ตัวอย่างการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทย

การสร้างภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยานั้นมีอยู่มากมายหลายชนิดที่ทำให้คนไทย สมัยอยุธยาสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ท่ามกลางสภาพแวดล้อม ที่มีความหลากหลาย ซึ่งภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยาเน้นให้เห็นถึงความสามารถ และสติปัญญาในการแก้ไขปัญหาสำหรับการดำรงชีวิต ของคนไทยสมัยนั้น ภูมิปัญญาไทย เหล่านั้นมีทั้งสิ่งที่เป็นนามธรรม และสิ่งที่เป็นรูปธรรม และมีมากมายหลายประเภท เช่น ด้านการเมือง การปกครอง ด้านภาษาและวรรณกรรม และด้านศิลปกรรม เป็นต้น ในพัฒนาการทางด้านต่างๆ ก็มีภูมิปัญญาแฝงอยู่ด้วย เช่น

 1. ภูมิปัญญาที่เป็นนามธรรม ซึ่งเป็นคติความเชื่อของข้อห้าม ข้อปฏิบัติในวิถีชีวิตของผู้คน เช่น 

- ความเชื่อทางไสยศาสตร์ ซึ่งปรากฏในวรรณกรรม เรื่องลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย

- ความเชื่ออันเนื่องมาจากศาสนา เช่น เรื่องบุญ-กรรม การประพฤติในศีลในธรรม การทำบุญกุศลเพื่อการเกิดใหม่ที่ดีในภพหน้า เป็นต้น 

  2. ภูมิปัญญาในด้านการเมืองการปกครองในสมัยอยุธยา คือ  

 ก) การสร้างสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นศูนย์รวมของคนไทย ให้มีความเข้มแข็ง และมีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพของราษฎร  เมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงนำลัทธิเทวราชา 

เอาจากเขมรมาดัดแปลงกับสังคมไทย  ทำให้สถานะ ของพระมหากษัตริย์เปรียบเสมือน เป็นสมมติเทพ ขณะเดียวกันพระมหากษัตริย์ก็ยังทรง เป็นธรรมราชา ตามแบบอย่างสุโขทัย  

 ข) การควบคุมกำลังคนสำหรับป้องกันราชอาณาจักร และสำหรับราชการแผ่นดิน การที่อาณาจักรมีอาณาเขตกว้างขวางมาก และมีผู้คนจำนวนมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีศึกสงครามกับอาณาจักร ใกล้เคียงกำลังไพร่พลจึงมีความสำคัญต่ออาณาจักรอยุธยา การจัดระบบไพร่ในสมัยอยุธยาจึงเป็นภูมิปัญญาไทย ที่สำคัญคือชายฉกรรจ์ทุกคนที่เรียกว่า "ไพร่" ต้องสังกัดมูลนาย มิฉะนั้นไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เมื่อลงทะเบียนสักเลกสังกัดมูลนายแล้ว ต้องมีการกำหนดระยะเวลา ในการใช้แรงงานของชายฉกรรจ์เหล่านี้ทั้งในยามสงบ และในยามสงครามที่เรียกว่า "การเข้าเวร" โดยมีกำหนดเวลาปีละ 6 เดือน คือใช้แรงงานให้กับหลวง 1 เดือน  และออกเวรมาอยู่กับครอบครัว 1 เดือนสลับกันไป การจัดระบบไพร่ทำให้ทางราชการ ทราบจำนวนของไพร่พลผ่านทางมูลนาย  และสามารถเกณฑ์ผู้คนที่เป็นไพร่พลเหล่านี้ได้ 

3. ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรม ส่วนใหญ่เนื่องมาจากพระพุทธศาสนาของผู้คนในอาณาจักร ซึ่งแบ่งเป็นด้านต่างๆ คือ 

 ก) ประติมากรรม เกี่ยวกับการสร้างพระพุทธรูป แบ่งเป็น 3 ระยะ คือระยะที่ 1 นิยมสร้าง พระพุทธรูปศิลปะอู่ทองที่ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย ปางมารวิชัยและสมาธิ ประดิษฐานไว้กลางแจ้งเช่นที่วัดมงคลบพิตร วัดพนัญเชิง และวัดธรรมิกราช ลักษณะของพระพุทธรูปแบบอู่ทอง คือ มีไรพระศกและชายจีวรปลายตัดเป็นเส้นตรง ระยะที่ 2 นิยมสร้างพระพุทธรูปประทับยืน ทรงเครื่อง เช่นที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ และระยะที่ 3

ข) สถาปัตยกรรม ระยะแรกนับตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จนถึงแผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถ นิยมสร้างแบบศิลปะลพบุรีหรืออู่ทองเป็นพระปรางค์ เช่น พระปรางค์ที่วัดพุทไธศวรรย์ วัดพระราม วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดราชบูรณะ ระยะที่ 2 เมื่อสมเด็จพระบรมไตร-โลกนาถ เสด็จขึ้นไปเมืองพิษณุโลกจึงได้รับแบบอย่างสถาปัตยกรรม ศิลปะสุโขทัยเข้ามาด้วย โดยมักสร้างพระสถูปอันเป็นหลักของพระอาราม เป็นเจดีย์แบบทรงลังกา มากกว่าการสร้างพระปรางค์ เช่น เจดีย์ใหญ่ 3 องค์ ในวัดพระศรีสรรเพชญ พระเจดีย์ใหญ่วัดชัยมงคล ระยะที่ 3 ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ทรงนิยมถ่ายแบบอย่างพระปรางค์ และสถาปัตยกรรมของขอมมาสร้างในอยุธยา เช่น ที่วัดไชยวัฒนาราม และนิยมสร้างพระเจดีย์เหลี่ยมหรือเจดีย์ย่อมุม ไม้สิบสองขึ้นด้วย องค์ที่งดงามมากคือที่วัดชุมพลนิกายาราม และในสมัยพระนารายณ์มหาราช มีชาวฝรั่งเศสเข้ามารับราชการในกรุงศรีอยุธยา จึงมีการสร้างตำหนักและอาคาร 2 ชั้นที่ก่อด้วยอิฐ ซึ่งมีความมั่นคงและถาวรมากขึ้น ต่างจากเดิมที่ใช้อิฐ หรือศิลาเฉพาะการสร้างศาสนสถานเท่านั้น ระยะที่ 4 ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจนถึงเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2310 การสร้างเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองยังเป็นที่นิยมกัน เช่น เจดีย์วัดภูเขาทอง โบสถ์วิหารสมัยอยุธยาตอนปลาย มักทำฐานและหลังคาเป็นเส้นอ่อนโค้ง มักใช้เสากลมก่ออิฐสอปูน ตรงหัวเสาจะมีบัวทำเป็นบัวตูม เป็นต้น

ค) จิตรกรรม จิตรกรรมในสมัยอยุธยา ส่วนใหญ่จะเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา ในระยะแรกได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะแบบลพบุรี สุโขทัยและลังกา โดยมีบางภาพที่มีลักษณะแข็งและหนัก ใช้สีดำ ขาว เหลือง และแดง มีการปิดทองบนภาพบ้างเล็กน้อยเช่นภาพเขียนบนผนังในกรุพระปรางค์วัด ราชบูรณะ ระยะต่อมามักเป็นภาพวาดเกี่ยวกับเรื่องไตรภูมิมีภาพพุทธประวัติประกอบนิยม ใช้สีเบญจรงค์บนพื้นขาวหรือสีอ่อน ในสมัยสมเด็จพระเชษฐาธิราช จนสิ้นสุดสมัยอยุธยาจิตรกรรมอยุธยา แสดงให้เห็นถึงลักษณะของจิตรกรรมไทยบริสุทธิ์อย่างสมบูรณ์ สีที่วาดนิยมใช้หลายสี นิยมปิดทองลงบนรูป และลวดลาย แต่การเขียนภาพต้นไม้ ภูเขา และน้ำ แสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปะจีนอยู่บ้าง                                               

              การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยสมัยธนบุรี                    


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยธนบุรี
กรุงธนบุรีมีอายุเพียง  15  ปีแต่ก็ได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่มีคุณค่าอันสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน  โดยเกิดจากปัจจัยสำคัญ  คือ
1.การรับอิทธิพลด้านภูมิปัญญาและวัฒนธรรมสืบทอดมาจากอยุธยา  เช่น  ด้านศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ
2.การรับอิทธิพลจากอารยธรรมตะวันตก  มีผลต่อภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยธนบุรีน้อยมาก  ถึงแม้จะมีการเผยแผ่คริสต์ศาสนา  แต่สิ่งที่สำคัญมากคือ  ความต้องการอาวุธปืนที่ใช้ในการป้องกันประเทศ  ดังปรากฏหลักฐานที่บริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา  ได้ถวายปืน  50  กระบอก    เพื่อแลกกับไม้ฝางของไทย

       ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในการพิจารณาทำเลที่ตั้งของราชธานี

อยู่ริมแม่น้ำและอยู่ใกล้ทะเล  การที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเลือกชัยภูมิให้เมืองธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ของไทยเพื่อป้องกันมิให้พม่าโจมตีได้  เพราะแถบนี้น้ำลึก  ถ้าข้าศึกยกทัพมาทางบกไม่มีทัพเรือเป็นกำลังด้วยแล้วยากที่จะเข้ามาตีกรุงธนบุรีได้  ประกอบกับธนบุรีมีป้อมปราการมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  เป็นเมืองขนาดย่อม  ทัพบกและทัพเรือของธนบุรี ย่อมสามารถรักษาราชธานีไว้ได้  แต่ถ้ารักษาไม่ได้  ก็สามารถยกทัพกลับไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองจันทบุรีดังเดิม  นอกจากนี้การที่กรุงธนบุรีตั้งปิดปากน้ำย่อมป้องกันมิให้หัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวงที่ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจของธนบุรีสามารถไปมาค้าขายหรือแสวงหาอาวุธจากต่างประเทศได้ยากขึ้น  ขณะที่ทางธนบุรี
       
         ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในการปรับตัวเพื่อแก้ปัญหาการดำรงชีวิต

สมัยธนบุรีได้ประสบกับภาวะสงครามและการขาดแคลนข้าว    ทำให้เป็นปัญหาของสังคมไทยในขณะนั้น  จึงมีภูมิปัญญาเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการดำรงชีวิต  เช่น

1. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงแก้ปัญหาด้วยการโปรดให้ผู้คนที่อดอยากเข้ามารับพระราชทานข้าวปลาอาหาร  ขณะนั้นข้าวสารที่พ่อค้าสำเภาจีนนำมาขายมีราคาแพงมากแต่พระองค์ก็ซื้อข้าวสารแจกจ่ายราษฎรข้าวมาขายเพื่อหวังผลกำไรเป็นจำนวนมาก  เมื่อข้าวสารในท้องตลาดมีมากจึงส่งผลให้มีข้าวสารมีราคาถูกลง

2. พระองค์ทรงให้บรรดาข้าราชการทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อยหันไปทำนาเพิ่มปีละ  2  ครั้ง  ทั้งนาปีและนาปรัง  ทำให้มีข้าวบริโภคมากขึ้น  ครั้นเมื่อเกิดหนูชุกชุมกัดกินข้าวในยุ้งฉางและทรัพย์สินของราษฎรเสียหายก็ทรงรับสั่งให้จับหนูมาส่งกรมนครบาล  ทำให้จำนวนหนูลดลง ภูมิปัญญานี้ส่งผลถึงปัจจุบันทำให้ประเทศไทยติดอันดับในการส่งออกข้าวไปขายยังต่างประเทศ

3.ให้ขุดคูเมืองทั้งสองฟากซึ่งเดิมเป็นสวนปลูกผักผลไม้ให้ขุดออกเป็นที่ท้องนา  เรียกว่าทะเลตม  เพื่อไว้ทำนาใกล้พระนคร  สำหรับเป็นเสบียงในยามขาดแคลนข้าว   แต่เมื่อข้าศึกยกมาก็สามารถทำเป็นที่ตั้งค่ายไว้ต่อสู่กับข้าศึกได้สะดวกต่อการค้าขายทางทะเลกับต่างประเทศ และสามารถแสวงหาอาวุธได้ง่ายเพราะอยู่ติดทะเล

                          ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยด้านศิลปกรรม

เนื่องจากสมัยธนบุรีเป็นราชธานีในระยะเวลาสั้น ๆ  และต้องตกอยู่ในภาวะสงครามตลอดเวลาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมด้านศิลปกรรมจึงมีอยู่บ้าง  เช่น เรือ  การต่อเรือเจริญมากเพราะมีการต่อเรือรบ เรือสำเภา ตลอดจนเรือกระบวนไว้ใช้ในราชการเป็นจำนวนมาก สถาปัตยกรรม  กรุงธนบุรีเป็นยุคของการสร้างบ้านแปลงเมือง  จึงมีการก่อสร้างเป็นจำนวนมาก  อาทิ  พระราชวัง ป้อมปราการ กำแพงพระนคร พระอารามต่าง ๆ  ลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยนี้ล้วนสืบทอดมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  ฐานอาคารจะมีลักษณะอ่อนโค้งดุจรูปเรือสำเภา  ทรงอาคารจะสอบชะลูดขึ้นทางเบื้องบน  ส่วนประกอบอื่น ๆ ของอาคารก็ไม่แตกต่างจากอยุธยามากนัก  เป็นที่น่าเสียดายว่าสถาปัตยกรรมสมัยธนบุรีมักได้รับการบรูณะซ่อมแซมในสมัยหลังหลายครั้งด้วยกัน  ลักษณะในปัจจุบัน จึงเป็นแบบสถาปัตยกรรมในรัชกาลที่บูรณะครั้งหลังสุด  เท่าที่ยังปรากฏเค้าเดิมในปัจจุบัน ได้แก่ ป้อมวิชัยประสิทธิ์ กำแพงพระราชวังเดิม พระตำหนักท้องพระโรง และพระตำหนักเก๋งคู่ในพระราชวังเดิมที่ได้รับอิทธิพลการก่อสร้างมาจากจีน  พระอารามทั้งในพระนครและหัวเมืองที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ ในรัชกาลนี้ล้วนแต่ได้รับการบรูณะใหม่ในรัชกาลต่อมาเช่นกัน  ที่ยังแสดงลักษณะศิลปกรรมสมัยกรุงธนบุรี  ได้แก่  พระอุโบสถและพระวิหารน้อย วัดอรุณราชวราราม  พระอุโบสถและพระวิหารเดิมวัดราชคฤห์ พระอุโบสถเดิมวัดอินทาราม  ตำหนักแดง วัดระฆังโฆสิตาราม  และพระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม ประณีตศิลป  กรุงธนบุรีมีนายช่างผู้เชี่ยวชาญด้านนี้อย่างพร้อมมูล ทั้งช่างรัก ช่างประดับ ช่างแกะสลัก ช่างปั้นและช่างเขียน  งานประณีตศิลป์ชิ้นสำคัญสมัยนี้ ได้แก่ ตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำ 4 ตู้ ในหอวชิรญาณ  ซึ่งได้มาจากวัดราชบูรณะ วัดจันทาราม และวัดระฆังโฆสิตาราม  ช่างหล่อคนสำคัญปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า  โปรดให้หลวงวิจิตรนฤมล  ปั้นพระพุทธรูปให้ต้องตามพุทธลักษณะที่โปรดให้สอบสวน  แล้วหล่อพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ยืนองค์หนึ่งปางสมาธิองค์หนึ่ง  งานแกะสลัก  ได้แก่พระแท่นบรรทมในพระอุโบสถน้อย วัดอรุณราชวราราม  ในพระวิหารวัดอินทาราม  และตั่งจากอำเภอแกลง จังหวัดระยอง  ซึ่งเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ จิตรกรรม  ภาพจิตรกรรมสมัยธนบุรีอาจดูได้จาก ตำราภาพไตรภูมิ (ฉบับหลวง)  มีการวาดภาพเกี่ยวกับไตรภูมิหรือโลกทั้งสาม  เพื่อปลูกฝังให้คนไทยเกิดความเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษ  ประพฤติกรรมดี ละเว้นความชั่ว  ซึ่งเก็บรักษาอยู่ ณ หอสมุดแห่งชาติ  และลวดลายรดน้ำที่ปรากฏบนตู้พระไตรปิฎกและภาพจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์19

                                                     วรรณกรรม
 วรรณกรรมสำคัญที่เกิดในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี เช่น
1. บทละครเรื่องรามเกียรติ์  พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี
2. ลิลิตเพชรมงกุฎ  ประพันธ์โดยหลวงสรวิชิต (หน)
3. อิเหนาคำฉันท์  ประพันธ์โดยหลวงสรวิชิต (หน)
4. กฤษณาสอนน้องคำฉันท์  ประพันธ์โดยพระยาราชสุภาวดี  และพระภิกษุอินท์


      การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น        

ด้านศาสนา
- พระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากอินเดีย ดังจะเห็นได้จากพิธีกรรมต่างๆ เช่น
- การบวงสรวง เช่นเดียวกับสมัยอยุธยา การสร้างรูปเคารพ เช่น พระพรหมที่โรงแรมเอราวัณ ก็มีผู้ที่นับถือไปกราบ
- ไหว้และบนบานกันเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ พระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ที่ให้การรับรอง
- พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐมีความเกี่ยวข้องกับคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ส่วนอิทธิพลทาง
- พระพุทธศาสนา ก็สามารถเห็นได้จากการประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธสาสนาของชาวพุทธทั่วไป

ด้านการปกครอง
สำหรับคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูและพระพุทธศาสนาในเรื่องสมมติเทพ ทศพิธราชธรรม ก็ยังคงมีอิทธิพลต่อการปกครองของไทยเหมือนกับสมัยก่อน

ด้านกฎหมาย
กฎหมายธรรมศาสตร์ของอินเดียที่ไทยรับผ่านมอญก็ยังคงเป็นเค้าของกฎหมายตราสามดวง ซึ่งเป็นกฎหมายไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

กฎหมายตราสามดวง

ด้านศิลปวัฒนธรรม
ดังจะเห็นได้จากวัดวาอาราม พระปรางค์ เจดีย์ต่างๆ เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดอรุณราชวราราม ซึ่งสร้างขึ้นอย่างสวยงาม


ด้านวรรณกรรม
ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการแปลวรรณกรรมอินเดียเป็นภาษาไทย  เช่น  รามเกียรติ์ เวตาล  หรือศกุนตลา  ซึ่งรัชกาลที่ 6 พระราชนิพนธ์ขึ้นก็มีเค้าโครงมาจากวรรณกรรมอินเดีย

รามเกียรติ์


ด้านภาษา
ได้แก่  ภาษาบาลี  สันสกฤต  ก็มีอิทธิพลต่อภาษาไทยเป็นอย่างมาก

ด้านอาหาร
อาหารอินเดียซึ่งมีส่วนผสมของเครื่องเทศก็ได้รับความนิยมจากคนไทยด้วยเช่นกัน  เช่น แกงกะหรี่ มัสมั่น โรตี ข้าวหมกไก่

ด้านศาสตร์และความเชื่อ

1.พระมหากษัตริย
 ในฐานะองค์สมมติเทพ พระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานะเป็นสมมติเทพตามติของศาสนาพราหมณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นสมมติเทพ เช่น การสร้างที่ประทับ พระที่นั่งพระราชวัง การประกอบพิธีต่างๆ การใช้คำราชาศัพท์

2.การสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม
รัชกาลที่ 1 ได้พยายามสร้างราชธานีให้เหมือนกรุงศรีอยุธยา แม้แต่วัดวาอารามก็ให้มีชื่อ เหมือนกับวัดในสมัยอยุธยา อาทิ การสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ให้อยู่ในเขตพระราชฐานเป็นพุทธาวาส ก็เลียนแบบวัดพระศรีสรรเพชญ อยุธยาสร้างวัดมหาสุทธาราม ( วัดสุทัศน์เทพวราราม ) เพื่อเป็นที่ประดิษฐาน พระศรีศากยมุนี โดยสร้างเลียนแบบ วัดพนัญเชิง

3.การสังคายนาพระไตรปิฏก
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้มีการชำระพระไตรปิฎก แต่ทำไม่สำเร็จเพราะสิ้นรัชกาลเสียก่อน ในปี พ.ศ.2331 รัชกาลที่ 1 โปรดให้ดำเนินการต่อ โดยมี สมเด็จพระสังฆราช ( ศรี ) เป็นประธาน ได้มีการคัดเลือกพระสงฆ์ที่มีความรู้ทางพระปริยัติธรรม กับราชบัณฑิต มาช่วยกันสังคายนาพระไตรปิฎก ณ วัดพระศรีสรรเพชญ ( วัดนิพพานาราม )เมื่อสังคายนาพระไตรปิฎกเรียบร้อยแล้ว ได้โปรดให้คัดลอก สร้างเป็นพระไตรปิฏกฉบับหลวงขึ้น เรียกว่า ฉบับทองใหญ่ แล้วนำไปไว้ในหอพระมณเทียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่อมาภายหลังได้สร้างขึ้นอีก 2 ชุด เรียก ฉบับทองชุบ และฉบับรองทรงหรือ ฉบับข้างลาย แล้วโปรดให้คัดลอกแจกจ่ายไปตามวัดต่าง ๆ

4.การรวบรวมพระพุทธรูปโบราณ
บรรดาหัวเมืองต่าง ๆ มีพระพุทธรูปที่หล่อทิ้งไว้ กลางแดดกลางฝนตามวัดร้างต่าง ๆ มากมายไม่มีผู้ใดดูแลเอาใจใส่จึงโปรดให้อัญเชิญมาไว้ที่ กรุงเทพฯ พระพุทธรูปส่วนใหญ่นำมาประดิษฐานอยู่ที่ วัดโพธิ์ พระพุทธรูปที่สำคัญ ที่อัญเชิญมา ได้แก่ พระพุทธสิงหิงค์ อัญเชิญมาจาก เชียงใหม่ มาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ในวังหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในปัจจุบัน พระศรีศากยมุนี อัญเชิญมาจากวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย มาประดิษฐาน ในวิหารหลวงวัดสุทัศน์ ฯ พระพุทธเทวปฏิมากร อัญเชิญมาจากวัดศาลาสี่หน้า ( วัดคูหาสวรรค์ ) ธนบุรี มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ( วัดโพธิ์ ) พระโลกนาถ อัญเชิญมาจาก วัดพระศรีสรรเพชญ จังหวัดอยุธยา มาประดิษฐานในพระวิหารวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ( วัดโพธิ์ ) พระศรีสรรเพชญ อัญเชิญมาจากวัดพระศรีสรรเพชญ จังหวัดอยุธยาแต่เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปที่ชำรุดเพราะถูกพม่าเผาเพื่อลอกเอาทองไป จึงอัญเชิญมาบรรจุไว้ ในพระมหาเจดีย์ ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลามราม แล้วพระราชทานนาม ว่า พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ ซึ่งถือกันว่า เป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 1พระพุทธรูปที่สำคัญอีกองค์คือ พระแก้วมรกต ได้อัญเชิญมาจากวัดอรุณราชวราราม มาประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระราชทานนามว่า พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พร้อมทั้งได้สร้างเครื่องทรงไว้ 2 ชุด คือ เครื่องทรงฤดูร้อนและเครื่องทรงฤดูฝน

5.การตรากฎหมายสงฆ์
เนื่องจากมีพระสงฆ์ ประพฤติผิดพระธรรมวินัยหลายเรื่อง ทำให้เป็นที่เสื่อมศรัธาแก่ประชาชน เมื่อขึ้นเสวยราชสมบัติ ได้โปรดให้ตรากฎหมายสงฆ์ขึ้น อาทิ ห้ามพระเทศน์ตลกคะนอง ห้ามพระสงฆ์รับฝากสมบัติหรือพัวพันสมบัติของฆราวาส ห้ามพระสงฆ์หากินจุกจิกกับฆราวาส

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง