ตามวิธีเข้าก่อน - ออกก่อน ต้นทุนของงานระหว่างทำต้นงวดจะเป็นอย่างไร

โครงสร้างรายงานต้นทุนการผลิตวิธีเข้าก่อนออกก่อนเมื่อมีของเสียเกิดขึ้น

          ลักษณะการจัดทำรายงานต้นทุนการผลิตวิธีเข้าก่อนออกก่อนเมื่อมีของเสียเกิดขึ้นจะคล้ายคลึงกับการจัดทำรายงานต้นทุนการผลิตวิธีเข้าก่อนออกก่อนแบบไม่มีของเสียเกิดขึ้น แต่มีรายละเอียดในบางส่วนที่แตกต่างกัน อธิบายได้ดังนี้

          1. สรุปปริมาณการผลิต ในส่วนของปริมาณการผลิตเสร็จและโอนออก ประกอบด้วยงานระหว่างทำต้นงวด สินค้าดีที่เริ่มและผลิตเสร็จ ของเสียปกติ ของเสียเกินปกติ และงานระหว่างทำปลายงวด ซึ่งจะเป็นส่วนที่เชื่อมโยงกับการคำนวณหน่วยเทียบเท่าสำเร็จรูป ที่จะแยกรายการเป็นส่วนของวัตถุดิบทางตรง แรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต

 

          2. สรุปต้นทุนการผลิต งานระหว่างทำต้นงวดจะออกยอดต้นทุนรวม แต่ต้นทุนการผลิตระหว่างงวด จะแยกรายการเป็นส่วนของวัตถุดิบทางตรง แรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต รายงานส่วนไม่มีความแตกต่างกันไม่ว่าจะมีของเสียเกิดขึ้นในกระบวนการหรือไม่

          3. คำนวณต้นทุนต่อหน่วยเทียบเท่าสำเร็จรูป การคำนวณในขั้นนี้จะเหมือนกันทั้งในกรณีไม่มีของเสียเกิดขึ้นหรือไม่มีของเสียเกิดขึ้นก็ตาม คือ นำข้อมูลในข้อที่ 2 หารด้วยหน่วยเทียบเท่าสำเร็จรูปในข้อที่ 1

          4. โอนต้นทุน โดยนำต้นทุนต่อหน่วยที่ได้ในข้อที่ 3 คูณกับปริมาณผลิตโอนออก เปรียบเทียบรายการโอนต้นทุนในรายงานต้นทุนการผลิตวิธีเข้าก่อนออกก่อนกรณีไม่มีของเสีย และกรณีมีของเสียเกิดขึ้น ดังนี้

          ตัวอย่างที่ 3

          จากข้อมูลตัวอย่างที่ 2 นำมาจัดทำรายงานต้นทุนการผลิตวิธีเข้าก่อนออกก่อน ได้ดังนี้

          คำนวณต้นทุนต่อหน่วยที่สมบูรณ์และโอนออก

          = (ต้นทุนรวมของงานระหว่างทำต้นงวด  +  ต้นทุนสินค้าดี  +  ต้นทุนของเสียปกติ)  /  หน่วยสินค้าดีที่โอนออก

          = 103,217.17 บาท  /  420 หน่วย

          = 245.76 บาท

          ข้อมูลเพิ่มเติม

          ค่าใช้จ่ายการผลิตในแผนกขึ้นรูป ได้แก่ ค่าสาธารณูปโภค 4,000 ค่าเช่า 10,000 บาท ค่าเสื่อมราคา 6,000 บาท และวัสดุซ่อม 4,080 บาท

          จากข้อมูลข้างต้น นำมาบันทึกบัญชี ได้ดังนี้

  • หน้าแรก

  • BLOG myAccount Cloud

  • บัญชีโคตรง่าย

  • ต้นทุนช่วงการผลิต

การบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต

  1. เป็นวิธีการรวบรวมและสะสมต้นทุนการผลิตของกิจการที่มีการผลิตต่อเนื่องกันไป  มักใช้ในกิจการที่ผลิตสินค้าจำนวนมาก
  2. การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าในงวดบัญชี  จะใช้วิธีการถัวเฉลี่ยความสำเร็จของงานให้อยู่ในรูปของหน่วยเทียบสำเร็จรูป  (Equivalent Units)  เสียก่อน  เนื่องจากลักษณะของการผลิตมีความต่อเนื่องกันไปตลอด
  3. มีการจัดทำรายงานต้นทุนการผลิต  แยกตามแผนกผลิต  (โดยปกตินิยมรวบรวมต้นทุนตามงวดเวลา  1  เดือน)

ข้อแตกต่างระหว่างการบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ  และการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต


1.  คำนวณต้นทุนต่อหน่วยของงาน เมื่องานผลิตเสร็จ

1.   คำนวณต้นทุนต่อหน่วยของงาน  ตามงวดเวลา

2.  ผลิตสินค้าตามคำสั่งของลูกค้า

2.  ผลิตสินค้าเพื่อขายโดยทั่วไป

3.  ลักษณะของสินค้าแตกต่างกันตามความต้องการของลูกค้า

3.  ลักษณะของสินค้ามีมาตรฐานเป็นแบบเดียวกัน

4.  รวบรวมต้นทุนโดยใช้บัตรต้นทุนงาน ตามเลขที่งาน

4.  รวบรวมต้นทุนแต่ละแผนกโดยใช้รายงานต้นทุนการผลิต

5.  คิดต้นทุนทุกประเภทเข้างานแต่ละงานได้โดยตรง

5.  คิดต้นทุนสะสมตามแผนกการผลิต  เมื่อรวบรวมครบทุกแผนกผลิตแล้ว จึงโอนต้นทุนเข้าสู่สินค้าสำเร็จรูป

การคำนวณหน่วยเทียบสำเร็จรูป  (EU.)  จะคำนวณแยกตามปัจจัยการผลิตโดยคำนึงจุดที่มีการป้อนปัจจัยการผลิตแต่ละชนิดเข้าสู่กระบวนการผลิต  หากปัจจัยการผลิตมีการนำเข้าสู่กระบวนการผลิตพร้อมกัน สามารถที่จะนำมาคำนวณหน่วยเทียบสำเร็จรูปไปด้วยกันได้  เช่น  ค่าแรงงานทางตรง  (DL)  และค่าใช้จ่ายการผลิต  (OH)  ซึ่งมักเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอตลอดกระบวนการผลิตจึงนำมารวมคำนวณภายใต้  หัวข้อ  ต้นทุนเปลี่ยนสภาพ  
(CC : Conversion cost)

นอกจากนี้ยังขึ้นกับวิธีการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยว่ากิจการต้องการใช้

  1. วิธีเข้าก่อน  ออกก่อน  (First – in, First – out หรือ  FIFO)
  2. วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก  (Weighted – Average หรือ WA)

การจัดทำรายงานต้นทุนการผลิต  :  มีขั้นตอนในการรวบรวมและคำนวณเป็น 5 ขั้นตอน  คือ


ขั้นที่  1  :  แสดงการกระทบยอดหน่วยนับของหน่วยผลิต  ในรูปของหน่วยนับได้
หน่วยนับ  Input  =  หน่วยนับ  Output
ขั้นที่  2  :  คำนวณหน่วยนับ  Output  ในรูปของหน่วยเทียบสำเร็จรูป
ขั้นที่  3  :  รวบรวมต้นทุนทั้งหมดที่ป้อนเข้าสู่แผนกผลิต  (รวมถึงต้นทุนที่รับโอนมาจากแผนกก่อนหน้า)
ขั้นที่  4  :  คำนวณต้นทุนต่อหน่วยเทียบสำเร็จรูป  แยกตาม  ปัจจัยการผลิต
ขั้นที่  5  :  กระทบยอดและสรุปต้นทุนทั้งหมดที่โอนออกจากแผนกผลิต  รวมถึงต้นทุนของงานระหว่างทำคงเหลือปลายงวด


 ต้นทุนต่อหน่วย  EU  ตามวิธี  WA

 ต้นทุน  WIP ต้นงวด + ต้นทุนปัจจุบัน
     EU  ของหน่วยผลิตต้นงวด + ปัจจุบัน

 ต้นทุนต่อหน่วย  EU  ตามวิธี FIFO


=               ต้นทุนปัจจุบัน
EU  ของหน่วยผลิตที่ป้อนเข้าในงวดปัจจุบัน

การจัดทำรายงานต้นทุนการผลิตเมื่อเกิดหน่วยเสีย  (Spoilage Units) 

 หน่วยเสียที่ถูกตรวจพบ  ตามจุดตรวจสอบ  โดยปกติจะถูกดึงออกจากกระบวนการผลิตทันทีที่พบ
 หน่วยเสียปกติ  (NS : Normal Spoilage)  เป็นหน่วยเสียที่เกิดขึ้นภายใต้สภาวะการผลิตปกติ  โดยปกติจะตัดสินใจยอมรับต้นทุนของ NS ให้เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุน
การผลิตหน่วยดี 
 หน่วยเสียปกติ  (AS : Abnormal Spoilage)  เป็นหน่วยเสียที่สามารถหลีกเลี่ยงได้หากมีการผลิตที่มีประสิทธิภาพ  ต้นทุนของ  AS จะถูกรวบรวมและนำไปแสดง
ยอดขาดทุนจาก  AS ในงบกำไรขาดทุนประจำงวดนั้น ๆ

บทความโดย : //xn--12cfjb4gd5dd4a6b2cxaftl4pk4s.blogspot.com

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง