ยกเลิกประกันสังคม มาตรา 33

วันที่ 24 เม.ย.2562 นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานคืนสิทธิผู้ประกันตนมาตรา 39 ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2561 จนถึงวันที่ 19 เมษายน 2562 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของคืนสิทธิ ผลปรากฎว่า ผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่สิ้นสภาพจากระบบประกันสังคมได้กลับเข้าสู่ระบบแล้วจำนวน 384,086 คน จากตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความต้องการของผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่ให้ความสำคัญกับระบบประกันสังคมที่ช่วยดูแลและสร้างหลักประกันคุณภาพชีวิตที่ดีให้ ซึ่งเมื่อกลับเข้าสู่การเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ยังคงให้ความคุ้มครอง 6 กรณีเช่นเดิม คือ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร และชราภาพ เพียงจ่ายเงินสมทบจำนวน 432 บาทต่อเดือน

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวย้ำว่า ขอให้ผู้ประกันตนที่กลับเข้าสู่ระบบแล้วคำนึงถึงสิทธิของตนเอง โดยให้ความสำคัญในการตรวจสอบการนำส่งเงินสมทบกับสำนักงานประกันสังคมอย่างสม่ำเสมอ และควรนำส่งเงินสมทบอย่างต่อเนื่อง หากขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน จะสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนทันที ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง/จังหวัด/สาขา/ ที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th

สำหรับมาตรา 39 ตาม พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ระบุว่า

“ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตาม มาตรา 38 (2) ถ้าผู้นั้น ประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการ กำหนดภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

จำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่ง ต้องส่งเข้ากองทุนตาม มาตรา 46 วรรคสอง ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจในขณะนั้นด้วย ให้ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละครั้ง ภายในวันที่ สิบห้าของเดือนถัดไป

ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งซึ่งไม่ส่งเงินสมทบหรือส่งไม่ครบจำนวนภายในเวลา ที่กำหนดตามวรรคสาม ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินสมทบที่ยังมิได้นำส่งหรือของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่นับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนำส่งเงินสมทบ สำหรับเศษ ของเดือนถ้าถึงสิบห้าวัน หรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งเดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง”

เมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมเท่ากับบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาก่อน เมื่อได้สิ้นสุดความเป็นลูกจ้างของบริษัทที่เราเป็นลูกจ้าง ก็ทำให้ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สิ้นสุดตามไปด้วย แต่ทั้งนี้ หากเรายังมีความประสงค์จะรักษาสถานภาพการเป็นผู้ประกันตนต่อก็สามารถทำได้ ด้วยการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเอง เพราะทางประกันสังคมต้องการเปิดโอกาสให้ทุกคนมีสิทธิประโยชน์ใกล้เคียงกับ ตามนโยบายพื้นฐานที่ว่าด้วยการเฉลี่ยความสุขและทุกข์

ผู้ประกันตนมาตรา 33 อย่าลืมรักษาสิทธิ แม้จะตัดสินใจลาออกจากงาน หรือถูกเลิกจ้าง เพราะใช่ว่าสิทธิประกันสังคมนั้น จะสิ้นสุดลงทันที ยังสามารถใช้สิทธิได้ ดังนี้

 

1.) ใช้สิทธิประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน

ผู้ประกันมาตรา 33 ที่ลาออกจากงาน หรือถูกเลิกจ้าง จะยังใช้สิทธิประกันสังครบทั้ง 7 กรณีเหมือนเดิม ได้แก่ การได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วย, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, คลอดบุตร, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ และว่างงาน ภายใน 6 เดือนหลังจากลาออกจากงานได้

ผู้ประกันตนม. 33 เกษียณ 55 ปี เช็กสิทธิประโยชน์รับเงินชราภาพ

รู้ไว้! ทำงานอย่างไร ไม่ให้ถูกนายจ้างเอาเปรียบ "แรงงาน" เปิดวิธีคำนวณเงินโอที แลกค่าล่วงเวลาเป็นวันห...

เมื่อโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น วิถีชีวิตเราจะเปลี่ยนไปอย่างไร

2.) รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน ตามกรณีต่าง ๆ ดังนี้

  • กรณีถูกเลิกจ้าง : รับเงินทดแทน 50 % ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน
  • กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา : รับเงินทดแทน 30 % ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน
  • กรณีไม่ได้ทำงานจากเหตุสุดวิสัย : รับเงินทดแทน 50 % ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน

ทั้งนี้ หากใน 1 ปี ปฏิทินมีการขอยื่นรับเงินทดแทน กรณีถูกเลิกจ้างและกรณีลาออก/สิ้นสุดสัญญา ให้นับระยะเวลารับเงินทดแทนไม่เกิน 180 วัน

อย่างไรก็ตาม จะต้องลงทะเบียนว่างงาน ผ่านระบบ //e-service.doe.go.th ของกรมการจัดหางานด้วย โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

ลงทะเบียนว่างงาน

  • สำหรับคนไทย
  1. ลงทะเบียนขอใช้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล / Digtal ID ของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร.
  2. ผู้ประกันตนสามารถเข้าสู่ระบบ (Login) โดยใช้ User / Password ที่ลงทะเบียน Digital ID ในการขึ้นทะเบียนว่างงาน
  3. กรอกข้อมูลรายละเอียดตามระบบ และแนบไฟล์บัญชีธนาคารที่จะให้โอนเงินเข้าบัญชีในระบบ โดยผู้ประกันตนไม่ต้องยื่นเอกสารใดๆ กับสำนักงานประกันสังคมอีก
  4. ภาพถ่ายสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึงมีชื่อและเลขที่บัญชีของตนเองที่จะยื่นในระบบ
  5. รายงานตัวตามกำหนด

  • สำหรับต่างชาติ/ต่างด้าว ไม่สามารถยื่นผ่านระบบออนไลน์ได้
  1. ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) ดาวน์โหลดเอกสาร >>> คลิกที่นี่ <<<
  2. หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส.6-09) (ถ้ามี) ดาวน์โหลดเอกสาร >>> คลิกที่นี่ <<<
  3. หนังสือ หรือคำสั่งของนายจ้างที่ให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
  4. กรณีว่างงานจากสาเหตุสุดวิสัยแนบหนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากสาเหตุสุดวิสัย
  5. สำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อ-สกุล
  6. สำเนาบัตรประกันสังคม และสำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้
  7. หากเอกสารสำคัญต่อการพิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทย และรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน
  8. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป
  9. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี
  10. รายงานตัวตามกำหนดนัด ณ สำนักงานจัดหางานพื้นที่ที่สะดวก

ทั้งนี้ ผู้ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากสาเหตุ ไล่ออก ปลดออก ให้ออกเนื่องจากกระทำความผิด ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีการติดต่อนายจ้างภายใน 7 วันทำงานติดต่อกัน จึงจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีว่างงาน

สภาพอากาศวันนี้!ไทยร้อนจัดสูงสุด 42 องศา เตือนพายุฤดูร้อนถล่ม 28 เม.ย.

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนฉบับ1 ไทยจ่อเจอพายุฤดูร้อนถล่ม 5 วัน

3.) เปลี่ยนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39

หลังจากใช้สิทธิประกันสังคมเดิมครบ 6 เดือน หลังจากออกจากงาน หรือ ถูกเลิกจ้าง/สิ้นสุดสัญญาแล้ว ยังสามารถรักษาสิทธิต่อไปได้ด้วยการสมัครเข้าเป็น “ผู้ประกันตนมาตรา 39” แต่จะได้รับความคุ้มครองเหมือนเดิมหรือไม่ และต้องสมัครอย่างไร มีข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

มาตรา 39 คุ้มครอง 6 กรณี

หากได้สมัครเข้ามาเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 แล้ว จะได้รับสิทธิประโยชน์การคุ้มครองใน 6 กรณี ได้แก่

  1. ได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วย
  2. ทุพพลภาพ
  3. ตาย
  4. คลอดบุตร
  5. สงเคราะห์บุตร
  6. ชราภาพ

มาตรา 39 สมัครอย่างไร

  • ต้องเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน
  • สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน
  • ยื่นใบสมัครด้วยตนเอง : ต้องใช้ แบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) พร้อมบัตรประชาชน/บัตรอื่นที่มีรูปถ่ายซึ่งราชการออกให้พร้อมสำเนา จากนั้นให้ยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ
  • ยื่นใบสมัครออนไลน์ : ดาวน์โหลด แบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) ออนไลน์ จากนั้นกรอกข้อมูลให้เรียบร้อย พร้อมแนบหลักฐานบัตรประชาชน/บัตรอื่นที่มีรูปถ่ายซึ่งราชการออกให้ แล้วสมัครออนไลน์ผ่านอีเมล/ไลน์ เก็บหลักฐานการส่งเพื่อตรวจสอบต่อไป ทั้งนี้แนะนำว่าให้ติดตามผลการสมัครมาตรา 39 จนกว่าจะสำเร็จด้วย
  • ส่งเงินสมทบเดือนละ 432 บาท ภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน

ส่งเงินสมทบได้ 6 วิธี

  • จ่ายที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาที่สะดวก
  • จ่ายเงินทางธนาณัติหรือจ่ายผ่านไปรษณีย์ทั่วประเทศ
  • ส่งผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารธนชาติ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทหารไทย
  • ส่งผ่าน CenPay
  • ส่งผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส
  • เปิดบัญชีออมทรัพย์และให้ทางธนาคารหักจากบัญชีธนาคารข้างต้น (มีค่าธรรมเนียมในการหักบัญชี)

ทั้งนี้ หากไม่ส่งเงินสมทบตามกำหนดอย่างสม่ำเสมอ จะสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้ ดังนั้นแนะนำว่า ไม่ควรขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน เพราะจะสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่ส่งเงินสมทบ และหากส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือนภายในระยะเวลา 12 เดือน จะสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนตั้งแต่เดือนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบเก้าเดือน

นอกจากการไม่ส่งเงินสมทบตามกำหนดแล้ว การเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ยังสามารถสิ้นสุดลงได้เนื่องจากสาเหตุอื่นด้วย คือ ผู้ประกันตนเสียชีวิต หรือกลับไปเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือลาออกจากมาตรา 39

ออกจากประกันสังคม มาตรา 33 ได้อะไรบ้าง

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า กรณี "ผู้ประกันตน" มาตรา 33 ลาออกจากงาน ยังคงได้รับความคุ้มครองจากกองทุนประกันสังคมต่อเนื่องไปอีก 6 เดือน โดยสามารถใช้สิทธิการคุ้มครอง 4 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วยหรือประสบอันตราย คลอดบุตร ทุพพลภาพ และเสียชีวิต

ยกเลิกม.33ยังไง

ยกเลิกประกันสังคมได้ไหม ? ได้ ต้องเตรียมเอกสาร และเดินทางไปยกเลิกประกันสังคมมาตรา 40 / 39 / 33 > ยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ / สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สมัครไว้ (ไม่มีระบบออนไลน์ ต้องดำเนินการด้วยตัวเองที่ประกันสังคมประจำจังหวัด)

ลาออกจากประกันสังคมที่ไหน

1.ต้องยื่นใบสมัครตามแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39. (แบบ สปส. 1-20) ด้วยตนเอง ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน 2.สถานที่ยื่นใบสมัคร ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ / จังหวัด / สาขา (ยกเว้นสำนักงานใหญ่บริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

ประกันสังคมม 33 หมดกี่เดือน

ออกจากงานแล้ว ยังใช้สิทธิประกันสังคมมาตรา 33 ได้อยู่ไหม แล้วกี่เดือน | คำถามประกันสังคมจากทางบ้าน ตอบ ยังใช้สิทธิได้ 6 เดือนครับ ออกจากงานแล้ว ยังใช้สิทธิประกันสังคมมาตรา 33 ได้อยู่ไหม แล้วกี่เดือน | คำถามประกันสังคมจากทางบ้าน ตอบ ยังใช้สิทธิได้ 6 เดือนครับ ผลประโยชน์ 1.สิทธิประกันสังคมกรณีเจ็บป่วย มาตรา33 2.สิทธิ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง