Hoegaarden lemon ม ขาย ท ไหน บ าง

ปัจจุบันนอกจากกระแสของเบียร์นำเข้ายี่ห้อต่างๆที่ทั้งคราฟต์และไม่คราฟต์ ที่หลั่งไหลกันเข้ามาในบ้านเรามากมาย โดยหากนับตั้งแต่วันแรกๆ ก็มีร้าน Paulaner ในซอยสุขุมวิท 24 ซึ่งถือเป็นร้านเบียร์นำเข้าร้านแรกๆ ในเมืองไทย แต่กระแสตอบรับก็ไม่ได้ดีมากนัก อาจเป็นด้วยเพราะราคาที่สูงจนอยากที่จะเข้าถึง และสื่อที่จะทำให้คนรู้จักร้านมีเพียงแค่การบอกปากต่อปากเท่านั้น ทำให้ร้านเป็นที่รู้จักเพียงแค่กับกลุ่มคนกลุ่มเล็กๆเท่านั้น จนมาถึงในยุคของเบียร์ Hoegaarden ที่เริ่มเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย จนถึงตอนนี้ก็ประมาณ 8 ปีเห็นจะได้ โดยในช่วง 4 ปีแรก ผลตอบรับก็เป็นไปในวงแคบๆ เช่นกัน แต่เพราะด้วยระบบการสื่อสารที่เรียกว่า Social Media ทำให้ความนิยมในเบียร์ตัวนี้แพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว จนเกิดปรากฏการณ์การถ่ายรูปคู่กับแก้วเบียร์เกิดขึ้น และก็เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้คนไทย “เปิดรับ” เบียร์จากต่างประเทศมากขึ้น

ในช่วงประมาณ 6-7 ปีก่อน คนไทยมีโอกาสได้รู้จักกับเบียร์อิมพอร์ตมากยิ่งขึ้นทั้งจากเยอรมนีและเบลเยียม โดยทั้ง 2 ชาตินี้เป็นเหมือนมหาอำนาจของวงการเบียร์โลกเก่า และในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเองก็ได้เกิดอีกหนึ่งปรากฏการณ์สำคัญในบ้านเรานั้นก็คือ “ร้านเบียร์” นำโดยร้านเบียร์อย่าง HOBS และ BREW Beers & Ciders ที่เปิดร้านใจกลางย่านทองหล่อและนำเสนอเมนูเบียร์นำเข้ากว่า 100 แบบ ซึ่งในยุคนั้นถือว่าเป็นเรื่องใหม่มากของนักกินนักเที่ยวในเมืองไทย เนื่องจากแต่เดิมคนไทยคุ้นเคยแต่กับเบียร์พิลสเนอร์ สีเหลืองทอง ที่ต้องดื่มแบบเป็นวุ้นหรือใส่น้ำแข็งให้เย็นชื่นใจ หรือหากใครจะจัดหนักก็จะหันไปหาวิสกี้

แต่แล้วเมื่อประมาณ 4 ปีก่อนได้เกิดอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงสำคัญของวงการเบียร์อิมพอร์ตในบ้านเรานั้นก็คือการมาถึงของ “ROGUE” คราฟต์เบียร์ จากสหรัฐอเมริกา ที่เข้ามาเป็นอีกทางเลือกให้กับนักดื่มชาวไทย ซึ่งในตอนนั้นเองนักดื่มชาวไทยส่วนใหญ่ก็ยังคงคุ้นเคยกับรสชาติที่ดื่มง่ายๆ ของเบียร์เบลเยียมและเยอรมัน เราเองยังจำได้ว่าเราแปลกใจมากในรสชาติและกลิ่นของเบียร์อย่าง Dead Guy Ale ยังไม่ต้องพูดถึงกลิ่นหอมๆ และรสขมๆ ของ “ฮอปส์” ที่หากพูดคำนี้ในปัจจุบันก็คงไม่ใช่คำศัพท์ที่แปลกประหลาด แต่หากพูดคำนี้เมื่อ 4-5 ปีก่อน เรารับรองว่ามีคนน้อยถึงน้อยมากที่จะเข้าใจแต่ไม่นานเบียร์ดังระดับโลกอย่าง Brewdog และ Mikkeller ก็ตามเข้ามาในบ้านเราอย่างรวดเร็วทันใจ ถึงตอนนี้เรียกได้ว่าโลกของคราฟต์เบียร์ในเมืองไทยได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการ และในที่สุดกรุงเทพฯ ก็กลายเป็นเหมือนกับเมืองใหญ่ทั่วโลกที่มีความหลากหลายของเบียร์จากทั่วโลก แบบที่เรียกได้ว่าไม่น้อยหน้าใคร

การเติบโตแบบก้าวกระโดดในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาคงต้องยกความดีความชอบส่วนหนึ่งให้กับ Social Media อย่าง Facebook และ Instagram ที่ทำให้เบียร์เป็นที่รู้จักออกไปในวงกว้างอย่ารวดเร็ว แต่ในเวลาเดียวกันนั้นเองที่เบียร์นำเข้าเริ่มค่อยๆ เป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมของชาวไทย ได้เกิดกลุ่มคนกลุ่มเล็กๆ ที่เลือกเดินเข้าสู่โลกของเบียร์อีกใบที่เลือกว่า “โฮมบรูว์” หรือการต้มเบียร์เองด้วยวิธีการแบบง่ายๆ และใช้อุปกรณ์ที่มีภายในบ้าน ซึ่งจริงๆ แล้ว “โฮมบรูว์” เองก็ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพียงแต่หลบซ่อนตัวเองอยู่เบื้องหลังของ “คราฟต์เบียร์” ยี่ห้อดังต่างๆ เพราะหากเราไปย้อนดูประวัติของคราฟต์เบียร์ยี่ห้อดังๆจากทั่วโลกส่วนใหญ่ล้วนมีจุดเริ่มต้นมาจากการลองต้มเบียร์เองทั้งสิ้น และเมื่อได้เบียร์ที่มีรสชาติและคุณภาพที่น่าพอใจก็เริ่มนำมาลองปล่อยขายกินกันเองในหมู่บ้านหรือกลุ่มคนที่ชอบในการทำโฮมบรูว์เหมือนกัน ผลัดกันติผลัดกันชม และต่างกลับไปพัฒนารสชาติจนกลายเป็นโรงเบียร์ใหญ่โตได้ในปัจจุบัน

เมืองไทยก็เช่นกัน แม้ว่าโฮมบรูว์นั้นจะเป็นเหมือนเรื่องใหม่และใกล้ตัวสำหรับชาวไทย แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีใครเริ่ม โดยเมื่อปีพ.ศ. 2555 กลุ่มคนผู้ซึ่งหลงใหลในรสชาติของเบียร์ได้เริ่มลองการต้มเบียร์เอง แม้ว่าในเวลานั้นทุกอย่างดูจะเป็นเรื่องยากไปซะหมด ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ในการต้ม การหมัก รวมไปถึงวัตถุดิบต่างๆ ที่ต้องสั่งจากต่างประเทศเท่านั้น สั่งแล้วกว่าจะได้รอกันเป็นเดือน พอของมาถึงปรากฏว่าสั่งผิดใช้ไม่ได้ แต่ที่โหดรายที่สุดคือราคาที่ค่าดำเนินการต่างๆ แล้วซื้อเบียร์ท้องถิ่นบ้านเราได้เป็นคันรถ แต่ปัญหาทั้งหมดก็ไม่ได้ทำให้พี่ๆ ทีม CHITBEER ยอมแพ้ไปเสียก่อน แต่กลับกลายเป็นเหมือบนพลังที่ผลักดันให้เกิดความพยายามที่จะเอาชนะต่อปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น จนในที่สุดโฮมบรูว์ที่ต้มโดยคนไทยหม้อแรกๆ ก็เกิดขึ้น

และไม่ใช่แค่เพียงทีม CHITBEER เจ้าเดียวเท่านั้นที่เริ่มต้นผลิตเบียร์ในแบบของตัวเอง เพราะในเวลาเดียวกันนั้นเองก็มีผู้ผลิตอย่าง Sandport, Soi Beer, Triple Pearl, Happy New Beer และ Golden Coin ที่ก็เริ่มสร้างผลงานของตัวเอง ปัจจุบันผู้ผลิตเบียร์โฮมบรูว์ของไทยน่าจะมีกว่า 50 เจ้า โดยส่วนใหญ่ผ่านการเรียนการสอนโดยพี่ๆ ทีม CHITBEER ที่เปิด Brewing Academy สอนผู้ที่สนใจอยากรู้อยากเรียนวิธีการต้มเบียร์ด้วยการลงมือทำจริง และก็ยังเกิดสังคมเล็กๆ ของกลุ่มคนที่ทำโฮมบรูว์ ที่แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นต่างๆ เพื่อเป็นการช่วยเหลือกันในการพัฒนาวงการไทยคราฟต์ให้เติบโตอย่างแข็งแรง

ในบทความต่อไปเรา “Wishbros” จะพาเพื่อนๆไปรู้จักกับผู้ผลิตเบียร์ที่ทำเบียร์ในรูปแบบของโฮมบรูว์ ว่ามียี่ห้อไหนกันบ้าง แต่ละยี่ห้อมีเบียร์รสชาติอะไรบ้างให้ได้เลือกดื่มกัน แต่จะถูกใจหรือไม่นั้นเราถือเป็นความเห็นและความชอบส่วนตัว โดยเราหวังว่าบทความของเราจะเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนๆ ที่มีความรักและหลงใหลในรสชาติของเครื่องดื่มที่เรียกว่า “เบียร์”

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง