Integrated graphics intel uhd graphics 630 ทำไม amd ไม ม

บทความนี้ จะอธิบายให้ท่านผู้อ่านทุกๆ คน ได้ทราบ และทำความรู้จักกับการ์ดจอ หรือ GPU เบื้องต้น ว่ามัน คือ อะไร มีกี่ประเภท และมีองค์ประกอบอะไรบ้าง เพื่อช่วยให้ผู้ที่กำลังตัดสินใจเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ หรือโน๊ตบุ๊ค จะได้มีความรู้เพิ่มเติมว่าดูยังไง สำหรับใช้ประกอบการตัดสินใจเลือก PC รุ่นที่ต้องการได้อย่างดีและเหมาะสมยิ่งขึ้น

สารบัญ

การ์ดจอ (GPU) หรือการ์ดแสดงผล หรือบางคนเรียกว่า VGA Card คือ อุปกรณ์ประมวลผลภาพที่มีความสำคัญส่วนหนึ่งของ คอมพิวเตอร์ มีหน้าที่ในการ ถอดรหัส Code ต่าง ๆ และประมวลผลส่งออกข้อมูลเป็นสัญญาณภาพ ให้กับจอภาพ โดยจะแสดงผลเป็นรูปภาพ หรือวิดีโอต่าง ๆ ให้เราเห็นทางจอภาพ หากไม่มีการ์ดจอ คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถแสดงผลภาพ ออกมาให้เราเห็นได้

โดยทั่วไป ในคอมพิวเตอร์หรือ โน้ตบุ๊ค ทางผู้ผลิต CPU ก็จะมีการใส่ชิปประมวลผลภาพกราฟฟิค เข้าไปที่ CPU ด้วย ซึ่งมักจะถูกเรียกว่า การ์ดจอออนบอร์ด (Onboard)

ยกตัวอย่างเช่น CPU Intel Core i5-9400 ก็จะมีชิปประมวลผลกราฟิกติดตั้งมาด้วยเป็น Intel UHD Graphics 630 หรือ CPU Intel Core i5-1135G7 ชิปประมวลผลการฟิกที่ติดตั้งมาด้วยก็จะเป็น Intel iris Xe เป็นต้น

CPU แต่ละแบรนด์ และแต่ละโมเดล ก็จะมีชิปประมวลผลกราฟิกแตกต่างกันออกไปแล้วแต่รุ่นของ Processor การ์ดจอประเภทนี้ บางทีอาจจะเห็นคำที่ใช้เรียกว่า Integrated Graphic นั่นเอง

ขาย

Computer ราคาถูก

โดยตัวแทนจำหน่ายโดยตรง

การ์ดจอมีกี่ประเภท

GPU หรือ Graphic Card นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ

การ์ดจอออนบอร์ด (Integrated Graphics)

GPU แบบ Onboard คือ ชิปประมวลผลการฟิก ที่ติดตั้งมาพร้อมกับ CPU จากทางผู้ผลิตแล้ว ไม่สามารถแยกออกมาได้ ที่หลายคนเรียกติดปากว่าการ์ดจอออนบอร์ดนั้น ความจริงแล้ว ไม่ได้เป็นการ์ดจอที่ติดตั้งมาพร้อมกับเมนบอร์ดอย่างที่หลายท่านเข้าใจ แต่มันมาพร้อมกับ CPU นั่นเอง แต่ก็ในทางภาษาที่พูดกันก็จะเรียกกันว่า การ์ดจอออนบอร์ด มันก็ไม่ได้ผิดอะไร เพราะมันเป็นชิปที่ถูกติดตั้งอยู่บนตัว CPU ไม่สามารถถอดแยกออกมาได้อยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม ก็มีซีพียูบางรุ่น ที่ไม่ได้มีชิปกราฟิกติดตั้งมาให้ เช่น intel รหัส F ต่อท้าย ก่อนจะซื้อควรเช็คให้ดีหากท่านต้องใช้มัน แต่ส่วนใหญ่แล้วก็จะเน้นไปที่การ์ดจอแยกซะมากกว่า สำหรับ Integrated Graphics ยังแบ่งออกเป็น 2 ค่าย ตามยี่ห้อของ CPU อีกด้วย

  • Intel ชื่อของการ์ดจอ ออนบอร์ดจะมีชื่อว่า Intel HD Graphics, Intel UHD Graphics, Intel iris Xe เป็นต้น
  • AMD ก็มักรู้จักกันในชื่อ APU คือจะเป็น CPU ที่มีชิปกราฟิกติดตั้งมาให้พร้อมใช้โดยจะแชร์ RAM หลักจากเครื่องไปใช้ส่วนหนึ่ง เช่น RX Vega 8, RX Vega 10 เป็นต้น

\> อ่านบทความ Integrated Graphics คืออะไร

การ์ดจอแยก (Dedicated Graphics)

GPU แบบแยก จะเป็นชิปประมวลผลที่ถูกออกแบบและผลิตออกมาเพื่อทำงานด้านกราฟิกโดยเฉพาะ อย่างที่หลายคนรู้จัก แบรนด์ยอดนิยมที่ทุกๆ คนน่าจะเคยได้ยินกัน คือ ยี่ห้อ NVIDIA และ AMD

การ์ดจอนี้ จะถูกผลิตออกมาใสรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยชิ้นส่วนทุกอย่างจะถูกติดตั้งลงไปบนแผงวงจรเดียวกันทั้งหมดรวมเป็นชิ้นเดียวกัน สามารถติดตั้งโดยการเสียบลงสล๊อตบนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ สามารถถอดเปลี่ยนรุ่นอื่น ๆ ได้ตามต้องการ

แต่หากเป็นรุ่นใหญ่ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงๆ ก็ต้องเช็คสเปคการกินไฟของ GPU และดูกำลังไฟจาก Power Supply ที่ใช้ด้วยว่าสามารถส่งกำลังไฟฟ้าได้สูงสุดที่กี่วัตต์ เนื่องจากการ์ดจอรุ่นใหญ่ๆ บางรุ่น ต้องการกำลังไฟฟ้าในปริมาณมากพอสมควร ถึงจะสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

แต่หากอยู่ในโน้ตบุ๊ค ก็จะเป็นการนำชิปกราฟิก และ VRAM ฝังติดตั้งลงไปที่เมนบอร์ดของโน้ตบุ๊ครุ่นนั้น ๆ เลย จะไม่ได้เป็นการ์ดจอที่สามารถถอดแยกออกมาได้เหมือนของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และไม่สามารถอัพเกรดหรือเปลี่ยนรุ่นของการ์ดจอเหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะได้ (แต่ก็จะมีบางรุ่น ที่มีการ์ดจอแยกแบบที่สามารถถอดเปลี่ยนได้อยู่ แต่ปัจจุบันนี้ไม่ค่อยมีให้เห็นแล้ว) ตามภาพตัวอย่างด้านล่างนี้

การ์ดจอแยก ก็จะมี ก็จะแบ่งออกเป็น 2 ค่ายใหญ่ๆ เช่นกัน

NVIDIA หรือที่มักถูกเรียกว่า GPU การ์ดจอค่ายเขียว ที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกันดี ส่วนมากแล้วจะมาคู่กับ CPU intel ตั้งแต่สมัยก่อนกันเลย และแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  • MX Series เช่น MX110, MX150, MX330, MX350 กลุ่มนี้จะออกแบบมาเพื่อประหยัดไฟ ช่วยประมวลผลได้ดี สามารถเล่นเกมเบาๆ ได้บ้าง แต่มีผลดีกับการทำงานในโปรแกรมต่างๆ มากกว่า การ์ดจอในซี่รี่นี้มักจะถูกติดตั้งมาพร้อมกับโน้ตบุ๊ค ไม่ได้ทำแยกออกมาการ์ดจอสำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
  • GTX, RTX Series กลุ่มนี้จะออกแบบมาเพื่อประมวลผลกราฟิกสูง ส่วนใหญ่จะเหมาะสำหรับเล่นเกม หรือใช้กับโปรแกรมตัดต่อวิดีโอก็ได้ เพราะคุ้มค่า ทำงานได้หลายอย่าง เช่น GTX1060, GTX1660Ti, RTX2060, RTX3070, RTX3090 เป็นต้น
  • NVIDIA Quadro สำหรับกลุ่มนี้จะออกแบบมาเพื่อทำงานโดยเฉพาะ งานที่ใช้การ์ดจอในกลุ่มนี้ก็จะเป็นงานเกี่ยวกับการออกแบบ งาน 3D ไม่เหมาะสำหรับเอาไปเล่นเกม เช่น Quadro P1000, Quadro P2000, Quadro P4000
  • Quadro RTX ถือเป็นรุ่นใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวไม่นาน จะเป็นชื่อ Quadro RTX3000, Quadro RTX4000, Quadro RTX5000 เป็นต้น หากลองสังเกตดีๆ ในกลุ่ม Quadro RTX จะไม่มีรหัสต่อท้าย จะเป็น 3000, 4000 เลยจะแตกต่างจาก RTX กลุ่มเล่นเกมซึ่งจะมีรหัสต่อท้าย เช่น RTX3070, RTX 3080 โดยสามารถดูจากเลข 2 ตัวท้ายก็ได้หากเป็น 00 คือกลุ่ม Quadro หากเป็นเลขอื่นจะเป็น กลุ่ม RTX ธรรมดาสำหรับกลุ่มเล่นเกมนั่นเองครับ

AMD หรือการ์ดจอค่ายแดง เมื่อก่อนเราจะได้ยินชื่อว่า ATi Radeon แต่ตอนนี้ทาง AMD ได้ซื้อกิจการมาเป็น AMD เรียบร้อยแล้ว แน่นอนว่าตอนนี้ AMD ผลิตทั้ง CPU และ GPU กันเลย และแบ่งการทำงานออกเป็น 2 แบบ คือ

  • AMD Radeon แน่นอนว่ากลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มสำหรับ Player หรือการ์ดสำหรับใช้งาน เช่น เล่นเกม ดูหนัง หรือช่วยประมวลผลกราฟิกในโปรแกรมต่าง ๆ อย่างโปรแกรมตัดต่อวิดีโอ เป็นต้น เช่น Radeon 550, Radeon HD 6570 ส่วนการ์ดสำหรับเล่นเกมหรือมีการประมวลผลกราฟิกสูง ๆ จะมี “RX” นำหน้าเสมอ เช่น Radeon RX 5500, Radeon RX 6500 เป็นต้น
  • AMD FirePro หรือ AMD Radeon Pro จะเป็นกลุ่มการ์ดจอที่ออกแบบมาสำหรับประมวลผลด้านงาน 3 มิติ เป็นหลัก (เทียบเท่าได้กับ Quadro) หรือสำหรับสร้างงาน สร้างโปรเจค 3D, CAD, SolidWorks เช่น AMD FirePro W4100, W5100, W7000 เป็นต้น

ขาย

Notebook ราคาถูก

โดยตัวแทนจำหน่ายโดยตรง

ส่วนประกอบของการ์ดจอ

หลังจากเราเริ่มเรียนรู้ว่า GPU คือ อะไร กันแล้ว เรามาดูกัน ว่ามันมีองค์ประกอบ ชิ้นส่วนอะไรภายในบ้าง

แผงวงจร (PCB : Print Circuit Board)

เปรียบเสมือนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ ที่มีหน้าที่รองรับการติดตั้ง และเชื่อมต่อกับชิ้นส่วนต่าง ๆ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น ชิปเซต, VRAM และ IC ต่าง ๆ ของการ์ดจอก็ล้วนถูกติดตั้งลงบนแผงวงจรนี้ทั้งหมด

ชิปประมวลผลกราฟิกส์ (GPU : Graphics Processing Unit)

ในส่วนนี้ ถือเป็นหัวใจหลัก หรือสมองของการ์ดจอเลยก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นชิปประมวลผลที่มีความสามารถสูง เป็นหน่วยประมวลผลทางกราฟิกโดยเฉพาะ และข้อมูลที่ประมวลได้จะถูกส่งออกไปยังจอแสดงผลภาพ ผ่านพอร์ตต่าง ๆ บนตัวการ์ดจอนั่นเอง

หน่วยความจำ (VRAM : Video Random Access Memory)

ทำหน้าที่เหมือนกับ RAM หลักที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ แต่ VRAM คือ แรมที่ใช้สำหรับ GPU (Graphics Processing Unit) โดยเฉพาะ หน้าที่หลักของ VRAM ก็จะเก็บข้อมูลการแสดงผลที่จำเป็น พักไว้ที่ตัวเอง ก่อนจะส่งต่อไปให้ GPU ประมวลผล และส่งภาพออกไปยังจอภาพ อีกที ยิ่งมี VRAM ที่ความจุมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นผลดีต่อการใช้งานมากขึ้นเท่านั้น เช่น การเรนเดอร์วิดีโอ หรือการเล่นเกมต่าง ๆ ที่ต้องการความเร็ว และความลื่นไหลของภาพ หรือการโหลดฉาก หรือพื้นผิวของภาพในเกม เนื่องจาก ข้อมูลจากตัวเกมจะถูกโหลด และนำไปพักไว้ที่ VRAM ก่อนที่ GPU จะประมวลผลและส่งภาพออกไปยังจอภาพ อย่างที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง

การ์ดจอแต่ละยี่ห้อ – รุ่น ก็จะมีค่าความจุ VRAM ที่ต่างกัน แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่าการ์ดตัวไหนมีความจุ VRAM ที่เท่าไหร่ ให้สังเกตง่าย ๆ เลย ตัวอย่างเช่น Gigabyte NVDIA GeForce GTX750/1GB D5 แยกเป็น ยี่ห้อ Gigabyte, ค่าย NVDIA, รุ่น GeForce GTX750 และความจุ VRAM เท่ากับ 1GB ชนิด VRAM แบบ GDDR5 นั่นเองครับ ซึ่งชนิดของ VRAM นี้สมัยใหม่ ๆ แนะนำให้ใช้รุ่นที่เป็น GDDR5 ขึ้นไป ปัจจุบันนี้ปี 2021 ก็จะเป็น VRAM แบบ GDDR6 กันเกือบทั้งหมดแล้ว

พอร์ตเชื่อมต่อไฟเลี้ยง (Power Connector)

ในส่วนนี้ จะมีติดมาให้กับ GPU โดยเฉพาะสำหรับการ์ดจอรุ่นใหญ่ ที่ต้องการกระแสไฟฟ้าเพิ่มเติมเพื่อไปใช้เลี้ยงชิ้นส่วนต่างๆ บนการ์ดจอ เนื่องจากการ์ดจอรุ่นใหญ่ๆ ต้องการกำลังไฟฟ้าสูงเพื่อให้เพียงพอต่อระบบการทำงานของการ์ดนั้นๆ เพราะว่ากำลังไฟจากเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ไม่สามารถส่งกระแสไฟฟ้าที่สูงพอที่การ์ดจอต้องการนั่นเองครับ

ส่วนมากแล้วเราจะเห็น Power Connector ติดตั้งมากับการ์ดจอสำหรับเล่นเกม หรือการ์ดจอสำหรับทำงาน เรนเดอร์งาน ที่ต้องใช้ประสิทธิภาพในการประมวลผลทางด้านกราฟิกที่สูง โดยจะมีลักษณะเป็น PIN Connector แบบ 6 PIN, 8 PIN หรือ 16PIN บนตัวการ์ดจอ ตามภาพตัวอย่างด้านล่างนี้ จะเป็นแบบ 8 Pin ครับ

เรื่องระบบไฟฟ้านั่นถือว่าสำคัญมาก หากกระแสไฟจาก Power Supply ไม่เพียงพอสำหรับอุปกรณ์ทั้งหมดในคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น ๆ พอถึงการใช้งานหนัก ๆ หรือ Overload ก็อาจจะทำให้เครื่องค้าง หรือดับได้ หากเครื่องดับบ่อย ๆ อาจจะส่งผลต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ในคอมพิวเตอร์เสียหายได้ เพราะฉะนั้นจะเลือกซื้ออุปกรณ์แต่ละอย่าง ต้องคำนวณจำนวนวัตต์ (Watt) ให้ดีด้วยเช่นกันครับ

พอร์ตเชื่อมต่อ (Output Port)

เป็น Connector Port สำหรับเชื่อมต่อกับสายสัญญานภาพ เพื่อส่งออกไปยังจอภาพ หรืออุปกรณ์แสดงผลภาพต่าง ๆ ซึ่งพอร์ตพวกนี้ก็จะมีอยู่หลายแบบ หลายชนิดด้วยกัน ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกซื้อการ์ดจอ เพราะต้องเช็คให้แน่ใจว่า Port มันสามารถ Compatible กับ Monitor ที่เราต้องการใช้ได้ด้วย

ส่วนใหญ่ก็จะมี HDMI, DisplayPort, DVI หรือรุ่นเก่าหน่อยก็จะมี VGA Port มาให้ด้วย แต่หากท่านในใช้การ์ดจอรุ่นใหม่ ๆ ที่ไม่มี VGA Port มาด้วย ก็จำเป็นต้องหา Adapter สำหรับแปลงพอร์ตให้สามารถใช้กับจอเก่าที่ยังเป็น VGA Port ได้เช่นกัน

\> อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของ Port จอคอม

ชุดระบายความร้อน (Cooling System)

มันก็ คือ ชุด Heatsink ระบายความร้อน ที่แปะอยู่บนชิปประมวลผล GPU ของการ์ดจอ การทำงานก็เหมือนกับฮีทซิงค์ระบายความร้อนของ CPU ในแผ่นอลูมิเนียมนี้จะทำหน้าที่ดูดซับความร้อนจากหน้าสัมผัสของชิปประมวลผลมาไว้ที่ตัวเอง เพื่อระบายออกผ่านทางอากาศ

บางรุ่นที่เป็นการ์ดจอเล็กๆ อาจจะไม่ได้มีพัดลมติดตั้งมาให้ ส่วนรุ่นใหญ่ๆ หรือพวกการ์ดจอสำหรับทำงานกราฟิก หรือเล่นเกม ก็จะเห็นพัดลมติดตั้งอยู่ 1-3 ตัวกันเลย พร้อมกับแผ่นฮีทซิงค์ขนาดใหญ่ติดตั้งเอาไว้ ยิ่งเป็นรุ่นที่รองรับการทำงานที่หนัก ก็จะมีท่อนำความร้อน Heat Pipe ติดตั้งมาด้วยเพื่อช่วยนำความร้อนออกไปจากตัวชิปประมวลผลดียิ่งขึ้นนั่นเองครับ

คลิปอธิบาย GPU คือ อะไร โดย IBM

Add In Business

จำหน่าย

อุปกรณ์ไอที ราคาถูก

ภายใต้บริษัท แอด อิน บิซิเนส จำกัด ตัวแทนจำหน่าย ได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากแบรนด์ชั้นนำ ราคา พิเศษ ส่งฟรี

สนใจสั่งซื้อหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่หน้า Contact

หรือ

สรุป

หวังว่าบทความนี้จะทำให้ผู้อ่านได้รู้จักกับการ์ดจอ หรือ GPU มากขึ้น ว่ามัน คือ อะไร มีกี่ประเภท และมีส่วนประกอบอะไรบ้าง เว็บไซต์ Addin.co.th ของเรา นอกจากจะมีบทความไอทีที่น่าสนใจ ให้อ่านกันแล้ว ยังมีสินค้าไอทีครบวงจรจำหน่ายในราคาพิเศษอีกด้วย หากท่านผู้อ่านมีความสนใจเพิ่มเติมในการสั่งซื้อสินค้าอุปกรณ์ไอที สอบถามข้อมูล หรือขอใบเสนอราคา ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของอุปกรณ์ใดๆก็ตาม สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง