เฉลย ใบ งานที่ 3.1 สมัยก่อนประวัติศาสตร์ใน ดิน แดน ไทย

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การศึกษาการตั้งหลักแหล่งและการดำเนินชีวิตพัฒนาการของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนไทยจะทำให้เข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสมัยเริ่มแรกซึ่งสั่งสมความเจริญมาจนถึงปัจจุบัน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

1 ยกตัวอย่างแหล่งโบราณคดีก่อนสมัยประวัติศาสตร์ที่สำคัญได้

2 วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาการและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ได้

3 เห็นความสำคัญของการสืบค้นเรื่องราวในท้องถิ่นจากหลักฐานที่พบในท้องถิ่น

การวัดผลและประเมินผล

ชิ้นงานหรือภาระงาน

1 ใบงาน เรื่อง การตั้งถิ่นฐานและการดำเนินชีวิตของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์

2 ความถูกต้องของการทำใบงาน

สมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ดำรงชีวิตกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ล่าสัตว์ จับสัตว์น้ำ และเก็บพืช ผัก ผลไม้ เป็นอาหาร เร่ร่อนอพยพไปตามแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ อาศัยอยู่ตามถ้ำและเพิงผาที่ใกล้แหล่งน้ำ หลักฐานของมนุษย์ยุคหินเก่าที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบในประเทศไทยเป็นเครื่องมือหินกะเทาะที่เขาป่าหนามบ้านแม่ทะและบ้านดอนมูล จังหวัดลำปาง และฟันของมนุษย์ที่ถ้ำวิมานนาคินทร์ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ แหล่งโบราณคดีที่สำคัญของมนุษย์หินเก่า ได้แก่ ถ้ำหลังโรงเรียน จังหวัดกระบี่ แหล่งโบราณคดี ถ้ำพระ จังหวัดเชียงราย ซึ่งนักโบราณคดีชาวสวิส “นายฟริทซ์ สารสิน” เรียกเครื่องมือหินเหล่านี้ว่า Siamian Culture”หรือ วัฒนธรรมสยาม แหล่งโบราณคดีที่แควน้อย จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งนายแวน ฮีกเกอเร็น นักโบราณคดีชาว   เนเธอร์แลนด์ เรียกเครื่องมือหินที่พบว่า “ฟิงนอยเอียน : Fingnoian culture”หรือวัฒนธรรมแควน้อย

            ในยุคหินกลางที่เครื่องมือหินมีขนาดเล็กลง มีหลายรูปแบบ และใช้งานเฉพาะด้านได้ดีกว่ายุคแรก เรียกเครื่องมือแบบนี้ว่า เครื่องมือแบบฮัวบินเนียน (Hoabinhian) ตามแหล่งโบราณคดีที่พบที่เวียดนาม ในยุคนี้ได้พบโครงกระดูกมนุษย์ในเขตอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี มีการประกอบพิธีกรรมในการฝังศพและพบเครื่องปั้นดินเผาผิวเกลี้ยง ขัดมัน มีลายเชือกทาบ แหล่งโบราณคดีที่สำคัญ เช่น ถ้ำหลังโรงเรียน และถ้ำหมอเขียว จังหวัดกระบี่ ถ้ำผีแมน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ถ้ำไทรโยคและถ้ำองบะ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น การดำรงชีวิตของมนุษย์ยุคหินกลางยังคงเป็นแบบยุคหินเก่า คือไม่ตั้งถิ่นฐานที่แน่นอน ยังเร่ร่อนไปตามแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์

            ในยุคหินใหม่เป็นช่วงสมัยที่มนุษย์มีความเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตความเป็นอยู่  จากเดิมที่เคยอาศัยบนที่สูงตามถ้ำและเพิงผา มาอยู่บริเวณที่ราบใกล้แหล่งน้ำรวมอยู่เป็นกลุ่ม ตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งและทำการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ทำเครื่องปั้นดินเผา ที่สำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผาสามขา คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมก่อนหลงชานในจีน นอกจากนี้ยังมีการทำเครื่องจักสานและทอผ้า แต่การล่าสัตว์และจับสัตว์น้ำยังคงมีอยู่ เครื่องมือหินที่ใช้เรียกว่า ขวานหินขัด ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น ขวานมีบ่า สิ่ว ผึ่ง หรือ ขวานถาก แหล่งโบราณคดีของยุคหินใหม่พบอยู่ทุกภาคของไทย ที่สำคัญ เช่น บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี โคกเจริญ จังหวัดลพบุรี โคกพนมดี จังหวัดชลบุรี โนนนกทา จังหวัดขอนแก่น ในยุคหินใหม่มีการตั้งถิ่นฐานถาวร ทำการเพาะปลูก  ชุมชนจึงขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีการแบ่งงานกันทำตามความสามารถเฉพาะด้าน และมีการติดต่อแลกเปลี่ยนค้าขายระหว่างชุมชน

            ในยุคโลหะ เป็นช่วงสมัยที่มนุษย์พัฒนาเครื่องมือที่ทำจากหินเป็นโลหะ ในระยะแรกเป็นสำริด ซึ่งเกิดจากการหลอมรวมทองแดงและดีบุก ต่อมาคือการถลุงเหล็กมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธ รวมทั้งเครื่องประดับ เช่น กำไร ตุ้มหู ลูกปัด เครื่องมือโลหะดังกล่าวมีประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องมือหิน ช่วงสมัยนี้เป็นช่วงสมัยที่บางชุมชนได้พัฒนาเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ที่ประดิษฐ์อักษรสื่อสารกันได้ บางชุมชนก็ยังคงเป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์อยู่แต่พัฒนาวิถีชีวิตดีขึ้น มีการอยู่รวมเป็นชุมชน มีระบบการปกครอง มีผู้นำเป็นหัวหน้า มีการแบ่งชนชั้นในสังคม  มีการติดต่อกับชุมชนอื่นที่อยู่ห่างไกลและมีการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ ดังที่ได้พบ หลักฐานเป็นกลองมโหระทึกสำริด ซึ่งใช้ในพิธีกรรมขอฝนหรือพิธีศพ เรียกวัฒนธรรมนี้ว่า “วัฒนธรรมดองซอน” (Dong Son Culture) ตามแหล่งที่พบครั้งแรกที่เวียดนาม นอกจากนี้ยังมีการนำหินมาตั้งเป็นแนวเพื่อแสดงขอบเขตของพิธีกรรม เรียกวัฒนธรรมนี้ว่า“วัฒนธรรมหินใหญ่” (Megalithic Culture) เช่น ที่ป่าสะเลียม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ บ้านหินตั้ง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา แหล่งโบราณคดียุคโลหะที่สำคัญ เช่น บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี (แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม) บ้านโนนนกทา จังหวัดขอนแก่น โคกพนมดี จังหวัดชลบุรี บ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

            การตั้งถิ่นฐานในระยะแรกเป็นการรวมตัวเป็นชุมชนขนาดเล็ก เครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยโลหะ  ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น การแลกเปลี่ยนค้าขายกับดินแดนทั้งใกล้เคียงและห่างไกลเพิ่มขึ้นด้วยเป็นผลให้  ชุมชนขยายเติบโตขึ้น เกิดการขยายอำนาจไปยังชุมชนใกล้เคียง มีการรวมตัวกันสร้างคันดิน ขุดคูน้ำ เพื่อป้องกันการรุกรานจากชุมชนอื่นๆ ซึ่งแสดงถึงระบบของการควบคุมกำลังคน เพื่อทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ส่วนรวม บางชุมชนได้ขยายตัวกลายเป็นบ้านเป็นเมือง ซึ่งเริ่มเมื่อประมาณ 2,500 ปีมานี้เอง


Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง