กระบวนการ สร้างนวัตกรรม 4 ขั้น ตอน

กระบวนการแห่งการสร้างนวัตกรรม (The process of innovation)

กระบวนการแห่งการสร้างนวัตกรรม คือ การสร้างหรือพัฒนานวัตกรรม โดยอาจแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน

1. การรับรู้ถึงโอกาส การศึกษารวบรวมเอกสารแนวคิดหลักการ เพื่อหาปัญหา สำรวจว่ามีพัฒนาเรื่องที่สนใจไว้ว่าอย่างไร มีใครที่เคยประสบปัญหาเรื่องนี้มาก่อนหรือไม่ คนที่มีปัญหานี้เขามีแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างไร เพื่อหากรอบแนวคิดหรือแนวทางที่จะนำมาแก้ปัญหาของตนเองต่อไป อาจทำได้โดย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการแสวงหาแนวคิดและหลักการ และการศึกษาเอกสารงานวิจัยและประสบการของผู้เกี่ยวข้อง

2. การพัฒนาแนวคิด คือ การเลือกกรอบแนวคิดมาทำการวางแผนสร้างนวัตกรรม โดยพิจารณาเลือกจากลักษณะของนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ดีเช่น มีการเรียนรู้ที่ตรงกับความต้องการและความจำเป็น, น่าเชื่อถือและเป็นไปได้สูงที่จะสามารถแก้ปัญหาและพัฒนาต่อยอดได้, มีแนวคิดหรือหลักการทางวิชาการรองรับจนน่าเชื่อถือ, สามารถนำไปใช้ได้จริงใช้ง่ายสะดวกต่อการใช้และการพัฒนาต่อไป  และมีผลการพิสูจน์ว่าใช้ได้ในสถานการณ์จริงสามารถแก้ปัญหาได้อย่างน่าพอใจ

3. การแก้ไขปัญหา คือ การสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมเพื่อให้สามารถนำมาแก้ไขปัญหาที่มี  จะสร้างและดำเนินการตามขั้นตอนเช่น วิเคราะห์จุดประสงค์, กำหนดและออกแบบ, ลงมือทำ, ตรวจสอบคุณภาพ, ทดลองใช้ระยะสั้นเพื่อปรับปรุง และนำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือการพัฒนาการเรียนรู้

4. การพัฒนาต้นแบบ คือ การหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมเพื่อพิสูจน์ว่านวัตกรรมที่สร้างมานั้น สามารถนำมาใช้ได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่ มีการทำได้หลายวิธีเช่น การตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ, การบรรยายคุณภาพ, การหาประสิทฺธิภาพของนวัตกรรม และการประเมินผล

5.  แก้ไขจุดบกพร่อง คือ การปรับปรุงนวัตกรรมที่สร้างขั้น นำความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะมาปรับปรุงนวัตกรรมให้มีคุณภาพเหมาะสมที่จะนำไปใช้ได้มากขึ้น หาค่าประสิทธิภาพโดยการให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจและการบรรยายคุณภาพก่อนการทดลองใช้และหลังการทดลองใช้กับผู้เรียนกลุ่มเล็กจะทำให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและเป็นรายละเอียดที่จะปรับปรุงนวัตกรรมได้ง่ายขึ้น 

กระบวนการทางนวัตกรรม (Innovation Process)

1.การค้นหาความคิดใหม่ : Idea Generation

 แหล่งที่มาของความคิดที่เป็นนวัตกรรม

1. ความรู้ใหม่

2. การใช้ประโยชน์จากความคิดของลูกค้า

3. การเรียนรู้จากกลุ่มผู้ใช้ที่มีหัวก้าวหน้า

4. การออกแบบที่เข้าถึงใจคน

5. ฝ่ายวิจัยและพัฒนา

6. นวัตกรรมจากภายนอกองค์กร

2.การรับรู้ถึงโอกาส : Opportunity Recognition

• “สิ่งที่สำคัญก็คือ เราต้องฉลาดพอที่จะรับรู้ว่า สิ่งนั้นจะเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่เมื่อเราเห็นมันอยู่ตรงหน้า” (Norman Augustine)

• หลักการรับรู้โอกาสด้วย “แผนผังอรรถประโยชน์”

􀂃 นวัตกรรมสร้างอรรถประโยชน์มากที่สุดในด้านใดได้บ้าง

􀂃 อรรถประโยชน์นั้นมากกว่าหรือน้อยกว่าเทคโนโลยีของผู้อื่นเพียงใด

􀂃 อรรถประโยชน์ใดมีความสำคัญมากที่สุด

􀂃 สามารถปรับเปลี่ยนแนวคิดเพื่อสร้างนวัตกรรมที่เป็นอรรถประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร

3.การประเมินความคิด : Idea Evaluation

• ความเหมาะสมของนวัตกรรมกับกลยุทธ์ขององค์กร

• ความสามารถด้านเทคนิคขององค์กรในการสร้างนวัตกรรม

• ความสามารถทางด้านธุรกิจที่ส่งผลให้นวัตกรรมประสบความสำเร็จ

4.การพัฒนานวัตกรรม : Development

• ตัวกรองความคิด

• ระบบแบบ “ขั้นตอนและประตู (stage-gate system)

•การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation)

• การพัฒนานวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation)

5.การนำนวัตกรรมเข้าสู่ตลาด : Commerciali-zation

• การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (breakeven analysis)

• การวิเคราะห์กระแสเงินสดคิดลด(discounted cash flow analysis)

สารานุกรมการบริหารและการจัดการ
กระบวนการสร้างนวัตกรรมใน 4 ขั้นตอน [Weiss and Legrand]

     สำหรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็ก มักมองนวัตกรรมว่าเป็นเรื่องไกลตัวเพราะต้องใช้เงินลงทุนสูง ใช้ประโยชน์ได้ไม่ทันคุ้มค่าใช้จ่าย ก็ตกยุค สู้คอยลอกเลียนคนอื่นแบบตามน้ำไปเรื่อยๆ ไม่ได้ หรือบางคนก็คิดว่า นวัตกรรมเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ เช่น หากมีพนักงานคนหนึ่งในบริษัทเกิดความคิดบรรเจิดบางอย่างขึ้นมาเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ เมื่อบริษัทนำไปใช้ เกิดเป็นที่ชอบใจของลูกค้า ก็เหมาเอาว่า นั่นเป็นผลสำเร็จของการสร้างนวัตกรรม
     แม้ความบังเอิญนั้นจะถือเป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรม แต่การจะหวังให้บังเอิญกันได้บ่อยๆ ก็อาจเป็นความหวังที่ไม่ชัดเจนเท่าไรนัก ที่จริงแล้ว นวัตกรรมเป็นความท้าทายที่ประกอบด้วยความไม่แน่นอน ความเสี่ยง และซับซ้อนในตัวของมันเอง ทางเลือกที่ดีกว่าการคอยให้นวัตกรรมเกิดขึ้นเองแบบบังเอิญคือ การตั้งใจสร้างนวัตกรรมตามกระบวนการที่ออกแบบมาเพื่อการสร้างนวัตกรรมเป็นการเฉพาะ นวัตกรรมที่สร้างขึ้นมาจะเป็นที่ยอมรับของลูกค้าหรือไม่ เป็นกระบวนการพัฒนาอีกส่วนหนึ่งที่ต้องกระทำต่อเนื่องไป การพยายามสร้างนวัตกรรมในสินค้าบริการ จะทำให้องค์กรได้มีโอกาสทบทวนความต้องการของลูกค้าและความพร้อมขององค์กรในการรับมือกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง

     กระบวนการสร้างนวัตกรรมใน 4 ขั้นตอนที่นำมาเสนอนี้ เป็นผลงานของ David Weise และ Claude Legrand ซึ่งเขียนไว้ในหนังสือชื่อ Innovative Intelligence: The Art and Practice of Leading Sustainable Innovation in Your Organization (2011) เป็นกระบวนการที่ตรงไปตรงมาและนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย อาจต้องปรับแต่งให้เข้ากับความต้องการเฉพาะทางธุรกิจของแต่ละองค์กรบ้าง แต่ก็เป็นแนวทางที่สามารถสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอในองค์กร กระบวนการสร้างนวัตกรรมประกอบด้วย

1. พัฒนากรอบแนวคิด (Framework Development)
     เป็นขั้นแรกของกระบวนการสร้างนวัตกรรมซึ่งเริ่มด้วยการค้นหาปัญหาและคิดว่าจะแก้ไขมันได้อย่างไร นอกจากนั้นยังช่วยให้มั่นใจว่า ทางแก้ไขปัญหาที่สร้างขึ้นมานั้น สนองความต้องการทางธุรกิจ การพัฒนากรอบแนวคิด ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย 6 ขั้นตอน
   1.1 ระบุความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับปัญหา (Identify the problem’s history)
      • ปัญหามีความเป็นมาอย่างไร
      • ได้มีใครพยายามแก้ปัญหานี้มาก่อนหรือไม่
      • หากมีผู้เคยพยายามแก้ปัญหานี้มาก่อน ผลเป็นอย่างไร ส่วนใดแก้ได้ส่วนใดแก้ไม่ได้ หรือแก้ไม่ได้เลยทั้งหมด

   1.2 กำหนดบริบทของปัญหา (Define the context)
      • ทบทวนว่าปัญหานี้เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์หรือโครงการใดขององค์กร
      • มีโครงการหรือกฎระเบียบใดบ้างที่อาจส่งผลกระทบต่อการแก้ไขปัญหา
      • การจัดการแก้ไขปัญหานี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรหรือผู้มีประโยชน์ได้เสียหลัก มากน้อยเพียงใด

   1.3 สร้างคำถามว่าจะทำอย่างไร (Write a “how to…” or “How will we…” question)
      • แตกปัญหาให้เป็นคำถามว่า “จะ (ทำ) ได้อย่างไร” เช่น จะลดข้อร้องเรียนของลูกค้าลง 5% ได้อย่างไร, จะทำให้กระบวนการผลิตเร็วขึ้น 1 ชั่วโมงได้อย่างไร การตั้งคำถามเช่นนี้ช่วยให้คุณสามารถกำหนดเป้าหมายและวัดผลความสำเร็จได้
      • ต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน ไม่ใช้คำที่กำกวม เช่น เร็วขึ้น, ดีขึ้น, แพง, หรือมากกว่า เว้นแต่จะมีการกำหนดตัวเลขเชิงปริมาณเอาไว้ด้วย
      • ในกรณีที่ทำงานกันเป็นทีม ควรให้สมาชิกแต่ละคนสร้างคำถามที่คิดว่าอธิบายปัญหาที่ต้องการแก้ไขได้ดีที่สุด แล้วนำความคิดนั้นมาอภิปรายเพื่อหาข้อสรุปว่าความคิดของใครเหมาะสมที่สุด

   1.4 กำหนดข้อจำกัด (Define boundaries)
      • มีงบประมาณ เวลา และทรัพยากรในการจัดการมากน้อยเพียงใด
      • มีเงื่อนไขอะไรในการนำวิธีแก้ไขนี้ไปใช้ อะไรที่ต้องทำ อะไรที่ไม่ต้องทำ
      • มีสิ่งใดที่อยู่นอกเหนืออำนาจการควบคุม

   1.5 ระบุประเภทของการแก้ไข (Identify the type of solution)
      • กำหนดรูปแบบเคร่าๆ ที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหา
      • รูปแบบหรือวิธีการดังกล่าวจำเป็นต้องปรับปรุงกระบวนการทำงานหรือปรับเปลี่ยนตัวสินค้าบริการหรือไม่
      • จำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีคิดในการทำการตลาดหรือการขายหรือไม่

   1.6 ระบุตัวผู้มีอำนาจตัดสินใจ (Identify the decision maker)
      • ใครเป็นเจ้าของเรื่อง และใครเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจขั้นสุดท้าย
      • ในกรณีที่การแก้ไขปัญหานี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ จำเป็นต้องให้ผู้รับผิดชอบโครงการได้มีส่วนร่วมและให้ความเห็นชอบกับวิธีการแก้ไขนี้ด้วย

2. ค้นหาปัญหาที่แท้จริง (Issue Redefinition)
     เป้าหมายของกระบวนการสร้างนวัตกรรมในขั้นนี้คือ การค้นหาว่าอะไรคือรากเหง้าหรือสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา ปัญหานี้ยังมีปัญหาแยกย่อยที่ยังไม่ได้นำขึ้นมาพิจารณาอีกหรือไม่ การดำเนินการในขั้นนี้ก็เพื่อให้มั่นใจว่ากำลังพิจารณาที่ตัวปัญหาจริง ไม่ใช่เป็นเพียงความรู้สึกขอบตนว่านี่คือปัญหา
   • แจกแจงปัญหาให้ชัดเจน
   • สำรวจรายละเอียดของปัญหา

     เมื่อทำความเข้าใจกับปัญหาได้ชัดเจนแล้ว ควรปรึกษากับเจ้าของปัญหาหรือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเพื่อให้มั่นใจว่าความเข้าใจของคุณนั้น เป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง
     การทำความเข้าใจกับปัญหา เช่น ความไม่พอใจของลูกค้า อาจจะด้วยการจำลองเส้นทางการซื้อหรือใช้สินค้าบริการ (journey map) -ขึ้นมาเพื่อให้เห็นภาพว่าลูกค้าของคุณทำ, คิด, รู้สึก, และประสบกับอะไรในระหว่างที่มาจับจ่ายซื้อของ หรือในขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการซื้อสินค้าหรือใช้บริการ ภาพจำลองดังกล่าวจะช่วยให้คุณได้ทราบปัญหาหรือข้อติดขัดที่เกิดกับลูกค้าของคุณ ทบทวนปัญหานั้นว่ามีความสำคัญต่อลูกค้าของคุณในระดับใด จะมีพัฒนาการอะไรที่จะช่วยแก้ปัญหาหรือทำให้การใช้ชีวิตของพวกเขาง่ายขึ้น หรือถ้ายังมองไม่เห็นภาพ ก็อาจใช้การถามกันตรงๆ โดยใช้แบบสำรวจหรือวิธีอื่นๆ เพื่อให้ทราบปัญหาที่พวกเขาประสบอยู่
     เมื่อคุณเข้าใจแล้วว่าอะไรในตลาดที่สร้างปัญหาให้กับลูกค้าของคุณ หรืออะไรที่เป็นปัญหาซึ่งลูกค้าของคุณกำลังประสบอยู่ ขั้นต่อไปก็คือการนำความรู้ความเข้าใจในปัญหานั้นมาคิดหาวิธีการแก้ไข การแก้ปัญหาที่ยังไม่มีใครแก้ไขได้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่มันก็เป็นสิ่งที่คุณควรจะต้องทำ คุณอาจตรวจสภาพทางการตลาดว่า แนวคิดคล้ายๆ กับแนวคิดของคุณ ได้มีการนำไปใช้ในตลาดบ้างหรือไม่, ยังมีช่องว่างอะไรที่ความต้องการของลูกค้ายังไม่ได้รับการตอบสนอง, ความคิดของคุณจะสามารถปิดช่องว่างนั้นได้หรือไม่, ถ้าได้ จะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเท่าไร
     ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่แต่เพียงว่า สิ่งนั้นหรือวิธีการนั้นสามารถแก้ปัญหาให้กับลูกค้าคุณได้หรือไม่เท่านั้น แต่มันจะต้องสามารถสร้างผลกำไรให้กับคุณได้ด้วย หากคุณมีทางออกสำหรับปัญหา แต่ทางออกนั้นไม่ได้สร้างผลกำไร ก็ไม่ควรเลือกนำทางออกหรือคำตอบนั้นมาใช้ เพราะนอกจากจะไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้อย่างยั่งยืนแล้ว ยังสร้างปัญหาให้กับคุณ ซึ่งในกรณีนั้นคงไม่มีใครคิดจะแก้ไขให้
     ในการหาข้อสรุปของแนวคิดในการแก้ปัญหา อาจใช้การสนทนากลุ่ม (focus group) ด้วยการเล่าแนวคิดของคุณให้กลุ่มทราบและสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มที่มีต่อแนวคิดของคุณ ความคิดเห็นที่ได้จากการสนทนากลุ่ม แท้จริงแล้วน่าจะไม่ต่างจากความคิดเห็นของลูกค้าของคุณ และอาจเพิ่มเติมด้วยการสำรวจว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ มีแนวคิดอย่างไร จะสามารถนำมาปรับใช้กับอุตสาหกรรมของคุณอย่างไร ในกรณีนี้คงไม่ถึงกับต้องไปลอกเลียนแบบเขามาทั้งดุ้น แต่อาจสมมุติตัวคุณเองเป็นลูกค้า ถามตัวเองว่าทำไมลูกค้าจึงต้องมาหาคุณ หรือจะหนีไปจากคุณ แล้วคิดต่อไปว่ายังมีวิธีอะไรที่จะทำให้ความต้องการของลูกค้าได้รับการตอบสนอง

3. ระดมความคิด (Idea Generation)
     หลังจากที่ได้พัฒนากรอบแนวคิดในการแก้ปัญหา และเข้าใจแล้วว่าปัญหาที่แท้จริงของคุณคืออะไร ขั้นต่อไปคือการระดมความคิดเพื่อแก้ปัญหา กระบวนการระดมความคิดมี 4 ขั้นตอนที่จะทำให้คุณและทีมงานมั่นใจได้ว่าความคิดที่ระดมกันขึ้นมานั้นจะอยู่ภายในขอบเขตและข้อจำกัดที่ระบุไว้
   3.1 เตรียมความพร้อม (Prepare thoroughly) เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อการระดมสมอง โดยมีปัญหาที่ชัดเจน มีระเบียบวาระเพื่อการพิจารณา มีผู้รู้ที่พร้อมจะช่วยแนะนำช่วยเหลือ และมีเทคนิคการระดมสมองเพื่อความคิดที่สร้างสรรค์

   3.2 ซักซ้อมกระบวนการ (Introduce the process) ให้ทีมงานทุกคนได้ทราบเป้าหมายของ how will (ตามข้อ 1.3) เช่น จะลดข้อร้องเรียนของลูกค้าลง 5% ได้อย่างไรรวมถึงข้อจำกัดในเรื่องกฎระเบียบต่างๆ ที่ได้ศึกษาไว้ในข้อ 1.2 เพื่อให้มั่นใจว่าทีมงานทุกคนมีความเข้าใจในเป้าหมายและข้อจำกัดต่างๆ ที่ตรงกัน

   3.3 ระดมความคิด (Generate many ideas) นำเทคนิคการระดมความคิดมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ในขั้นนี้ไม่ควรไปเน้นเรื่องคุณภาพว่าความคิดว่าของใครดีหรือไม่ดี แต่ควรเน้นไปที่ปริมาณ คือให้ได้ความคิดมาให้มากที่สุด

   3.4 ได้ทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม (Discover meaningful solutions) นำความคิดและข้อเสนอทั้งหลายที่รวบรวมได้ มาพิจารณา อาจรวมความคิดบางอย่างเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้ความคิดใหม่ที่ตอบโจทย์ how will ของคุณได้ดีที่สุด ขณะเดียวกันก็ยังไม่ควรมองข้ามหรือทิ้งความคิดที่อาจจะไม่ได้ดีที่สุดไป

     เมื่อคุณค้นพบทางออกของปัญหาได้แล้ว ขั้นต่อไปคือการทดสอบว่ามันใช้ได้ผลหรือไม่ ดังนั้น แทนที่คุณจะพยายามหาทางออกที่สมบูรณ์สูงสุดแล้วค่อยมาเริ่มต้นพัฒนาสินค้าหรือบริการ คุณควรนำวิธีการหรือทางออกที่คุณได้คิดขึ้นซึ่งมั่นใจว่าทำแล้วมีกำไร อาจผ่านการสนทนากลุ่มด้วยถ้าเป็นไปได้ แล้วนำมาทดสอบกับบางส่วนของตลาดซึ่งเป็นลูกค้าของคุณ
     การที่จะให้ได้สินค้าบริการที่เหมาะสมต้องนำหลักการพัฒนาการเรียนรู้มาใช้ วิธีการคือ นำต้นแบบของสินค้าบริการออกสู่ตลาดในลักษณะการทดสอบเบื้องต้น วิธีนี้จะช่วยให้คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้อย่างต่อเนื่องจากพฤติกรรมหรือท่าทีที่ลูกค้ามีต่อสินค้าบริการต้นแบบนั้น และปรับปรุงแก้ไขหากยังมีข้อบกพร่อง ไม่มีข้อมูลใดที่เป็นประโยชน์มากไปกว่าความเห็นและคำแนะนำ (feedback) ที่ตรงไปตรงมาจากลูกค้าของคุณ ความเห็นและคำแนะนำเหล่านั้น คือสิ่งที่เขาอยากได้กลับมาแก้ปัญหาของพวกเขา คุณจึงควรประมวลข้อมูลเหล่านั้นให้มากที่สุดก่อนที่จะนำไปพัฒนาสินค้าบริการหรือหนทางแก้ไขปัญหาในขั้นสุดท้าย

4. นำการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดไปปฏิบัติ (Implement the Best Ideas)
     หลังจากได้ทดสอบ และนำข้อมูลป้อนกลับที่ได้ มาปรับแต่งแนวคิดของคุณแล้ว ขั้นต่อไปคือการนำแนวคิดนั้นมาปฏิบัติจริงและนำออกสู่ตลาด ขณะเดียวกันก็ประเมินว่าสินค้าบริการหรือวิธีการเหล่านั้นสามารถแก้ไขปัญหาของลูกค้าได้มากน้อยเพียงใด หลังจากที่คุณนำสินค้าบริการหรือวิธีการแก้ไขออกสู่ตลาดแล้ว คุณก็น่าจะยังได้รับความเห็นและคำวิพากษ์วิจารณ์ที่มีประโยชน์อีกมาก คุณจึงไม่ควรคิดว่าสิ่งที่คุณได้แก้ไขปรับปรุงและนำเข้าสู่ตลาดนี้ เป็นการดำเนินการขั้นสุดท้าย หรือหยุดการพัฒนา และคอยเก็บเกี่ยวผลจากสิ่งที่คุณทำ ที่จริงแล้ว สินค้าบริการทุกชนิดสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่คุณจะตั้งป้อมปิดรับ feedback ใดๆ จากลูกค้า บริษัทที่พร้อมสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องแม้สินค้าบริการนั้นจะประสบความสำเร็จในตลาดแล้ว คือบริษัทที่มีโอกาสขยายส่วนแบ่งทางการตลาดให้มากยิ่งๆ ขึ้นไปอีก
     กระบวนการสร้างนวัตกรรม เป็นการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างลูกค้ากับผู้ผลิตสินค้าบริการ หากผู้ผลิตสินค้าบริการมีความใส่ใจต่อความรู้สึกของลูกค้า ก็มีโอกาสที่จะได้ทดสอบความคิดและนำเสนอสินค้าบริการใหม่ๆ ได้เสมอ หากคุณไม่ต้องการให้สินค้าของคุณเก่าตกยุคและไม่เป็นที่ต้องการของลูกค้า คุณจึงควรให้ความสำคัญกับกระบวนการสร้างนวัตกรรม แม้สินค้าบริการของคุณจะเป็นผู้นำในตลาดแล้วก็ตาม ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีเพียงองค์กรที่ก้าวทันกระแสการเปลี่ยนแปลงเท่านั้นที่จะสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

     บทความที่เกี่ยวข้องซึ่งขอแนะนำให้อ่านประกอบ
   • 5 Whys
   • 7 Signs of Ethical Collapse [Jennings]
   • Action Plan
   • Brainstorming [Round-Robin]
   • Cause and Effect Analysis (Fishbone Chart)
   • Critical Chain Project Management (CCPM)
   • Decision Matrix Analysis
   • Decision Tree Analysis
   • Interrelationship Diagrams
   • Ladder of Inference
   • Productive Thinking Model [Hurson]
   • Project Charters
   • Root Cause Analysis
   • Soft Systems Methodology (SSM)
   • Stakeholder Analysis
   • Swim Lane Diagram
   • สร้างนวัตกรรมอย่างไรไม่ให้เป็น นวกรรม

———————————

หมายเหตุ: ผู้เขียนเปิด website สำรองข้อมูล ไว้ที่ drpiyanan.blogspot.com ผู้สนใจสามารถเปิดเข้าอ่านได้เช่นเดียวกับ web นี้ แต่จะมีความยั่งยืนกว่าเพราะสามารถรักษาสถานภาพของ web อยู่ได้โดยไม่ต้องต่ออายุ domain และ hosting เป็นรายปี

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง