Fic naruto ทะล ม ต คร งน ปวดห วมากๆเลย

อาการปวดหัว เป็นเรื่องน่าปวดหัวของใครหลาย ๆ คน เนื่องจากเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ แถมยิ่งค้นกูเกิลหาคำตอบ ยิ่งเจอแต่คำตอบที่ชวนเครียดกันเข้าไปอีก บทความนี้มีความตั้งใจที่จะให้ข้อมูลด้านต่างๆ พร้อมทั้งแนวทางการรักษาอาการ ปวดศีรษะไมเกรน (Migraine headache)

สารบัญ

ไมเกรน เกิดจากอะไร?

“ไมเกรน (Migraine)” เกิดจากความผิดปกติชั่วคราวของระดับสารเคมีในสมอง ทำให้ก้านสมองถูกกระตุ้น หลอดเลือดในเยื่อหุ้มสมองมีการบีบและคลายตัวมากกว่าปกติ เกิดอาการปวดหัวตุ๊บ ๆ หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียน แพ้แสง จากก้านสมองที่ถูกกระตุ้น

อาการไมเกรน เป็นอย่างไร

ปวดหัวไมเกรนมักมีอาการเหล่านี้

  • ปวดหัวตุ๊บ ๆ บริเวณขมับ อาจปวดร้าวมาที่กระบอกตาหรือท้ายทอย และปวดหัวข้างเดียว (บางรายอาจพบว่าปวดหัวทั้งสองข้าง)
  • มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • มีอาการแพ้แสงแพ้เสียง
  • ปวดหัวเป็นครั้งคราว บางครั้งก็สัมพันธ์กับรอบเดือน
  • บางครั้งมีอาการมองเห็นผิดปกตินำ หรือที่เรียกว่า อาการออร่า (migraine aura) ผู้ป่วยจะเห็นเป็นแสงไฟสีขาว ๆ มีขอบหยึกหยัก เป็นอาการเตือนนำมาก่อนที่จะเริ่มมีอาการปวดหัว

ปวดหัวไมเกรน ไม่จำเป็นต้องปวดหัวแค่ข้างเดียว

มีความเป็นไปได้สูง ว่าอาการปวดหัวข้างเดียว มักเป็นสาเหตุมาจากไมเกรน แต่ก็มีความเข้าใจผิดกันมากว่า ปวดหัวไมเกรน เท่ากับ “ปวดหัวข้างเดียว” เท่านั้น ซึ่งจริง ๆ แล้ว ผู้ป่วยไมเกรนสามารถปวดหัวได้ทั้งสองข้าง หรือปวดหัวข้างใดข้างหนึ่งก่อนแล้วค่อยย้ายสลับข้างได้เช่นกัน

ดังนั้น หากมีอาการปวดหัวทั้งสองข้าง จึงไม่ควรนิ่งนอนใจว่าตัวเองไม่ได้เป็นไมเกรนแน่นอน ควรพิจารณาจากอาการอื่น ๆ ประกอบด้วย และถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น ควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์

ปวดหัวไมเกรน ไม่จำเป็นต้องมีอาการรุนแรง

ร่างกายและจิตใจของแต่ละคนสามารถทนรับกับความเจ็บปวดได้แตกต่างกัน นอกจากนี้อาการปวดหัวไมเกรนยังมีความรุนแรงหลายระดับ คนที่มีอาการนี้ จึงไม่จำเป็นว่าต้องปวดหัวจนกระทั่งทนไม่ไหวเสมอไป

แม้ว่าจะมีอาการไม่รุนแรง แต่หากอาการดังกล่าวเกิดขึ้นถี่ หรือมีระยะเวลายาวนาน หรือเกิดอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน (ตามลิสต์อาการข้างต้น) ก็ควรเข้าพบแพทย์

4 ระยะของอาการปวดหัวไมเกรน

หากแบ่งอาการปวดหัวไมเกรนออกเป็นลำดับการแสดงอาการ จะแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ได้แก่

  1. ระยะบอกเหตุล่วงหน้า (Prodrome): มักจะมีอาการบอกเหตุประมาณ 1 – 2 วันก่อนเป็นไมเกรน เช่น ปวดตึงตามต้นคอ หรืออารมณ์แปรปรวน เป็นต้น
  2. อาการเตือนนำ (Aura): ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการมองเห็นผิดปกติ เช่น เห็นแสงระยิบระยับ เห็นแสงไฟสีขาวมีขอบหยึกหยัก หรือภาพเบลอหรือบิดเบี้ยว แต่บางรายก็ไม่มีอาการเตือนนำ
  3. อาการปวดศีรษะ (Headache): เป็นเหมือนช่วงไคลแม็กซ์ของอาการปวดหัวไมเกรน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวตุ๊บ ๆ หรือปวดหัวข้างเดียว จนไม่สามารทำงานได้ตามปกติ อาจเกิดร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน และจะแพ้ต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ เป็นพิเศษ เช่น แสงจ้า เสียงดัง
  4. เข้าสู่ภาวะปกติ (Postdrome): ภายหลังจากที่เริ่มหายปวดแล้ว ผู้ปวยมักจะมีอาการอ่อนเพลีย วิงเวียน เกิดอาการสับสน หรือไวต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ เหมือนระยะที่สาม

เกณฑ์วินิจฉัยว่าเป็นปวดหัวไมเกรน

สมาคมปวดศีรษะนานาชาติ (The International Headache Society: IHS) ได้จัดให้อาการปวดหัวไมเกรน อยู่ในอาการปวดศีรษะแบบปฐมภูมิ (Primary headache) ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดและเส้นประสาทในสมอง (ไม่ได้เกิดจากโรค)

ทั้งนี้ ทางสมาคมฯ ได้มีเกณฑ์ในการวินิจฉัยอาการปวดหัวไมเกรนไว้ว่า ผู้ป่วยต้องมีอาการปวดหัวเกิน 5 ครั้ง ครบตามองค์ประกอบทั้ง 3 ข้อนี้ ได้แก่

  1. มีอาการปวดหัวต่อเนื่องนาน 4 ชั่วโมง ถึง 3 วัน
  2. มีอาการอย่างน้อย 2 ใน 4 ข้อ ได้แก่ ปวดหัวข้างเดียว, ปวดหัวตุ๊บ ๆ, ปวดค่อนข้างมาก, หรือ ปวดจนทำงานไม่ไหว
  3. มีอาการปวดหัวร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน อาการกลัวแสง หรืออาการกลัวเสียง

แม้ว่าเกณฑ์ของสมาคมปวดศีรษะนานาชาติจะดูสั้น ๆ แต่ก็ยังมีรายละเอียดค่อนข้างมาก อาจจะยังไม่สะดวกสำหรับบุคคลทั่วไป ที่จะประเมินตัวเองได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

สะดวกและง่ายกว่า ด้วยการประเมินแบบ ID migraine

ขอแนะนำเกณฑ์ง่าย ๆ ที่เรียกว่า ID Migraine ให้ผู้ป่วยได้ลองใช้ในการประเมินตัวเองเบื้องต้น โดยวิธีดูก็คือ ถ้าเรามีอาการ 2 ใน 3 ข้อขึ้นไป ให้ประเมินไว้ก่อนเลยว่าเราอาจเป็นโรคไมเกรน

  1. มีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียน
  2. กลัวแสง
  3. เป็นแล้วไม่สามารถทำงานได้ตามปกติอย่างน้อย 1 วัน

ในทางการแพทย์แล้ว เกณฑ์วินิจฉัยแบบ ID migraine เป็นเกณฑ์ที่มีประสิทธิภาพพอสมควร เนื่องจากมีความไว (sensitivity) 84% และความจำเพาะ (specificity) 76% [1]

ปัจจัยอะไรบ้าง ที่กระตุ้นให้มีอาการปวดหัวไมเกรน

ส่วนใหญ่แล้ว อาการในลิสต์เหล่านี้ มักเป็นตัวกระตุ้นให้อาการไมเกรนกำเริบ ได้แก่

  1. แสงไฟสว่าง แสงไฟกระพริบ หรือแสงแดดที่จ้า
  2. อากาศที่ร้อนเกินไป หรืออากาศที่ร้อนชื้น เช่น ช่วงเวลาก่อนฝนจะตก
  3. ออฟฟิศซินโดรม หรือ โรคพังผืดของกล้ามเนื้อที่เกิดจากการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ หรือใช้มือถือ ก้มหน้านาน ๆ จนกล้ามเนื้อเกิดพังผืดขึ้น รวมถึงอาการกล้ามเนื้อบริเวณคอตึง ก็สามารถกระตุ้นทำให้เกิดไมเกรน ปวดร้าวรอบกระบอกตา คลื่นไส้มึนหัวได้
  4. อาหารที่สามารถกระตุ้นไมเกรน ได้ เช่น ชีส แอลกอฮอล์ ผงชูรส อาหารที่ผสมไนไตรท์ เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน น้ำตาลเทียม นอกจากนี้ ยังพบว่า คาเฟอีน ถือเป็นสารที่กระตุ้นอาการไมเกรนได้ ใครที่กินกาแฟอยู่แล้วมีอาการไมเกรน ควรลดปริมาณการกินกาแฟลง อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยเพียง 20% เท่านั้น ที่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าอาหารเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดไมเกรน
  5. ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ และการอดนอน
  6. ฮอร์โมนเอสโตรเจน : อาการปวดหัวไมเกรน มักถูกกระตุ้นเมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว เรียกว่า “อาการปวดหัวไมเกรน ตอนเป็นประจำเดือน” (menstrual migraine)
  7. ช่วงเวลาภายหลังจากคลอดบุตร : ในช่วงตั้งครรภ์ ความถี่ของการปวดไมเกรนจะลดลง แต่หลังจากคลอดลูกแล้ว พบว่าความถี่ของการปวดไมเกรนจะสูงขึ้น เพราะช่วงตั้งครรภ์อยู่นั้น ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะขึ้นสูงเรื่อย ๆ และมาต่ำลงหลังที่คลอดบุตร จึงไปกระตุ้นอาการไมเกรน

โดยทั่วไป คนที่เป็นไมเกรน มักมาจากสิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้นที่แตกต่างกันไปบ้าง ผู้ที่มีอาการเป็นประจำ ควรหมั่นสังเกตตัวเอง และหลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่กระตุ้นการปวดหัวไมเกรน

ปวดหัวไมเกรนตอนเป็นประจำเดือน

จากปัจจัยที่กระตุ้นอาการไมเกรนดังที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจน มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นอาการมากเลยทีเดียว หากใครกำลังใช้ยาคุมกำเนิดหรือยาที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่ ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง

มีการศึกษาพบว่า โรคปวดหัวไมเกรนมักสัมพันธ์กับรอบเดือน โดยเฉพาะช่วงก่อนมีเมนส์ 1 วัน จนถึง 3 วันหลังมีเมนส์วันแรก เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดต่ำลงรวดเร็วในช่วงนั้น ยิ่งประจำเดือนมาก บางคนก็ยิ่งปวดหัวมาก

ทำอย่างไร เมื่อปวดหัวไมเกรนในวันแดงเดือด

เราสามารถแบ่งผู้ที่มีปัญหาไมเกรนในช่วงที่มีประจำเดือน ออกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  1. กลุ่มที่อาการไมเกรนเกิดไม่บ่อย และไม่ใช่ทุกครั้งเกิดจากเมนส์ แนะนำให้กินยารักษาไมเกรนเฉียบพลันทั่วไปเมื่อมีอาการ เช่น ยา naproxen (275 มก.) 1 ถึง 2 เม็ด เมื่อมีอาการปวดหัวไมเกรน โดยอาจใช้ร่วมกับ eletriptan หรือ sumatriptan ในกรณีที่มีอาการปวดหัวมาก
  2. คนไข้ที่ปวดหัวสัมพันธ์กับรอบเดือน และรอบเดือนมาสม่ำเสมอ อาจใช้วิธีกินยาป้องกันในระยะสั้น ๆ ก่อนมีประจำเดือน เช่น กินยา triptan หรือกลุ่ม NSAIDs โดยให้นับช่วง 2 วันก่อนมีประจำเดือน แล้วนับไปอีกรวม 6 วัน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาทก่อน เพื่อดูความเหมาะสม และป้องกันผลข้างเคียงจากยา
  3. กลุ่มที่รอบเดือนไม่สม่ำเสมอ หรือปวดหัวบ่อยๆ ทั้งขณะที่มีและไม่มีรอบเดือน แนะนำให้กินยาป้องกันไมเกรนทั่วไป เช่น amitriptyline, propranolol, topamax และควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาทก่อนเช่นกัน

สำหรับหัวข้อ อาการปวดหัวไมเกรนตอนเป็นประจำเดือน (menstrual migraine) เป็นประเด็นที่หลายคนน่าจะอยากรู้ ซึ่งเราจะมีการพูดถึงอย่างละเอียดอีกครั้งสำหรับผู้สนใจในบทความถัด ๆ ไป

แนวทางการป้องกันอาการปวดหัวไมเกรน

แม้ว่าอาการปวดหัวไมเกรนจะไม่เกิดอันตรายต่อสมอง แต่ก็สร้างความรำคาญและรบกวนคุณภาพชีวิตผู้ป่วยได้มาก แถมยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตในระยะยาวได้ ดังนั้น หากสามารถป้องกันไม่ให้อาการกำเริบได้ จะดีกว่าปล่อยให้อาการกำเริบแล้วค่อยมารักษา

ข่าวดีก็คือ อาการปวดหัวไมเกรนสามารถป้องกันได้ ถ้ามาพบแพทย์เพื่อรับแนวทางการรักษาอย่างถูกต้อง ซึ่งอาจสามารถทำให้ความถี่ของการปวดหัวไมเกรนลดลงได้ โดยแพทย์จะเริ่มแนะนำให้ใช้ยาป้องกันเมื่อ

  • มีอาการไมเกรน 4 ครั้งใน 1 เดือนขึ้นไป
  • มีข้อห้ามต่อการใช้ยาแก้ปวดหัวเฉียบพลัน เช่น มีประวัติแพ้ยา ตั้งครรภ์ หรือเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น

การกินยาป้องกันโรคไมเกรนต่อเนื่องเป็นเวลา 6 – 12 เดือน อาจช่วยทำให้ความถี่ของอาการลดลงได้ถึงครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย การกินยาป้องกันโรคไมเกรนต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

1. กลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า (Tricyclic antidepressants) เช่น amitriptyline, nortriptyline ยากลุ่มนี้ มีประสิทธิภาพในการลดความถี่ของการเกิดไมเกรนได้ดีมาก แพทย์มักใช้ยากลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรก ๆ เนื่องจากสรรพคุณที่ช่วยในการนอนหลับ และสามารถช่วยลดอาการปวดของโรคออฟฟิศซินโดรม (ซึ่งเป็นโรคที่มักพบร่วมกันบ่อย) ได้อีกด้วย

2. กลุ่มยากันชัก (Anticonvulsant) เช่น topiramate ยาชนิดนี้นับว่ามีประสิทธิภาพดีเลยทีเดียว โดยเฉพาะสำหรับโรคไมเกรน มีการศึกษาว่ายานี้ช่วยลดความถี่ในการเกิดไมเกรนช่วงที่มีประจำเดือนได้ประมาณ 33% [2] แต่ยากลุ่มนี้อาจมีผลข้างเคียงอยู่บ้าง เช่น ทำให้มีอาการมึนงง เกิดอาการชา เป็นต้น

3. กลุ่มยาลดความดัน (Beta blocker) เช่น propranolol ยากลุ่มนี้อาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันไมเกรนน้อยกว่ากลุ่มยา 2 ข้อข้างต้น (ประมาณ 25% [2]) แต่เนื่องจากยากลุ่มนี้ช่วยลดความดันโลหิตได้ด้วย จึงสามารถใช้กับผู้ป่วยปวดหัวไมเกรน ที่มีโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคร่วม

การป้องกันไมเกรนโดยใช้ยาฉีด

การฉีดยาชาเข้าที่เส้นประสาทบริเวณท้ายทอย (occipital nerve block) เป็นการรักษาที่ได้ผลดี สำหรับโรคไมเกรนเรื้อรัง อีกทั้ง แทบไม่มีผลข้างเคียง ยกเว้นอาการชาตามหนังศีรษะ เป็นการรักษาทางเลือกที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อาจจะทนรับผลข้างเคียงของยาป้องกันไมเกรนตัวอื่น ๆ ไม่ได้

ทำความรู้จัก CGRP สาเหตุของไมเกรนกำเริบ

CGRP หรือ Calcitonin gene related peptide เป็น peptide ชนิดหนึ่งที่พบในระบบประสาท มีหน้าที่ทำให้หลอดเลือดเกิดการขยายตัว และเกี่ยวข้องกับการส่งกระแสประสาทความเจ็บปวด ผู้ป่วยไมเกรนมักจะพบว่ามีสารนี้หลั่งออกมามาก ทำให้มีอาการปวดศีรษะอย่างต่อเนื่องจนเกิดไมเกรนกำเริบ

สรุปง่าย ๆ ก็คือ เมื่อปริมาณสาร CGRP เพิ่มมากขึ้น อาการไมเกรนกำเริบก็จะถามหานั่นเอง

ฉีด anti CGRP เดือนละครั้ง ยับยั้งโอกาสปวดหัวไมเกรน

ล่าสุด มียากลุ่มใหม่ที่ชื่อ anti CGRP (Calcitonin-gene-related peptide) เป็นยาที่มีผลในการยับยั้งการทำงานของ CGRP ในช่วงที่มีอาการไมเกรน ซึ่งแพทย์จะฉีดให้เดือนละครั้ง โดยจะฉีดทางใต้ผิวหนัง

ข่าวดีก็คือ ในประเทศไทยเรามีตัวยา anti CGRP ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาขายในเมืองไทยแล้ว และเริ่มมีการทดลองใช้งานกันจริง ๆ แล้ว ยาที่เข้ามามีชื่อว่า Aimovig (ไอ-โม-หวิก) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง สามารถลดความถี่การเกิดอาการปวดหัวไมเกรนได้ถึง 50% [3] แถมยังแทบไม่มีผลข้างเคียงอีกด้วย แต่ก็มีราคาที่ค่อนข้างจะสูงพอสมควร

แนวทางใช้ยารักษาปวดหัวไมเกรน

โรคไมเกรน สามารถตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาได้ผลดี จึงมีข้อแนะนำให้กินยา ดังนี้

1. กรณีปวดหัวไม่รุนแรง

ถ้าอาการปวดหัวไม่รุนแรง แนะนำให้กินเป็นอันดับแรก คือ พาราเซตามอล เนื่องจากยาชนิดนี้สามารถบรรเทาปวดจากสาเหตุต่าง ๆ ได้หลากหลาย โดยเฉพาะอาการปวดศีรษะจากไมเกรนแบบไม่รุนแรง

อย่างไรก็ตาม เราควรมั่นใจก่อนว่าตัวเองเป็นไมเกรนจริง ๆ ไม่ใช่อาการปวดหัวที่มาจากสาเหตุอื่น เพราะการกินยาโดยไม่เข้าใจโรคที่เราเป็นนั้นอาจเป็นการรักษาไม่ตรงจุดและเป็นอันตรายได้

2. กรณีปวดหัวรุนแรง

ถ้าเรามีอาการรุนแรงมาก อาจเลือกใช้ยาในกลุ่ม NSAIDs เช่น naproxen, ibuprofen ซึ่งเป็น NSAIDs ที่ออกฤทธิ์ได้เร็ว เหมาะกับโรคไมเกรน สามารถหาซื้อง่ายตามร้านขายยา แต่เนื่องจากยากลุ่มนี้อาจก่อความระคายเคืองกระเพาะอาหารได้ จึงแนะนำว่า ให้กินยาพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที

นอกจากนี้ ยังมียาในกลุ่ม NSAIDs ที่ระคายเคืองกระเพาะอาหารน้อยกว่า เช่น Etoricoxib (ชื่อการค้าที่คุ้นหูกันก็คือ Arcoxial) และ Celecoxib ซึ่งก็สามารถใช้บรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนได้ด้วยเช่นกัน แต่ไม่ควรหาซื้อกินเอง จนกว่าแพทย์จะแนะนำให้กินได้

ยากลุ่ม NSAIDs สามารถมีผลข้างเคียงต่อตับและไตได้ จึงควรระมัดระวัง ไม่กินยาประเภทนี้เกิน 4 – 10 เม็ดต่อเดือน และควรกินภายใต้คำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด

กลุ่มยาแก้ปวด เฉพาะสำหรับอาการปวดหัวไมเกรน

กลุ่มที่เป็นยาแก้ปวดหัวเฉพาะสำหรับโรคไมเกรน ได้แก่

ยากลุ่มทริปแทน (Triptan) อย่างเช่น eletriptan หรือ sumatriptan พบว่ามีประสิทธิภาพดีและมีผลข้างเคียงน้อยกว่า NSAIDs โดยจะออกฤทธิ์ต่อสารเซโรโทนินในสมอง ช่วยทำให้หลอดเลือดในสมองหดตัว

อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ สมอง และ ขา ควรระมัดระวังการใช้ และควรใช้ภายใต้คำสั่งแพทย์ ควรเว้นระยะการกินยาอย่างน้อย 12 ชั่วโมง และไม่ควรกินต่อเนื่องเกิน 10 เม็ดใน 1 เดือน

ยากลุ่มเออร์กอต อัลคาลอยด์ (Ergot alkaloids) เช่น Cafergot ยากลุ่มนี้รักษาได้ผลดี แต่ก็มีผลข้างเคียงที่สำคัญมาก คือ ทำให้เส้นเลือดตีบ หรืออาจทำให้ขาหรือนิ้วดำ จึงไม่ควรกินติดต่อกันเป็นเวลานาน

3 พฤติกรรมควรทำ สำหรับคนเป็นไมเกรน

เราได้ทำความรู้จักกับโรคไมเกรนมาหลายหัวข้อแล้ว สำหรับหัวข้อนี้จะเป็นแนวทางการป้องกันและลดความรุนแรงเมื่อมีอาการ โดยมีหลัก 3 ข้อง่าย ๆ ดังนี้

1. หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น ซึ่งจะให้ดีที่สุด เราควรจะรู้จักตัวเอง ว่าอะไรคือปัจจัยกระตุ้นที่ส่งผลกับอาการปวดของเราได้มากที่สุด เช่น การนอนไม่เพียงพอ มีความเครียด การอยู่ในที่อากาศร้อนหรือเย็นเกินไป การมองแสงจ้า เป็นต้น สำหรับคุณผู้หญิง อาจมีปัจจัยกระตุ้นมาจากฮอร์โมนเฮสโตรเจน และการมีประจำเดือน

2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นข้อแนะนำยอดนิยมที่ช่วยป้องกันได้หลายโรค เนื่องจากช่วยในการปรับระดับสารเคมีในร่างกาย ทำให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ และยังทำให้เกิดการหลั่งสารแห่งความสุข หรือเอ็นดอร์ฟิน (Endorphins) อีกด้วย

แต่การออกกำลังกายก็ไม่ควรหักโหม หรือทำอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีวันพัก แนะนำให้เริ่มด้วยการเดินเร็ว หรือการขี่จักรยานใกล้บ้าน หรือกิจกรรมง่าย ๆ ก่อน และควรหมั่นสังเกตตัวเองอยู่เสมอ เนื่องจากสำหรับบางคนแล้ว การออกกำลังกายที่หนักหรือต่อเนื่องเกินไป อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ปวดหัวไมเกรนได้

3. ควรหยุดพัก 10 – 20 นาที เมื่อเริ่มรู้สึกปวดหัวไมเกรน โดยพักในห้องที่มืดและมีอากาศเย็น ไม่อับหรือชื้น มีบรรยากาศเงียบสงบ

อย่างไรก็ตาม หากอาการปวดหัวไมเกรนยังรุนแรงอย่างต่อเนื่องและไม่ทุเลาลง ควรรีบไปพบแพทย์

สรุป

อาการปวดหัวไมเกรน เกิดจากความผิดปกติชั่วคราวของระดับสารเคมีในสมอง ทำให้เรารู้สึกคลื่นไส้อาเจียน แพ้แสง และปวดหัวตุ๊บ ๆ จนไม่เป็นอันทำงานทำการ แม้จะมีวิธีในการประเมินตัวเองเบื้องต้นที่อธิบายไว้ค่อนข้างละเอียด แต่แนวทางประเมินที่สะดวกที่อยากแนะนำก็คือ

แนวทางการป้องกันอาการปวดหัวไมเกรนที่เหมาะสมคือ การปรับจากพฤติกรรม เช่น หลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่กระตุ้นการเกิดไมเกรน นอกจากนี้ การใช้ยาเพื่อป้องกันและรักษา ก็นับได้ว่ามีประสิทธิภาพที่ดีเลยทีเดียว แต่ยาบางชนิดก็อาจมีผลข้างเคียงที่ต้องระมัดระวังในการใช้ และไม่ควรเลือกใช้เองโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อน

สุดท้ายนี้ เราควรศึกษาโรคนี้ให้รู้เท่าทันและไม่ตื่นตระหนกเกินไป ถ้าเรามีอาการปวดหัวไม่ว่าจะมาจากสาเหตุของไมเกรนหรือไม่ก็ตาม หากยังมีอาการปวดหัวหนักขึ้นหรือเป็นอยู่เรื่อย ๆ ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจโรคและรับรักษาอย่างถูกต้องจะดีที่สุด

เอกสารอ้างอิง [1] Diagnostic Accuracy of the ID Migraine: A systematic Review and Meta-Analysis; Cousins G, Hijazze S, Van de Laar F, Fahey T. Headache. Jul-Aug 2011;51(7):1140-8 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21649653/

[2] New players in the preventive treatment of migraine. Mitsikostas DD, Rapoport AM. BMC Med. 2015;13:279. //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26555040/

[3] A Controlled Trial of Erenumab for Episodic Migraine Goadsby P, Reuter U, et al N Engl J Med 2017; 377:2123-2132 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29171821/

ทำไมปวดหัวหลายวันไม่หาย

ปวดหัวเรื้อรัง คือ อาการปวดหัวมากกว่า 15 วันต่อเดือน ติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน ที่อาจเกิดจากความเครียด เช่น เมื่อเกิดความเครียดจากการทำงานจะทำให้กล้ามเนื้อตึงตัวจนปวดหัว หรืออาจเป็นไมเกรน การกินยาแก้ปวดเกินขนาด รวมถึงใช้ยาแก้ปวดไม่ถูกต้อง ทำให้มีอาการปวดหัวเรื้อรังมากขึ้น นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากโรคต่างๆ เช่น ความดัน ...

เนื้องอกในสมอง ปวดหัวแบบไหน

อาการโรคเนื้องอกในสมองที่สังเกตได้มีอาการปวดศีรษะบ่อยๆ หรือปวดหัวเรื้อรัง และอาจปวดรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงซึม มีปัญหาในการพูด สื่อสาร พูดจาติดขัด เห็นภาพเบลอ

ปวดหัวทุกวันเสี่ยงเป็นโรคอะไร

ปวดหัวเรื้อรัง… ปวดหัวเรื้อรังแบบเป็นอันตราย โดยอาการปวดหัวดังกล่าวอาจเกิดจากสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เนื้องอกในสมอง ฯลฯ ซึ่งต้องได้รับการตรวจรักษาโดยด่วน

อาการปวดหัวมากๆเกิดจากอะไร

อาการปวดหัวแบบไหนควรพบแพทย์ทันที ปวดหัวรุนแรง ร่วมกับมีไข้ คอแข็ง ก้มคอไม่ได้ อาจจะมีอาการไม่เกิน 1 สัปดาห์ บ่งบอกว่า มีการติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง ปวดหัวรุนแรง มีไข้ ร่วมกับมีอาการชักเกร็งกระตุกทั้งตัว และซึมลง บ่งบอกว่ามีสมองอักเสบ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง