การปรับตัว ให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ในการ ทำงาน

สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน ทั้งการตกแต่งออฟฟิศให้สบายตา มีบรรยากาศที่ดี หรือสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานให้อบอุ่น ผ่อนคลาย

  • กระตุ้นให้พนักงานมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมากขึ้น ทั้งในระดับพนักงานด้วยกันเอง หรือพนักงานกับระดับผู้บริหาร

  • หมั่นสังเกตพฤติกรรมและใส่ใจสุขภาพของพนักงานเป็นระยะ ๆ ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต 

  • เชื่อว่าคนทำงานทุกคนอยากได้บรรยากาศในการทำงานหรือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี บรรยากาศที่ผ่อนคลาย เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ แล้วควรทำยังให้บรรยากาศภายในออฟฟิศหรือในบริษัทกลายเป็นสถานที่ที่พนักงานอยากทำงาน และอยากมาใช้เวลา 8 – 10 ชั่วโมงต่อวันในออฟฟิศแห่งนี้

    JobThai เลยอยากมาแนะนำ วิธีสร้างบรรยากาศในการทำงานในบริษัทให้มีชีวิตชีวาและน่าทำงานมากขึ้น

    1. ตกแต่งสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้สบายตา

    นอกจากความสะดวกสบาย เทคโนโลยี ที่สามารถช่วยในการทำงานหรือการใช้ชีวิต การตกแต่งโดยใช้สี เฟอร์นิเจอร์ หรือรูปทรงของตึกก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยให้บรรยากาศภายในออฟฟิศดูน่าทำงานมากขึ้น และเมื่อสภาพแวดล้อมในออฟฟิศดีก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้พนักงานได้ดีขึ้น แต่อย่าลืมคุม Mood and Tone ให้เข้ากับองค์กรด้วยล่ะ

    2. กระตุ้นให้ทีมบริหารเข้าถึงพนักงานมากขึ้น 

    หากทีมผู้บริหารสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับพนักงานทุกคน โดยเฉพาะพนักงานที่ไม่ได้ทำงานหรือร่วมงานใกล้ชิดกับผู้บริหาร การส่งเสริมให้หัวหน้าทำความรู้จักลูกน้องมากขึ้น จะทำให้พนักงานเห็นว่าผู้หลักผู้ใหญ่ภายในองค์กรไม่ถือตัว รู้สึกว่าตัวเองนั้นมีคุณค่าและทำให้พวกเขาอยากเข้าหาเพื่อขอคำปรึกษาในการทำงานหรือกล้าเสนอไอเดียใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรแน่นอน

    3. ส่งเสริมให้พนักงานรู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

    ทำให้ทุก ๆ การทำงานเป็นการร่วมงานแบบทีมเวิร์ค และสร้างวัฒนธรรมขององค์กรให้เกิดการยอมรับ ความเคารพ และการมองเห็นคุณค่าของทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ที่สำคัญผู้นำองค์กรก็ต้องยึดหลักการนี้และทำให้พนักงานทุกคนเห็นเป็นตัวอย่างด้วยเช่นกัน การช่วยเหลือให้คำปรึกษาจากพนักงานที่อาวุโสกว่าให้กับพนักงานใหม่หรือผู้น้อย ยิ่งถ้าองค์กรของเราขยายใหญ่ขึ้น ก็ยิ่งต้องสรรหาพนักงานที่มีทัศนคติที่ดีเช่นเดียวกับคนในองค์กรเพื่อเข้ามาเติมเต็มและพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าไปพร้อม ๆ กัน

    4. ประเมินพนักงานด้วยคุณภาพของผลงาน ไม่ใช่จำนวนชั่วโมงที่ทำงาน

    ถึงวินัยในการทำงานให้ครบตามชั่วโมงจะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับองค์กร แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือผลลัพธ์ของการทำงาน เราจึงไม่ควรวัดผลงานจากการทำงานครบชั่วโมงเท่านั้น เพราะหลายครั้งเป็นเพียงการเก็บชั่วโมงแบบขอไปที และการทำงานแบบไม่เก็บชั่วโมงแต่วัดที่คุณภาพผลงาน หลาย ๆ บริษัทที่เริ่มมีการทำงานแบบ Remote กันแล้ว เพราะการทำงานวิธีนี้จะทำให้องค์กรได้ทั้งความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหาและคุณภาพในการทำงานที่ดีกว่าเดิม แต่ก็ขึ้นอยู่กับบางตำแหน่งเช่นกัน

    5. ใส่ใจสุขภาพจิตและการจัดการความเครียดของพนักงาน

    เมื่อสร้างบรรยากาศแล้ว สร้างการทำงานที่วัดผลกันที่ผลงานแล้ว สิ่งต่อมาที่ควรทำคือหมั่นสังเกตพฤติกรรมของพนักงานทุกคนในองค์กร ว่าเขาได้รับความกดดันจากการทำงานมากไปหรือเปล่า เมื่อเห็นการทำงานเป็นไปด้วยดีและมีคุณภาพแล้ว ก็ลองหากิจกรรมให้พนักงานได้คลายความเคลียดบ้าง เช่นกิจกรรมนันทนาการ เกม กีฬา หรือหากเป็นเรื่องความเครียดที่มาจากปัญหาส่วนตัวที่นอกเหนือจากการทำงาน เราก็ต้องเฝ้าระวังและหาวิธีรับมือ

    tags : hr, งาน, ทำงาน, คนทำงาน, ทำงานอย่างมีความสุข, human resource, organization development, เคล็ดลับสำหรับคนทำงาน, เทคนิคสำหรับคนทำงาน, ความสุขในการทำงาน, เคล็ดลับความสำเร็จ, เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ, ทำงานให้มีความสุข, แนวคิดในการทำงาน

    ในช่วงเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา ผมเชื่อว่า เราน่าจะได้เห็นบริษัทใหญ่ ๆ ที่พยายามสร้างสถานที่ในการทำงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ดูดี ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสีสันใหม่ๆ การจัดห้อง การจัดสถานที่ทำงานแบบใหม่ ทันสมัย มีการสร้างห้องให้พนักงานไว้นอนได้เวลาทำงานมาเหนื่อยๆ มีการสร้างห้องเล่นเกม ห้องร้องเพลงคาราโอเกะ มีห้องเล่นสนุกเกอร์ และบอร์ดเกมส์ต่างๆ มีฟิตเนส มีสระว่ายน้ำ มีสปา ฯลฯ

    ผู้บริหาร รวมทั้งพนักงานของหลายองค์กรพอเราเห็นสิ่งเหล่านี้ ก็เลยทำให้อยากมี อยากได้บ้าง และคิดว่า ถ้าบริษัทของเรามีแบบนี้บ้าง ก็น่าจะทำให้พนักงานมีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้นกว่าเดิม และพนักงานน่าจะมีความผูกพันกับองค์กรมากขึ้นกว่าเดิมได้เช่นกัน

    ยิ่งไปกว่านั้น จากมุมมองของพนักงานที่ตอบคำถามผ่านการสำรวจความคิดเห็นภายในองค์กรเอง ก็ยิ่งทำให้ผู้บริหารคิดว่า พนักงานน่าจะอยากทำงานในองค์กรแบบนี้ก็เพราะว่า มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย และสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน ดังนั้น องค์กรหลายแห่ง ต่างก็พยายามที่จะสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา เพียงเพื่อที่จะตอบโจทย์เรื่องแรงจูงใจ และการสร้างความผูกพันของพนักงานกับองค์กร

    แต่เชื่อหรือไม่ครับว่า พอทำเสร็จแล้ว มีทุกอย่างตามที่ต้องการแล้ว แต่สุดท้ายพนักงานก็ยังไม่มีแรงจูงใจในการทำงานอยู่ดี และไม่ได้มีความรู้สึกผูกพันต่อองค์กรมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญแต่อย่างใด สาเหตุเป็นเพราะอะไร

    ท่านผู้อ่านคิดว่า การที่พนักงานอยากตื่นเช้าไปทำงาน อยากที่จะฝ่าฟันอุปสรรค และปัญหาต่างๆ ในการทำงานทุกวันนั้น เป็นเพราะองค์กรของเขามีสภาพแวดล้อมทางกายภายพที่เหมือนกับสวนสนุก สนุกสนาน ดูดี แบบนั้นเพียงอย่างเดียหรือ

    สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านั้น เป็นสิ่งที่ดี ถ้าใครมีกำลังทรัพย์มากพอ อยากจะสร้างให้พนักงาน ก็สามารถทำได้เลย แต่ทำแล้วมันอาจจะไม่ได้ตอบโจทย์เรื่องการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานในการทำงาน ไม่ได้ตอบโจทย์เรื่องการสร้างแรงบันดาลใจ และไม่ได้ตอบเรื่องของการสร้างความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กรเลยก็ได้ ถ้ายังขาดสิ่งต่อไปนี้

    • ตัวงานที่มีความสนุกท้าทาย ปัจจัยแรกก็คือตัวงานที่พนักงานทำนี่แหละครับ ถ้าเป็นงานที่พนักงานชอบ มีความท้าทาย มีแง่มุมใหม่ๆ ให้ได้เรียนรู้ทุกวัน มีปัญหาให้ได้ฝึกคิด และแก้ไขทุกวัน สิ่งเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้เรารู้สึกมีพลังในการทำงาน ตรงข้ามกับงานที่น่าเบื่อ ทำซ้ำ ๆ โดยไม่มีอะไรท้าทาย ไม่มีอะไรใหม่ๆ ให้คิด ให้ทำ แบบนี้ก็จะทำให้พนักงานไม่รู้สึกกระตือรือร้นในการทำงาน แรงจูงใจก็จะหายไปในที่สุด ดังนั้น การสร้างความท้าทายใหม่ๆ ในการทำงาน การกำหนดเป้าหมายของการทำงานที่ท้าทาย จึงเป็นตัวกระตุ้นให้พนักงานรู้สึกถึงแรงจูงใจในการทำงานภายในตัวเองได้ ปัจจุบันมีความพยายามที่จะทำให้พนักงานรู้สึกว่า งานที่พนักงานทำอยู่นั้นเป็นงานที่มีความหมายสำหรับเขา มีคุณค่า และตัวพนักงานเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ขององค์กรด้วย โดยการสื่อสารเชื่อมโยงงานของพนักงานกับความสำเร็จขององค์กร ทำให้พนักงานรับทราบว่า ผลงานของเขามีคุณค่าต่อความสำเร็จขององค์กรอย่างไร เมื่อพนักงานรับทราบตรงจุดนี้ ก็จะทำให้เขามีพลังในการทำงาน รู้สึกว่าตื่นเช้าขึ้นมาทำงานได้อย่างมีความหมาย และมีความสุขในการทำงาน
    • เพื่อนร่วมงานที่ดี ปัจจัยที่สองก็คือ การที่เรามีเพื่อนร่วมงานที่ดี เข้าใจกัน และช่วยเหลือกันได้ในทุกเรื่อง มีปัญหาทั้งในงาน นอกงาน ก็มีเพื่อนร่วมงานที่คอยเข้าใจ และช่วยเหลือ แบบนี้ก็จะทำให้เรามีแรงจูงใจที่จะอยากไปทำงานทุกวัน มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม ต้องการคนอื่นมาเข้าใจ และเห็นความสำคัญ ดังนั้นถ้าที่ทำงานของเรามีเพื่อนร่วมงานที่ดี ก็จะทำให้เราอยากตื่นนอนแต่เช้าทุกวัน เพื่อไปทำงาน ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าพนักงานรู้สึกว่า ทีมงานของเขาทำให้เขารู้สึกปลอดภัยทางด้านจิตใจ ไม่ต้องกังวล หรือไม่ต้องกลัวว่าใครจะมาหักหลังกันในการทำงาน สามารถพูดคุยกับนาย และกับเพื่อนร่วมงานได้ในทุกเรื่องจริงๆ นี่คือหัวใจของพลังในการทำงานของพนักงานร่วมกับทีมงานที่ดี มาทำงานด้วยความเชื่อใจซึ่งกันและกัน ไม่ต้องกลัวใครจะมาแทงข้างหลัง หรือเอาเรื่องราวของเราไปนินทาลับหลัง ไม่มีสภาพหน้าไหว้หลังหลอก ฯลฯ ก็จะทำให้พนักงานมีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้นยิ่งกว่าเดิมเช่นกัน
    • นายที่ดี ความรู้สึกดีที่หัวหน้ามีให้พนักงาน คือแรงผลักดันที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้พนักงานคนหนึ่ง มีพลังในการทำงานได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น องค์กรใด ที่มีหัวหน้า ผู้จัดการ และผู้บริหารที่ดี เข้าใจพนักงาน และเห็นความสำคัญของพนักงานทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในระดับไหน อีกทั้งยังทำให้เรารู้ว่า เราเองมีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร ถ้าที่ทำงานเราเป็นแบบนี้ พนักงานก็จะอยากมาทำงานทุกวันอย่างแน่นอน ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นหัวหน้าที่สร้างความปลอดภัยต่อจิตใจพนักงานได้ และมีความเป็นธรรมในการบริหารจัดการ ทำงานด้วยความสนุกสนาน แม้ว่าอาจจะมีความเครียดเกิดขึ้นบ้างในระหว่างการทำงาน แต่หัวหน้างานก็ยังสามารถที่จะบริหารจัดการความเครียดและความกดดันเหล่านั้นให้ผ่อนคลายได้ ก็จะยิ่งทำให้พนักงานรู้สึกมีพลังในการทำงานมากขึ้นอีกเช่นกัน

    ลองนึกภาพดูว่า ถ้าองค์กรนั้น มีสภาพแวดล้อมที่ดีมาก มีการจัดตกแต่งสถานที่ทำงานสวยงาม ดูดี มีห้องหับต่างๆ นานาให้กับพนักงานใช้ในการพักผ่อนหย่อนใจมากมาย แต่ในการทำงานไม่มีความรู้สึกว่างานที่ทำอยู่นั้นมีความหมายอย่างใด ไม่มีเพื่อนร่วมงานที่ดี ยิ่งไปกว่านั้น ยังไม่มีนายที่เป็นธรรม พนักงานจะอยากมาทำงานหรือไม่ พนักงานจะมีแรงจูงใจในการทำงานจากสภาพแวดล้อมภายนอกเพียงอย่างเดียวหรือไม่

    ผมเคยเห็นหลายองค์กรไม่มีอะไรหรือหวาเลย มีแค่เพียงสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกเท่าที่จัดหาให้ได้ตามความจำเป็น แต่กลับมี 3 สิ่งข้างต้นคือ งานที่ดี เพื่อนที่ดี และนายที่ดี กลายเป็นว่า องค์กรเหล่านี้สามารถที่จะสร้างแรงจูงใจให้พนักงานได้ดีกว่า

    ไม่ได้ปฏิเสธสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีนะครับ ถ้ามีงบประมาณเพียงพอที่จะทำ ทำไว้ก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องไม่ลืมสร้าง 3 ประเด็นข้างต้นประกอบไปด้วย แล้วองค์กรของเราก็จะเป็นองค์กรที่น่าทำงานด้วยจริง ๆ

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง