นโยบาย ด้านการบริหาร

1. ด้านการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา1.1 ด้านการผลิตบัณฑิต1) ส่งเสริมให้มีการผลิตบัณฑิตโดยใช้รูปแบบการสอน ด้วยกระบวนทัศน์ใหม่ในการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เน้นให้มีการฝึกปฏิบัติให้สอดคล้องกับภาคทฤษฎี ให้มีความรู้ ความสามารถเพียงพอต่อการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีศักยภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต2) ส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมการพัฒนานักศึกษาเพื่อให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีวินัย เข้มแข็ง อดทน สอดแทรกการพัฒนาให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ฝึกฝนให้เกิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีจิตอาสาและความรับผิดชอบต่อสังคม3) ส่งเสริมการผลิตครูที่มีอุดมการณ์ มีความรู้ทางวิชาการ และมีความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานวิชาชีพ เน้นการฝึกปฏิบัติจริงด้วยหลักสูตรที่ทันสมัย1.2 ด้านการบริหารวิชาการ1) เร่งรัดให้มีการพัฒนาและปรับปรุงทุกหลักสูตรให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์ และการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมโลก สามารถผลิตบัณฑิตได้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน ถูกต้องตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ2) ส่งเสริมให้นำเครื่องมือด้านประกันคุณภาพการศึกษามาเป็นแนวทางหลักในการบริหารจัดการงานวิชาการ3) สนับสนุนให้มีการพัฒนากระบวนการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยที่เป็นระบบ มีความหลากหลาย ให้ได้เข้าเรียนในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับความสามารถของผู้เรียน โดยเน้นความเสมอภาคเท่าเทียมกันทางการศึกษา4) เร่งรัดให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการ แหล่งสนับสนุนการเรียนการสอน และการค้นคว้าของนักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไป โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย มาใช้ในการดำเนินงาน2. ด้านการวิจัย2.1 ส่งเสริมการวิจัยเชิงรุกที่มีการกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจน สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น ทิศทางการวิจัยตามยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติและของมหาวิทยาลัย ให้สามารถนำผลการวิจัยไปเผยแพร่และใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง2.2 ส่งเสริมการวิจัยในลักษณะบูรณาการวิชาการต่าง ๆ โดยเน้นการวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร การบริการทางวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการบริหารจัดการ2.3 ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยรุ่นใหม่ให้มีความแข็งแกร่งในงานด้านการวิจัยโดยกำหนดให้มีระบบและกลไก ในการพัฒนาให้นักวิจัยสามารถเข้าสู่การเป็นนักวิจัยมืออาชีพที่มีคุณภาพสามารถเผยแพร่ผลงานวิจัย ได้ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ2.4 สนับสนุนนักวิจัยที่มีขีดความสามารถ ให้พัฒนางานวิจัยและงานสร้างสรรค์เพื่อให้สามารถให้บริการงานวิจัยแก่หน่วยงานภายนอกได้ต่อไป และการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา2.5 สนับสนุนการสร้างและพัฒนาความเข้มแข็งเครือข่ายและพันธมิตรความร่วมมือด้านการวิจัยกับภาครัฐและเอกชน ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ2.6 เร่งรัดให้มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการการวิจัย โดยจัดให้มีกระบวนการสนับสนุนการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ สามารถอำนวยความสะดวกให้แก่นักวิจัยได้เป็นอย่างดี3. ด้านการบริหารและการจัดการองค์กร3.1 ส่งเสริมให้มีการพัฒนาและปรับปรุงระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพลดความซ้ำซ้อน ปรับลดขั้นตอนให้มีความกระชับและเกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน การกระจายอำนาจการบริหารที่เป็นรูปธรรมและเหมาะสม3.2 มุ่งเน้นและให้ความสำคัญในการใช้หลักการบริหารจัดการที่ดีรวมทั้งใช้หลักธรรมาภิบาล ในการบริหารมหาวิทยาลัยให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้3.3 ผลักดันให้มีการกำหนดและปรับปรุงระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้มีความทันสมัย ครบถ้วนเป็นหมวดหมู่ เพียงพอ และเอื้อต่อการปฏิบัติงานในปัจจุบัน3.4 ให้มีระบบการติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ มีดัชนีชี้วัดความสำเร็จและเกณฑ์การประเมินความสำเร็จของการดำเนินงานในทุกระดับ โดยนำผลการวิจัยสถาบันมาเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาด้วย3.5 ส่งเสริมให้มีการระดมทรัพยากรและบุคลากรของมหาวิทยาลัยในการจัดหารายได้ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยและเพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเอง3.6 สนับสนุนให้มีการปรับปรุงหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับภารกิจที่มากขึ้นและขยายตัว และมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์3.7 ควบคุมการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการบริหาร4. ด้านการพัฒนาบุคลากร4.1 ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรสายวิชาการให้มีคุณวุฒิ ตำแหน่งทางวิชาการ ความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขา สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่กำหนด4.2 ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรสายปฏิบัติการให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในแต่ละตำแหน่ง4.3 ส่งเสริมให้มีการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน การพิจารณาความดีความชอบที่ยุติธรรม การให้รางวัลในการทำความดี สร้างโอกาสก้าวหน้าในตำแหน่งงานที่สูงขึ้น ตลอดจนการจัดสวัสดิการที่เพียงพอและเหมาะสม5. ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม5.1 ผลักดันให้มหาวิทยาลัยเป็นแกนหลักที่สำคัญในด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ร่วมสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับสังคมส่วนรวม เพื่อร่วมกันทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้มีความยั่งยืน5.2 สนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม โดยการทำงานร่วมกับชุมชน ท้องถิ่น ทั้งด้านการสืบค้น บันทึก อนุรักษ์ ริเริ่ม พัฒนา และการเผยแพร่สู่สาธารณชน6. ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรและการเงิน6.1 ส่งเสริมให้นำทรัพยากรของมหาวิทยาลัยมาจัดหารายได้หรือผลประโยชน์ด้วยวิธีการที่หลากหลายเหมาะสมกับศักยภาพที่มีอยู่ ภายใต้กรอบวัตถุประสงค์ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 25476.2 สนับสนุนให้มีการใช้ทรัพยากรของทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัยร่วมกันให้มีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด6.3 สนับสนุนให้จัดสรรงบประมาณทั้งเงินงบประมาณแผ่นดินและเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย ตามแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการประจำปี6.4 ส่งเสริมให้นำข้อมูลทางการเงินมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนา ปรับปรุง ในด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ให้เกิดความมั่นคงในการบริหารทรัพยากร และการเงินของมหาวิทยาลัย7. ด้านการบริการวิชาการและความร่วมมือกับท้องถิ่น7.1 ส่งเสริมให้มีการบริการวิชาการในรูปแบบที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ชุมชน และท้องถิ่น โดยเน้นการนำผลการวิจัยมาใช้เป็นองค์ความรู้แก่บุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย7.2 ส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสนับสนุนให้แสวงหาแนวทางในการจัดการ การบำรุงรักษา การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความสมดุลอย่างยั่งยืน7.3 ส่งเสริมให้มีกิจกรรมเพื่อสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น7.4 ส่งเสริมให้มีความร่วมมือในลักษณะของเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยทั้งในด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม7.5 ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกับท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐและเอกชนในการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม8 ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ8.1 ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้สนับสนุนการบริหารจัดการ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม8.2 ส่งเสริมให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้ครอบคลุมทั้งมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ให้เพียงพอต่อการใช้งาน8.3 พัฒนาระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ ให้มีการเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน สามารถนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ9 ด้านการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนและสากล9.1 เร่งรัดการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถในด้านภาษาและวัฒนธรรม ของกลุ่มประเทศอาเซียนและสากล9.2 ส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตรที่เป็นสากลและสอดคล้องกับความต้องการในการเรียนรู้ในประชาคมอาเซียน9.3 ส่งเสริมให้มีหน่วยงานดูแลด้านอาเซียนศึกษา เพื่อเป็นสถานที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้แก่นักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัยและบุคลากรทุกภาคส่วนในสังคม9.4 ส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของอาเซียนทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม9.5 ส่งเสริมให้มีการสร้างความสัมพันธ์ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับองค์กรต่างประเทศ

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด : 11 ก.ค. 2562

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง