ไฟ โซ ลา เซลล์ อันตราย ไหม

สิ่งที่อยู่ภายในแผงโซลาร์

โมโนคริสตัลไลน์ และ โพลีคริสตัลไลน์ คือแผงโซลาร์เซลล์สองแบบที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งแผ่นกระจกผลิตจากซิลิคอน กรอบผลิตจากอะลูมิเนียม และสายผลิตจากทองแดง และไม่มีส่วนประกอบของโลหะหนักหรือสารอื่นๆที่มีพิษร้ายแรง โดยแม้ว่าแผ่นฟิล์มพลังงานแสงอาทิตย์แบบบางอาจมีส่วนประกอบของโลหะหนักผสมอยู่บ้าง เช่น แคดเมียมหรือเทลลูไรด์ แต่งานวิจัยจำนวนมากกล่าวว่าไม่พบหลักฐานที่ชี้ว่ามีสารพิษรั่วไหลจากแผงโซลาร์เซลล์ประเภทนี้

กระบวนการผลิต

กระบวนการผลิตแผงโซลาร์มีขั้นตอนการใช้สารเคมีอันตรายหรือโลหะที่เป็นพิษ โดยมีการใช้สารเคมีบางชนิด อันได้แก่ กรดไฮโดรคลอริก กรดไนตริก และไฮโดรเจนฟลูออไรด์ เพื่อทำความสะอาดผิวหน้าแผงโซลาร์ (คล้ายกับที่ใช้ในอุตสาหกรรมสารกึ่งตัวนำ) และมีการใช้โลหะหนักอย่างแคดเมียม ส่วนวัตถุดิบอื่นๆบางชนิดที่อันตรายกว่าก็มีทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าแล้ว

สิ่งนี้เน้นย้ำว่าจำเป็นต้องมีการจัดการขั้นตอนการผลิตแผงโซลาร์อย่างมีความรับผิดชอบ รวมถึงการรีไซเคิลแผงโซลาร์เมื่อเป็นไปได้และการกำจัดขยะโซลาร์ที่หมดอายุแล้วอย่างปลอดภัยและมีระบบ เพื่อให้วัตถุดิบอันตรายต่างๆไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่สารเคมีที่เป็นพิษอาจรั่วไหลไปในอากาศได้ผ่านการเผาไหม้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตหากหายใจเข้าไป แต่อย่างไรก็ดี ถ้าหากมีการติดตั้งแผงโซลาร์อย่างถูกต้องเหมาะสมก็จะไม่เกิดการเผาไหม้ขึ้น และระดับความเสี่ยงของการรั่วไหลของสารเคมีก็จะไม่ต่างกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆที่ใช้กันทั่วไป

ด้วยเหตุนี้เอง สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักถึงจึงเป็นเรื่องของกระบวนการผลิตและการกำจัดขยะ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญไม่ต่างกันกับการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ทั่วไปที่ส่วนมากมักมีอายุสั้นกว่าแผงโซลาร์เสียด้วยซ้ำ

การกำจัดขยะและการรีไซเคิล

สิ่งที่คนมักเข้าใจผิดอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์คือปัญหาการสร้างขยะแผงโซลาร์ ตัวอย่างเช่น ในบทวิเคราะห์ฉบับหนึ่งที่เพิ่งตีพิมพ์ได้ไม่นานนักโดยกระบวนการด้านสิ่งแวดล้อมของกลุ่มผู้สนับสนุนการใช้นิวเคลียร์ ได้กล่าวอ้างด้วยความมั่นใจ (ที่ไม่ถูกต้อง) ว่าแผงโซลาร์นั้นสร้างขยะมากกว่านิวเคลียร์ถึง 300 เท่า ทว่าผลวิเคราะห์ดังกล่าวนี้ไม่ได้ตระหนึกถึงอายุการใช้งานของโซลาร์ที่ยาวนานถึง 40 ปี และส่วนประกอบเกือบทุกอย่างของแผงโซลาร์ที่สามารถนำมารีไซเคิลและนำกลับมาใช้ซ้ำได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทจำนวนมากกำลังทำกันอยู่ในปัจจุบัน

แผ่นกระจกบนแผงโซลาร์ร้อยละ 90 และสารกึ่งตัวนำ (อันเป็นสินแร่หายาก) ถึงร้อยละ 95 ยังสามารถนำมารีไซเคิลได้ บริษัทที่ผลิตแผ่นฟิล์มอย่างเฟิร์สโซลาร์ (First Solar) ได้เสนอโครงการรีไซเคิลขนาดใหญ่ที่จะเก็บโมดูลโซลาร์ที่ใช้งานแล้วถึงร้อยละ 85 และนำโมดูลเหล่านั้นไปรีไซเคิลให้ได้มากกว่าร้อยละ 80 ของทั้งหมด โดยผู้ผลิตแผงโซลาร์ส่วนใหญ่ในสหภาพยุโรปได้เสนอให้มีการนำแผงโซลาร์กลับไปรีไซเคิลได้โดยสมัครใจ ส่วนกลุ่มความร่วมมือกันของอุตสาหกกรมพลังงานแสงอาทิตย์ในสหรัฐอเมริกา (Solar Energy Industries Association: SEIA) กำลังร่วมมือกันกับทางยุโรปเพื่อพัฒนาโครงการรีไซเคิลโมดูลเหล่านี้ในสหรัฐอเมริกา

มลพิษโดยรวม

นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังชี้ว่ามลพิษที่เกิดจากพลังงานหมุนเวียนอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานน้ำนั้นน้อยกว่ามลพิษที่เกิดจากพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างมหาศาล โดยส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับที่น้อยมากแม้ว่าจะต้องใช้วัตถุดิบจำนวนมากก็ตาม  รายงานฉบับหนึ่งได้สรุปไว้ว่า ถึงแม้ว่าจะมีการใช้ส่วนประกอบที่เป็นพิษในการผลิตแผงโซลาร์ส่วนใหญ่ แต่กระบวนการผลิตไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานแสงอาทิตย์นั้นปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและคนงานกว่าจากถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และนิวเคลียร์อย่างมาก

สิ่งนี้นับเป็นสิ่งสำคัญในประเด็นที่กำลังถกเถียงกันอยู่ ซึ่งแน่นอนว่าแผงโซลาร์เองก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้เหมือนกัน ทว่านับเป็นปริมาณที่เล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับผลกระทบที่เกิดจากพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลและนิวเคลียร์ และนั่นคือสิ่งที่เราต้องเลือกว่าจะไปในทิศทางใด

ประเด็นสำคัญ: ความเสี่ยงด้านสุขภาพของมนุษย์จากการได้รับสารพิษในวัตถุดิบที่ใช้ผลิตแผงโซลาร์นั้นน้อยมากจนแทบไม่มี ส่วนความเสี่ยงด้านมลพิษนั้นก็สามารถลดปริมาณลงได้จากการทำเหมืองวัตถุดิบอย่างมีความรับผิดชอบ รวมถึงการรีไซเคิลส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่นานาประเทศกำลังทำอยู่ในปัจจุบัน

ร่วมบริจาค

ด้วยความช่วยเหลือจากคุณ ทำให้เราสามารถใช้วิธีการที่สร้างสรรค์อย่างสันติ เปิดโปงการทำลายสิ่งแวดล้อม ช่วยให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องมหาสมุทร ป่าไม้ แหล่งน้ำ อาหาร และสภาพภูมิอากาศ ซึ่งล้วนเป็นระบบพื้นฐานสำหรับทุกชีวิตบนโลกใบนี้

มีส่วนร่วม

แผง โซล่า เซลล์ อันตราย ไหม

ซึ่งในแผงโซล่าเซลล์นั้นมีส่วนประกอบของสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพคือ สารตะกั่วและแคดเมียม โดยสารตะกั่วนั้นมีสามารถสะสมได้ทั้งในคนและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสารตะกั่วจะเป็นอันตรายต่อระบบประสาท ไต ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบสืบพันธุ์ ส่วนแคดเมียมมีผลกรทบต่อระบบทางเดินหายใจและกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ และเป็นสาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมาก ...

ไฟโซล่าเซลล์ อายุกี่ปี

โซลาเซลล์ใช้ได้นานกี่ปี เป็นคำถามยอดฮิตสำหรับคนจะติดตั้งโซล่าเซลล์ และ คนทั่วไปจะเข้าใจว่า โซล่าเซลล์จะใช้งานได้ประมาณ 25 ปี แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นโซลาเซลล์จะยังสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าออกมาได้แม้ระยะเวลาจะผ่านไปนานกว่า 25 ปี แต่พลังงานไฟฟ้าที่ได้จะลดลงเรื่อยๆตามอายุการใช้งานของแผงโซลาเซลล์ (อัตราการลดลงของพลังงาน ...

โคมไฟโซล่าเซลล์ ใช้ได้นานไหม

ตอบ อายุการใช้งานของหลอดไฟถนน LED จะมีอายุการใช้งาน 10 ปี ส่วนตัวแผงโซลาร์เซลล์จะมีอายุการ ใช้งาน 20 ปี แต่สิ่งที่ต้องคอยเปลี่ยนเป็นประจำคือแบตเตอรี่จะมีอายุการใช้งาน 2 ปี

จะใช้ไฟโซล่าเซลล์โรงรถกี่วัตต์

ติดไฟเพดาน​โซล่าเซลล์โรงรถขนาด 300 วัตต์

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง