Endoplasmic reticulum ม เย อห มก ช น

ปี พ.ศ. 2367 ดูโธรเชต์ นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสศึกษาเนื้อเยื่อพืชและสัตว์พบว่า ประกอบด้วยเซลล์

ปี พ.ศ. 2376 โรเบิร์ต บราวน์ นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นค้นแรกที่พบว่า เซลล์พืชมีนิวเคลียสเป็นก้อนกลมๆ อยู่ภายในเซลล์

ปี พ.ศ. 2378 เฟ-ลิกซ์ ดือจาร์แดง นักสัตวศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ศึกษาจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ พบว่า ภายในประกอบด้วยของเหลวใสๆ จึงเรียกว่า ซาร์โคด ซึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศสมาจากศัพท์กรีกว่า ซารค์ (Sarx) ซึ่งแปลว่าเนื้อ

ปี พ.ศ. 2381 ชไลเดน (Matthias Jacob Schleiden) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ศึกษาเนื้อเยื่อพืชชนิดต่างๆ พบว่าพืชทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์

พ.ศ.2382 ชวันน์ (Theodor Schwann) นักสัตววิทยาชาวเยอรมัน ศึกษาเนื้อเยื่อของสัตว์หลายๆ ชนิด แล้วสรุปได้ว่า เนื้อเยื่อสัตว์ทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์ ดังนั้น ชวันน์และชไลเดน จึงร่วมกันตั้งทฤษฎีเซลล์ (Cell theory) มีใจความสำคัญคือ “สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ประกอบด้วยเซลล์และผลิตภัณฑ์ของเซลล์” (All animals andplants are composed of cells and products) พ.ศ.2382 พัวกินเย (Johannes Purkinje) นักสัตววิทยาชาวเชคโกสโลวาเกีย ศึกษาไข่และตัวอ่อนของสัตว์ชนิดต่างๆ พบว่าภายในมีของเหลวใส เหนียวและอ่อนนุ่ม คล้ายวุ้น เรียกของเหลวนี้ว่า โพรโทพลาสซึม พ.ศ.2389 ฮิวโก ฟอน โมล (Hugo Von Mohl) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ศึกษาเนื้อเยื่อพืชพบว่าในเซลล์พืชมีของเหลวใสๆ จึงเรียกว่า ชไลม์ (schleim) หรือโพรโทพลาสซึม พ.ศ.2404 แมกซ์ ชุลซ์ (Max Schltze) นักสัตววิทยาชาวเยอรมัน พิสูจน์ว่า ชาร์โคด หรือโพรโทพลาสซึม ที่พบในเซลล์สัตว์และเซลล์พืชเป็นของเหลวชนิดเดียวกัน พ.ศ.2411 โทมัส เฮนรี ฮักเลย์ (Thomas Henry Huxley) แพทย์ชาวอังกฤษ ศึกษาคุณสมบัติของโพรโทพลาสซึม พบว่า โพรโทพลาสซึมเป็นรากฐานของสิ่งมีชีวิต (Protoplasm called the physical of life) พ.ศ.2423 วอลเทอร์ เฟลมมิง (Walther Flemming) ศึกษานิวเคลียสของเซลล์พบว่า ประกอบด้วยโครโมโซมต่อจากนั้นมีนักวิทยาศาสตร์อีกมากมายทำการศึกษาเกี่ยวกับเซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์ประกอบ และได้พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2475 นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน คือ อี รุสกา (E.Ruska) และแมกซ์นอลล์ (Max Knoll) ได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการของกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสงและเลนส์มาใช้ลำอิเล็กตรอน ทำให้เกิดกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนขึ้นในระยะต่อๆมา ปัจจุบันมีกำลังขยายกว่า 5 แสนเท่า ทำให้สามารถศึกษาส่วนประกอบต่างๆของเซลล์ได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น

1.2 โครงสร้างเซลล์

เซลล์ (Cell) หมายถึง หน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต มีรูปร่างลักษณะและขนาดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งมีชีวิตและหน้าที่ของเซลล์เหล่านั้นเซลล์ที่มีขนาดเล็กที่สุดคือ ไมโครพลาสมา (Mycoplasma) หรือ PPLO (Pleuropneumonia – like organism) มีขนาดประมาณ 0.1 – 0.25 mขนาดและรูปร่างของเซลล์ เซลล์มีขนาดแตกต่างกันมาก เซลล์ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดู ซึ่งสามารถเห็นเซลล์แบคทีเรีย ,โพรโทซัว ,เซลล์ร่างกายทั่วไป แต่ก็มีเซลล์บางชนิดที่มีขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน เช่นเซลล์ไข่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์ไข่ของสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีกซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางหลายเซนติเมตร หน่วยที่ใช้วัดเซลล์จึงต้องมีขนาดเล็กด้วยรูปร่างของเซลล์แต่ละชนิดจะแตกต่างกันไปตามชนิด หน้าที่ ตำแหน่งที่อยู่ของเซลล์ ดังนั้นจึงพบเซลล์ที่มีรูปร่างไม่แน่นอน เช่น เซลล์อะมีบา เซลล์เม็ดเลือดขาวบางชนิด เซลล์ที่มีรูปร่างยาว เช่นเซลล์ประสาท เซลล์อสุจิ เซลล์ที่มีรูปร่างแหลมหัวแหลมท้าย เช่น เซลล์กล้ามเนื้อเรียบ เซลล์ที่มีรูปร่างแบน เช่นเซลล์เยื่อบุผิว เซลล์เม็ดเลือดแดง เป็นต้น

องค์ประกอบของเซลล์ประกอบด้วย

1. เยื่อหุ้มเซลล์

2. นิวเคลียส

3. ไรโบโซม

4. เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม

5. กอลจิแอพพาราตัส (golgi apparatus)

6. ไลโซโซม (lysosome)

7. เพอโรซิโซม (peroxisome)

8. แวคิวโอล (vacuole)

9. ไมโทคอนเดรีย (mitochondria)

10. คลอโรพลาสต์ (chloroplasts)

11. สารโครงร่างของเซลล์ (cytoskeleton)

12. โครงสร้างผิวเซลล์ (cell surface structure)

13.โครงสร้างเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ (junction between cells)

เยื่อหุ้มเซลล์

โครงสร้างพื้นฐานของเซลล์

เซลล์มีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ 3 ส่วน คือ

1. ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ แบ่งออกเป็น

1.1 ผนังเซลล์ (Cell Wall)

1.2 เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane)

2. ไซโทพลาซึม (Cytoplasm) ประกอบด้วย

2.1 ไซโทซอล (Cytosol)

2.2 ออร์แกเนลล์ (Organelles)

3. นิวเคลียส (Nucleus) ประกอบด้วย

3.1 เยื่อหุ้มนิวเคลียส (Nuclear Membrane)

3.2 นิวคลีโอพลาซึม (Nucleoplasm) ประกอบด้วย

– โครมาทิน (Chromatin)

– นิวคลีโอลัส (Nucleolus)

หน้าที่ของโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์

ผนังเซลล์ ( Cell Wall ) เป็นส่วนประกอบชั้นนอกสุดของเซลล์พืช และเป็นส่วนที่ไม่มีชีวิต ประกอบด้วยสารหลายชนิด เช่น เซลลูโลส, คิวติน, เพกติน ลิกนิน , ซูเบอริน ผนังเซลล์มีลักษณะเป็นรูพรุน ทำหน้าที่เสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่เซลล์ ทำให้เซลล์คงรูปร่างได้ ผนังเซลล์มีสมบัติยอมให้สารแทบ ทุกชนิด ผ่านเข้าออกได้และมีเฉพาะในเซลล์พืชเท่านั้นเยื่อหุ้มเซลล์ ( Cell membrane หรือ plasma membrane ) มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ เป็นโครงสร้างที่พบในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ยกเว้นไวรัส เยื่อหุ้มเซลล์ประกอบด้วยสารหลัก 2 ชนิด คือ ฟอสโฟลิพิดและโปรตีน โดยฟอสโฟลิพิดจะจัดเรียงตัวเป็น 2 ชั้น ซึ่งจะหันส่วนที่ไม่ชอบน้ำ (ส่วนหาง)เข้าหากัน และหันส่วนที่ชอบน้ำ (ส่วนหัว) ออกจากกัน โดยมีโมเลกุลของโปรตีนกระจายตัวแทรกอยู่ระหว่างโมเลกุลของฟอสโฟลิพิด นอกจากนี้ยังมีคอเลสเตอรอล ไกลโคโปรตีน และไกลโคลิพิดเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ด้วย เยื่อหุ้มเซลล์มีหน้าที่

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง