะทรงพุม่ ใบใชเ้ ทคนิควธิ ีการท่หี ลากหลาย สอดคล้องตามหลกั การ ที่ สมชาติ มณีโชติ (๒๕๒๙, หน้า ๔๗-๔๘) กล่าววา่ การเขยี นภาพต้นไมใ้ นงานจิตรกรรมไทย มเี ทคนิค วธิ ีการ ๕ แบบ ได้แก่ ตน้ ไม้แบบระบายสี ตน้ ไมแ้ บบขีด ตน้ ไมแ้ บบจิ้ม ตน้ ไมแ้ บบทม่ิ และตน้ ไม้แบบตดั

๒๒ ลีลาพรรณพฤกษาจากช่างศิลปไ์ ทย

จากภาพแสดงถึงการน�ำ รปู แบบพรรณไมล้ ักษณะหนงึ่ ทม่ี ี รปู ทรงคลา้ ยกลว้ ยพัด นำ� มาแทรก เปน็ สว่ นหนง่ึ ของภาพในการเลา่ เรอื่ ง วรรณกรรมรามเกยี รติ ์ ช่างพยายาม ได้ถ่ายทอดลักษณะและลีลาของ กล้วยพัดให้มีความใกล้เคียงกับของ จริงตามธรรมชาติ ตงั้ แตก่ ารเขยี น กา้ นใบทมี่ กี ารทบั ซอ้ นชน้ั กนั การแผ่ ออกทง้ั ซา้ ยขวาของใบ หรอื แมแ้ ต่ รอ่ งรอยการฉกี ขาดของขอบใบ แสดง ออกถงึ ลลี าการโบกสะบดั ของใบทท่ี ำ� ให้เกิดความรู้สึกเหมือนกับของจริง ในธรรมชาติ

ลลี าพรรณพฤกษาจากชา่ งศิลปไ์ ทย ภาพท่ี ๔ บางส่วนของภาพจิตรกรรม ฝาผนังรอบพระระเบยี งคด ภายใน วดั พระศรรี ตั นศาสดาราม กรุงเทพฯ (บนั ทกึ ภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๘)

๒๓

ภาพดอกพุดตานทั้งดอกบานและดอกตมู ทัง้ ทแ่ี สดงมมุ มองจากดา้ นบนและดา้ นขา้ งของ ดอกไม้ ใบไม้มลี ลี าทีพ่ ลกิ แพลงไปมาใหค้ วามรู้สึกนึกคิดทแ่ี ตกต่างกนั อนั เกดิ จากความคิดสร้างสรรค์ ของช่างเขยี นไทย การใชส้ เี ป็นแบบเบาบาง โปร่งๆ ใหค้ วามรูส้ ึกท่หี ลุดลอย สอดคล้องกับลักษณะ ของลวดลายดอกไม้ ทแ่ี สดงการรว่ งหลน่ ตกลงมาจากดา้ นบน จากลักษณะดงั กล่าวทีป่ รากฏเฉพาะ ดอก ก้าน ใบ เช่นนี้ จึงมีชื่อเรยี กว่า “ลายดอกไม้รว่ ง” ทีม่ กั ปรากฏอยูบ่ ริเวณส่วนพ้นื หลงั ของ ศิลปกรรมหลายลักษณะ อธิบายศพั ท์ ลายดอกไมร้ ว่ ง หมายถึง ลาย ทปี่ ระกอบข้ึนดว้ ยดอก ก้าน และใบ ลักษณะเปน็ ดอกหรอื ชอ่ คว�ำ่ ลง นิยม ใช้ลวดลายลักษณะน้ีเพ่ือแก้ปัญหา พ้ืนทว่ี ่าง (ราชบัณฑติ ยสถาน, ๒๕๕๗, หนา้ ๖๗)

ภาพจติ รกรรมประดับบนพืน้ ผิวของเสา ภายใน ลีลาพรรณพฤกษาจากช่างศิลป์ไทย พระอโุ บสถวัดเฉลิมพระเกยี รติ

จังหวดั นนทบรุ ี ศิลปะรัตนโกสินทร์ (บนั ทึกภาพเมอ่ื ปี พ.ศ. ๒๕๔๙)

๒๔

บางส่วนของจติ รกรรมฝาผนัง ภายในพระอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณาราม จงั หวดั เพชรบรุ ี ศิลปะอยุธยาตอนปลาย ตรงกบั รชั สมยั พระเจา้ เสอื (สนั ติ เล็กสขุ ุม, ๒๕๔๔, หน้า ๑๙๐) (บนั ทึกภาพเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๘)

บริเวณพน้ื ที่ระหวา่ งภาพบุคคล ชา่ งแบ่งพืน้ ท่ีดว้ ยเส้นสนิ เทาออกเปน็ ๒ สว่ น สว่ นนอกเสน้ สินเทา มพี นื้ ท่ีมากพอที่จะบรรจดุ ้วยลายพรรณพฤกษาในลกั ษณะท่ีเรยี กวา่ “ใบเทศ” ประกอบด้วย กา้ นดอกและใบที่มีความสะบัดพลิ้วของช่อกนกแทรกอยดู่ ้วย สว่ นพื้นทีร่ ะหวา่ งภาพบุคคลจัดวาง ด้วยลายดอกไมร้ ว่ ง กระจายเตม็ พ้นื ทีด่ ้านหลัง เพอื่ ลดพน้ื ท่ีว่างระหวา่ งภาพบุคคลแต่ละภาพ ลกั ษณะ การจัดวางภาพบคุ คลท่แี สดงลีลาทา่ ทางเป็นแบบเดยี วกนั น้ี เรียกวา่ “เทพชมุ นมุ ”

อธบิ ายศพั ท์ ใบเทศ หมายถงึ ลายที่มีโครงสร้างอยู่ในรูปทรงดอกบวั ตูม มบี าก ๒ ข้าง ปลายแหลมรวบ ตรงหรือเอน เขา้ ใจวา่ ชา่ งไทยไดร้ บั แรงบันดาลใจมาจากใบฝา้ ยเทศ (ราชบัณฑติ ยสถาน, ๒๕๕๗, หนา้ ๙๖) เทพชุมนมุ หมายถงึ ภาพหรอื รูปเทพเจา้ เทวดา เทพธดิ า รวมท้งั ทา้ วจตุโลกบาลและบรวิ าร เป็นต้น มาชมุ นุมกนั จำ� นวนมาก ลักษณะของเทพชุมนมุ มีหลายแบบ เชน่ เปน็ ภาพประทบั น่ังหรอื ยืน เรยี งกันเปน็ แถว เทพลลี าบนทอ้ งฟ้า หรอื ภาพเทพทหี่ ลงั บานประตหู น้าต่าง ภาพเทพชุมนุมมีความ หมายถงึ ทวยเทพทเ่ี สด็จมาถวายสกั การะแด่พระพุทธเจ้าหรอื องคพ์ ระประธาน (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๐, หน้า ๔๔๕)

ลีลาพรรณพฤกษาจากช่างศลิ ปไ์ ทย ๒๕

ภาพจติ รกรรมเขียนสปี ระดบั บนบานหนา้ ตา่ งดา้ นในของพระอโุ บสถ วดั ชุมพลนิกายาราม อำ� เภอบางปะอนิ จังหวัดพระนครศรอี ยธุ ยา ศลิ ปะรัตนโกสินทร์ (บันทึกภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๔)

ภาพท่ปี รากฏเปน็ รูปทเ่ี รียกวา่ “รูปล่นั ถนั ” ท่มี ลี กั ษณะแบบจนี เปน็ ภาพจิตรกรรมทีเ่ ขยี น เลยี นแบบเครอ่ื งบชู าอยา่ งจนี ประกอบไปด้วยเครือ่ งถ้วย และเคร่ืองใชห้ ลายลกั ษณะ เชน่ โตะ๊ ท่ีเขียน เลียนแบบเครอ่ื งไม้ ภาชนะรปู ทรงต่างๆ ผ้ามา่ น เครอ่ื งแขวน รวมทัง้ เครื่องมงคลและเครือ่ งอาวธุ ตา่ งๆ ส่วนบนของแจกนั หรอื ภาชนะมพี รรณไมน้ านาชนิดทม่ี ีลกั ษณะแตกต่างกนั จัดวางเป็นเคร่ือง บูชา ซง่ึ แสดงภาพในลกั ษณะใกลเ้ คยี งกบั ของจริงอย่างธรรมชาติ อธิบายศัพท์ รปู ลั่นถนั หมายถงึ ภาพเครื่องตั้งโต๊ะบูชาแบบจนี มีแจกัน เชิงเทยี น กระถางธปู และพาน ดอกไม้ เป็นต้น มักพบทดี่ ้านหลงั บานประตูหนา้ ตา่ ง ฝาผนังของสถาปัตยกรรมในสมยั รชั กาลที่ ๓ แหง่ กรุงรตั นโกสินทร์ (ราชบณั ฑติ ยสถาน, ๒๕๕๐, หน้า ๖๒๘)

๒๖ ลีลาพรรณพฤกษาจากชา่ งศลิ ปไ์ ทย

ภาพจิตรกรรมประเภทเขียนสบี นบานหนา้ ตา่ ง ภายในพระอุโบสถวดั ชุมพลนกิ ายาราม อ�ำเภอบางปะอนิ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศิลปะรตั นโกสินทร์ (บนั ทกึ ภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๔)

จากภาพเป็นงานประดับบานหน้าต่างอกี ช่องหน่งึ ท่มี ีลกั ษณะเดียวกนั กับภาพกอ่ นหน้า ท่ี เรียกวา่ รูปลั่นถัน แต่แสดงรายละเอียดของเครื่องตัง้ บชู า ต�ำแหนง่ การจัดวางสิง่ ของ รวมทงั้ ลกั ษณะ ของพรรณพฤกษาทน่ี ำ� ไปประกอบในภาชนะ มคี วามแตกต่างกนั ในแต่ละชอ่ งหนา้ ตา่ ง แสดงใหเ้ หน็ ถงึ ความคดิ สร้างสรรคอ์ ันหลากหลายของชา่ งเขยี นในสมยั นนั้ ไดเ้ ป็นอยา่ งดี

ลลี าพรรณพฤกษาจากช่างศิลปไ์ ทย ๒๗

ภาพจติ รกรรมแบบเขยี นสีบนบานหนา้ ต่าง ภายในศาลา การเปรียญวัดเชงิ ท่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (บันทกึ ภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๔)

จากภาพมีลกั ษณะการจัดวางภาพ เน้ือหาเร่อื งราว รวมทั้งรูปแบบภาพเปน็ ไปในลกั ษณะ เดยี วกนั กบั ทพ่ี ระอโุ บสถวัดชมุ พลนกิ ายาราม จากรูปแบบท่ปี รากฏผลงานท้งั สองแหล่งอาจเปน็ งานที่ รว่ มสมัยกนั ความแตกต่างของภาพนีก้ บั ภาพทีป่ รากฏในพระอโุ บสถวัดชมุ พลนกิ ายารามนนั้ สามารถ พิจารณาได้ คือ ภาพนใ้ี ห้ความส�ำคญั กับพน้ื หลัง มกี ารใสร่ ายละเอียดของลวดลายอย่างจีน ซึง่ น่าจะ เทยี บไดก้ ับลายดอกไมร้ ว่ งท่นี ิยมในงานจติ รกรรมไทย แตม่ รี ปู แบบและลีลาอยา่ งจนี รวมทงั้ การให้ ความส�ำคญั กับน้�ำหนกั แสงเงา ภาพท่ปี รากฏในพระอุโบสถวดั ชมุ พลนกิ ายาราม แสดงน้ำ� หนกั แสง เงาท่ีชัดเจนมากกว่า จงึ ท�ำใหภ้ าพท่ีปรากฏน้ีมลี ักษณะทค่ี ่อนข้างแบนราบ ไมแ่ สดงมิติ หรอื ระยะใกล้ กลาง ไกลมากนกั

๒๘ ลีลาพรรณพฤกษาจากชา่ งศลิ ปไ์ ทย

บางส่วนของภาพจิตรกรรมฝาผนงั ระหวา่ งพ้นื ทชี่ ่องหน้าต่าง ภายในพระอุโบสถวดั ชมุ พลนิกายาราม อำ� เภอบางปะอนิ จงั หวดั พระนครศรีอยุธยา ศลิ ปะรัตนโกสินทร์ (บนั ทึกภาพเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๖๔)

จากภาพเปน็ การแสดงลีลาของพรรณพฤกษานานาชนดิ เช่น สระบัวทเ่ี ต็มไปดว้ ยดอกบัว ใบบวั กระจายตัวจนเตม็ พนื้ ทภ่ี ายในสระ แสดงใหเ้ ห็นถงึ รูปแบบทแ่ี ตกตา่ งกนั ของดอกบัวและใบบวั ส่วนดา้ นล่างมีการแต้มสีใหม้ รี ปู รา่ งคล้ายใบไม้ ทบั ซอ้ นกนั หลายนำ้� หนัก จนมลี กั ษณะเป็นพ่มุ ใบ เทคนิควิธกี ารที่ใช้ในการเขียนภาพตน้ ไม้ ใบไม้ พ่มุ ไม้ สอดคล้องกับหลักการที่ สมชาติ มณีโชติ (๒๕๒๙, หนา้ ๔๗-๔๘) อธิบายไวใ้ นหนงั สือ จติ รกรรมไทย จะสังเกตเหน็ ว่า การเขียนภาพพรรณไม้ บนฝาผนังนี้ ช่างมไิ ดเ้ ขียนตัดเสน้ ขอบนอกของใบหรือดอกแตอ่ ยา่ งใด เปน็ เพียงการแต้มสใี ห้เกดิ เปน็ รปู รา่ งของพรรณไม้แต่ละชนิดเท่านนั้

ลลี าพรรณพฤกษาจากชา่ งศลิ ป์ไทย ๒๙

ภาพจติ รกรรมฝาผนังภายในพระที่นั่งพทุ ไธสวรรย์ พพิ ธิ ภณั ฑสถานแหง่ ชาติ พระนคร กรงุ เทพฯ ศิลปะรตั นโกสนิ ทรต์ อนตน้ (บนั ทึกภาพเม่อื ปี พ.ศ. ๒๕๖๔)

จากภาพเป็นบางสว่ นของจติ รกรรมฝาผนงั บนผนังท่ี ๒๑ เป็นเหตกุ ารณ์หลายตอนทร่ี วมอยู่ บนฝาผนังเดยี วกนั ได้แก่ ตอนยมกปาฏิหารยิ ์ เทศนาโปรดพุทธมารดา และตอนปราบพญานาคนนั โท ปนันท์ (อภวิ นั ทน์ อดลุ ยพเิ ชฏฐ์, ๒๕๕๕, หน้า ๑๒๘) อยใู่ นต�ำแหน่งด้านขวาของพระพุทธสิหิงค์ อันเปน็ พระพุทธรปู ประธานในพระทน่ี ั่งองคน์ ี้ รายละเอียดของภาพนปี้ ระกอบไปด้วย ภาพบคุ คลจ�ำนวนหนงึ่ ทแ่ี วดลอ้ มไปดว้ ยท่ามกลาง บรรยากาศธรรมชาติ มีท้งั โขดหินทมี่ รี ปู ร่างหลายลกั ษณะ ทีส่ �ำคัญคือ ลีลาของพรรณไม้รูปแบบ ตา่ งๆ จะสงั เกตเห็นวา่ ช่างเขยี นให้ความสำ� คญั กบั รายละเอียดของพรรณไมแ้ ตล่ ะภาพ โดยมีการ เขยี นตดั เส้นขอบคมอย่างประณตี และมกี ารแสดงนำ้� หนกั เขม้ อ่อนอย่างชัดเจน

๓๐ ลีลาพรรณพฤกษาจากชา่ งศลิ ป์ไทย

ลลี าพรรณพฤกษาจากชา่ งศิลปไ์ ทย จิตรกรรมเขียนสปี ระดับบนเสาภายในพระอโุ บสถวดั ชมุ พลนิกายาราม อำ� เภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยธุ ยา (บนั ทึกภาพเม่ือปี พ.ศ. ๒๕๖๔)

เสาแตล่ ะตน้ ภายในพระอโุ บสถนี้ ประดบั ดว้ ย ลวดลายทมี่ ีความแตกตา่ งกันในด้านสี แตม่ ีรูปแบบของ ลวดลายลักษณะเดียวกัน โดยจัดวางลวดลายไวเ้ ป็นค่ๆู เพื่อใหม้ อี งค์ประกอบทีส่ มดุลแบบ “สมมาตร” ช่างออกแบบลวดลายโดยการน�ำพรรณพฤกษา เรยี งร้อยเข้ากนั ในลักษณะของเครือ่ งแขวน ซึง่ ประกอบ ดว้ ย ชอ่ ดอกไม้ กรอบหลายเหลี่ยม ทีภ่ ายในบรรจุด้วย ดอกไม้ และหอ้ ยด้วยชอ่ อบุ ะ เรียงร้อยตอ่ กนั ต้ังแตส่ ว่ น หวั เสา ห้อยลงมาจรดเชิงเสาที่เขียนด้วย“ลายกรวยเชิง” โดยได้แรงบันดาลใจจากดอกพดุ ตาน อธิบายศพั ท์ สมมาตร หมายถึง ลกั ษณะขององคป์ ระกอบท่ี จดั ในลักษณะแสดงสว่ นประกอบต่างๆ เช่น รปู ทรง สี แสง เงา ฯลฯ ข้างซ้ายและขา้ งขวาของแกนกลางให้ เหมอื นกัน ซึง่ ตรงกบั คำ� ภาษาองั กฤษว่า symmetry (ราชบณั ฑิตยสถาน, ๒๕๔๑, หนา้ ๒๑๖) ลายกรวยเชงิ หมายถงึ ลายท่ีอยู่ในรปู ทรงกรวย เรียงตอ่ เน่อื งกนั ใช้ประดบั เชงิ ผา้ เชิงผนัง หรอื เชงิ เสา และประดับปลายคาน เม่อื ผูกด้วยลายแบบใดจะมีชือ่ เรียกตามลายน้นั เช่น ลายกรวยเชงิ ใบเทศ ลายกรวยเชงิ หางโต ลายกรวยเชงิ พุดตาน ฯลฯ บางคร้ังเรียกวา่ ลาย กรยุ เชงิ (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๗, หนา้ ๒)

๓๑

บางสว่ นของลวดลายประดบั เสาภายในพระอโุ บสถวัดชุมพลนิกายาราม จังหวัดพระนครศรอี ยุธยา ศิลปะรัตนโกสินทร์ (บันทึกภาพเม่อื ปี พ.ศ. ๒๕๖๔)

จากภาพเปน็ รปู แบบลวดลายอยา่ งเดยี วกันกับภาพกอ่ นหน้า แตม่ ีความแตกตา่ งกันในด้าน การใช้สีพน้ื หลัง รวมทง้ั ฝมี ือเชิงชา่ งท่ีแสดงออกถึงทกั ษะฝมี อื ของชา่ งทต่ี ่างกนั ด้วย จึงทำ� ใหเ้ ข้าใจได้ ว่า ชา่ งเขียนทส่ี ร้างสรรคผ์ ลงานประดับเสาของวดั แหง่ นมี้ ีเป็นกล่มุ มไิ ด้เปน็ ชา่ งเพียงคนเดยี ว ซ่งึ สามารถพจิ ารณาไดจ้ าก ลลี าการเขยี นตดั เส้นทีม่ ีความพลิว้ ไหวและมคี วามแม่นยำ� ทตี่ ่างกนั

๓๒ ลีลาพรรณพฤกษาจากช่างศิลป์ไทย

ลวดลายประดับเสาภายในวิหารพระพทุ ธไสยาสน์ วดั พระเชตุพนวมิ ลมงั คลาราม กรุงเทพฯ ศิลปะรตั นโกสนิ ทร์ (บันทกึ ภาพเม่อื ปี พ.ศ. ๒๕๖๔)

ลวดลายทป่ี รากฏเปน็ ผลงานจิตรกรรมเขียนสี โดยใช้ลวดลายดอกพดุ ตานเปน็ แรงบนั ดาลใจ ในการออกแบบและจัดวางในตำ� แหนง่ เชงิ เสา ประกอบด้วย ส่วนดอกลักษณะต่างๆ ก้านดอก และใบ เรยี งร้อยใหเ้ ปน็ ลวดลายที่ยาวต่อเน่ืองเชือ่ มโยงกนั ตลอดแนวนอน โดยเรียกตำ� แหนง่ การประดับนี้วา่ “หนา้ กระดาน” การออกแบบตำ� แหนง่ การจดั วางลวดลายดอกพดุ ตานของแถบลายทั้งสอง คอื แถบ ลายกลางท่ีถกู ขนาบด้วยแถบลายขนาดเล็กกว่า พ้นื ทีท่ ม่ี ขี นาดทต่ี ่างกัน มีผลต่อการจดั วางลวดลาย รวมถึงรายละเอียดปลกี ยอ่ ยตา่ ง ๆ ดว้ ย

อธิบายศพั ท์ หน้ากระดาน หมายถงึ องคป์ ระกอบเชงิ ศิลป์ท่ปี ระดิษฐ์ขึน้ ใหม้ รี ะนาบเรียบ และมคี วามยาว ต่อเนอื่ งกนั เชน่ แนวระนาบเรยี บของขอบฐานตา่ ง ๆ หน้ากระดานทข่ี อบบน ที่เรียกว่า หน้ากระดาน บน และหนา้ กระดานทขี่ อบลา่ ง เรียกว่า หน้ากระดานล่าง (โชติ กัลยาณมติ ร, ๒๕๔๘, หน้า ๕๑๑)

ลีลาพรรณพฤกษาจากชา่ งศิลป์ไทย ๓๓

ภาพจิตรกรรมแบบเขียนสี ประดับบนผนื ผา้ จากภาพเป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับ หรอื ทเี่ รยี กวา่ “พระบฏ” (บันทึกภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๔) ยนื อยู่กงึ่ กลางของพ้นื ที่ โดยค่อนไปทางดา้ นบน ขนาบสองข้างท้ังซ้ายขวาด้วยภาพพระอัครสาวก สว่ นดา้ นบนเหนือเสน้ สินเทา มีภาพเทวดา ๒ ภาพ ประดับไวบ้ รเิ วณมมุ ทัง้ ซา้ ยขวา สว่ นดา้ น ล่างเป็นภาพเครื่องตั้งโต๊ะบูชาท่ีมีภาชนะและช้ัน วาง ชา่ งออกแบบพืน้ ท่บี างส่วนส�ำหรับประดบั ภาพพรรณพฤกษา เพื่อสอื่ ความหมายถึง การ ถวายเครอ่ื งสกั การะตอ่ องคพ์ ระพุทธเจา้ ทอี่ ยกู่ ่ึง กลาง เชน่ พ้นื ที่ด้านหลังระหวา่ งภาพพระพุทธเจา้ และภาพพระอัครสาวก เป็นลายดอกไมร้ ว่ ง และ มีกระถางต้นไม้ที่มีดอกบัวชูช่อแทรกอยู่ด้วย รวมถงึ สว่ นล่างที่เป็นเครื่องตั้งบูชา ภาพพรรณไม้ ชนิดตา่ งๆ ถกู น�ำมาเขยี นไว้ในภาชนะรปู ทรงท่ี หลากหลาย ภาพพระบฏช้ินนเี้ ป็นสมบัติส่วนตัว (ไมเ่ ปิดเผยนามผคู้ รอบครอง) อธิบายศัพท์ พระบฏ หมายถึง ผนื ผ้าทเี่ ขยี นรปู พระพุทธเจ้า เป็นงานจติ รกรรมพุทธศิลปะทน่ี ยิ ม ทำ� ข้ึนไวส้ กั การะบูชา แขวนไวต้ ามศาลา วหิ าร หรือสถานท่ีซึ่งพุทธศาสนิกชนมาชุมนุมกันใน เทศกาลต่างๆ (ราชบณั ฑิตยสถาน, ๒๕๕๐, หน้า ๕๕๘)

๓๔ ลีลาพรรณพฤกษาจากชา่ งศิลปไ์ ทย

ภาพจติ รกรรมฝาผนัง ภายในพระอุโบสถวัดทา่ สุทธาวาส จงั หวัดอ่างทอง (บนั ทึกภาพเมอื่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๓)

จากภาพเป็นภาพเล่าเรื่องราวเก่ียวกับประวตั ิศาสตรข์ องท้องถนิ่ โดยรายละเอยี ดของภาพ ประกอบไปดว้ ยสง่ิ กอ่ สรา้ งทีม่ อี ยจู่ ริง รวมทั้งภาพบคุ คลท่ีมีลักษณะทีส่ มจรงิ โดยเฉพาะพระบรม สาทสิ ลกั ษณ์ของพระบาทสมเดจ็ พระชนกาธิเบศร์ ภูมิพลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร รัชกาลที่ ๙ พร้อมดว้ ยพระบรมวงศานุวงศ์ ท่เี สด็จพระราชด�ำเนินทรงเยยี่ มราษฎรท่ปี ระสบภัยน้ำ� ทว่ มบนพืน้ ที่ จังหวัดอ่างทองในขณะน้นั เม่ือเร่ืองราวและส่งิ ก่อสร้างมคี วามสมจริง ดังนัน้ ช่างจึงออกแบบใหภ้ าพ พรรณไม้นานาชนิดที่แวดลอ้ มอย่มู คี วามสมจริงด้วย ซ่ึงแต่ละพรรณไมส้ ามารถระบลุ ักษณะไดว้ า่ เป็น พรรณไม้ชนิดใด เชน่ ต้นกล้วย มะมว่ ง มะพร้าว ฯลฯ แมจ้ ะมีวิธกี ารเขียนภาพจิตรกรรมแบบไทย ประเพณี แต่ชา่ งได้น�ำเสนอรูปแบบท่ีสมจริงตามธรรมชาติ

ลลี าพรรณพฤกษาจากช่างศลิ ปไ์ ทย ๓๕

ภาพจติ รกรรมฝาผนัง ภายในพระวิหาร วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม (บนั ทึกภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๖)

จากภาพเป็นการน�ำเสนอเนื้อหาเกย่ี วกับเทพชุมนุม แตม่ ีรปู แบบทแ่ี ปลกแตกตา่ งออกไปจาก ประเพณีนยิ มในสมัยอยธุ ยาและรตั นโกสินทร์ตอนต้น สงั เกตไดว้ า่ จะมกี ารใหค้ วามสำ� คญั กบั รายละเอยี ด กล้ามเนอ้ื ลักษณะใบหนา้ มีความสมจริง แสดงนำ�้ หนกั เข้มออ่ นของแสงและเงา ซึ่งเป็นพฒั นาการทาง ดา้ นรูปแบบในสมยั รัชกาลที่ ๖ ส่วนภาพพรรณไม้ท่ปี ระกอบอยู่ในภาพ ไดแ้ ก่ ลายดอกไมร้ ว่ ง “ลายเฟือ่ งอุบะ” หรอื ลาย ประดับของภาพเทวดา ท่ีใช้วธิ ีการแต้มสีและกำ� หนดน้ำ� หนกั แสงเงาท่ีแตกตา่ งกัน ซ่งึ เปน็ ลักษณะของ การน�ำเสนอภาพพรรณพฤกษาอกี แบบหนึง่ ที่น่าสนใจอย่างยงิ่ อธบิ ายศพั ท์ ลายเฟ่อื งอุบะ หมายถงึ ลายเฟ่ืองทีค่ ่ันด้วยอบุ ะ ใช้ลายต่าง ๆ ประกอบ เชน่ ลายใบเทศ ลาย กระหนก ชดุ ลายเฟื่องอบุ ะมหี นา้ กระดานและลกู ขนาบประกอบอยดู่ ้วย (ราชบณั ฑิตยสถาน, ๒๕๕๗, หน้า ๑๐๙)

๓๖ ลลี าพรรณพฤกษาจากชา่ งศลิ ปไ์ ทย

จติ รกรรมเขียนสปี ระดบั ส่วนเชิง (ดา้ นลา่ ง) ของฉากบังเพลิง (บันทกึ ภาพเม่อื ปี พ.ศ. ๒๕๖๔)

จากภาพเป็นภาพประดับฉากบงั เพลิง ของสมเดจ็ พระเจ้าพี่นางเธอ เจา้ ฟ้ากัลยาณวิ ฒั นา กรมหลวงนราธวิ าสราชนครนิ ทร์ ในรัชกาลท่ี ๙ (ฝีมอื การออกแบบและสร้างสรรคโ์ ดย สนน่ั รัตนะ ราชบัณฑิต สาขาจิตรกรรม) ช่างได้รับแรงบนั ดาลใจจากดอกแกว้ กลั ยา ซึง่ เปน็ ชื่อพระราชทานให้กับ ผลงานดอกไม้ประดิษฐ์ ท่คี นพิการของศนู ยส์ ง่ เสรมิ อาชพี และพฒั นาคนพิการ สภาสงั คมสงเคราะห์ และทรงพระราชทานพระอนุญาตใหใ้ ชเ้ ป็นดอกไมส้ ญั ลกั ษณข์ องคนพกิ าร เมอื่ วนั ที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ (th.m.wikipedia.org หัวข้อ ดอกแก้วกัลยา สบื คน้ เมือ่ วนั ท่ี ๓ มกราคม ๒๕๖๔) ด้วย แรงบนั ดาลใจนีจ้ ึงเกิดชอ่ื ลายใหม่ เรยี กว่า “ลายแก้วกลั ยา” ขน้ึ รูปแบบของดอกแกว้ กัลยาน้ี มลี ักษณะท่ีใกลเ้ คียงกับดอกแก้วเจา้ จอม โดยเฉพาะสีสนั ที่สอด สลับกนั ระหว่างสีน้�ำเงินอมมว่ ง และจะคอ่ ยๆ จางลงตามล�ำดับ จนเป็นสีขาวบรสิ ทุ ธ์ิ ส่วนรูปแบบของ ใบคลา้ ยกับใบของต้นแกว้ ท่วั ไป ที่ออกแบบสีสันของดอกแก้วกลั ยาให้เปน็ สฟี ้านำ้� เงิน เพราะพระองค์ ทรงโปรดสนี เี้ ปน็ อย่างมาก

อธิบายศัพท์ ฉากบงั เพลงิ หมายถงึ ประตูปดิ กั้นทางข้นึ ลงพระเมรุมาศ ฉากบังเพลงิ จะใชป้ ดิ เวลาถวาย พระเพลิง ซึ่งเจ้าพนกั งานกรมพระสนมจะตอ้ งปฏิบัติหน้าที่โดยเฉพาะ จะเขยี นเปน็ ภาพเทวดาส�ำหรับ พระเมรุมาศ สว่ นสามญั ชนจะเขียนเป็นรูปต้นตะโก (โชติ กัลยาณมติ ร, ๒๕๔๘, หน้า ๑๖๐) ลายแกว้ กัลยา หมายถึง ลายทป่ี ระดษิ ฐข์ ้ึนใหม่ โดยได้รับแรงบนั ดาลใจจากดอกแก้วและ ดอกแก้วเจ้าจอม ใชเ้ ป็นลายผนังและลายประดับฉากบังเพลิง คณะชา่ งเขียนฉากบังเพลิงประดษิ ฐ์ข้ึน เพอ่ื ใชใ้ นงานพระเมรสุ มเดจ็ พระเจา้ พ่นี างเธอ เจ้าฟ้ากลั ยาณิวฒั นา กรมหลวงนราธิวาสราชนครนิ ทร์ เมอ่ื วนั เสาร์ท่ี ๑๕ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๕๕๑ (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๗, หน้า ๔๘)

ลีลาพรรณพฤกษาจากช่างศลิ ป์ไทย ๓๗

จากภาพเปน็ ภาพฉากบงั เพลิงประกอบ พระเมรมุ าศ สมเดจ็ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้า กัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธวิ าสราชนครินทร์ ช่างออกแบบเป็นต้นดอกไม้ทองค�ำ โดยการนำ� ลกั ษณะของดอกแกว้ กลั ยามาประดษิ ฐ์ ให้อยใู่ นทรงพมุ่ ทมี่ คี วามสงู ชลดู แทรกด้วยใบ และก้าน ผูกมดั รวมกันดว้ ยแถบริบบ้นิ ท่ีมีเสน้ คดโคง้ ไปมา แสดงความร้สู กึ ถงึ การโบกสะบัด และเคลือ่ นไหว

จติ รกรรมปิดทองเขียนสี ประดับบนฉากบังเพลงิ (บนั ทึกภาพเม่อื ปี พ.ศ. ๒๕๖๔)

๓๘ ลีลาพรรณพฤกษาจากชา่ งศลิ ป์ไทย

ลลี าพรรณพฤกษาจากช่างศลิ ปไ์ ทย บางสว่ นของจิตรกรรมแบบเขียนสปี ระดบั ฉากบงั เพลงิ (บันทึกภาพเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๖๔)

จากภาพเป็นฉากบังเพลิงประกอบท่ี พระเมรุมาศในสมเดจ็ พระเจา้ ภคนิ เี ธอ เจา้ ฟ้า เพชรรตั นราชสดุ า สิรโิ สภาพัณณวดี (ฝีมือการ ออกแบบ และสร้างสรรค์โดย สนนั่ รตั นะ ราชบัณฑติ สาขาจติ รกรรม) ฉากบังเพลิงทเี่ ขยี นขน้ึ น้ี ประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ สว่ นลา่ ง เป็นรปู สี่เหล่ยี มผืนผ้าตาม แนวนอน และถดั ขึน้ มาดา้ นบน เปน็ ช่องว่างรูป ส่เี หลย่ี มผนื ผ้าตามแนวตัง้ ท้ังสองส่วนบรรจุ ภาพทแ่ี ตกตา่ งกนั คือ สว่ นล่างออกแบบเปน็ ลาย ในลักษณะสมมาตร โดยใชล้ ายดอกไม้ทม่ี ี สีสันสวยงามผูกร้อยรวมกัน แทรกดว้ ยใบไม้ กา้ นดอก และแถบรบิ บิน้ ส่วนด้านลา่ งของลาน ดอกไมเ้ ป็นลวดลายไทย ซ่งึ เป็นจุดกำ� เนดิ ของ ลวดลายทง้ั หมด สว่ นดา้ นบนเปน็ ชอ่ งวา่ ง บรรจุ ดว้ ยภาพเทวดายืนพนมมือบนแทน่ ฐาน และมี ลายดอกไมร้ ว่ งอยบู่ รเิ วณพน้ื หลงั สายพวงมาลยั ทป่ี ระดบั องคเ์ ทวดา มวี ธิ กี ารเขยี นอยา่ งตะวนั ตก ส่วนช่องดา้ นข้าง ระบายสีเป็นรปู ดอกกุหลาบ โดยใช้วธิ ีการอยา่ งตะวนั ตกเช่นกัน ซง่ึ มลี กั ษณะ ทสี่ มจริงตามแบบธรรมชาติ

๓๙

ภาพบางสว่ นของลวดลายประดับบนฉากบงั เพลิง ประกอบพระเมรมุ าศ สมเด็จพระศรนี ครนิ ทรา บรมราชชนนี ในรัชกาลท่ี ๙ (บนั ทึกภาพเม่อื ปี พ.ศ. ๒๕๖๔)

ช่างไดน้ ำ� ลกั ษณะและรูปทรงของดอกบวั มาออกแบบและ “ผกู ลาย” ดว้ ยการจดั วางองค์ ประกอบทสี่ มมาตร โดยมีจดุ กำ� เนดิ ลวดลายอยบู่ ริเวณสว่ นล่างกึง่ กลางของพ้ืนที่ แสดงลีลาของ ดอกบัวท่ีหลากหลาย รวมท้ังลีลาของใบบวั ทีส่ ะบัดพลิว้ มีการแทรกด้วยลายกระหนก เพอ่ื ช่วยให้ ลวดลายเกดิ ความพลว้ิ ไหวมากขึ้น อธบิ ายศัพท์ การผูกลาย หมายถึง การประกอบตัวลายตามแบบแผนของช่างโบราณ โดยเลือกลายชนดิ ต่างๆ ทีเ่ หมาะสมมาประกอบกนั เปน็ ลายใหม่ บรรจุลงในพน้ื ทท่ี ี่ก�ำหนด (ราชบณั ฑติ ยสถาน, ๒๕๕๐, หน้า ๕๔๑)

๔๐ ลลี าพรรณพฤกษาจากช่างศลิ ป์ไทย

จากภาพเป็นงานจิตรกรรมท่ีเขียนขึ้น เลยี นแบบลักษณะของงานชา่ งลายรดน�ำ้ ศิลปะ ในสมยั ปัจจบุ ัน ลวดลายของบานประตทู ้ังสองบาน มี ลกั ษณะเป็นลายแบบสมมาตร รายละเอยี ด เปน็ แบบเดยี วกันทง้ั สองบาน โดยเรม่ิ ลวดลาย จากสว่ นล่างทีเ่ ปน็ พืน้ ดนิ และมีก้านลายพุ่งขน้ึ ด้านบน ออกลายดว้ ยดอกพดุ ตานแทรกด้วย กา้ นและใบ พ้นื ท่วี ่างบางส่วนบรรจดุ ว้ ยภาพ สตั ว์ขนาดเลก็ เชน่ กระรอก นก เส้นก้านลาย มลี กั ษณะโค้งไปมา แสดงถึงความเคลอื่ นไหว และพวยพุง่ จากดา้ นล่างสดู่ ้านบน

ลลี าพรรณพฤกษาจากชา่ งศลิ ปไ์ ทย จติ รกรรมเขียนสปี ระดบั บานประตูพระวิหาร ภายในวัดพิพัฒนม์ งคล อำ� เภอทุง่ เสลย่ี ม จังหวัดสุโขทยั (บันทึกภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๔)

๔๑

ภาพบางสว่ นของ จิตรกรรมฝาผนงั ภายใน

พระที่นง่ั ทรงธรรม (บันทกึ ภาพเมือ่ ปี

พ.ศ. ๒๕๖๐)

ภาพจิตรกรรมฝาผนังใน “พระท่นี ง่ั ทรงธรรม” ประกอบพระเมรุมาศในพระบาทสมเดจ็ พระชนกาธิเบศร ภมู ิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เปน็ งานจติ รกรรมเขยี นสที ี่ไดอ้ ทิ ธพิ ลทาง ด้านรปู แบบร่วมสมยั ท่เี นน้ ความสมจริงทัง้ เน้ือหา การจัดวางองคป์ ระกอบ ทศั นียภาพ รวมทงั้ ภาพ บคุ คล สิง่ ก่อสรา้ ง สถานท่ี ภาพพรรณไมท้ ี่มอี ย่จู ริงตามเหตกุ ารณท์ ่ีเกดิ ข้นึ จากภาพเป็นบางสว่ นทแ่ี สดงถึงเหตุการณ์ท่พี ระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศร ภมู พิ ลอดลุ ย เดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชด�ำเนินประกอบพระราชกรณียกิจ พรอ้ มด้วยสมเด็จ พระนางเจ้า พระบรมราชนิ ีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระกนษิ ฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี แวดล้อมด้วยเหลา่ ขา้ ราชการทีร่ บั เสดจ็ จะสังเกตเห็นวา่ ลักษณะ ใบหน้า ทา่ ทาง เคร่อื งแตง่ กาย การแสดงนำ�้ หนักแสงเงา ลว้ นมคี วามสมจรงิ ตามธรรมชาติ ท่ีสำ� คัญคือ การเขียนภาพพรรณไม้นานาชนิด มลี กั ษณะทส่ี ามารถระบุได้วา่ เปน็ พรรณไม้ชนดิ ใด อธิบายศพั ท์ พระท่นี งั่ ทรงธรรม หมายถงึ อาคารที่สร้างข้นึ ชว่ั คราวส�ำหรับงานพิธีถวายพระเพลิงพระบรม ศพ (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๐, หนา้ ๕๕๕)

๔๒ ลลี าพรรณพฤกษาจากชา่ งศิลป์ไทย

ภาพบางส่วนของจติ รกรรมฝาผนัง ภายในพระท่ีนง่ั ทรงธรรม (บันทกึ ภาพเม่ือปี พ.ศ. ๒๕๖๐)

ภาพจติ รกรรมฝาผนังในพระทนี่ ง่ั ทรงธรรม ประกอบพระเมรุมาศใน พระบาทสมเดจ็ พระชนกาธเิ บศร ภูมพิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร ท่ี แสดงเรือ่ งราวเกี่ยวกับโครงการต่างๆ ในพระองค์ จากภาพเป็นมุมหน่ึงท่ีแสดงบรรยากาศและสภาพแวดล้อมท่ีมีอยู่จริง ลกั ษณะภาพบุคคล อาคารสง่ิ กอ่ สร้าง ภาพสัตว์ องค์ประกอบแวดล้อม โดย เฉพาะภาพพรรณไม้นานาชนิด ท่มี ลี ักษณะเหมอื นจรงิ ตามธรรมชาติ โดยใชว้ ธิ ี การเขียนจิตรกรรมอย่างตะวนั ตกทีม่ คี วามร่วมสมัยในปัจจุบนั ที่เนน้ การแสดง น้�ำหนกั เขม้ ออ่ นใหเ้ กดิ แสงและเงา มีการทบั ซ้อนกนั ของภาพจนเกิดระยะใกล้ กลาง ไกล รวมทงั้ ลักษณะพรรณไม้ท่ีมีความสมจริง

ลลี าพรรณพฤกษาจากช่างศลิ ปไ์ ทย ๔๓

ภาพบางส่วนของจติ รกรรม ฝาผนัง ภายในพระที่นัง่ ทรงธรรม (บนั ทึกภาพเม่อื ปี พ.ศ. ๒๕๖๐)

จิตรกรรมบางส่วนในพระทนี่ ง่ั ทรงธรรม ประกอบพระเมรมุ าศใน พระบาทสมเด็จพระชนกาธเิ บศร ภมู พิ ลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร แสดงให้เห็นถงึ ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชพรรณ โดยแสดงออก จากลกั ษณะของพรรณไมท้ มี่ ีรูปแบบที่ต่างกัน จนสามารถระบไุ ดว้ า่ แต่ละ ภาพเปน็ พรรณไม้ชนดิ ใด

๔๔ ลลี าพรรณพฤกษาจากช่างศิลป์ไทย

งานชา่ งป้นั

งานชา่ งป้นั เป็นกลุ่มชา่ งแขนงหน่ึงทสี่ รา้ งสรรค์ผลงานศลิ ปะด้วยกระบวนการป้ัน โดยใช้ วสั ดตุ า่ งๆ ที่หลากหลาย เชน่ ปูน ขีผ้ ึง้ ดินเผา ฯลฯ งานช่างป้ันถูกจดั อยู่ในสำ� นักช่างสบิ หมู่ สงั กดั กรม ศิลปากรด้วย โดยส่วนใหญง่ านช่างปั้นในศลิ ปกรรมไทย จะคลกุ คลอี ยกู่ บั งานปัน้ ปนู เปน็ หลัก เพ่อื ใช้ ประดบั ตกแต่งสว่ นประกอบทางสถาปัตยกรรม เชน่ หนา้ บันของอาคารทางศาสนาหรอื อาคารทเี่ ก่ียว เนอื่ งด้วยสถาบันพระมหากษตั ริย์ ลวดลายประดบั เสา ซุ้มลกั ษณะต่างๆ เป็นตน้ ตามตัวอยา่ งตอ่ ไปนี้

ลายปูนปนั้ ประดับสว่ น ประกอบทางสถาปัตยกรรม ในศิลปะล้านนา ปจั จุบัน จัดแสดงอย่ภู ายใน พพิ ิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน อ�ำเภอเชียงแสน จงั หวดั เชยี งราย (บนั ทึกภาพ เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๙)

ลวดลายปนู ปน้ั ชิ้นน้ี มีลกั ษณะเปน็ ลายแบบต่อเนื่องเช่ือมโยงกนั ตลอดแนว สามารถใช้ ประดับและจดั วางไดท้ ัง้ แนวตง้ั และแนวนอน คอื แนวต้ัง นยิ มประดบั สว่ นเสาของซุม้ ส่วนแนวนอน นยิ มประดบั สว่ นฐาน หรอื ท่เี รยี กว่า หน้ากระดาน ลวดลายนถี้ กู ออกแบบโดยแบง่ พืน้ ที่ออกเปน็ ช่องๆ ดว้ ยเสน้ โคง้ ไปมาแบบลูกคลน่ื มฐี านะเป็นก้านลาย พ้นื ท่วี า่ งที่เกดิ จากลายดังกลา่ ว ถูกบรรจดุ ว้ ยลาย ดอกไม้ มกี ารจดั วางสับหวา่ งพ้นื ทกี่ นั เป็นลวดลาย ๒ รูปแบบ ได้แก่ ลายดอกกลม และลายดอกดา้ น ขา้ งทีเ่ หน็ กลีบดอกทกี่ ำ� ลังผลิบาน ทงั้ สองแบบถูกแทรกพน้ื ทีว่ ่างด้วยใบไม้ขนาดตา่ งๆ จนเต็มพืน้ ท่ี ลวดลายท้งั หมดท่ีกล่าวมานี้ ถกู ขนาบข้างดว้ ยแนวเส้นตรง ทเี่ รยี กว่า “เส้นลวด”

อธบิ ายศพั ท์ เสน้ ลวด หมายถึง องคป์ ระกอบทางสถาปัตยกรรมทีป่ ระดิษฐเ์ ปน็ เสน้ นูนครึ่งวงกลมบนพ้ืน ผวิ วัตถุเรียบ หากมคี วามเวา้ หรอื ความนูนไปตามแนวยาว ไมว่ ่าจะเปน็ ไปในทางตรงหรอื หกั มุม หรือ เปน็ วงโค้ง จะเรยี กวา่ ลวดบัว เช่น ลวดบัวส่วนฐานของอาคารหรือลวดบัวรัดรอบเจดยี ์ ลกั ษณะเชน่ นี้ ช่างบางทา่ นอาจเรียกวา่ บัว โดยตดั ค�ำวา่ ลวด ออก (โชติ กลั ยาณมิตร, ๒๕๔๘, หน้า ๔๓๖)

ลลี าพรรณพฤกษาจากชา่ งศิลปไ์ ทย ๔๕

ลายปูนป้ันประดบั ฝาผนงั อาคาร ภายในวดั นางพญา (วัดร้าง) อ�ำเภอศรสี ัชนาลัย จังหวดั สุโขทัย (บนั ทึกภาพเมอ่ื ปี พ.ศ. ๒๕๖๔)

ขอ้ มูลจากแหลง่ กลา่ วว่า วดั แหง่ นไี้ ม่ปรากฏผู้สร้างอยา่ งแน่ชดั แตส่ ันนษิ ฐานว่าอาจสร้างข้นึ ในสมยั กรุงศรอี ยุธยาเป็นราชธานี ปจั จบุ นั หลงเหลอื สภาพเทา่ ทป่ี รากฏในภาพ ลกั ษณะของลวดลายปนู ปน้ั ดงั กลา่ ว ประดบั ดว้ ยลายมมุ ทง้ั ส่ี เวน้ พน้ื ทว่ี า่ งและบรรจลุ วดลาย อยู่ภายในกรอบ “ลูกฟกั ” ใชร้ ปู แบบของดอกพุดตานเป็นหลัก ซง่ึ ประกอบไปดว้ ย แถบเส้นขนาด ใหญ่ เพ่อื แบ่งพ้ืนทว่ี า่ งย่อย ๆ และบรรจดุ ้วยลายดอกไม้ เดนิ เสน้ ดว้ ยก้านดอก และแทรกดว้ ยใบไม้ ลวดลายดังกล่าวมลี กั ษณะการจดั วางองค์ประกอบแบบสมมาตร อธิบายศพั ท์ ลกู ฟกั หมายถึง ลายที่อยใู่ นรูปร่างยาวรีคล้ายผลฟัก มีลกั ษณะส่วนปลายทง้ั สองข้างมนหรือ แหลม มแี มล่ าย เชน่ ลายประจ�ำยาม ลายดอกจอก หรอื ตัวภาพอยู่ตรงกลาง และมลี ายประกอบทง้ั สองข้าง ใช้เป็นแมล่ ายส�ำหรบั ผกู ลายเปน็ ลายแบบเอกเทศ หรอื เปน็ ลายสลบั กับประจ�ำยามกา้ มปู (ราชบณั ฑิตยสถาน, ๒๕๕๗, หน้า ๑๒๕)

๔๖ ลลี าพรรณพฤกษาจากชา่ งศลิ ปไ์ ทย

บางสว่ นของลายปนู ปนั้ ประดบั ส่วนฐานบวั ของเจดีย์ทรงปรางค์ ซ่ึงเป็นเจดีย์ประธานภายในวดั จฬุ ามณี จังหวดั พิษณุโลก (บนั ทึกภาพเมอ่ื ปี พ.ศ. ๒๕๖๔)

จากภาพสันนิษฐานว่าสรา้ งขึ้นในสมยั กรุงศรีอยุธยา ตรงกับรัชสมยั ของพระบรมไตรโลกนาถ (สนั ติ เล็กสขุ มุ , ๒๕๔๔, หน้า ๑๑๒) ลวดลายทปี่ รากฏในภาพ มรี ปู แบบเป็นรูปหงสท์ ่บี รเิ วณปากคาบชอ่ ดอกไม้ การจัดวางรูป หงสด์ ังกล่าวถูกปนั้ เรยี งรายบนพื้นท่ีส่วนฐานบวั ที่ยาวตอ่ เนอื่ งตามแนวนอน โดยเวน้ ระยะหา่ งกันเลก็ นอ้ ย ลายชอ่ ดอกไมม้ ีลักษณะเป็นลายดอกสีก่ ลบี ตอ่ ด้วยใบไมแ้ ละก้านลาย บางสว่ นมีลกั ษณะมว้ น คลา้ ยกับ “ตวั เหงา” ของลายกระหนก ซึ่งสัมพนั ธก์ ับลวดลายกระหนกทีป่ รากฏในสว่ นหางของรปู หงส์

อธบิ ายศัพท์ ตวั เหงา หมายถึง กระหนกตวั ล่างสดุ หรอื ตวั แรกของกระหนกสามตัวที่มลี กั ษณะงอลง ใช้ ประกอบสว่ นหางหงส์ จะเรยี กวา่ เหงาหางหงส์ ใช้ประกอบระกา จะเรียกวา่ เหงาระกา หากอยใู่ น กระจัง จะเรียกวา่ เหงากระจัง เปน็ ตน้ (ราชบณั ฑติ ยสถาน, ๒๕๕๗, หน้า ๑๔๓) ๔๗ ลีลาพรรณพฤกษาจากช่างศิลป์ไทย

สภาพปจั จบุ ันของลายปูนป้ันประดบั ส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรม มีโครงสร้างเปน็ รูปสามเหลยี่ มหนา้ จัว่ บนอาคาร ภายในวดั เตว็ด จังหวัดพระนครศรอี ยธุ ยา ศิลปะอยุธยาตอนปลาย (บนั ทึกภาพเมอื่ ปี พ.ศ. ๒๕๖๔)

ลวดลายท่ีปรากฏมีลกั ษณะเป็นลายก้านขดท่อี อกลายจากจดุ กึง่ กลางของพ้นื ท่ี กา้ นลายขด มว้ นไปมา ลักษณะของใบไมม้ คี วามกลมมน ซง่ึ แตกตา่ งจากใบไม้แบบไทยท่ีมีลกั ษณะปลายเรียว แหลม ลายลกั ษณะน้ี น.ณ ปากนำ�้ (๒๕๕๐, หน้า ๑๗๓) เรยี กวา่ ใบอะแคนทัส ซงึ่ เป็นลวดลายที่ไดร้ ับ อิทธิพลทางด้านรูปแบบมาจากตะวันตก แสดงให้เห็นถงึ แรงบนั ดาลใจทางดา้ นรปู แบบศิลปะที่แพร่ เข้ามาในศิลปะไทยช่วงสมัยอยุธยา

อธบิ ายศัพท์ ลายกา้ นขด หมายถึง โครงสรา้ งของลายประเภทหนึง่ มีก้านเป็นวงอยา่ งกน้ หอย ถ้าต่อออก ไปมากกวา่ ๑ วง จะเรียกว่า เถาขด คอื วงเถาจะขดสลับกนั ในทางตรงข้าม (ราชบณั ฑิตยสถาน, ๒๕๕๗, หนา้ ๓๓)

๔๘ ลีลาพรรณพฤกษาจากช่างศลิ ปไ์ ทย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง