ข่าวมลพิษทางอากาศ ต่างประเทศ

แฟ้มภาพ เอเอฟพี

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า เมื่อวันที่ 29 กันยายน สำนักงานสิ่งแวดล้อมยุโรป (อีอีเอ)เปิดเผยว่า ปี 2017 เพียงปีเดียว มลพิษทางอากาศที่มาจากอุตสาหกรรมต่างๆในยุโรปได้ทำลายสุขภาพและสิ่งแวดล้อม คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 430,000 ล้านยูโร (16.9 ล้านล้านบาท)

ในรายงานของหน่วยงานดังกล่าวระบุว่า เมื่อปี 2017 มลพิษทางอากาศจากอุตสาหกรรมสร้างความเสียหายให้กับสังคมราว 277,000 – 433,000 ล้านยูโร (10.9 – 17 ล้านล้านบาท) มูลค่าดังกล่าวเทียบเท่ากับ 2-3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหภาพยุโรป (อียู) และเป็นมูลค่าที่สูงกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจทั้งหมดในแต่ละปีของหลายชาติสมาชิกยุโรป

ในขณะที่อุตสาหกรรมในยุโรปมีความก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญในเรื่องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ ส่วนต้นทุนทางสังคมหรือผลกระทบภายนอกที่เกิดจากมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรมนี้ยังคงสูงอยู่

มูลค่าดังกล่าวประเมินจากผลกระทบของมลภาวะทางอากาศซึ่งรวมถึงการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ตลอดจนความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ แหล่งที่อยู่อาศัย และพืชผล

จากสถานที่มากกว่า 11,000 แห่งที่มีการรายงานการปล่อยมลพิษ มีเพียง 211 แห่งที่รับผิดชอบค่าเสียหายครึ่งหนึ่งจากทั้งหมด สถานที่เหล่านี้ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเยอรมนี สหราชอาณาจักร โปแลนด์ สเปน และอิตาลี

โดยมลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ถ่านหิน เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากที่สุด รองลงมาคือการปล่อยมลพิษจากอุตสาหกรรมหนัก การผลิตเชื้อเพลิงและกระบวนการแปรรูป อ้างอิงจากข้อมูลของหน่วยงานของอียู

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก
Line @Matichon ได้ที่นี่

“เมืองที่มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร จากปัญหามลพิษทางอากาศมากที่สุดคือ กรุงธากา ของบังคลาเทศ พบผู้เสียชีวิตรวมแล้วประมาณ 24,000 ราย รองลงมาเป็นเมืองมุมไบประเทศอินเดีย กว่า 18,000 ราย ส่วนกรุงเทพมีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรแล้วกว่า 6000 ราย”

มีผลการศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science Advance พบว่า หลายประเทศในเขตร้อนชื้น เผชิญกับปัญหามลพิษทางอากาศ และนั่นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชากรเสียชีวิตก่อนวัยอันควร มลพิษทางอากาศที่เพิ่มขึ้นก็มาจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม การจราจร การเผาขยะ รวมถึงการเผาไหม้ถ่านหิน ซึ่งทำให้คุณภาพอากาศในหลายพื้นที่แย่ขึ้นเรื่อยๆ สำหรับเมืองที่มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร จากปัญหามลพิษทางอากาศมากที่สุดคือ กรุงธากา เมืองหลวงของบังคลาเทศ พบผู้เสียชีวิตรวมแล้วประมาณ 24,000 ราย รองลงมาเป็นเมืองมุมไบประเทศอินเดีย กว่า 18,000 ราย ตามมาด้วยเมืองบังกาลอร์ อินเดียอีกเช่นกัน 17,500 ราย ส่วนกรุงเทพมีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรแล้วกว่า 6000 ราย ซึ่งก็สอดคล้องกับผลสำรวจคุณภาพอากาศจากองค์การอนามัยโลกประเทศที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก คือ บังคลาเทศและชาด ในทวีปแอฟริกา นอกจากนี้องค์การอนามัยโลก กำหนดเกณฑ์คุณภาพอากาศใหม่ คือค่าเฉลี่ยของฝุ่น PM2.5 นั้น ไม่ควรเกิน 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ต่อปี ดังนั้นปี 2564 ที่ผ่านมาจึงไม่มีประเทศไหนเลยที่ผ่านเกณฑ์แนะนำคุณภาพอากาศองค์การอนามัยโลก องค์การอนามัยโลก ระบุว่า ฝุ่นพิษแม้จะมีปริมาณน้อย ก็สามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพได้ ดังนั้นเราต้องช่วยกันรับมือกับปัญหานี้ เช่น ปลูกป่าเพิ่มการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงลดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นละออง

  • เกาะติดข่าวที่นี่
  • Website : tnnthailand.com
  • Facebook : TNNONLINE
  • Facebook Live : TNN LIVE
  • Twitter : TNNONLINE
  • Line : @TNNONLINE
  • Youtube official : TNNONLINE
  • Instagram : TNN_ONLINE
  • Tiktok : @TNNONLINE

Advertisement

ผลการศึกษาล่าสุดชี้ ปัญหามลพิษในอินเดียคร่าชีวิตประชาชนก่อนวัยอันควรกว่า 2.3 ล้านคนในปี 2562 

วันที่ 18 พ.ค. 2565 สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า วารสารการแพทย์เดอะแลนซิต (The Lancet) ได้เปิดเผยผลการศึกษาล่าสุดซึ่งแสดงให้เห็นว่าชาวอินเดียต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควรไปมากกว่า 2.3 ล้านคนในปี 2562 เนื่องจากการได้รับมลพิษเข้าสู่ร่างกาย โดยตัวเลขดังกล่าวแบ่งเป็นผู้เสียชีวิตจากผลกระทบของมลพิษทางอากาศมากถึง 1.6 ล้านคน และอีกกว่า 500,000 เสียชีวิตจากการได้รับมลพิษทางน้ำ 

ผลการศึกษาในรายงานแลนซิตคอมมิชชัน (Lancet Commission) ฉบับล่าสุดยังบ่งอีกชี้ว่า ปัญหามลพิษได้คร่าชีวิตประชาชนไปราว 9 ล้านคนต่อปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากรายงานฉบับปี 2558 แม้จำนวนผู้เสียชีวิตอันเนื่องมาจากปัญหามลพิษที่เกี่ยวข้องกับความยากจนขั้นรุนแรง เช่น มลพิษทางอากาศในครัวเรือน หรือมลพิษทางน้ำ จะลดลง แต่ตัวเลขเหล่านี้ได้ถูกชดเชยด้วยการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นจากปัญหามลพิษทางอุตสาหกรรม มลพิษทางอากาศในพื้นที่โดยรอบ รวมถึงมลพิษที่เกิดจากสารเคมีเป็นพิษ

ทั้งนี้ แลนซิตระบุในรายงานว่า อินเดียต้องเป็นหนึ่งในประเทศที่ต้องเผชิญกับปัญหาความย่ำแย่ของสภาพอากาศรุนแรงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ส่งผลให้มีประชาชนที่ต้องเสียชีวิตอันเนื่องจากสาเหตุของมลพิษมากกว่า 1 ล้านคนในทุกๆ ปี 

นอกจากนี้ ผลการศึกษายังชี้อีกว่า การเสียชีวิตอันมีสาเหตุมาจากมลภาวะร้ายแรงที่เกิดขึ้นนั้นมากกว่า 90% อยู่ในประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง อย่างอินเดีย ซึ่งอยู่ในอันดับหนึ่งของรายงาน ตามมาด้วยจีน อยู่ในอันดับที่ 2 โดยมีผู้เสียชีวิตจากปัญหามลพิษ 2.1 ล้านคนในปี 2562 

รายงานระบุต่อว่า แม้ทางการอินเดียอินเดียจะตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว โดยรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีนาเรนทรา โมดี ได้จัดตั้งโครงการ Pradhan Mantri Ujjwala Yojana ขึ้นมาเมื่อปี 2559 เพื่อรณรงค์ให้แม่บ้านที่มีฐานะยากจนในชนบทเปลี่ยนมาใช้ก๊าซหุงต้มแทนการใช้ฟืน แต่นโยบายเหล่านี้ยังคงไม่สามารถสำเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรม

“อินเดียได้มีการพัฒนาทั้งเครื่องมือและการกำกับดูแลเพื่อลดแหล่งที่มาของมลพิษ แต่ยังคงขาดแคลนการดำเนินการแบบรวมศูนย์เพื่อขับเคลื่อนความพยายามในการควบคุมมลพิษและนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์สำคัญ” แลนซิตระบุในรายงาน พร้อมเสริมว่า พื้นที่ 93% ทั่วอินเดียยังคงมีปริมาณมลพิษสูงกว่าค่ากำหนดขององค์การอนามัยโลก (WHO) 

ด้านบีบีซีได้กล่าวเสริมในบทความนี้ว่า เมืองต่างๆ ในอินเดียต่างก็ต้องเผชิญกับปัญหามลพิษอยู่เป็นประจำ โดยเมื่อปีที่แล้ว นักวิจัยชาวสหรัฐฯ ได้ออกมาเปิดเผยงานวิจัยฉบับหนึ่งซึ่งพบว่า มีชาวอินเดียมากกว่า 480 ล้านคนที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ เผชิญกับมลพิษทางอากาศในระดับที่รุนแรงที่สุดในโลก 

ขณะเดียวกัน สถาบันนโยบายพลังงานแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกได้ออกมาเปิดเผยการศึกษาอีกฉบับเมื่อเดือน ก.ย. ปีที่แล้ว ระบุว่า ชาวกรุงนิวเดลีอาจมีชีวิตยืนยาวมากขึ้นไปอีกถึง 10 ปี หากรัฐบาลอินเดียสามารถจัดการกับปัญหามลพิษให้อยู่ในขอบเขตตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลกที่ 10 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งในปี 2562 อินเดียมีค่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองเฉลี่ยอยู่ที่ 70.3 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร นับว่าเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในโลก

podcast

กำลังโหลดบทความถัดไป...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง