Mega farm enterprise กรมส งเสร ม ค ม อ

ผ่าตัดวิสาหกิจแปลงใหญ่! กำหนดโควตาผลิต หวังดันสินค้าเกษตรยกแผง แก้ไขปัญหาล้นตลาด ทุบราคาดิ่งเหว สั่งปลัดเกษตรขับเคลื่อนนโยบายร่วม 77 ผู้ว่าราชการจังหวัด ให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน ให้แยกเด่นชัดเกษตรเคมี อินทรีย์ หวังตัดวงจรเกษตรจนซ้ำซาก

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงแนวทางการปฏิรูปภาคการเกษตรในรูปแบบวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ (Mega Farm Enterprise) เพื่อเพิ่มพูนรายได้เกษตรกรนั้น ให้จัดทำ "แผนการผลิตทางการเกษตรของประเทศ" ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เพื่อแก้ไขปัญหาผลผลิตล้นตลาดและราคาตกต่ำ โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การวางแผนการผลิตทางการเกษตร ทั้งพืช ปศุสัตว์ และประมงแต่ละชนิด ตามความต้องการของตลาด หรือ การกำหนดโควตาทำเกษตรกรรมให้เหมาะสม ว่า จะทำเกษตรกรรมอะไร จำนวนเท่าไร เพื่อให้ผลผลิตทางการเกษตรสมดุลกับความต้องการของตลาดนั้น

"เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายการจัดทำแผนการผลิตภาคการเกษตร (Agricultural Production Plan) ภายใต้แนวทาง "การตลาดนำการผลิต" และ "โครงการเกษตรแปลงใหญ่" (Mega Farm) มีความสอดคล้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน รวมทั้งเป็นการพัฒนาระบบการเกษตรของไทย ตั้งแต่เริ่มต้นการผลิต จนกระทั่งมีผลผลิตจำหน่ายออกสู่ตลาด ให้มีศักยภาพก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน และสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้"

นายกฤษฎา กล่าวว่า จึงขอให้มีการปรับปรุงการบริหารจัดการเกษตรแปลงใหญ่ในรูปวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ (Maga Farm Enterprise) ที่มีเกษตรกรและภาครัฐ รวมทั้งภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเกษตรแปลงใหญ่ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรตามแนวทางการดำเนินงาน

"1.องค์กรบริหารโครงการที่ครอบคลุมทั้งประเทศ จัดตั้งองค์กรการบริหารจัดการรูปแบบวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ (Mega Farm Enterprise) 2 ระดับ โดยในส่วนกลางมอบหมายให้ปลัดเป็นหัวหน้าคณะทำงานโครงการระดับกระทรวง โดยมีกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นเลขานุการ และมีกรมหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่าต่าง ๆ รวมทั้งรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนในสังกัด กษ. เป็นคณะกรรมการอำนวยการ เพื่อทำหน้าที่อำนวยการวางแผนและกำหนดแนวทางการบริหารจัดการในรูปวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่"

สำหรับในระดับพื้นที่จังหวัดให้ใช้โครงสร้างคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัด (อพก.จ.) ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ ทำหน้าที่ขับเคลื่อนโครงการบริหารจัดการในรูปวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ในระดับพื้นที่ โดยมีเกษตรจังหวัดเป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการระดับจังหวัด ทั้งนี้ ให้ดำเนินการจัดทำโครงสร้างองค์กรบริหารโครงการให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน และจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการและแนวทางการบริหารจัดการในรูปวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ ที่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จเป็นรูปธรรมตามขั้นตอน ในข้อ 2 - ข้อ 7 ภายในระยะเวลา 12 เดือน แล้วให้รายงานผลให้รัฐมนตรีทราบทุกระยะด้วย

สำหรับลักษณะและขนาดพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่ เพื่อประหยัดการลงทุนขอให้ อพก.จ. ประสานงานกับปฏิรูปที่ดินจังหวัด และ/หรือเกษตรจังหวัด หรือ สหกรณ์จังหวัด เพื่อสำรวจพื้นที่ สปก. หรือ พื้นที่ตามโครงการจัดที่ดินทำกินแห่งชาติ (คทช.) หรือ พื้นที่ซึ่งเกษตรกรได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์การเกษตรอยู่แล้ว หรือ พื้นที่ซึ่งมีเกษตรกรรวมตัวกันทำเกษตรกรรมในรูปแบบแปลงใหญ่อยู่แล้วหลาย ๆ แปลงในพื้นที่อำเภอเดียวกัน ซึ่งมีความสมัครใจจะเข้าร่วมโครงการบริหารจัดการวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ ก็สามารถเข้าร่วมโครงการได้

ทั้งนี้ ควรกำหนดเป้าหมายของโครงการบริหารจัดการในรูปวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ไม่น้อยกว่า 1 แปลงใหญ่ ต่อ 1 ภูมิภาค ตามการแบ่งพื้นที่ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่กำหนดไว้ 6 ภูมิภาค โดยการบริหารจัดการวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ควรมีขนาดพื้นที่ติดกันรวมแล้วไม่น้อยกว่า 1,000 ไร่ขึ้นไป เพื่อก่อให้เกิดการประหยัดในการผลิตต่อขนาดพื้นที่ลงทุน (Economy of Scale) ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง

นายกฤษฎา กล่าวว่า การเลือกวิธีผลิตให้ได้ผลผลิตสอดคล้องกับความต้องการของตลาด เนื่องจากตลาดสินค้าเกษตรในปัจจุบันและอนาคตมีแนวโน้มความต้องการสินค้าเกษตรที่เน้นในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยต่อสุขภาพมากขึ้น จึงให้พิจารณาเลือกวิธีการทำเกษตรปลอดจากการใช้สารเคมี (GAP) หรือ เกษตรอินทรีย์ (Organic) หรือ การทำเกษตรแบบผสมผสาน หรือ เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ ให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดและสภาพแวดล้อมในพื้นที่และคุณภาพดินตามแผนที่จัดการด้านเกษตรกรรม (Agri-Map) หรือ อาจเปลี่ยนการทำเกษตรกรรมซ้ำซาก หรือ การเกษตรที่ให้ผลตอบแทนต่ำไปสู่การทำเกษตรชนิดใหม่ที่เป็นที่ต้องการของตลาด หรือ ลงทุนน้อยกว่าเกษตรกรรมที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

เช่น เปลี่ยนการทำนามาปลูกพืชตระกูลถั่วหรือพืชผัก หรือ การลดพื้นที่การปลูกยางพาราไปปลูกกาแฟหรือโกโก้ หรือ ปลูกกล้วยหอมหรือพืชอื่น ๆ แซมในสวนยางพารา เป็นต้น ทั้งนี้ อาจนำความรู้ทางเทคโนโลยี ตลอดจนเครื่องมือและเครื่องจักรสมัยใหม่มาใช้ในการผลิต เพื่อทดแทนการใช้แรงงาน โดยให้คำนึงด้วยว่า ผลผลิตเหล่านั้นต้องสามารถตรวจสอบความถูกต้องของแหล่งผลิต รวมทั้งกระบวนการผลิตที่ถูกต้องตามกฎหมายและไม่ละเมิดกติกาสากลด้วย โดยขอให้ ปล.กษ. ประสานกับกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อร่วมกันจัดวิทยากรมาให้ความรู้กับผู้จัดการเกษตรแปลงใหญ่และเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้ทราบถึงแนวโน้มความต้องการและราคาสินค้าเกษตรแต่ละชนิดก่อนเริ่มฤดูการผลิต

อย่างไรก็ดี ในการบริหารจัดการวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่แบบมีส่วนร่วมที่ทันสมัย ขอให้เกษตรอำเภอร่วมกับเจ้าหน้าที่สหกรณ์จังหวัด รวมกลุ่มเกษตรกรเจ้าของที่ดิน เพื่อจดทะเบียนเป็นสหกรณ์การเกษตร หรือ วิสาหกิจชุมชน ขณะเดียวกัน ให้คัดเลือกเกษตรกรเจ้าของที่ดินที่มีศักยภาพและมีความต้องการทำการเกษตรเอง หรือ คัดเลือกบุตรหลานของเกษตรกรเจ้าของที่ดินที่ผ่านการอบรมหลักสูตรเกษตรกรสมัยใหม่ (Smart Farmers) มาทำหน้าที่เป็นผู้จัดการวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ หรือ ประสานงานกับภาคเอกชนในพื้นที่ หรือ พื้นที่ใกล้เคียง มาจัดหลักสูตรอบรมร่วมรัฐกับเอกชน โดยเน้นวิธีการจัดการสมัยใหม่แบบเกษตรแม่นยำ (Precision Agriculture)

หรือ ขอให้ภาคเอกชนส่งวิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรกรรมมาแนะนำวิธีการผลิตและการจัดการธุรกิจ การเกษตรแปลงใหญ่ที่ใช้ต้นทุนต่ำและให้ผลผลิตสูง โดยอาจปรับเป็นการทำธุรกิจที่ลงทุนร่วมกันระหว่างเกษตรกรเจ้าของที่ดินกับภาคเอกชนเหมือนการร่วมกันทำนาด้วยการลงแขกเช่นในอดีต หรือ ให้เอกชนลงทุนโดยออกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องมือ เครื่องจักร หรือ แนะนำวิธีการทำเกษตรกรรมสมัยใหม่ ขณะที่ เกษตรกรเจ้าของที่ดิน หรือ บุตรหลาน ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการธุรกิจการเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อดำเนินการผลิต โดยให้สหกรณ์การเกษตร หรือ วิสาหกิจชุมชน รวบรวมผลผลิตขายให้เอกชนหรือนำไปแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตของเกษตรแปลงใหญ่ หรือ ประสานให้ภาคเอกชนมาตั้งโรงงานแปรรูปเป็นอุตสาหกรรมการเกษตร หรือ เปิดเป็นโรงรวบรวมผลผลิตเพื่อติดต่อหาตลาดส่งขายเอง หรือ วางขายในระบบออนไลน์ เป็นต้น

ส่วนบทบาทภาคเอกชนในวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ในฐานะผู้ร่วมลงทุนและทำการตลาดมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กรมส่งเสริมสหกรณ์ และสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สป.กษ.) ติดต่อประสานงานกับภาคเอกชนในส่วนกลางผ่านกลุ่มสานพลังประชารัฐ คณะทำงานด้านการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ (D.6) เพื่อขอให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือสมาชิกเกษตรกรแปลงใหญ่ในกระบวนการผลิต

อาทิ ทำสัญญารับซื้อผลผลิตของเกษตรแปลงใหญ่ หรือ ร่วมลงทุนกับเกษตรกรสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ หรือ ขอความร่วมมือให้ภาคเอกชนจัดอบรมวิธีการทำเกษตรกรรมสมัยใหม่และสามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการจับคู่ทางการค้าเพื่อรับซื้อผลผลิตรวมถึงการให้ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตราสินค้า บรรจุภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรสมาชิกวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ได้ตัดสินใจเลือกผลิตสินค้าที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากการผลิตได้ อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตรไทยในตลาดโลกด้วย ทั้งนี้ ให้มีแบ่งปันผลประโยชน์ออกเป็น 3 ส่วน ระหว่างเกษตรกรเจ้าของที่ดิน สหกรณ์ หรือ วิสาหกิจชุมชน และภาคเอกชนที่มาร่วมลงทุนดำเนินการในกิจการวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ให้เป็นไปตามหลักความเป็นธรรม ภายใต้ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ. 2560

นอกจากนี้ ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน กรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมวิชาการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตร (มก.อช.) กรมชลประทาน องค์การตลาด (อตก.) ฯลฯ ร่วมกันวางแนวทางและส่งเสริมการฝึกอบรม เพื่อเพิ่มความรู้ในการผลิต การคัดเลือกพันธุ์ การจัดการแปลง การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม การจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตร พร้อมกับการสนับสนุนปัจจัยการผลิตที่จำเป็นให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง พร้อมทั้งให้วางแนวทางและสนับสนุนการดำเนินการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการอย่างยั่งยืน และประสานงานขอให้ ธกส. สนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำแก่กลุ่มธุรกิจการเกษตรแปลงใหญ่ พร้อมช่วยวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการด้วย

"ติดตามและประเมินผลให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ร่วมกับสถาบันการศึกษาวางแผนเพื่อดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลธุรกิจการเกษตรแปลงใหญ่ เป็นรายแปลงเกี่ยวกับผลผลิตต่อไร่ ต้นทุนการผลิต การใช้เครื่องจักรกล ชนิดของพืช/ปศุสัตว์/สัตว์น้ำ พร้อมระบุ สายพันธุ์และข้อมูลสภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรสมาชิกธุรกิจการเกษตรแปลงใหญ่ทุกคนและทุกครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ ว่า มีรายได้ทั้งในและนอกภาคเกษตร หนี้สิ้นโครงการอื่นของภาครัฐที่เข้าร่วมในทุกพื้นที่ ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวในแต่ละปีอย่างต่อเนื่อง พร้อมสร้างฐานข้อมูลและทำการติดตามและประเมินผลการเข้าร่วมโครงการของเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง และเสนอแนะแนวทางเพื่อนำไปสู่การขยายผลโครงการฯ ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ"

นายกฤษฎา กล่าวทิ้งท้ายว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จของโครงการ ก็คือ ข้าราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องปรับแนวคิดและมุมมองต่องานด้านการเกษตร เพื่อปรับวิธีการทำงานให้ก้าวทันโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วบนพื้นฐานของการมีจิตสำนึกต่อความรับผิดชอบในหน้าที่การงานโดยยึดหลักซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานอย่างเข้มแข็งด้วย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง