ท้อง 36 สัปดาห์ มีเลือดออก

ภาวะฉุกเฉินเป็นเรื่องที่ไม่สามารถป้องกันได้ ทั้งตัวคนไข้เองต้องไม่นิ่งนอนใจ หากมีเลือดออกหรืออาการผิดปกติควรรีบมาพบแพทย์ทันที หรือโทรมาสอบถามที่เคาเตอร์พยาบาลก่อน เพื่อการเตรียมตัวในเบื้องต้น ทางโรงพยาบาลเองก็ต้องสร้างความมั่นใจให้กับคนไข้ สร้างช่องทางการติดต่อสื่อสารให้ชัดเจนสามารถตอบคำถามได้ตลอด 24 ชั่วโมง เช่น หากคนไข้โทรมาสอบถามแล้วสงสัยว่าเข้าข่ายภาวะรกเกาะต่ำ อาจต้องมีการผ่าตัดฉุกเฉิน พยาบาลควรแนะนำให้คนไข้งดน้ำงดอาหารมาเลย เมื่อมาถึงโรงพยาบาลจะได้สามารถทำการรักษาได้ทันท่วงที เพราะหากไม่ได้งดน้ำงดอาหารมา อาจมีภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบได้ แต่ถ้ามาตรวจแล้วไม่ต้องผ่าตัดก็สามารถกลับบ้านได้โดยไม่มีอันตรายอะไร

อาการเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์นั้นมีสาเหตุซ่อนอยู่มากมายหลายอย่าง การดูแลรักษาแต่ละอย่างก็แตกต่างกันออกไป หากคุณแม่มีเลือดออกระหว่างการตั้งครรภ์ไม่ว่าช่วงไหน ขอให้รีบไปโรงพยาบาลทันที เพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยและหาสาเหตุที่แท้จริง พร้อมได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อความปลอดภัยทั้งคุณแม่และคุณลูก

อาการเลือดออกกะปริบกะปรอย หรือออกเพียงเล็กน้อยในระยะการตั้งครรภ์ 6 เดือน มักไม่มีสาเหตุรุนแรงมาก นอกจากการกระทบกระเทือนของปากมดลูก เช่น การมีเพศสัมพันธ์หรือการตรวจภายใน ซึ่งบางครั้งก็ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน แต่เป็นอาการที่จำเป็นต้องรับการตรวจจากแพทย์โดยด่วน เนื่องจากอาการเลือดออกเพียงเล็กน้อยนี้อาจเป็นอาการนำของการมีเลือดออกอย่างมากในเวลาต่อมาได้

อาการเลือดออกมากในการตั้งครรภ์ภายหลัง 6 เดือน มักมีสาเหตุจาก

รกเกาะต่ำ หรือรกเกาะที่ปากมดลูก  จะเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 28 สัปดาห์เป็นต้นไป โดยเลือดที่ออกจะเป็นสีเลือดสด  ออกมาก หรือน้อยได้พอๆ กัน 

สาเหตุ:  เนื่องจากในระยะใกล้คลอด บริเวณปากมดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นเพื่อเตรียมสภาวะสู่การคลอด โดยการยืดขยายตัวออก ทำให้ปากมดลูกบางตัวลง ส่งผลให้เกิดการแยกตัวของส่วนเนื้อรก และผนังมดลูกที่เกาะอยู่ทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอด และกระตุ้นให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูก นำไปสู่การคลอดก่อนกำหนดได้

ลักษณะอาการ: เกิดขึ้นหลังการไอ หรือหลังร่วมเพศ ไม่มีอาการเจ็บครรภ์ร่วมด้วย และมักจะเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุนำ แต่มักเกิดในระยะท้ายๆ ของการตั้งครรภ์ คืออายุครรภ์ประมาณ 7-8 เดือน

การปฏิบัติตัว: ถ้าสงสัยว่าอาการเลือดออกทางช่องคลอดเกิดจากภาวะรกเกาะต่ำ ให้คุณนอนพักบนเตียงเพื่อยืดเวลาของการคลอดให้เกิดช้าที่สุด ป้องกันภาวะท้องผูกโดยใช้ยาช่วย กินอาหารอ่อนย่อยง่าย และเน้นอาหารเพิ่มกากใย ทั้งนี้โดยปกติคุณหมอจะตรวจพบอาการได้ตั้งแต่อายุครรภ์น้อยๆ ซึ่งคุณก็จะได้รับคำแนะนำให้พักผ่อน และหลีกเลี่ยงงานหนัก ไม่ทำให้เกิดการกระทบกระเทือนใดๆ ต่อมดลูก หรือปากมดลูกที่จะทำให้รกมีการลอกตัวก่อนเวลา 

พักสายตา ฟังบทความนี้ใน Audiobook คลิกเลยค่ะ

การลอกตัวของรกก่อนคลอด  ลักษณะเลือดออกคล้ายเลือดประจำเดือนในวันมามาก อาจจะมีเลือดเก่าๆ ออกพร้อมลิ่มเลือด 

สาเหตุ:  มดลูกเกิดการกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น การตั้งครรภ์ที่มีสายสะดือสั้น ผู้ที่ได้รับแอสไพริน ผู้ที่สูบบุหรี่จัด หรือมีความดันเลือดสูง ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวเป็นผลให้รกค่อยๆ แยกตัวออกจากผนังมดลูกที่เกาะ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด

ลักษณะอาการ:  อาการเลือดออกจะเกิดร่วมกับอาการปวดท้อง หรือมีอาการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกอย่างรุนแรง ปวดเกร็งหน้าท้อง และกดเจ็บบริเวณส่วนบนของมดลูก ถ้ามีการลอกตัวของรกมาก จะมีอาการแสดงของการเสียเลือดมากจนถึงขั้นช็อก (เป็นลม) ได้

การปฏิบัติตัว:  ควรรีบไปพบแพทย์เป็นการด่วน เนื่องจากคุณหมอจะต้องเฝ้าสังเกตอาการของคุณ เพื่อดูว่าการลอกตัวของรกเกิดขึ้นมากหรือไม่ ซึ่งถ้าหากมีเลือดออกมาก อาจเป็นสัญญาณอันตรายถึงชีวิตได้ คุณหมอจะให้คุณนอนนิ่งๆ บนเตียง และทำการประเมินภาวะเลือดออกอย่างใกล้ชิด และตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์สม่ำเสมอ รวมทั้งการเตรียมคลอดฉุกเฉินตลอดเวลา

การคลอดก่อนกำหนด  เลือดที่ออกจะมีลักษณะเป็นมูกปนเลือด ร่วมกับอาการเจ็บครรภ์คลอด อาจมีน้ำหรือสิ่งขับออกทางช่องคลอดเป็นสีน้ำตาลจางๆ หรือสีชมพู หรืออาจมีอาการน้ำเดินหรือมูกเลือดออกทางช่องคลอด

สาเหตุ:  ขึ้นอยู่กับสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ และประวัติในการคลอดก่อนกำหนดที่ผ่านมา

ลักษณะอาการ:  ปวดถ่วงท้องคล้ายปวดประจำเดือน อาจมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย เช่น ท้องเดิน คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย ปวดหลัง ปวดก้นกบ และปวดร้าวไปที่หน้าขา

การปฏิบัติตัว:  งดกิจกรรมการมีเพศสัมพันธ์ทันทีที่มีอาการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด จำกัดกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหว และการใช้แรงกายทุกชนิด พยายามพักผ่อนให้มากขึ้น และควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากคุณหมอ

ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุ และอาการของภาวะเลือดออกช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ รู้ไว้เพื่อให้คุณได้ตระหนัก และมีความเข้าใจในเรื่องละเอียดอ่อนเหล่านี้ เพื่อการดูแลครรภ์คุณภาพ นั่นเพราะการให้กำเนิดชีวิตน้อยๆ เป็นภาระที่สำคัญยิ่งของผู้เป็นแม่ เช่นคุณ!

คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนพยายามหาวิธีทำให้ลูกฉลาดได้ตั้งแต่ในท้อง จริงๆ แล้วการทำให้ลูกฉลาดตั้งแต่ในท้องอาจจะเป็นเรื่องยาก แต่การช่วยกระตุ้นและส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ การทำงานของสมอง และการจดจำ แม่ท้องสามารถทำได้ เพื่อให้เขาคลอดออกมามีความพร้อมในการเรียนรู้ที่พ่อแม่จะช่วยส่งเสริมกันต่อไป หนึ่งในวิธีกระตุ้นและส่งเสริมการทำงานของสมองทารกในครรภ์ และพัฒนาการทารกในครรภ์คือการได้รับสารอาหารที่มีชื่อว่า โคลีน สารอาหารนี้คืออะไร ดีอย่างไร และหาทานได้จากอาหารแหล่งใดบ้าง เรามีคำตอบค่ะ

คุณแม่ท้องแก่ใกล้คลอดคงตื่นเต้นกับลูกน้อยที่จะลืมตาดูโลกในไม่ช้า กำหนดคลอดพอจะช่วยให้มีเวลาเตรียมตัวได้อย่างคร่าว ๆ แต่อาการใกล้คลอดแบบไหนที่เป็นสัญญาณเตือนให้ไปโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน เพราะหลายคนก็มีอาการใกล้คลอดแตกต่างกันออกไป โดยคุณแม่อาจลองสังเกตได้จากสัญญาณเตือนสำคัญเหล่านี้

มีมูกปนเลือดออกทางช่องคลอด

คุณแม่สามารถพบมูกเลือดไหลออกทางช่องคลอดภายในไม่กี่นาที เป็นชั่วโมง หรือบางรายเป็นวันก่อนการคลอด โดยมูกที่พบมีอยู่หลายลักษณะ ตั้งแต่มูกใส สีน้ำตาล สีออกชมพู หรือแม้แต่สีแดงสดเหมือนเลือด มีความหนืดและข้นคล้ายตกขาว

มูกนี้เป็นกลไกในการป้องกันแบคทีเรีย เชื้อโรค และสิ่งสกปรกทั้งหลายไม่ให้เข้าสู่มดลูก โดยร่างกายจะมีการสร้างชั้นเมือกหนาปกคลุมบริเวณปากมดลูกในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ แต่เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมในการคลอดจะทำให้เกิดการสลายเมือกเหล่านั้นออกมาทางช่องคลอด แต่ในบางรายก็อาจมีมูกเลือดออกมาในปริมาณที่น้อย

น้ำเดินหรือน้ำคร่ำเดิน

เป็นอีกอาการที่ค่อนข้างชัดเจนว่าใกล้คลอดแล้ว คุณแม่จะมีของเหลวเป็นน้ำใส ๆ ไหลออกมาจากช่องคลอดเช่นเดียวกับมูกเลือด ส่วนมากจะไหลออกมาในปริมาณไม่เยอะแล้วหายไป แต่บางรายอาจมีน้ำไหลออกมาจากช่องคลอดในปริมาณมาก โดยพบได้ 1 ใน 10 ของหญิงตั้งครรภ์

อาการเหล่านี้เกิดจากถุงน้ำคร่ำที่ห่อหุ้มตัวเด็กเกิดฉีกขาดหรือแตก เพื่อเตรียมตัวให้เด็กคลอดออกจากท้องแม่ แต่อาจทำให้หลายคนมักสับสนระหว่างน้ำปัสสาวะและน้ำจากถุงน้ำคร่ำ ซึ่งโดยทั่วไปของเหลวจากอาการน้ำเดินจะเป็นของเหลวใสและไม่มีกลิ่น

เจ็บท้องคลอด

ในช่วงที่เกิดการเจ็บท้องคลอดจะทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บ มีอาการตึง ๆ หรือบีบรัดที่ครรภ์ หลายคนมักจะเรียกอาการนี้ว่าท้องแข็ง มีอาการปวดตื้อ ๆ บริเวณหลังและท้องช่วงล่าง โดยเริ่มปวดไล่มาตั้งแต่มดลูกลงไปยังก้นอย่างสม่ำเสมอหรือไล่จากล่างขึ้นบนสลับกัน ปวดเป็นจังหวะ และมีรูปแบบในการปวดที่คาดเดาได้ เช่น มีอาการปวดทุก ๆ 8 นาที ปวดอยู่นานประมาณ 30-70 วินาที ซึ่งอาการปวดจะเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ปวดนานและถี่ขึ้นเมื่ออยู่ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการคลอด เนื่องจากมดลูกบีบตัวและหดรัด อีกทั้งการหยุดทำกิจกรรมหรือเปลี่ยนท่าทางจะไม่ช่วยให้อาการปวดดีขึ้น มักพบว่ามีอาการปวดร่วมกับน้ำเดินและมีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอด

แม้อาการเจ็บท้องจะเป็นสัญญาณเตือนที่ค่อนข้างชัดเจน แต่ยังมีความคล้ายกับอาการปวดเตือนที่เป็นการเจ็บท้องหลอก (False Labor) ซึ่งอาจทำให้คุณแม่มือใหม่สับสนได้อยู่บ้าง โดยทั่วไปแพทย์จะตรวจดูอีกครั้งว่าสภาพร่างกายของแม่มีความพร้อมและปากมดลูกเปิดกว้างมากพอหรือไม่

นอกจากนี้ ยังมีสัญญาณเตือนอื่น ๆ ที่บ่งบอกถึงอาการใกล้คลอดเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่เป็นอาการเล็กน้อย เปลี่ยนแปลงไม่มาก หรืออาจเป็นอาการที่เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใน ทำให้คุณแม่ไม่รู้สึกถึงความแตกต่างได้มากนัก ซึ่งแต่ละคนอาจมีอาการมากน้อยต่างกันหรือในบางรายก็อาจไม่มี เช่น

  • ตำแหน่งของท้องเคลื่อนต่ำลง ทารกเริ่มมีการเคลื่อนตัวลงมาใกล้บริเวณกระดูกเชิงกรานมากขึ้น จึงทำให้เห็นได้ว่าตำแหน่งครรภ์ในช่วงใกล้คลอดอยู่ต่ำมากกว่าในช่วงตั้งครรภ์แก่ แต่ยังไม่คลอด ระยะนี้คุณแม่อาจจะหายใจได้สะดวกขึ้น เพราะแรงกดที่กระบังลมลดลง และอาจมีอาการปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น
  • อาการท้องเสียหรือถ่ายเหลว ในช่วงเข้าสู่ระยะใกล้คลอด คุณแม่อาจพบอาการถ่ายเหลวหรือท้องเสีย เพราะร่างกายมีการสร้างสารคล้ายฮอร์โมนที่ชื่อ โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) เข้าสู่กระแสเลือด เพื่อเตรียมพร้อมกับการคลอด ทำให้มดลูกหดตัวและช่วยขยายปากมดลูกให้กว้างขึ้น แต่ก็กระตุ้นให้เกิดการขับถ่ายมากด้วยเช่นกัน
  • ปวดหลัง หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะพบอาการปวดหลังได้ถึง 1 ใน 3 ของผู้หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากหลังของเราอยู่ในลักษณะโค้งเป็นเวลานานหลายเดือน เพื่อรองรับทารกในครรภ์ และเด็กทารกอาจจะเคลื่อนตัวต่ำลงมาจนศีรษะอยู่ใกล้หรือชนกับกระดูกสันหลังแม่ ซึ่งจะยิ่งทำให้เกิดอาการปวดอย่างต่อเนื่องมากขึ้น
  • นอนไม่หลับหรือหลับยาก
  • อารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิด

ปวดจริงหรือปวดหลอก สัญญาณแบบไหนที่บอกว่าคลอดจริง

จวนเจียนจะคลอดก็ต้องพบอาการปวดอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่อาการปวดท้องก็มีทั้งแบบปวดท้องคลอด (True Labor Contractions) ที่เป็นอาการปวดจะคลอดออกมาจริงในเวลาอันใกล้ และอาการปวดท้องหลอก ซึ่งเป็นอาการปวดที่ช่วยย้ำว่าระยะเวลาการจะคลอดเริ่มใกล้เข้ามา จึงทำให้หลายคนเรียกว่าเป็นอาการปวดเตือน (False Labor/Braxton Hicks Contractions) อาการปวดทั้ง 2 แบบสามารถสร้างความสับสนให้คุณแม่หลายท่าน โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการคลอดมากนัก ซึ่งอาการปวดท้องเตือนจะแตกต่างกับปวดท้องจริงตามลักษณะที่สังเกตได้จาก

  • เป็นอาการไม่สบายตัว อึดอัดบริเวณช่วงหน้าท้องด้านหน้าหรือกระดูกเชิงกราน
  • อาการปวดไม่รุนแรง หลายคนอธิบายว่ามีลักษณะคล้ายอาการปวดประจำเดือน
  • ปวดเป็นช่วง ๆ แล้วหายไป ไม่ปวดถี่ติดกัน
  • อาการมักหายไปเมื่อมีการเปลี่ยนท่าทาง หรือหยุดทำกิจกรรมนั้น ๆ
  • เกิดได้ตั้งแต่ช่วงต้นไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ หรือในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์

หากคุณแม่เริ่มมีอาการปวดท้องในลักษณะนี้ก็อย่าเพิ่งกังวลใจไป แต่ควรระมัดระวังในการเดิน เมื่อมีอาการลองเปลี่ยนท่าทางหรือขยับร่างกาย งีบหลับระหว่างวัน แช่ตัวในน้ำอุ่น หรือฟังเพลงเพื่อความผ่อนคลายก็อาจทำให้อาการหายไป

เตรียมความพร้อมเมื่อใกล้คลอด

กำหนดคลอดเข้ามาใกล้เรื่อย ๆ ทำให้คุณแม่กระตือรือร้นในการเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในระหว่างการตั้งครรภ์ ในช่วงนี้ควรมีการดูแลตนเองหลายเรื่อง ระมัดระวังเรื่องอาหารการกิน ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้รับฝากครรภ์ หรือแม้แต่เทคนิคคนรุ่นก่อนที่ช่วยให้คลอดได้ง่ายมากขึ้น แต่ควรเลือกในสิ่งที่เหมาะสมและพอดี รวมไปถึงไม่ควรวิตกกังวลในการคลอดมากจนเกินไป

นอกจากนี้ก็ต้องไม่ลืมเตรียมตัวหลังการคลอดให้พร้อมเช่นกัน ประเด็นที่ควรคำนึงอาจเป็นเรื่องการปรึกษากับคู่ครองและครอบครัว ศึกษาเส้นทางในการเดินทาง ระยะทางในการไปโรงพยาบาล ผู้ดูแลในระหว่างการคลอด หรือระยะเวลาในการพักฟื้นร่างกาย รวมไปถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ของตัวคุณแม่เองและลูกน้อยในระหว่างอยู่โรงพยาบาลและหลังคลอด เช่น เสื้อผ้า ของใช้ส่วนตัว เพื่อให้มั่นใจว่าเตรียมการทุกอย่างที่ต้องทำไว้เรียบร้อยล่วงหน้าก่อนคลอด และมีแผนสำรองอยู่เสมอในกรณีฉุกเฉิน เมื่อทุกอย่างพร้อมก็ไม่มีอะไรต้องให้กังวล  

รับมือกับอาการใกล้คลอดเมื่ออยู่โรงพยาบาล

แพทย์จะมีการประเมินความพร้อมในการคลอดของคุณแม่ โดยมีการตรวจดูปากมดลูกเป็นระยะว่าเปิดกว้างแค่ไหน หากเปิดกว้างถึง 10 เซนติเมตรก็จะสามารถคลอดได้ แต่ในบางรายที่ถุงน้ำคร่ำไม่แตก แพทย์อาจจะต้องมีการเจาะถุงน้ำคร่ำ หรืออาจมีการให้ยาเร่งคลอด เพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดการคลอดได้ง่ายขึ้น

เมื่อเริ่มมีอาการเจ็บท้องคลอดมากขึ้นในระหว่างนี้ อาจลองฝึกการหายใจยาวเพื่อเบ่งคลอด โดยให้ผู้ดูแลทำไปพร้อม ๆ กันเป็นจังหวะ เพื่อช่วยให้เบ่งคลอดได้ง่ายมากขึ้น หรือให้ช่วยลูบหลังเบา ๆ ก็อาจบรรเทาอาการปวดระหว่างรอคลอดได้

มีเลือดออกกี่วันคลอด

มีมูกหรือมูกเลือดออกจากช่องคลอด การมีมูกหรือมูกเลือดออกมาจากช่องคลอด แสดงว่าปากมดลูกอาจจะเริ่มเปิดและมีการฉีกขาดของเยื่อบุและหลอดเลือดฝอยบริเวณนั้น ทำให้มีเลือดปนออกมา หากมีอาการนี้ อาจเป็นได้ว่าจะมีการคลอดเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง แต่บางราย การคลอดอาจจะเลื่อนออกไปได้อีกหลายวัน

คลอด36สัปดาห์ถือว่าคลอดก่อนกำหนดไหม

การคลอดก่อนกำหนด คืออะไร การตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ จะครบกำหนดที่ 38-41สัปดาห์ หรือประมาณ 9 เดือน โดยเฉลี่ยหากคลอดก่อน 37 สัปดาห์ทางการแพทย์ ถือว่าคลอดก่อนกำหนด แต่ทารกที่คลอดตั้งแต่อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ขึ้นไป ส่วนใหญ่จะไม่พบปัญหาหรือความผิดปกติใด ๆ แต่ทารกที่จะพบปัญหา คือ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมาก ๆ ทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย

ทำไมมีเลือดออกตอนท้อง

คุณแม่อาจพบเลือดไหลกะปริดกะปรอยออกมาจากช่องคลอด เนื่องจากเป็นช่วงที่ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วกำลังฝังตัวเข้ากับในผนังมดลูก ซึ่งอาจทำให้มีเลือดซึมออกมาได้ เลือดที่เกิดจากไข่ฝังตัวนี้แตกต่างจากเลือดประจำเดือนตรงที่มีสีอ่อนและมีปริมาณน้อยมาก ในขณะที่เลือดประจำเดือนจะมีสีแดงเข้ม มีปริมาณมากและมีรูปแบบการมาที่แน่นอน คือมาน้อย-มาก- ...

เลือดออกแบบไหนใกล้คลอด

ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์นั้น การมีเลือดออกทางช่องคลอดอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการคลอดก็ได้ มูกเลือดที่อยู่บริเวณปากมดลูกจะออกมา ก่อนการคลอดจะเริ่มขึ้นมูกจำนวนเล็กน้อยและเลือดจะไหลออกมาจากปากมดลูก ซึ่งเป็นเรื่องปกติและสามารถเกิดขึ้นได้ 3 สัปดาห์ก่อนกำหนดคลอดโดยไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด ถ้าหากเกิดขึ้นเร็วกว่านั้นอาจหมายถึง ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง