เฉลย ใบงานที่ 1.2 เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ของโลก

1.จงอธิบายปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับลักษณะธรณีสัณฐานของภาคเหนือ

1.1) เขตทิวเขาและหุบเขา ภูเขาสูงที่วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ เป็นทิวเขาสลับซับซ้อนนั้น แต่ก่อนมีระบบนิเวศที่สมดุล แล้วมนุษย์ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมดั้งเดิมจนระบบนิเวศที่เคยสมดุลถูกตัดวงจรไป ปรากฏการณ์ที่เห็นได้ชัดเจนในปัจจุบัน คือ สภาพป่าไม้ลดจำนวนลงจนหมดสิ้นไปในบางพื้นที่ การชะล้างพงทลายของหน้าดินจะเกิดขึ้นสูงเมื่อมีฝนตกและบางครั้งก็เกิดแผ่นดินถล่มด้วย และนอกจากนี้ยังมีการใช้สารเคมีในการเพาะปลูกพืช ส่งผลให้บริเวณที่ราบมีสารพิษที่เจือปนมากับน้ำ อีกทั้งเมื่อมีฝนตกหนักน้ำป่าจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำอย่างรวดเร็ว

1.2) บริเวณที่ราบและแอ่ง ภาคเหนือมีที่ราบหุบเขาแคบๆ ที่เกิดจากลำธรไหลกัดเซาะบริเวณภูเขา เป็นที่ราบผืนเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไป และมีที่ราบซึ่งเกิดขึ้นในแอ่งแผ่นดิน มีการทับถมของโคลนตะกอนเป็นบริเวณกว้าง และมีแม่น้ำสายใหญ่ไหลผ่าน เช่น แอ่งเชียงใหม่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำปิง แอ่งแม่ฮ่องสอนตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำปาย แอ่งลำปางตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำวัง แอ่งเชียงรายตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำกก แอ่งพะเยาตั้งอยู่บนฝั่งกว๊านพะเยาซึ่งเชื่อมต่อกับแม่น้ำอิง เป็นต้น สภาพพื้นที่จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นที่ตั้งถิ่นฐานและใช้ปลูกพืชชนิดต่างๆ เช่น ถั่วชนิดต่างๆ กระเทียม ยาสูบ ลิ้นจี่ ลำไย ส่วนบริเวณที่ราบสองฝั่งแม่น้ำจะใช้ปลูกข้าว

2.จงอธิบายปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับลักษณะธรณีสัณฐานของภาคตะวันตก

2.1) เขตทิวเขาและหุบเขา มีทิวเขาทอดแนวมาจากภาคเหนือและเป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นประเทศไทยกับสหภาพพม่า ในบริเวณนี้จะมีการบุกรุกทำลายป่าไม้เพื่อนำพื้นที่มาใช้เพาะปลูกพืชไร่ สวนผลไม้ และสร้างเป็นที่พักบริการแก่นักท่องเที่ยวเช่นเดียวกับในภาคเหนือ โดยในด้านการท่องเที่ยวภาคจะวันตกจะมีทำเลที่ตั้งดีกว่าภาคเหนือในด้านระยะทาง แต่ยังขาดโครงข่ายเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมต่อกันทำให้การเดินทางต้องใช้เวลามาก

2.2) บริเวณที่ราบและที่ราบเชิงเขา ในภาคตะวันตกมีที่ราบแคบๆ อยู่ระหว่างเขตภูเขา มีการเข้าไปจับจองพื้นที่ทำนาและปลูกพืชจำนวนมาก เช่น อ้อย เป็นต้น

2.3) บริเวณที่ราบชายฝั่งทะเล ภาคตะวันตกมี่ที่ราบชายฝั่งทะเลยาวตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีซึ่งเป็นหาดเลนต่อเนื่องไปยังบริเวณหาดชะอำซึ่งเป็นหาดทรายลงไปจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยประชาชนมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งทางด้านการประมงชายฝั่ง ปลูกพืช เช่น สับปะรด และบริการนักท่องเที่ยวเนื่องจากชายฝั่งด้านจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ มีชายหาดที่สวยงามจึงเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ

3.จงอธิบายปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับลักษณะธรณีสัณฐานของภาคกลาง

3.1) บริเวณที่ราบลุ่มน้ำตอนบน คือ บริเวณที่ราบลุ่มน้ำเหนือจังหวัดนครสวรรค์ขึ้นไป มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มน้ำที่มีขนาดแคบลงเรื่อยๆ เมื่อขึ้นไปทางภาคเหนือ และมีระดับสูงกว่าที่ราบภาคกลางตอนล่าง สภาพพื้นที่จะใช้ประโยชน์ในด้านการเพาะปลูกพืชไร่และทำนาข้าว แต่บริเวณลุ่มน้ำยม จังหวัดสุโขทัยและพิษณุโลก จะมีปัญหาน้ำท่วมรุนแรงเกือบทุกปีเนื่องจากมีลักษณะเป็นที่ราบน้ำท่วมถึงและเมื่อมีฝนตกต่อเนื่องยาวนานเกิน24ชั่วโมง จะเกิดน้ำไหลบ่าอย่างรวดเร็ว หากจะบรรเทาอุทกภัยได้ต้องลดการตัดไม้ทำลายป่า สร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำไว้ในช่วงฤดูฝนและนำมาใช้ในฤดูแล้ง

3.2)บริเวณที่ราบบริเวณขอบของภาค คือ ที่ราบบริเวณขอบที่ติดต่อกับภาคเหนือภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพเป็นเนินและที่ราบเชิงเขา ใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง เป็นต้น

3.3)บริเวณแอ่งเพชรบูรณ์ ในบริเวณที่ราบลุ่มน้ำป่าสักใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกข้าว ข้าวโพด ถั่ว และผลไม้ ปัจจุบันมีการโค่นทำลายป่าธรรมชาติ เพื่อใช้ดินในการปลูกพืชและสร้างสถานที่พักบริการแก่นักท่องเที่ยวส่งผลให้เมือฝนตกหนักมักจะเกิดน้ำท่วมและแผ่นดินถล่ม

3.4) บริเวณที่ราบลุ่มน้ำตอนล่าง คือ บริเวณที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยาตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ลงมา เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง สภาพพื้นที่จะใช้ประโยชน์ด้านการปลูกข้าว มีการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนขนาดใหญ่หลายพื้นที่ ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินให้เป็นพื้นที่เมือง และมีการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่เคยเป็นนาข้าวเดิม ส่วนบริเวณปากน้ำของแม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำเจ้าพระยา สภาพพื้นที่ดินใหม่และชายเลน มีป่าชายเลนเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ

4.จงอธิบายปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับลักษณะธรณีสัณฐานของภาคตะวันออก

4.2) บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง อยู่ในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีและฉะเชิงเทรา ในช่วงฤดูฝนมักจะเกิดน้ำท่วมเสมอเนื่องจากน้ำป่าไหลมาจากทิวเขาทางตอนบนอย่างรวดเร็ว ประกอบกับลำน้ำตื้นเขินก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนทั้งพืชผลที่เพาะปลูกและทรัพย์สินต่างๆ

4.3) เขตพื้นที่เนินแบบลูกฟูก อยู่ตอนในของภาคตะวันออก ใช้พื้นที่เป็นที่ปลูกพืชไร่และพืชสวน

4.4) ที่ราบชายฝั่งทะเล เป็นสถานที่ตากอากาศ และแหล่งท่องเที่ยวทั้งบริเวณเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด

4.5) เกาะและหมู่เกาะชายฝั่ง เป็นเกาะใกล้ชายฝั่งที่มีปะการังสวยงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่ใกล้และสวยงามจึงเป็นที่นิยมของผู้คนทั้งไทยและต่างชาติจนมีแนวโน้มจะทำให้แหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามเสื่อมโทรมไป

5.จงอธิบายปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับลักษณะธรณีสัณฐานของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

5.1) เขตทิวเขาด้านทิศตะวันตก เป็นบริเวณที่มีภูเขายกตัวขึ้นแยกจากที่ราบภาคกลาง โดยธรณีสัณฐานหลักเป็นภูเขาหินทรายที่มียอดราบ เช่น ภูกระดึง พื้นที่บริเวณนี้ใช้ประโยชน์ด้านการปลูกพืชไร่จำพวกอ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่ว และปลูกข้าวในบริเวณที่ลุ่ม อีกทั้งในฤดูหนาวภูมิทัศน์ของพื้นที่จะมีความสวยงาม อากาศเย็นและมีไม้ดอกมาก จึงเป็นจุดเด่นสำหรับการท่องเที่ยว

5.2) ทิวเขาด้านทิศใต้ เป็นแนวทิวเขาหินทรายที่มีด้านลาดอยู่ในประเทศไทยและมีด้านชันไปในกัมพูชาทางทิศใต้ ภูมิสัณฐานหลักเป็น “เขารูปอีโต้หรือเกวสตา” คล้ายกับ”เขาอีโต้” ที่จังหวัดปราจีนบุรี สภาพของเขาที่ทอดแนวตลอดจะมีช่องแคบที่สามารถเดินทางระหว่างประเทศได้ดังนั้น พื้นที่บริเวณนี้ผู้คนของทั้งสองประเทศจะมีความสัมพันธ์ติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าจำพวกอาหาร ของป่า และไม้ซุงซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ยังปรากฏหินภูเขาไฟเกือบตลอดแนวจึงทำให้บริเวณดังกล่าวมีสภาพดินที่เหมาะต่อการปลูกพืชและผลไม้ต่างๆ

5.3) แอ่งโคราช ประกอบด้วยที่ราบลุ่มน้ำชี-มูล บริเวณที่ราบลุ่มน้ำเป็นแหล่งปลูกข้าวใหญ่ที่สุดของไทย และเป็นแหล่งตั้งถิ่นฐานที่มีประชากรเกิน 1 ล้านคนในเกือบทุกจังหวัด โดยสภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่ม ในช่วงฤดูฝนที่มีพายุจึงเกิดน้ำท่วมขึ้นเสมอ แต่เมื่อสิ้นฤดูฝนไปสภาพการขาดแคลนน้ำจะปรากฏเป็นระยะเวลายาวนาน ทั้งนี้เนื่องจากสภาพพ้นที่เป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ และไม่มีพื้นที่สำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งได้ และบางพื้นที่เป็นดินเค็มมีคราบเกลือสินเธาว์ขึ้นมาตกผลึก

5.4) แอ่งสกลนคร ประกอบด้วยที่ราบลุ่มน้ำสงคราม หนองหาน และลุ่มน้ำโขงอีสานสกลนคร โดยพื้นที่บริเวณหนองหานสกลนครเป็นแอ่งต่ำที่เกิดจากการทรุดตัวของแผ่นดิน เนื่องจากโครงสร้างของเกลือและหินละลายด้านทิศใต้ของแอ่งสกลนครมีทิวเขาภูพานทอดแนวจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือถึงทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณพื้นที่เนินและภูเขาที่กระจายอยู่ทั่วไปเป็นส่วนที่เหลืออยู่จากการกร่อน เช่น ภูผาเทิบ ที่อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เป็นต้น

6.จงอธิบายปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับลักษณะธรณีสัณฐานของภาคใต้

6.1) คาบสมุทร ลักษณะธรณีสัณฐานคาบสมุทรมีทะเลอันดามันอยู่ทางด้านทิศตะวันตก ส่วนอ่าวไทยจะอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ภายในแผ่นดินมีทิวเขาเป็นแกนของคาบสมุทร มีที่ราบ เนิน และที่ราบลุ่มแม่น้ำซึ่งใช้ปลูกข้าว ส่วนบริเวณเนินเป็นพื้นที่ปลูกไม้ผลชนิดต่างๆ
ในปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันและยางพาราสร้างที่อยู่อาศัย และสร้างถนน ส่งผลให้น้ำป่าที่เกิดจากฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องในทิวเขาไหลบ่าลงสู่พื้นที่ราบอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการไหลของน้ำถูกสกัดเส้นทางด้วยพื้นที่ทำการเกษตร สิ่งก่อสร้างถนน และทางรถไฟ ทำให้การระบายน้ำลงคลองที่ตื้นเขินช้าลงและเมื้อระบายลงสู่คลองแล้วน้ำก็จะล้นฝั่งอย่างรวดเร็ว ปรากฏการณ์ดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไขโดยเร็วเพื่อลดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

6.2) บริเวณที่ราบลุ่มน้ำ ภาคใต้แม้จะมีแม่น้ำสายสั้นๆ แต่นับว่ามีความสำคัญมากทั้งในด้านการบริโภค การใช้เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่ง การตั้งถิ่นฐาน การท่องเที่ยว และเป็นแหล่งอาหาร นอกจากนี้แม่น้ำสายต่างๆ ที่ไหออกสู่ทะเลจะนำดินตะกอนออกไปสู่ปากน้ำ พื้นที่เชื่อมต่อระหว่างปากแม่น้ำกับชายฝั่งทะเลจึงมีสภาพเป็นชายเลน มีป่าชายเลนเป็นแนวกำบังลม และเป็นแหล่งอนุบาลลูกกุ้ง หอย ปู ปลา

6.3) เกาะและหมู่เกาะ ภาคใต้มีเกาะและหมู่เกาะขนาดเล็กใหญ่เป็นจำนวนมาก มีภูมิทัศน์และหาดทรายที่สวยงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาตินิยมไปพักผ่อน เช่น เกาะภูเก็ต เกาะสมุย เกาะพะงัน หมู่เกาะอ่างทอง หมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะพังงา หมู่เกาะสิมิลัน เป็นต้น 

7.จงอธิบายปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับลักษณะอุทกภาคในประเทศไทย

7.1) ฝนตกหนัก หรือฝนตกต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีสาเหตุ ดังนี้
(1) ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ลมมรสุมเริ่มพัดเข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม และมีกำลังแรงเป็นระยะๆ หลังจากเดือนกรกฎาคมไปแล้ว เนื่องจากลมมรสุมนี้พัดผ่านแหล่งน้ำขนดใหญ่ คือ ทะเลอันดามันและอ่าวไทยเข้าสู่แผ่นดิน จึงนำความชื้นเข้าไปยังแผ่นดิน และหากลมมรสุมมีกำลังแรงจะทำให้เกิดฝนตกหนักในทุกภาค โดนเฉพาะจังหวัดตามชายฝั่งทะเลที่มีภูเขาหันเข้ารับลมที่พัดนำความชุ่มชื้นและฝนมาตกหรือที่เรียกว่า“ด้านต้นลม”(windward)
(2) ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ลมมรสุมเริ่มพัดเข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม โดยเป็นลมที่พัดมาจากไซบีเรียและประเทศจีน ลักษณะทั่วไปจะทำให้ทั่วทุกภูมิภาคมีอากาศหนาวเย็นและแห้ง แต่เมื่อมีกำลังแรงขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนและพัดผ่านอ่าวไทยเข้าสู่ภาใต้ฝั่งอ่าวไทย จะทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกหรือฝั่งอ่าวไทยมีฝนตกหนักมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันตกหรือฝั่งอันดามัน ซึ่งในบริเวณนี้เป็นด้านปลายลม (leeward) ของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
(3) พายุหมุนเขตร้อน ระยะที่พายุหมุนมีอิทธิพลต่อปริมาณน้ำฝนในประเทศไทยมี 2 ระยะ คือ ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม จะมีพายุหมุนก่อตัวขึ้นในอ่าวเบงกอล เรียกว่า “ไซโคลน” แล้วเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศบังกาลาเทศและสหภาพพม่า ทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบในช่วงก่อนเข้าสู่ฤดูฝนบ้าง ส่วนช่วงปลายเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน จะมีพายุหมุนก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกของประเทศฟิลิปปินส์ แล้วพายุหมุนจะเคลื่อนตัวสู่ทะเลจีนใต้เข้าสู่ประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชา ไทย และมาเลเซีย หรืออาจเคลื่อนตัวจากประเทศฟิลิปปินส์ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเข้าสู่ประเทศจีน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น พายุหมุนจะทำให้เกิดลมแรง ฝนตกหนัก และน้ำท่วมฉับพลันในบริเวณที่รัศมีของพายุหมุนพัดผ่าน
7.2) น้ำหลากจากภูเขา บริเวณเชิงเขาและที่ราบเชิงเขาที่มีชุมชนตั้งอยู่ จะได้รับกระแสน้ำที่หลากไหลจากภูเขาสูงลงมาอย่างวดเร็ว เนื่องจากการตัดไม้ในบริเวณต้นน้ำลำธาร การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่เพาะปลูกและฝนที่ตกอย่างหนักต่อเนื่องยาวนานจนลำห้วยไม่สามารถรับปริมาณน้ำได้ เช่น การเกิดแผ่นดินถล่มและอุทกภัยที่อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ 2544
7.3) น้ำทะเลหนุน บริเวณที่ราบใกล้ปากแม่น้ำ เมื่อแม่น้ำไหลออกทะเลจะเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลหนุนทำให้เกิดน้ำท่วมได้ เช่น พื้นที่เขตพระโขนง เขตบางนาของกรุงเทพมหานคร และตำบลสำโรง อำเภอพระระแดง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ  ในพื้นที่ที่มีระดับการทรุดต่ำลงของแผ่นดินก็จะทำให้เกิดน้ำท่วมขังพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำได้นอกจากนี้การปล่อยน้ำของเขื่อน เขื่อนพัง และการสร้างถนนกีดขวางทางน้ำ ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน ก็ทำให้เกิดปรากฏการณ์อุทกภัยในประเทศไทยได้

8.ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับแหล่งน้ำในประเทศไทยมี 2 แหล่งคือะไร

1) แหล่งน้ำเค็ม ประเทศไทยมีอาณาเขตที่ติดต่อกับทะเลและมหาสมุทรอยู่ 2 แห่ง ประกอบด้วย

1.อ่าวไทย เป็นส่วนหนึ่งของทะเลจีนใต้ในมหาสมุทรแปซิฟิก

2.ทะเลอันดามัน เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย

2) แหล่งน้ำจืด ประเทศไทยมีพื้นที่แหล่งน้ำจืดทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน ดังนี้
(1) น้ำผิวดิน แหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญอยู่บริเวณลุ่มน้ำของแม่น้ำสายต่างๆ โดยพื้นที่ลุ่มน้ำหลักของประเทศที่สำคัญ เช่น แม่น้ำโขง ชี มูล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ในภาคเหนือ แม่น้ำตาปี แม่น้ำปัตตานี ในภาคใต้ เป็นต้น

(2) น้ำใต้ดินและน้ำบาดาล ภูมิภาคที่นำน้ำใต้ดินและน้ำบาดาลมาใช้มากได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีแหล่งน้ำจืดบนพื้นที่ลุ่มหลายบริเวณ แต่แหล่งน้ำใต้ดินหลายแห่งมีคุณภาพน้ำต่ำ รองลงไปคือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันตกตามลำดับ โดยในภาคตะวันออกและภาคใต้มีแหล่งน้ำใต้ดินน้อย และมีการใช้น้อย

9.ปฏิสัมพันธ์ของประชาชนกับพื้นที่อ่าวไทย ที่สำคัญ มีดังนี้
1. การประมง ประชาชนทุกจังหวัดที่มีชายทะเลจะประกอบอาชีพกรประมง ทั้งกรประมงชายฝั่งที่ใช้เรือขนาดเล็กและการประมงน้ำลึกที่มีเรือขนาดใหญ่ออกไปจับสัตว์น้ำในระยะทางไกลและใช้เวลาหลายวัน โดยจะจับสัตว์น้ำประเภทปลา กุ้ง หมึก และหอยชนิดต่างๆ
2. การทำนาเกลือสมุทร โดยใช้น้ำทะเลจากอ่าวไทย จะมีในบางจังหวัดเท่านั้น ได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี
3. การคมนาคมขนส่ง บริเวณอ่าวไทยมีเรือขนส่งสินค้าจากต่างประเทศใช้เป็นเส้นทางเดินเรือและเข้าจอดขนถ่ายสินค้าในท่าเรือสำคัญ คือ ท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี และท่าเรือมาบตาพุด จังหวัดระยอง

10.ปฏิสัมพันธ์ของประชาชนกับพื้นที่ฝั่งอันดามัน ที่สำคัญ มีดังนี้

ใช้ประโยชน์ในด้านการประมงและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ มีท่าเรือสำคัญ เช่น ท่าเรือสงขลา ท่าเรือกระบี่ เป็นต้น

11.ซึ่งปฏิสัมพันธ์ของประชาชนกับการนำน้ำใต้ดินและน้ำบาดาลในประเทศไทยมาใช้ ดังนี้
1. น้ำใช้ในด้านเกษตรกรรม
2. น้ำใช้ภายในครัวเรือน
3. น้ำใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

12.ผลจากการนำน้ำใต้ดินและน้ำบาดาลมาใช้ในพื้นที่ปริมณฑลและเมืองใหญ่ทำให้เกิดผลกระทบอย่างไร

ทำให้เกิดแผ่นดินทรุดและส่งผลกระทบต่อสภาพพื้นที่หลายประการ เช่น ถนนและพื้นอาคารบ้านเรือนทรุด น้ำท่วม น้ำขัง เป็นต้น 

13.จงอธิบายปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับลักษณะชีวภาคในประเทศไทย

1) ความหลากหลายของชนิดพรรณพืชในประเทศไทย ป่าไม้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จำแนกตามลักษณะวงจรชีวิตได้ 2 ประเภท คือ ป่าไม่ผลัดใบ และป่าผลัดใบ ดังนี้
1.1) ป่าไม้ผลัดใบ เป็นป่าที่มีเรือนยอดเขียวชอุ่มตลอดทั้งปี เนื่องจากมีฝนตกไม่ต่ำกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี และมีช่วงแล้งฝนน้อยกว่า 3 เดือน ป่าไม่ผลัดใบกระจายอยู่ทั้งในบริเวณหุบเขาที่มีความชื่นสูงและริมฝั่งทะเลตามภูมิภาคต่างๆ จำแนกได้ 6 ชนิดดังนี้
(1) ป่าดิบชื้น พบในภาคใต้และภาคตะวันออกในพื้นที่ซึ่งมีความสูงจากระดับทะเลปานกลางจนถึง 1,000 เมตร มีภูมิอากาศแบบป่าฝนเมืองร้อน ซึ่งมีฝนตกเกือบตลอดทั้งปี พันธุ์ไม้ที่พบ เช่น ยางขาว ยางแดง ตะเคียน มะเดื่อ หมาก หวาย เฟิน เป็นต้น
(2) ป่าดิบแล้ง พบตามภูมิภาคต่างๆ ในพื้นที่ซึ่งมีความสูงจากระดับทะเลปานกลางจนถึง 700 เมตร มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,500-2,000 มิลลิเมตรต่อปี ระยะความแห้งแล้ง 2-3 เดือน พันธุ์ไม้ที่พบ เช่น ยางชนิดต่างๆ ตะเคียน มะค่า ไผ่ หวาย กระวาน เป็นต้น
(3) ป่าดิบเขา พบในพื้นที่ภูเขาที่มีความสูงตั้งแต่ 1,000 เมตร มีความชื้นสูงตลอดปีจากไอน้ำและฝน มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี พันธุ์ไม้สำคัญ เช่น ก่อชนิดต่างๆ มะขามป้อมดง สนใบเล็ก พญาไม้ สนแผง เป็นต้น โดยตามลำต้นของต้นไม้จะมีพืชเกาะอาศัยอยู่ เช่น เฟิน มอสส์ เป็นต้น
(4) ป่าสน พบในบางพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกและภาคกลางตอนบน พบในพื้นที่ความสูงตั้งแต่ 200-1,600 เมตร พื้นดินเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี เช่น ดินทราย พันธุ์ไม้สำคัญ เช่น สนสองใบ สนสามใบ และไม้ที่ขึ้นปะปนอยู่ เช่น เหียง พลวง กำยาน ก่อต่างๆ สารภีดอย เป็นต้น
(5) ป่าพรุ ป่าไม้ที่เกิดในพื้นที่ลุ่มต่ำมีน้ำท่วมขังชั่วคราว พันธุ์ไม้สำคัญ ได้แก่ ชุมแสง กก กันเกรา ปรงทะเล เสม็ด ลำพู ประสัก เหงือกปลาหมอ โกงกาง และจาก
(6) ป่าชายหาด พบบริเวณชายฝั่งทะเลและสันทรายชายฝั่งทะเล พันธุ์ไม้สำคัญ ได้แก่ เตยทะเล จิกทะเล และผักบุ้งทะเล
1.2) ป่าผลัดใบ เป็นป่าที่ต้นไม้มีการทิ้งใบเป็นระยะเวลายาวนานในช่วงฤดูแล้ง พบในพื้นที่ที่มีช่วงแล้งฝนมากกว่า 5 เดือน โดยป่าผลัดใบกระจายอยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตก ป่าผลัดใบมี 3 ชนิด ได้แก่
(1) ป่าเบญจพรรณ พบในพื้นที่ซึ่งมีความสูงจากระดับทะเลปานกลางจนถึง1,000 เมตร และมีฝนตกปริมาณเฉลี่ย 1,000-1,500 มิลลิเมตรต่อปี พันธุ์ไม้สำคัญ ได้แก่ สัก ยาง แดง ประดู่ มะค่าโมง งิ้วป่า พืชชั้นล่าง ได้แก่ ไผ่ และรวก
(2) ป่าเต็งรัง หรือเรียกว่า ป่าแดง ป่าโคก ป่าแพะ เป็นป่าที่ขึ้นได้ในพื้นที่ดินลูกรังสีแดง อยู่สูงจากระดับทะเลปานกลางไม่เกิน 1,000 เมตร พันธุ์ไม้สำคัญ ได้แก่ พลวง เต็ง รัง พะยอม รกฟ้า กระบก มะขามป้อม ส่วนพืชชั้นล่าง ได้แก่ ปรง และหญ้าเพ็ก
(3) ป่าหญ้าหรือป่าละเมาะ เป็นป่าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติภายหลังจากป่าดั้งเดิมถูกทำลายหมด พันธุ์ไม้สำคัญ ได้แก่ กระโถน สีเสียด หญ้าคา หญ้าพง และแฝก
มนุษย์ใช้ประโยชน์จากป่าไม้และทุ่งหญ้า เช่น เพื่อการก่อสร้าง ใช้ฟืนเป็นพลังงาน เป็นแหล่งอาหารและยารักษาโรค เป็นแหล่งท่องเที่ยว แต่ในปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยได้ลดลงอย่างมากจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ซึ่งส่งผลให้สภาพแวดล้อมเสียสมดุล

14.จงอธิบายความหลากหลายของชนิดพันธุ์สัตว์ในประเทศไทย

ในประเทศไทยพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 283 ชนิด โดยเป็นค้างคาวถึง 108 ชนิด (ค้างคาวกินผลไม้ 18 ชนิด ค้างคาวกินแมลง 89 ชนิด และค้างคาวกินสัตว์อื่นเป็นอาหาร 1 ชนิด) ส่วนสัตว์อื่นๆ ได้แก่ นกชนิดต่างๆ พบมากถึง 917 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 298 ชนิด โดยเป็นงูถึงร้อยละ 54 กิ้งก่า จิ้งเหลน ตุ๊กแกร้อยละ 35 นอกจากนั้นเป็นจระเข้และเต่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำพบ 107 ชนิด เช่น กบ เขียด อึ่งอ่าง คางคก เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีความหลากหลายในทะเลไทยที่สำคัญ คือ ปะการังที่สวยงามหลายสายพันธุ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำ ชมความสวยงามของปะการังและปลาสวยงาม
สัตว์ประเภทปลาและสัตว์น้ำพบ 917 ชนิด ปลาน้ำจืดที่พบมาก เช่น ปลาตะเพียน ปลาหมู ปลาดุก ปลาเสือ ปลาสวาย ปลาเนื้ออ่อน ปลากัด ส่วนปลาทะเล และปลาน้ำกร่อยที่พบมาก เช่น ปลากะพงขาว ปลากระบอก ปลาตีน ปลาไส้ตัน ปลากระเบน และสัตว์ทะเลอื่นๆ เช่น ปู แมงดา หอย หมึก เป็นต้น
สัตว์ประเภทแมลงที่พบและมีการตั้งชื่อแล้ว 7,000 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 10 ของแมลงทั้งหมดในประเทศ ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 90 ยังไม่ได้วินิจฉัยหรือวินิจฉัยไม่ได้
ปัจจุบันสัตว์ป่าในประเทศไทยมีจำนวนลดลง สาเหตุจากการลดลงของพื้นที่ป่าไม้ที่เป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์ป่ารวมถึงจากการล่าของมนุษย์ ผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ สัตว์เข้าไปหาอาหารในเขตเกษตรกรรม พืชผักผลไม้จึงถูกทำลาย นอกจากนี้ยังเกิดภาวะขาดสมดุลโดยแมลงชนิดที่ทำลายพืชผลทางการเกษตรมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง