เครื่องวัดความดันแบบสอดแขน ราคากลาง

ใช้สำหรับวัดความดันโลหิต โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องพัน Cuff เหมาะสำหรับแผนกผู้ป่วยนอกที่ ต้องการความรวดเร็วในการให้บริการ

 

คุณสมบัติและลักษณะทั่วไป

  • เป็นเครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติชนิดสอดแขน
  • มีจอแสดงผลสามารถแสดงค่า Systolic, Diastolic และ Pulse Rate ได้
  • ใช้ได้กับไฟฟ้า 110- 220V 50/60 Hz

 

1. รายละเอียดคุณสมบัติ

    เครื่องวัดความดัน Hingmed DBP-01P

  • ใช้หลักการวัดแบบ Oscillometric method
  • สามารถวัดความดันโลหิตในช่วง (มีความถูกต้อง ±3 มิลลิเมตรปรอท)

    - ค่าความดันขณะหัวใจบีบตัว ( Systolic Blood Pressure - SYS) ได้ตั้งแต่ 40-260 mmHg
    - ค่าความดันขณะหัวใจคลายตัว ( Diastolic Blood Pressure – DIA) ได้ตั้งแต่ 20-210 mmHg

  • สามารถวัดอัตราการเต้นของชีพจร 40 – 200 ครั้งต่อนาที มีความถูกต้อง ± 3%
  • สามารถวัดผู้ป่วยที่มีขนาดรอบวงแขน ตั้งแต่ 17 – 42 เซนติเมตร
  • มีเซนเซอร์ตรวจสอบตำแหน่งของการสอดแขนและมีสัญลักษณ์ (Elbow ) แสดงความถูกต้องของตำแหน่งแขนก่อนทำการวัด ผ่านทางจอแสดงผล (Elbow Detection Sensor) พร้อมการแจ้งเตือนบนหน้าจอแสดงผล พร้อมกับมีที่รองรับปลายแขนขณะที่ทำการวัด
  • สามารถเลือกให้เครื่องพิมพ์ผลค่า MAP (Mean Arterial Pressure) หรือไม่พิมพ์ก็ได้
  • เครื่องพิมพ์ผลด้วยกระดาษพิมพ์ด้วยความร้อน (Thermal printing) ขนาด 58 มิลลิเมตร และเมื่อวัดเสร็จเครื่องจะทำการตัดกระดาษโดยอัตโนมัติ
  • สามารถวัดความดันโลหิตได้ทั้งแขนซ้ายและแขนขวา โดยมีปุ่ม Start / Stop 2 ปุ่ม เพื่อความสะดวกใน การใช้งานและมีปุ่มหยุดฉุกเฉิน (EMERGENCY STOP) 1 ปุ่ม
  • จอภาพแสดงผล เป็นตัวเลข LED แบบดิจิตอล ขนาดใหญ่ 8 นิ้ว สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
  • มีเสียงพูดแนะนำขณะที่ทำการวัด
  • Arm Unit สามารถถอดเปลี่ยนได้ ง่ายต่อการบำรุงรักษาและมีสัญลักษณ์แสดง เมื่อถึงเวลาต้อง เปลี่ยน
  • สามารถวัดค่าความดันแบบเฉลี่ยได้
  • สามารถเก็บค่าความจำทั้งหมด ได้สูงสุด 9,999 ค่า
  • ตัวเครื่องมีขนาดกะทัดรัด มีน้ำหนักไม่เกิน 6.5 กิโลกรัม
  • ตัวเครื่องมีขนาด(กว้างxยาวxสูง) 310 mm x 446 mm x 300 mm

 

2. อุปกรณ์ประกอบการใช้งาน

  • กระดาษบันทึกผล จำนวน 1 ม้วน
  • Cuff Cover จำนวน 2 อัน
  • AC Adaptor จำนวน 1 ชุด

 

3. การรับประกันสินค้า
  • สินค้ารับประกัน 2 ปี เต็ม
  • มีศูนย์ซ่อมบริการ ที่มีทีมช่างเทคนิคให้บริการ พร้อมให้คำปรึกษา วิธีการใช้งาน บริการตลอด 24 ชั่วโมง

 

สินค้าแนะนำ

คุณภาพดี การันตีงานคุณภาพ นำเข้าจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน

ลูกค้าที่ซื้อไปถูกใจทุกคน ใช้ง่าย วัสดุคุณภาพดี มีความทนทาน 

สินค้ารับประกันคุณภาพ 2 ปีเต็ม

 

โปรโมชั่นพิเศษ

ราคาพิเศษ 59,900 บาท ราคาต้นทาง ไม่ผ่านคนกลาง !!

อุปกรณ์พร้อมใช้งาน

ถูกที่สุด!! ที่นี่ที่เดียว!! 

 

อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้

ใบอนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์เลขที่ ฆพ.1790/2564

 

โรคความดันโลหิตสูง

  • โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะแรงกดดันในหลอดเลือดแดงที่มีค่าสูงเกินปกติ จะวัดค่าความดันได้ตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีความดันเลือดปกติจะวัดค่าความดันได้ 120/80 มิลลิเมตรปรอท โรคความดันโลหิตสูงถือเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวโดยเฉพาะต่อการทำงานของหัวใจ ความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการอะไร แต่มีการทำลายอวัยวะต่างๆ ไปทีละน้อยอย่างช้าๆ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคร้ายตามมา เช่น ภาวะหัวใจวาย โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด ไตเสื่อมสมรรถภาพ อัมพาต อัมพฤกษ์ เป็นต้น ความดันโลหิตสูงหากปล่อยไว้นาน ไม่รักษา อาจส่งผลต่อการทำงานของระบบภายในร่างกายดังนี้

 

ภัยร้ายของโรคความดันโลหิตสูง

  • ความดันโลหิตสูงส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้ผนังหัวใจหนาตัว หลอดเลือดหัวใจหนาตัว และถ้าไม่ได้รักษาอย่างถูกต้อง ผนังหัวใจจะยืดออกและเสียหน้าที่ ทำให้เกิดหัวใจโต หัวใจขาดเลือด และหัวใจวายได้
  • ความดันโลหิตสูงส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงที่ไตไม่เพียงพอ ทำห็เกิดไตวายเรื้อรังตามมา
  • ความดันโลหิตสูงส่งผลให้หลอดเลือดตีบ โป่งพอง เลือดไปเลี้ยงอวัยวะได้น้อยลง
  • ความดันโลหิตสูงมีผลต่อเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงจอประสาทตา ทำให้จอประสาทตาเสื่อม การมองเห็นมีปํญหา
  • ความดันโลหิตสูงอาจเป็นสาเหตุของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

 

อาการของโรคความดันโลหิตสูง

  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการ ไม่มีอาการผิดปกติหรือสัญญาณเตือน ยกเว้นผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงระยะรุนแรงก็อาจมีอาการแสดง เช่น ปวดศีรษะรุนแรง หายใจได้สั้นลง เลือดกำเดาไหล ปวดมึนท้ายทอย หรือรู้สึกตึงที่ต้นคอ เวียนศีรษะ บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะตุบๆ เหมือนไมเกรน ในผู้ป่วยที่เป็นมานาน อาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ และอาจเป็นอันตรายจนทำให้เสียชีวิตได้

 

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงโรคความดันสูง

ความน่ากลัวของโรคความดันเลือดสูงคือผู้ป่วยส่วนใหญ่ ไม่สามารถตรวจหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ว่าเกิดขึ้นจากอะไร โดยทางการแพทย์นั้นได้อธิบายโรคความดันเลือดสูงนี้ว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์ เช่น เกิดจากกรรมพันธุ์ และอายุที่มากขึ้น โดยส่วนใหญ่จะพบได้มากในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40-50 ปีขึ้นไปหรือวัยหมดประจำเดือน

 

วิธีวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน

  • ไม่ควรดื่มชา กาแฟ ไม่ควรสูบบุหรี่ หรือออกกำลังกายก่อนทำการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน อย่างน้อย 30 นาที
  • ก่อนทำการวัดความดัน ควรถ่ายปัสสาวะให้เรียบร้อย
  • ควรนั่งเก้าอี้โดยให้หลังพิงพนักเพื่อไม่ให้หลังเกร็ง และเท้าทั้ง 2 ข้างควรวางราบกับพื้น เพื่อให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายเป็นเวลา 5 นาที ก่อนวัดความดันโลหิต
  • วัดความดันโลหิตในแขนข้างที่ไม่ถนัด หรือข้างที่มีความดันโลหิตสูงกว่า โดยวางแขนให้อยู่ในระดับเดียวกันกับหัวใจ
  • ขณะวัดความดันโลหิตไม่กำมือ ไม่พูดคุย ไม่ขยับตัวไปมา

 

การอ่านค่าบนเครื่องวัดความดัน

  • การวัดความดันโลหิต ค่าความดันที่วัดได้จากเครื่องวัดความดัน จะออกมา 2 ค่า คือ ค่าความดันตัวบนและค่าความดันตัวล่าง ซึ่งตัวเลขทั้งสองค่าจะรายงานเป็นมิลลิเมตรปรอท (mm/Hg) โดยระดับความดันทั้ง 2 ค่า ยิ่งสูงมากก็ยิ่งจะมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้มากขึ้นตามลำดับ
  1. ค่าความดันตัวบน คือ ระดับความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว มากกว่าหรือเท่ากับ 140 (mm/Hg) ขึ้นไป
  2. ค่าความดันตัวล่าง คือ ระดับความดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว มากกว่าหรือเท่ากับ 90 (mm/Hg) ขึ้นไป
  • ค่าความดันโลหิตสูงเล็กน้อย 140 - 159 (mm/Hg) และ 90 - 99 (mm/Hg)
  • ค่าความดันโลหิตสูงปลานกลาง 160 - 179 (mm/Hg) และ100 - 109 (mm/Hg)
  • ค่าความดันโลหิตสูงมาก มากกว่า 180 (mm/Hg) และ มากกว่า 110 (mm/Hg)

 

ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่มีความดันสูง

  • หากทราบว่าตนเองเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัย โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา การรักษาความดันโลหิตถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง และจำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่อาจเกิดตามมา การตรวจวินิจฉัยแพทย์จะทำการตรวจอย่างละเอียด ดูการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ตรวจภาวะหัวใจโต ตรวจภาวะไตเสื่อม และตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ รวมถึงตรวจหาโรคร่วมที่มาพร้อมกับความดันโลหิตสูง เช่น โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

 

การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

  • สามารถป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้ด้วยการลดกินเกลือโซเดียม หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีรสเค็ม หรืออาหารที่มีโซเดียมมากเกินไป เช่น กะปิ นํ้าปลา ของหมักดอง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง