ประกาศ ผล สอบ คุณวุฒิวิชาชีพ

ด้วยการเป็นศูนย์กลางจัดทำมาตรฐานการทดสอบฝีมือคือการเปิดโอกาสให้คนที่ทำงานในอาชีพต่างๆ มาทดสอบฝีมือคล้ายๆ กับสอบภาคปฏิบัติเพื่อมอบคุณวุฒิวิชาชีพแและมาตรฐานอาชีพให้กับผู้ที่สอบผ่านระดับต่างๆ

โดยมีเป้าหมายเพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นเศรษฐกิจสังคมฐานความรู้รวมถึงพัฒนากำลังคนของประเทศให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงาน

ระบบคุณวุฒิวิชาชีพจึงเป็นกระบวนการรับรองเพื่อให้บุคคลได้รับการยอมรับในความรู้ทักษะตลอดจนความสามารถที่สอดคล้องกับสมรรถนะประสบการณ์และความรู้ในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในสายอาชีพของตนในอนาคต

ว่ากันว่าในหลายประเทศให้ความสำคัญกับใบประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพมากกว่าใบปริญญา

แม้กระทั่งหลายบริษัทในเมืองไทยก็เริ่มพิจารณาคุณวุฒิของใบปริญญาควบคู่กับใบประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ

และที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับคนที่เคยขาดโอกาสทางการศึกษาและไร้ใบปริญญา ประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพอาจทำให้คุณลืมใบปริญญาไปเลย!

คนตรงงานงานตรงคน

ที่ผ่านมาหนึ่งในปัญหาขององค์กรเกือบทุกแห่งคือได้คนไม่ตรงกับงาน ทำให้งานที่มอบหมายไม่สัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมาย หลายคนรับพนักงานไปทดลองงาน 3 เดือน 6 เดือน ไม่ผ่านเกณฑ์ต้องเปลี่ยนคน เสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย หรือบางองค์กรยอมจ่ายงบประมาณส่งบุคลากรไปอบรมเพิ่มความรู้ แต่พอทำงานไปสักระยะขอลาออก เท่ากับว่าต้องมาเริ่มสร้างคนใหม่ เสียค่าใช้จ่ายใหม่ กลายเป็นภาระไม่สิ้นสุด นั่นคือวัตถุประสงค์หนึ่งในการจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ให้ใครก็ตามเข้ามาสมัครสอบมาตรฐานวิชาชีพที่อยู่ในสายงาน มีตั้งแต่ระดับ 1 จนถึงระดับ 8 เมื่อผ่านเกณฑ์ก็จะได้รับใบประกาศตามระดับที่ผ่านการประเมินนำไปเป็นใบเบิกทางสมัครเข้าทำงานทำให้บริษัทที่ว่าจ้างประเมินได้ว่าผู้มาสมัครนั้นมีฝีมือระดับไหนตรงกับความต้องการขององค์กรหรือเปล่าโดยไม่ต้องเสียเวลาสัมภาษณ์หรือทดลองงาน

มาตรฐานการันตีการทำงาน

สำหรับใบประกาศคุณวุฒิวิชาชีพถือเป็นใบประกาศระดับสากลซึ่งทุกประเทศเชื่อมั่นและยอมรับ ใบประกาศนี้จึงมีความสำคัญอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่สนใจไปทำงานในต่างประเทศ เพราะบางครั้งใบปริญญาไม่ได้แสดงเนื้อแท้ของผู้สมัครว่ามีความสามารถในวิชาชีพนั้นมากน้อยแค่ไหน แต่ใบประกาศคุณวุฒิวิชาชีพจะระบุทักษะชัดเจนว่าผู้ถือใบนี้มีความสามารถระดับไหนตั้งแต่ระดับ 1 ถึง ระดับ 8 สามารถประเมินฝีมือและคำนวณค่าตอบแทนได้อย่างแม่นยำ

ประเมินทุกระดับประทับใจ

สคช.แบ่งกลุ่มวิชาชีพเป็น 10 กลุ่ม รวมกว่า 700 อาชีพ ประกอบด้วย

  • กลุ่มวิชาชีพด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  • กลุ่มวิชาชีพด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
  • กลุ่มวิชาชีพด้านเกษตรกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
  • กลุ่มวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และงานสาธารณะ
  • กลุ่มวิชาชีพด้านบริการและการเงิน
  • กลุ่มวิชาชีพด้านสุขภาพกีฬาและการท่องเที่ยว
  • กลุ่มวิชาชีพด้านสื่อสารและสื่อสารมวลชน
  • กลุ่มวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล
  • กลุ่มวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และการบันเทิง
  • กลุ่มวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมการผลิต

การประเมินเปิดโอกาสให้กับทุกคนที่ต้องการทดสอบฝีมือมาเข้าคอร์สประเมินได้แม้กระทั่งคนเก็บของเก่า เก็บขยะ ก็สามารถมาเข้ารับการประเมินเพื่อรับใบประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อแสดงถึงความเชี่ยวชาญในการที่ทำและความรับผิดชอบต่อสังคมโดยแบ่งเป็น 8 ระดับ ได้แก่

  • ระดับ 1 มัธยมต้น
  • ระดับ 2 มัธยมปลาย
  • ระดับ 3 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
  • ระดับ 4-5 ประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) และ อนุปริญญา
  • ระดับ 6 ปริญญาตรี
  • ระดับ 7 ปริญญาโท
  • ระดับ 8 ปริญญาเอก

มืออาชีพ สัญลักษณ์ใหม่ในวงการ

นอกจากใบประกาศคุณวุฒิวิชาชีพแล้วปัจจุบันสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพได้จัดทำสัญลักษณ์มืออาชีพหรือ มอช. มอบให้กับสถานประกอบการต่างๆ อาทิ ร้านเสริมสวยร้านอาหารอู่ซ่อมรถ ฯลฯ หรือผู้ให้บริการกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มแท็กซี่ที่ให้บริการในสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อเป็นการการันตีว่าผู้ที่มีสัญลักษณ์ดังกล่าวติดอยู่หน้ารถคือผู้ที่ผ่านการประเมินคุณภาพความเป็นมืออาชีพแล้ว

การประเมินแต่ละอาชีพจะมีผู้เชี่ยวชาญในสาขาอาชีพนั้นๆ มาเป็นผู้ประเมินให้คะแนน อย่างเช่นร้านอาหารก็จะมีเชฟระดับมืออาชีพที่มีประสบการณ์ในวิชาชีพมาร่วมเป็นกรรมการประเมินร้านอาหารที่ขอเข้าร่วมโครงการ เมื่อผ่านเกณฑ์การประเมินแล้วจะได้รับสัญลักษณ์มืออาชีพไปติดที่ร้าน เหมือนกับสัญลักษณ์มิชิลิน มอก. หรือ มาตรฐานเบอร 5 อย่างไรก็ตาม ภายหลังการมอบสัญลักษณ์มืออาชีพแล้วจะมีการติดตามผล ถ้ามาตรฐานของสถานประกอบการนั้นๆ ลดลง หรือมีการร้องเรียนจากผู้ใช้บริการ ก็จะมีการพิจารณาเรียกคืนสัญลักษณ์ดังกล่าวได้

ถ้าสนใจก็ลองเปิดเว็บไซต์ศึกษาการประเมินได้เลย!!! www.tpqi.go.th

Post Views: 6,634

Previous articleโรคหายาก ความท้าทายใหม่ของวงการแพทย์ไทย ที่ก้าวผ่านไปได้ ด้วยการศึกษาวิจัยแบบกัดไม่ปล่อย

Next articleใครช่างคิด ประดิษฐ์ “นาโน” (ตอนที่ 2)

Jaturong Kobkaew

//www.salika.co

ด้วยความหลงใหลในกลิ่นอายน้ำหมึก หลังจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร จึงสมัครเป็นรีไรท์เตอร์กับนิตยสารเล็กๆฉบับหนึ่งในปี 2535 ก่อนถูกชักชวนให้เขียนนวนิยายพ็อกเก็ตบุ๊คป้อนโรงพิมพ์ แต่แวะเวียนอยู่ในโลกจินตนาการไม่นานก็กลับเข้าวงการสื่อสารมวลชนกับนิตยสารและหนังสือพิมพ์ กระทั่งพลิกผันมาสู่วงการข่าวเศรษฐกิจสายการค้า-การลงทุน ตั้งแต่ปี 2539 จนปัจจุบัน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง