บ้าน 150 ตาราง เมตร ต้อง ขอ อนุญาต ไหม

ในกรณีที่อาคารอยู่อาศัยไม่เกินสองชั้นและมีพื้นที่อาคารไม่เกิน 150 ตารางเมตร หากจะก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลและ
ไม่เป็นพื้นที่ที่มีกฎหมายเกี่ยวกับการห้ามก่อสร้างอาคารบางชนิดหรือบางประเภท ไม่ต้องยื่นแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณในการขออนุญาต เพียงแต่ยื่น
แผนผังบริเวณแสดงที่ตั้งอาคารโดยสังเขป และเอกสารแสดงสิทธิในที่ดิน พร้อมกับคำขอ

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
"กฎกระทรวงฉบับที่ 56 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522" ได้ที่ลิงค์นี้

//office.dpt.go.th/bcb/index.php…

บ้านแบบไหนไม่เข้าข่ายกฎหมายควบคุมอาคาร . เป็นปัญหาที่ถกเถียงกันบ่อยครั้งเกี่ยวกับการขออนุญาตก่อสร้างบ้านในเขตพื้นที่ที่...

Posted by Abhisit Suthapradit on Sunday, July 16, 2017

การขออนุญาตปลูกบ้านนั้น จำเป็นต้องมี แบบบ้าน ที่แสดงรายละเอียดต่างๆ ตามข้อกำหนดในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และ/หรือ ประกาศ และ/หรือ ข้อกำหนดอื่นๆ ซึี่งขึ้นอยู่กับสถานที่ที่จะปลูกสร้าง และลักษณะอาคาร เมื่อมีแบบแล้วให้นำไปยื่นยัง สำนักงานเขต หรือ เทศบาล โดยส่วนใหญ่ แบบบ้าน หรืออาคารทั่วไป ต้องมีสถาปนิก และวิศวกร เซ็นรับรองแบบ นอกจากบ้านที่มีขนาดพื้นที่ใช้สอยไม่เกิน 150 ตารางเมตร ก็ไม่จำเป็นต้องมีสถาปนิก และวิศวกร รับรองแบบแต่อย่างใด


เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขออนุญาตปลูกสร้างประกอบด้วย

1. คำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือ รื้อถอนอาคาร (ข.1)

2. แบบแปลนแผนผัง จำนวน 5 ชุด

3. หนังสือรับรองของผู้ออกแบบ ทั้งสถาปนิก และ วิศวกร พร้อมสำเนาใบอนุญาต

ไม่จำเป็นต้องมีวิศวกร และสถาปนิกเซ็นรับรอง กรณี

บ้าน 1-2 ชั้น ที่มีพื้นที่ใช้สอยน้อยกว่า 150 ตารางเมตร และ

คานทุกจุดยาวไม่เกิน 5 เมตร (หรือระยะกึ่งกลางเสาถึงกึ่งกลางเสาไม่กิน 5 เมตร) และ

ความสูงแต่ละชั้นไม่เกิน 4 เมตร

4. สำเนาโฉนดที่ดินที่จะก่อสร้าง

5. สำเนาบัตรประชาชน หรือทะเบียนบ้านเจ้าของอาคาร ในกรณีเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียน

6. เอกสารของผู้ควบคุมงานก่อสร้าง


จากนั้นนำเอกสารทั้งหมดไปยื่นต่อเทศบาล หรือสำนักงานเขต ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ ภายใน 45 วัน หากยังไม่ได้รับแจ้งความคืบหน้า ท่านสามารถติดตาม ผลได้ว่าเป็นอย่างไร ได้รับอนุญาตหรือไม่ ถ้ายังไม่ได้รับใบอนุญาตแล้ว ทางเจ้าหน้าที่จะแจ้งกลับมาว่าต้องแก้ไขอะไรบ้าง เมื่อแก้ไขถูกต้องแล้ว จะได้รับใบอนุญาตปลูกสร้าง และเสียค่าธรรมเนียมตามจำนวนตารางเมตร

การขออนุญาตก่อสร้าง แบบไหนจำเป็นต้องได้รับการเซ็นแบบจากสถาปนิก หรือวิศวกร และแบบไหนที่พรบ.ควบคุมอาคารไม่ได้บังคับให้มีการเซ็นแบบ วันนี้ rabbit finance มีคำตอบนั้นมาให้แล้วค่ะ

แบบบ้านที่ขออนุญาตก่อสร้างได้ โดยไม่ต้องมีวิศวกร และสถาปนิกเซ็นแบบ

  • บ้าน 1-2 ชั้น พื้นที่ใช้สอยไม่เกิน 150 ตร.ม. วิศวกร และสถาปนิกไม่ต้องเซ็นแบบ

อ้างอิงจาก กฎกระทรวงฉบับที่ 56 (พ.ศ.2543)

การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคาร หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด เฉพาะในเขตสภาตำบล หรือเขตองค์การบริหารส่วนตำบล แต่มิได้อยู่ในบริเวณพื้นที่ที่มีกฎกระทรวง หรือข้อบัญญัติท้องถิ่น กำหนดการตามมาตรา 8 (10) หรือประกาศกระทรวงมหาดไทยที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกตาม มาตรา 13 ใช้บังคับ ถ้าเป็นอาคารดังต่อไปนี้ ให้แนบเฉพาะแผนผังบริเวณแสดงที่ตั้งอาคารโดยสังเขป และสำเนาเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินพร้อมกับคำขอ

“อาคารอยู่อาศัยไม่เกินสองชั้น และมีพื้นที่ทุกชั้นในหลังเดียวกัน รวมกันไม่เกิน 150 ตารางเมตร นั่นหมายถึงบ้านพักอาศัย มีพื้นที่ไม่เกิน 2 ชั้น และพื้นที่ใช้สอยรวมกันไม่เกิน 150 ตารางเมตร เป็นลักษณะที่ทางกฎหมายอนุญาต ไม่จำเป็นต้องมีสถาปนิก และวิศวกรเซ็นรองรับ ส่วนการคุมงานก่อสร้างนั้น เจ้าของบ้านสามารถเซ็นควบคุมงานได้เอง”


และนอกจากพื้นที่ใช้สอยแล้ว การออกแบบโครงสร้างทางวิศวกรรมยังมีผลต่อการขออนุญาตเช่นกัน โดยกฎหมายได้ระบุไว้ว่า บ้านหรืออาคารดังกล่าวนี้ต้องเข้าข่ายให้มีวิศวกรออกแบบ และควบคุมงาน
“อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป หรือโครงสร้างของอาคารชั้นใดชั้นหนึ่งสูงตั้งแต่ 4 เมตร หรือมีช่วงคานตั้งแต่ 5 เมตรขึ้นไป”

  • ช่วงคานไม่ถึง 5 เมตร วิศวกร และสถาปนิกไม่ต้องเซ็นแบบ

โดยปกติแล้ว บ้านเรือนทั่วไปจะนิยมออกแบบช่วงคานประมาณ 4 เมตร ซึ่งหากช่วงคานยาวมากกว่านี้ ก็อาจส่งผลให้เกิดอันตรายได้ ดังนั้น กฎหมายจึงได้ระบุไว้ว่า หากช่วงคานยาว 5 เมตรขึ้นไป ต้องมีวิศวกรออกแบบ และคุมงาน

  • ช่วงความสูงชั้นใดชั้นหนึ่งไม่ถึง 4 เมตร วิศวกร และสถาปนิกไม่ต้องเซ็นแบบ

โดยปกติแล้ว บ้านเรือนทั่วไปจะนิยมออกแบบให้พื้นจรดฝ้าเพดาน มีความสูงประมาณ 2.6-3 เมตร แต่อาจมีบ้านลักษณะพิเศษ เช่น บ้านชั้นครึ่ง หรือบ้านที่มีความสูงโปร่ง ที่อาจมีความสูงเกินกว่า 4 เมตร ซึ่งหากพื้นที่ใดมีความสูงตั้งแต่ 4 เมตรเป็นต้นไป จะต้องมีลายเซ็นรับรองจากวิศวกรออกแบบ และควบคุมงาน

ปล. ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากเขตการปกครองบางแห่งจะมีกฎหมายเฉพาะที่ที่ใช้เฉพาะพื้นที่นั้นๆ รวมทั้งเทศบาลบางแห่งอาจแตกต่างไปจากเทศบาลอื่นๆ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง