ปวดท้องเหมือนจะถ่ายแต่ไม่ถ่าย

                     ��������ǹ�˭� �������Ѻ����ѡ�����ҧ������ͧ �������§��ú�����ҡ�� ��ͧ�ѹ����ء�����л�Фͧ�ҡ���������ش �ҧ���շ���ش ��� ����仾�ᾷ�����Ѵ ��������ҡ�üԴ���������Ҩ���硹������˹���Ҫ����� ����Ѻ��õ�Ǩ�ԹԨ��·ѹ�դ�Ѻ.

โรคลำไส้แปรปรวน  คือ ความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ในเรื่องการบีบตัว  โดยตรวจไม่พบพยาธิที่ลำไส้ใหญ่จากการส่องกล้องตรวจลำไส้หรือการตรวจเลือด 

โรคนี้มักจะมีประวัติเป็นมานานอาจเป็นปีและมีอาการเป็นๆ หายๆ เป็นโรคที่สร้างความรำคาญรบกวนกิจวัตรประจำวันให้แก่ผู้ป่วย  ผู้ป่วยมักจะวิตกกังวลว่าทำไมโรคไม่หาย  แม้ได้ยารักษา หรืออาจเข้าใจว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ทำให้มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย  

โรคลำไส้แปรปรวนมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย  ในอัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชายประมาณ 2:1

ผู้ที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวนมักจะมีอาการ  ดังนี้

  1. อาการปวดท้อง  อาจจะปวดตรงกลางหรือปวดบริเวณท้องน้อย  โดยทั่วไปจะปวดท้องน้อยด้านซ้ายมากกว่าด้านขวา  ลักษณะอาการปวดมักจะปวดแบบปวดเกร็ง
  2. อาการแน่นท้อง  ท้องอืด  มักจะไม่สัมพันธ์กับอาหาร
  3. หน้าท้องโตขึ้นเหมือนมีลมในท้อง  อาจมีอาการเรอ หรือผายลมมากขึ้น
  4. การถ่ายอุจจาระไม่ปกติ  บางรายมีอาการท้องผูก  บางรายท้องเสีย  หรือในบางรายอาจมีอาการท้องผูกสลับท้องเสียก็ได้  ผู้ป่วยบางรายมีความรู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด  บางรายปวดเบ่งแต่เมื่อถ่ายอุจจาระแล้วอาการดีขึ้น  มักจะอุจจาระเป็นมูก (Mucous)  อาการต่าง ๆ เหล่านี้มักเป็น ๆ หาย ๆ มีอาการมากน้อยสลับกันไป  โดยมีกาการนานเกิน 3 เดือนในระยะเวลา 1 ปี

สาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวน (IBS)

ในปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แน่นอน  แต่จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคนี้มี 3 อย่างที่สำคัญได้แก่

  1. การบีบตัวของลำไส้ใหญ่ผิดปกติ  เป็นผลมาจากการหลั่งสารหรือฮอร์โมนที่ผิดปกติบางอย่างในผนังลำไส้  ทำให้เกิดอาการปวดแน่นท้อง  ท้องผูก  หรือท้องเสียได้
  2. ระบบประสาทที่ผนังลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า  หรือตัวกระตุ้นมากผิดปกติ  ตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการ ได้แก่  อาหารเผ็ด, กาแฟ, แอลกอฮอล์ทุกชนิด, ช็อกโกแลต  เป็นต้น  รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์  ได้แก่  ความเครียด  ความวิตกกังกล  เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นก็ทำให้ผนังลำไส้บีบตัวผิดปกติ  ทำให้เกิดอาการปวดท้อง  ท้องผูก  หรือท้องเสียได้
  3. เป็นผลหลังมีการติดเชื้อในลำไส้  ปัจจัยนี้พบในผู้ป่วย IBS  ในเขตร้อน  เช่น ประเทศไทย  ซึ่งหลังจากทุเลาจากภาวะลำไส้อักเสบแล้ว  หนึ่งในสามของผู้ป่วยจะมีอาการของลำไส้แปรปรวนกำเริบ

การรักษา

ยังไม่มียาชนิดใดที่สามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้  เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้มักจะมีอาการหลายระบบรวมกัน  ยาที่ใช้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาการดีขึ้นเท่านั้น  แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาให้ยาที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยและแนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อให้อาการของโรคนี้ดีขึ้นได้

การปฏิบัติตัว  ที่ผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนควรปฏิบัติมีดังต่อไปนี้

  • ควรรับประทานอาหารช้าๆ และไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป (รับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ)
  • หลีกเลี่ยงอาหารไขมัน  โดยเฉพาะมื้อเย็นและมื้อค่ำ  เนื่องจากไขมันจะเป็นตัวกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้
  • ถ้าผู้ป่วยมีอาการท้องผูกร่วมด้วย  ควรเพิ่มการรับประทานอาหารที่มีใยอาหาร  (Fiber) ให้มากขึ้น  ดื่มน้ำให้เพียงพอ  และฝึกนิสัยการขับถ่ายให้เป็นเวลา
  • หลีกเลี่ยงการดื่มนมโยเกิร์ตในผู้ป่วยโรค IBS ชนิดท้องเสีย
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่จะกระตุ้นอาการของโรคให้เป็นมากขึ้น  ได้แก่  กาแฟ  อาหารรสจัด  แยม ช็อกโกแลต  ผลไม้รสเปรี้ยวบางชนิด  อาหารรสเผ็ด  เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด  และน้ำอัดลม  เป็นต้น
  • หากผู้ป่วยมีภาวะเครียดร่วมด้วย  ควรหาทางผ่อนคลายหาเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ  ควรออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ  อาจจำเป็นต้องพบจิตแพทย์ในบางรายที่มีปัญหาทางจิตใจค่อนข้างมาก

โรคลำไส้แปรปรวนจะกลายเป็นมะเร็งหรือไม่

โรคนี้ไม่พบว่า เพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งแม้จะเป็นอาการเป็น ๆ หาย ๆ มานาน  แต่พึงระมัดระวังในผู้ป่วยสูงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงของการขับถ่าย  มีอาการท้องผูกมากขึ้น  หรือมีอาการท้องเสียเกิดขึ้น  จำเป็นต้องได้รับการตรวจโดยละเอียด  เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดต่อไป

กังวลหรือไม่ หากเกิดอาการปวดท้อง มวนท้อง ไม่สบายท้อง ขับถ่ายผิดปกติ ถ่ายท้องบ่อย ท้องเสีย หรือ ท้องผูก และมักเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เวลาที่เราเร่งรีบ ติดธุระ และ มีภารกิจสำคัญในชีวิต

โรคลำไส้แปรปรวน เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยส่วนใหญ่มักจะพบในคนที่อายุไม่มาก คนที่ทำงานด้วยความเครียด ซึ่งเป็นโรคที่ไม่ทำอันตรายร้ายแรง แต่ทำให้คนที่เป็นจะมีความรู้สึกไม่ค่อยสบาย มีผลกระทบต่อการทำงาน และกระทบต่อชีวิตประจำวัน

โดยอาการส่วนใหญ่ที่จะมาพบคุณหมอ คือ มีอาการปวดท้อง โดยเฉพาะอาการปวดบริเวณด้านล่างของท้อง มีอาการมวนท้อง ไม่ค่อยสบายท้อง มีอาการร่วมกับการขับถ่ายอุจจาระที่ผิดปกติ บางคนก็อาจจะมีอาการท้องผูก บางคนจะถ่ายท้องบ่อย หรือ ถ่ายท้องเสีย บางคนจะมีอาการผสมร่วมกันไป ซึ่งอาการเหล่านี้ ล้วนกระทบต่อการใช้ชีวิต ต่อการทำงาน การเดินทาง และ ปฏิบัติภารกิจของเราแทบทั้งสิ้น


โรคลำไส้แปรปรวน วินิจฉัยฯ ต้องใช้เวลา

สาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวนนั้น มีหลายอย่าง ทั้งจากความเครียด ความเร่งรีบในการทำงาน เช่น ต้องสอบ ต้องจัดการธุระซึ่งใช้ความตั้งใจ ใช้การตัดสินใจมาก ทำให้มีอาการปวดท้องขึ้นมาได้ ซึ่งก่อนที่จะแก้ปัญหา คุณหมอต้องใช้ระยะเวลาสักช่วงหนึ่ง เพราะหากจะทำการวินิจฉัย ต้องใช้ระยะเวลาที่นานพอสมควร เพราะโรคนี้โดยส่วนใหญ่ไม่มีผลอันตรายอะไรร้ายแรง ผู้ป่วยต้องมีอาการเป็นระยะเวลากว่า 6 เดือนขึ้นไป คุณหมอจึงจะทำการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลำไส้แปรปรวนได้

เหตุผลสำคัญเพราะแม้ว่า โรคลำไส้แปรปรวนจะไม่มีอาการร้ายแรง แต่การวินิจฉัยต้องแยกแยะโรคให้ชัดเจนจากโรค เพราะว่า จะมีโรคที่มีอาการคล้ายคลึงกับอาการลำไส้แปรปรวน เช่น โรคลำไส้อักเสบ ลำไส้ติดเชื้อ มะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งจะพบในคนที่อายุเยอะขึ้น หรือ คนที่มีอายุเกินกว่า 50 ปี ซึ่งบางครั้งก็จะมีอาการนำมา หรือ ความเจ็บป่วยคล้ายคลึง โรคลำไส้แปรปรวนเช่นเดียวกัน ซึ่งหากเป็นโรคอะไรที่เกี่ยวข้องกับลำไส้ใหญ่อย่างแท้จริง อาการในระยะเวลา 6 เดือน จะเริ่มมีอาการให้เห็น จึงจะสามารถทำการวินิจฉัยได้

ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลสำคัญว่า ทำไมคุณหมอจึงจะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร ก่อนจะทำการวินิจฉัยได้ชัดเจน ดังนั้น เมื่อเลยระยะเวลา 6 เดือน และ ไม่พบกับอาการใดแล้ว ก็จะทำการวินิจฉัยว่า เป็น อาการของลำไส้แปรปรวน ซึ่งโรคในกลุ่มนี้ คุณหมอก็จะให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยว่า โรคในกลุ่มนี้ ไม่มีอะไรที่ต้องกังวลนัก รักษา และปฏิบัติเพื่อให้หายเจ็บป่วยจากอาการของ โรคลำไส้แปรปรวน ได้ไม่ยากเย็นนัก


สำไส้แปรปรวน รวนวิถีชีวิต

สำหรับความเกี่ยวเนื่องของโรคลำไส้แปรปรวน นอกเหนือจากภาวะความเครียด ยังเป็นเรื่องของความกังวลใจ ที่จะส่งผลทำให้มีอาการของโรคขึ้นมาได้ อีกสาเหตุที่จะทำให้มีอาการดังกล่าวขึ้นมาได้ เช่น การติดเชื้อในลำไส้มาก่อน ในกรณีที่ผู้ป่วยกินอาหารแล้ว มีอาการอาหารเป็นพิษ ท้องเสีย และมีอาการลำไส้แปรปรวนติดตามมา ซึ่งอาการในกลุ่มนี้ ก็จะมีอาการที่ไม่นานมาก เป็นเพียงในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นก็จะมีอาการที่ดีขึ้นเอง และผู้ป่วยก็จะค่อยฟื้นตัว

ในกรณีของอาการลำไส้แปรปรวน ถ้าผู้ป่วยไม่มาทำการรักษา ก็จะมีอาการไม่สบายตัว ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน กระทบต่อการทำงาน บางคนอาจจะมีอาการรุนแรง เช่น พอจะออกจากบ้าน ก็มักเริ่มต้นอาการลำไส้แปรปรวน พอขับรถออกไป ก็จะต้องวิ่งหาปั๊มน้ำมันเพื่อเข้าห้องน้ำ ไม่อย่างนั้นก็จะไม่สามารถไปปฏิบัติภารกิจในชีวิตได้ ซึ่งอาการของลำไส้แปรปรวนล้วนกระทบต่อวิถีชีวิต ในกรณีสำหรับผู้ที่มีปัญหามาก แต่ในกรณีที่ไม่ประสบปัญหามาก พอจะคุมอาการของตนเองได้ ก็จะไม่ได้มีอาการใดรุนแรงที่จะกระทบต่อวิถีชีวิต การปฏิบัติภารกิจในชีวิตประจำวัน


ก่อนวินิจฉัยลำไส้แปรปรวน ต้องชวนระวัง

สิ่งที่จะต้องระมัดระวัง ก่อนจะมีข้อวินิจฉัยอย่างชัดเจนในระยะเวลา 6 เดือน เช่น หากถ้ามีอาการขับถ่ายผิดปกติ มีเรื่องของอาการปวดท้องร่วมด้วย ต้องสังเกตว่า มีอายุเกินกว่า 50 ปี หรือว่ามีประวัติครอบครัวเกี่ยวกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ ก็จะต้องมาทำการตรวจก่อนว่า จะมีภาวะของเนื้องอกในลำไส้ หรือ มะเร็งลำไส้ใหญ่หรือไม่ เพราะว่าจะมีอาการที่คล้ายกัน

ถ้าในกรณีผู้ที่อายุน้อย ก็จะมาตรวจร่างกาย ตรวจอุจจาระดู หลังจากคุณหมอให้ยาไปทานแล้ว ยังไม่มีอาการทุเลา ก็จะทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยที่ชัดเจนเพิ่มมากขึ้น เช่น การส่องกล้อง เพื่อดูในลำไส้ใหญ่ว่ามีอะไรที่ผิดปกติหรือไม่ ถ้าตรวจดูแล้วพบว่า ไม่ได้มีอะไรที่ผิดปกติ ก็อาจจะใช้ยาเพื่อปรับการทำงานของลำไส้ ในการทำให้ลำไส้ทำงานได้สมดุลย์ขึ้น อาการปวด หรืออาการขับถ่ายที่ผิดปกติ ก็จะน้อยลง

อาจจะเรียกว่า มีอาการที่คล้ายกัน ซึ่งบางที คนที่มีอายุมาก หรือ ผู้ที่มีประวัติว่า ญาติพี่น้องเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แล้วบางทีมาด้วยอาการที่พฤติกรรมการขับถ่ายผิดปกติ หรือว่ามีอาการปวดท้อง บางทีอาจมีการละเลย หรือได้ข้อมูลมาว่า อาการคล้ายกัน ทำให้บางครั้งซื้อยามาทานเอง ขณะที่ยังคงมีโรคหรือสาเหตุแท้จริงอยู่ อาจทำให้การวินิจฉัยล่าช้าไป

ดังนั้น เราต้องคอยสังเกตตัวเองว่า มีอาการอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ รักษาแล้วอาการรุนแรงขึ้น แย่ลงหรือไม่ ซึ่งถ้ามาตรวจพบในระยะเริ่มต้น ก็จะทำให้เราวินิจฉัยได้ตรงจุด คุณหมอก็จะได้ให้การรักษาที่ทันท่วงที ซึ่งจะมีอาการที่คล้ายกัน


โรคลำไส้แปรปรวน พบมากและเพิ่มขึ้น

การหลีกเลี่ยงภาวะความเสี่ยง ซึ่งจะก่อให้เกิดโรคลำไส้แปรปรวน ประการสำคัญที่พึงระมัดระวัง คือ ในเรื่องพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งไม่ควรเร่งรีบจนเกินไป ในผู้ป่วยบางกรณี ต้องระมัดระวังในเรื่องการรับประทานอาหาร เพราะบางคนกินอาหารเข้าไปก็มีการกระตุ้นให้เกิดอาการขึ้นมา หรือแม้แต่การรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด ซึ่งทำให้มีอาการติดเชื้อขึ้นมา ก็ส่งผลให้เกิดอาการลำไส้แปรปรวน ติดตามมาได้

การปรับพฤติกรรมอาจจะทำได้ไม่ง่ายนัก เช่น ผู้ป่วยที่เป็นกรดไหลย้อน การปรับพฤติกรรมก็จะมีส่วนช่วย อาการลำไส้แปรปรวน สำหรับบางคนถ้ามีอาการ มีสิ่งเร้า มีสิ่งกระตุ้นก็จะมีอาการในช่วงระยะเวลาหนึ่ง สำหรับบางคนไม่ได้มีอาการรุนแรงมากก็จะหายไป สำหรับคนที่มีอาการรุนแรงมาก ก็จะต้องใช้ยาเพื่อช่วยในการรักษา เพื่อให้อาการบรรเทาลง และสามารถที่จะดำเนินกิจกรรมประจำวันได้

ซึ่งในกรณีของผู้ป่วยที่มีอาการปรับยาก อาจจะต้องมีการใช้ยาบางอย่างเข้าช่วยเหลือ เช่น ผู้ป่วยมีภาวะเครียด อาจต้องใช้ยาเพื่อช่วยลดความวิตกกังวล หรือ ลดความเครียดเข้าช่วย โดยคนไข้กลุ่มที่มีอาการต่อเนื่อง จะมีสัดส่วนที่ไม่เยอะสักเท่าไร เพราะส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวน จะมีลักษณะอาการเจ็บป่วยเป็นๆหายๆ ไม่ได้เป็นตลอดเวลา แต่ก่อให้เกิดปัญหาความรู้สึกรำคาญใจ และไม่สบายตัว

เพื่อการดูแลตัวเองให้ปลอดจากโรคลำไส้แปรปรวน และ ไม่ก่อให้เกิดโรคอื่นติดตามมาว่า ถ้ายังคงมีอาการต่อเนื่อง หรือยังเจ็บป่วยอยู่ ผู้ป่วยต้องมาติดตามดูว่า เป็นอาการอย่างอื่น หรือโรคอย่างอื่นเกิดขึ้นมาภายหลังหรือไม่

ทำไมเวลาปวดอุจจาระต้องปวดท้อง

อาการที่เมื่อปวดอุจจาระ แล้วจะมีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วย เกิดจากการที่ลำไส้ใหญ่มีการเคลื่อนไหวเพื่อบีบไล่อุจจาระ ซึ่งการเคลื่อนไหวบีบตัวที่มากขึ้น ในช่วงก่อนการอุจจาระ ก็จะส่งผลทำให้รู้สึกปวดท้องน้อยได้ ดังนั้น อาการปวดท้องน้อย เป็นอาการที่สามารถพบได้เป็นปกติค่ะ แต่หากมีอาการปวดที่มากผิดปกติ อาจเกิดจากการที่มีท้องผูก ...

อาการปวดเบ่งเกิดจากอะไร

อาการปวดเบ่งเหมือนกำลังจะถ่ายอุจจาระตลอดเวลานั้น อาจไม่ได้มีสาเหตุร้ายแรงเช่นเป็นการปวดเบ่องอุจจาระธรรมดา ซึ่งอาจสัมพันธ์กับการมีอุจจาระแข็ง ท้องผูก ขับถ่ายยาก สาเหตุอื่นๆเช่นลำไส้แปรปรวน ทำให้มีท้องผูกบ่อยๆ การติดเชื้อในไส้ตรงหรือทวารหนัก ริดสีดวงทวารหนัก หรือสาเหตุที่ร้ายแรงเช่นเรื่องของเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ เป็นต้น

อาการท้องปั่นป่วนเกิดจากอะไร

สาเหตุของลำไส้แปรปรวน พันธุกรรม ในครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นโรคลำไส้แปรปรวน จะมีแนวโน้มในการเกิดโรคนี้ได้มากกว่า ปัญหาทางจิตใจและอารมณ์ ในบุคคลที่มีความเครียด วิตกกังวล ปัญหาทางจิต ประสบเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ เช่น ถูกทารุณกรรมทางเพศ หรือถูกทำร้ายร่างกาย จะมีแนวโน้มของการเกิดโรคได้มากกว่า

ทำไมไม่ปวดท้องถ่าย

1. การเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง เพราะขาดตัวกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ จากการที่มีปริมาณอุจจาระน้อย เช่น เกิดจากการกินอาหารที่มีกากใยน้อย ดื่มน้ำน้อย หรือขาดการเคลื่อนไหวของร่างกาย ทำให้ลำไส้ไม่บีบเคลื่อนตัว 2. จากปัญหาทางอารมณ์ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล ส่งผลให้ลำไส้ลดการบีบตัวลง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง