โครงการพัฒนาด้านการเกษตร คือ

"การอาชีพเพาะปลูกนี้มีความสำคัญมาก เพราะการเพาะปลูกนี้เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตมนุษย์ ถ้าเราไม่มีการเพาะปลูก ก็จะไม่มีวัตถุดิบที่จะมาเป็นอาหาร หรือเป็นเครื่องนุ่งห่ม หรือเป็นสิ่งก่อสร้าง ฉะนั้น ต้องทำการกสิกรรม"

(พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันที่ 11 พฤษภาคม 2521)

1. การแก้ไขปัญหาเรื่องดิน

ดิน เป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เมื่อดินเสื่อมโทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์จะทำให้ไม่สามารถเพาะปลูกพืชได้เช่นเดิม ปัญหาของดินที่มักพบอยู่เป็นประจำ คือ ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ซึ่งแต่ละสภาพปัญหาของดิน มีวิธีการแก้ไขที่แตกต่างกันออกไป

พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาทดลอง เพื่อหาวิธีการแก้ไขในรูปแบบต่างๆ บนที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนาที่ราษฎรน้อมเกล้าฯ ถวาย จากสถานที่ที่มีความแตกต่างกัน อาทิ

พื้นที่ ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็น โครงการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นที่ดินที่มีความเสื่อมโทรมอย่างรุนแรงอันเกิดจากการใช้ดินอย่างผิดวิธี จนไม่สามารถทำประโยชน์ใดได้ การพัฒนาและฟื้นฟู ณ ผืนดินแห่งนี้ จากสภาพดินลูกรัง ตอไม้ที่ถูกตัดทิ้งไว้ กลายเป็นลำต้นที่งอกใหม่ ความอุดมสมบูรณ์ ชุ่มชื้นเกิดขึ้น งอกงามเป็นป่าเบญจพรรณดังเช่นที่เป็นมา ที่แห่งนี้จึงเป็นที่มาของพระราชดำริที่สามารถพิสูจน์ให้เห็นจากความเป็น จริงที่ปรากฏได้ ว่า "อย่ารังแกป่า" "อย่ารังแกธรรมชาติ" และ ทฤษฎี "การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก"

ความ เปรี้ยวของดินสามารถส่งผลเสียต่อการเพาะปลูกได้ ดังนั้น ที่ดินที่ตำบลบ้านพริก อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ที่มีสภาพเป็นดินเปรี้ยว ไม่สามารถเพาะปลูกข้าวได้ จึงเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานพระราชดำริใน การแก้ไขให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืช ผืนดินแห่งนี้จึงเป็น โครงการศึกษาทดลองการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวได้ศึกษาทดลองด้วยกัน 3 วิธี คือ การแก้ไขด้วยวิธีการทางธรรมชาติโดยใช้น้ำฝน การจัดทำแปลงทฤษฎีใหม่และทดลองใช้ปูนมาร์ลและน้ำจากภายนอกมาเจือจาง และวิธีสุดท้ายใช้เถ้าลอยลิกไนต์ที่เป็นส่วนประกอบในการก่อสร้างเขื่อนคลอง ท่าด่านมาศึกษาทดลองด้วย ซึ่งผลสำเร็จของการศึกษาทดลองจะเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เกษตรกรที่จะนำไปใช้แก้ ปัญหาดินในพื้นที่ของตนเอง

ส่วน ปัญหาเรื่องดินเค็มนั้น ได้ศึกษาทดลองที่ตำบลตาจั่น อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา โครงการศึกษาทดลองการแก้ไขปัญหาดินเค็มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยเน้นการเพาะปลูกพืชที่มีความเหมาะสมกับลักษณะของดิน เช่น มะพร้าว ปรับปรุงดินโดยการปลูกปอเทือง และถั่วต่างๆ หลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว และทำคันดินเพื่อยกร่องปลูกไม้ผล พืชผักต่างๆ ควบคู่ไปด้วย

2. ทฤษฎีใหม่

เมื่อปี พ.ศ. 2535 พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวคิด "ทฤษฎีใหม่" เพื่อเป็นแนวทางในการทำการเกษตร ที่เน้นในเรื่องการบริหารจัดการที่ดินและน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยทรงตระหนักถึงปัญหาที่เกษตรกรมีที่ดินในจำนวนจำกัด มีความเสี่ยงสูงต่อความเสียหายที่เกิดจากความแปรปรวนของดิน ฟ้า อากาศ และฝนทิ้งช่วง รวมทั้งไม่มีหลักเกณฑ์ในการปลูกพืช และส่วนใหญ่ปลูกพืชชนิดเดียว

"ทฤษฎีใหม่ ตาม แนวพระราชดำริ เป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาทางการเกษตรสำหรับเกษตรกรที่ยากจน มีที่ดินทำกินน้อย และหลักการที่สำคัญ คือ เป็นระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงที่เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้

การ ศึกษาทดลองจึงเริ่มขึ้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนา จังหวัดสระบุรี ซึ่งมีชื่อโครงการว่า โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสระบุรี หรือ ทฤษฎีใหม่วัดมงคล และที่แห่งนี้จัดเป็นระบบทฤษฎีใหม่ที่สมบูรณ์ เพราะมีระบบการจัดการน้ำ จากอ่างใหญ่ สู่อ่างเล็ก และส่งต่อไปยังสระเก็บน้ำของราษฎร คือ มีน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ไปเติมให้แก่ "อ่างเก็บน้ำห้วยหินขาว" ซึ่งอยู่ในพื้นที่ จากนั้นจึงส่งน้ำไปยังสระน้ำในแปลงของเกษตรกร ทำให้มีน้ำใช้เพื่อการเพาะปลูกในฤดูแล้งอย่างพอเพียง

ใน ขณะเดียวกันนั้น ได้มีการศึกษาทดลอง ทฤษฎีใหม่เขาวง หรือ โครงการพัฒนาพื้นที่เกษตรน้ำฝน บ้านแดนสามัคคี และขุดสระเก็บน้ำตามทฤษฏีใหม่ ที่ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยเน้นการจัดการพื้นที่และการขุดสระเก็บกักน้ำให้ราษฎรมีน้ำใช้อย่าง พอเพียง ราษฎรที่นี่ยากจนและมีความยากลำบากในการปลูกข้าวและได้ผลผลิตน้อย ซึ่งที่แห่งนี้เป็นที่มาของพระราชกระแส "ทางดิสโก้"เพราะทางเข้าสู่หมู่บ้านมีแต่หลุมบ่อเป็นอุปสรรคแก่การเดินทางสัญจรของชาวบ้าน

นอกจาก นี้ ที่ดินที่ราษฎรน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ด้วยมีวัตถุประสงค์ที่จะสนองพระราชดำริทฤษฎีใหม่หลายแห่ง ซึ่งที่ดินที่มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการไปแล้ว ได้แก่ ทฤษฎีใหม่ปักธงชัย หรือ ทฤษฎีใหม่บ้านฉัตรมงคล ณ ผืนดินที่ตำบลปักธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

ทฤษฎี ใหม่ปากท่อ ณ โครงการพัฒนาที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนา ตำบลวันดาว อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ซึ่งผลของการดำเนินงานในผืนดินแห่งนี้ ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางแก่เกษตรกรในท้องถิ่นและจากที่อื่น

และ ทฤษฎีใหม่หนองหม้อ ที่โครงการพัฒนาที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนา ตำบลหนองหม้อ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นอีกแห่งหนึ่งที่ดำเนินการตามพระราชกระแสพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรใน รูปของแปลงสาธิตทฤษฎีใหม่ โดยคำนึงถึงเกษตรกรเป็นสำคัญว่าพืชที่ปลูกเป็นตัวอย่างและวิธีการต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่นั้น เกษตรกรจะต้องนำไปปรับใช้ในพื้นที่การเกษตรของตัวเองได้จริง และที่สำคัญที่นี่จะไม่ใช้สารเคมีใดๆ เลย

3. การเกษตรแบบผสมผสาน

การ พัฒนาและจัดทำเป็นแปลงสาธิตทางการเกษตรในรูปแบบต่างๆ บนที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนา ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่และอาชีพของราษฎรที่อาศัยทำมาหากินอยู่ในบริเวณนั้น เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรและประชาชนที่สนใจ สามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้และนำไปใช้ในการประกอบอาชีพของตนได้ ดังเช่น

สวน สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี การดำเนินงาน ณ ที่แห่งนี้เป็นไปตามแนวพระราชดำริในรูปแบบที่เรียบง่าย เป็นทางเลือกสำหรับเกษตรกรนำไปปฏิบัติ หรือพัฒนาให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ในท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นในเรื่องเกษตรยั่งยืน

ที่ดิน ที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จัดทำเป็น ศูนย์บริการวิชาการเกษตร แหล่งถ่ายทอดความรู้ด้านวิชาการเกษตร โดยยึดถือแนวทางการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน และให้เกษตรกรที่เช่าที่นาอยู่เดิม สามารถทำกินต่อไปได้ในลักษณะแปลงทฤษฎีใหม่ เพื่อจะได้เป็นแบบอย่างแก่เกษตรกรอื่นๆ นำไปดำเนินการในที่ดินของตนเอง

โครงการ ศูนย์สาธิตพืชไร่พืชสวนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลท่าแร้ง อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี นอกจากจะเป็นศูนย์สาธิตพืชไร่พืชสวนให้แก่เกษตรกรแล้ว ยังมีที่ดินส่วนหนึ่งขุดเป็นสระเก็บน้ำขนาดใหญ่ เพื่อใช้เป็นที่รองรับน้ำที่ไหลล้นมาจากแม่น้ำเพชรบุรี เก็บไว้ใช้ทำนาปรัง ซึ่งทำให้เกษตรกรมีน้ำใช้ ไม่ขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชดำริให้พัฒนาที่ดินที่ตำบลสุขเดือนห้า กิ่งอำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท จัดตั้งเป็น ศูนย์สาธิตการเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อให้เกิดความหลากหลายในพื้นที่เป็นตัวอย่างให้แก่เกษตรกรนำไปปรับใช้ใน พื้นที่ของตนเอง

โครงการ พัฒนาพื้นที่ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยดำเนินการให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ อาทิ โครงการพัฒนาพื้นที่ของมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านบางขอม ที่ตำบลดงละคร อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ได้พัฒนาพื้นที่เป็นแปลงผลิตพันธุ์ข้าวและพืชหลังนา เพื่อบริการและให้ความรู้แก่เกษตรกร

ผืนดิน 13 ไร่ ที่บ้านปากน้ำประแสร์ ตำบลคลองปูน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง จัดทำเป็น โครงการพัฒนาสวนไม้ผลแบบก้าวหน้า พืชสวนเหล่านี้ ได้แก่ มังคุด ทุเรียน และเงาะ เป็นต้น โดยใช้ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรในบริเวณภาคตะวันออก ได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาหาความรู้และนำไปปรับใช้ในพื้นที่ของตน

โครงการ ส่งเสริมการลดละเลิกการใช้สารเคมีในการทำนา เป็นโครงการที่ดำเนินงานในที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนาในเขตพื้นที่ ๕ จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร และสระบุรี เพื่อทำเป็นตัวอย่างให้แก่เกษตรกรได้เห็นจากสภาพจริง

โครงการพัฒนาที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนาตำบลท่าไข่ อำเภอ เมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นการศึกษาทดลองวิจัยการเลี้ยงกุลาดำแบบระบบปิด ควบคู่ไปกับการทำการเกษตร เพื่อศึกษาหาพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพน้ำกร่อย ซึ่งเป็นรูปแบบของการเลี้ยงกุ้งและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและไม่ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ส่วน ที่ดินบ้านเกาะกา ตำบลท่าเรือ อำเภอปากพลี ในอนาคตอันใกล้นี้จะได้รับการพัฒนาให้เป็น แหล่งเพาะพันธุ์ปลาธรรมชาติ ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพพื้นที่และการดำเนินชีวิตของราษฎร

โครงการพัฒนาด้านการเกษตร มีอะไรบ้าง

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการเกษตร.
โครงการฝนหลวงพิเศษ ... .
โครงการนาสาธิต ... .
โครงการโคนมสวนจิตรลดา ... .
โครงการส่งเสริมอาชีพการเพาะเลี้ยงกบ ... .
โครงการป้องกันและกำจัดหนูนา ... .
โครงการพัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอน.

โครงการพัฒนาด้านการเกษตร มีกี่โครงการ

ประเภทของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อพัฒนาเกษตรเริ่มต้นจากโครงการใด

โครงการนี้เกิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในภาคเหนือ ทรงพบเห็นการตัดไม้ทำลายป่า และความยากแค้นของชาวเขาบนดอยต่าง ๆ จึงทรงมีพระราชดำริและทรงจัดตั้งโครงการเกษตรในที่สูงขึ้น เริ่มจาก "โครงการพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา” ใน พ.ศ. 2512 ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อที่ดินบนดอยปุย ...

ด้านการเกษตรมีอะไรบ้าง

ประเภทของเกษตรกรรม.
กสิกรรม หมายถึง การเพาะปลูกพืช เช่น การทำนา การทำสวนผลไม้ การทำไร่ การปลูกพืชไม่ใช้ดิน เป็นต้น.
ปศุสัตว์ หมายถึง การประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์บนบก เช่น การทำฟาร์มปศุสัตว์ การทำฟาร์มโคนม การทำฟาร์มหมู การทำฟาร์มสัตว์ปีก การทำฟาร์มแกะ เป็นต้น.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง