การประเมินน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ หมายถึง

                    ��á�����硷�������ص�ӡ��� 2 �Ǻ �е�ͧ���Ըա���Ѵ�������㹷�ҹ͹ �����������㹷�ҷ�������������´�ç ��ǹ����ЪԴ�Ѻ����Ѵ ������Ը�����͹����Ѵ��ǹ�������������ҪԴ�Ѻ������� 㹢�з�������� 2 �Ǻ���� ���١�Ѵ�е�ͧ�ʹ�ͧ��� �׹������Һ ��ҪԴ �״��ǵç��ǹ�ͧ����� ��ѧ �� ���� ����� ����������Ѵ ���ͧ�ç仢�ҧ˹�� �������͹����Ѵ��������ʡѺ����оʹ� �¤����ҹ��������´�֧ 0.1 ૹ������

ดัชนีบ่งชี้ที่ใช้ในการประเมินการเจริญเติบโต การใช้นํ้าหนักและส่วนสูงในการประเมินภาวะการเจริญเติบโต มี 3 ดัชนี คือ

  1. นํ้าหนักตามเกณฑ์อายุ (weight for age)
  2. ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ (height for age) และ
  3. นํ้าหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง (weight for height)

    ดัชนีแต่ละตัวจะให้ความหมายในการประเมินซึ่งมีข้อเด่นและข้อด้อยที่แตกต่างกันโดยเฉพาะเมื่อนําไปใช้ในการสํารวจภาคตัดขวาง (cross-sectional survey) จึงมีข้อพึงระวังในการแปลความหมายจากการประเมินได้ดังนี้

นํ้าหนักตามเกณฑ์อายุ (weight for age)

นํ้าหนักเป็นผลรวมของกล้ามเนื้อ ไขมัน นํ้า และกระดูก นํ้าหนักตามเกณฑ์อายุเป็นดัชนีบ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ของการเจริญเติบโตของนํ้าหนักที่เพิ่มขึ้นตามอายุของเด็ก เป็นดัชนีที่นิยมใช้แพร่หลาย ในการประเมินภาวะการขาดโปรตีนและพลังงาน

ข้อเด่น

  1. เป็นดัชนีที่ใช้ง่าย รวดเร็ว ไม่จําเป็นต้องใช้ผู้ที่มีความชํานาญเฉพาะด้านในการวัด
  2. สามารถสะท้อนขนาดของปัญหาการขาดโดยรวม ทั้งการขาดโปรตีนและพลังงานแบบเฉียบพลันที่ทําให้เด็กผอม หรือการขาดโปรตีนและพลังงานแบบเรื้อรังที่ทําให้เด็กตัวเตี้ย หรือปัญหาการบกพร่องทั้งสองด้าน ใช้สะท้อนผลกระทบโดยรวมของภาวะวิกฤตฉุกเฉินได้
  3. มีการเปลี่ยนแปลงเร็วพอจะเห็นได้ง่าย เป็นประโยชน์ในการศึกษาติดตามการเจริญเติบโตของเด็ก ซึ่งมีการวัดเป็นระยะ ๆ ในระบบเฝ้าระวังทางโภชนาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทารกและเด็กก่อนวัยเรียน

ข้อด้อย

  1. ในกรณีของเด็กที่มีนํ้าหนักน้อยกว่าเกณฑ์จะไม่สามารถแยกได้ชัดเจนว่านํ้าหนักน้อยเนื่องจากการขาดโปรตีนและพลังงานแบบฉับพลัน (ผอม) หรือแบบเรื้อรัง (เตี้ย) อย่างไรก็ตามสําหรับเด็กอายุตํ่ากว่า 2 ปี ซึ่งการขาดสารอาหารอย่างเรื้อรังยังไม่ปรากฏมากนัก นํ้าหนักตามเกณฑ์อายุที่ตํ่ากว่าเกณฑ์อ้างอิงยังใช้เป็นดัชนีของการขาดโปรตีนและพลังงานแบบฉับพลันได้
  2. เด็กที่มีรูปร่างค่อนข้างสูงหรือสูงมากเนื่องจากได้รับการเลี้ยงดูดีและมีพันธุกรรมสูงอาจจะมีนํ้าหนักตามเกณฑ์อายุมากกว่าเกณฑ์อ้างอิงและถูกเข้าใจว่าเป็นเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินทั้ง ๆ ที่มีนํ้าหนักเหมาะสมกับส่วนสูง (สมส่วน) ดังนั้นดัชนีนํ้าหนักตามเกณฑ์อายุจึงเป็นดัชนีบ่งชี้ที่ไม่เหมาะสมสําหรับการประเมินภาวะโภชนาการเกินในเด็กอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป
  3. เด็กที่มีอายุเดียวกันและมีนํ้าหนักเท่ากันแต่มีส่วนสูงแตกต่างกัน ทําให้มีภาวะอ้วน – ผอมแตกต่างกันได้ คืออาจเป็นเด็กที่มีรูปร่างผอม หรือเด็กที่มีส่วนสูงปกติรูปร่างสมส่วน หรือเด็กที่อ้วนเตี้ย จะถูกประเมินว่ามีภาวะโภชนาการในระดับเดียวกันหมด
  4. เด็กที่มีปัญหาสุขภาพที่มีอาการบวม หรือเด็กที่ขาดสารอาหารโปรตีนและพลังงานอย่างรุนแรงจะมีอาการบวม ซึ่งทําให้มีนํ้าหนักเพิ่มขึ้น อาจแปลผลผิดว่าเป็นเด็กปกติ
  5. จําเป็นต้องทราบอายุที่แท้จริงของเด็ก


การใช้กราฟนํ้าหนักตามเกณฑ์อายุ

เป็นการนํานํ้าหนักมาเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของเด็กที่มีอายุเท่ากัน ใช้ดูนํ้าหนักของเด็กว่ามีนํ้าหนักมากหรือน้อยกว่าเกณฑ์เมื่อเทียบกับเด็กที่มีอายุเท่ากันแต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเด็กอ้วนหรือไม่ แบ่งกลุ่มภาวะการเจริญเติบโตเป็น 5 ระดับ คือ

1) นํ้าหนักมาก (มากกว่า +2 SD) หมายถึง ยังบอกไม่ได้ว่าเด็กอ้วนหรือไม่ ต้องประเมิน
โดยใช้กราฟนํ้าหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง
2) นํ้าหนักค่อนข้างมาก (อยู่เหนือเส้น +1.5 SD ถึง +2 SD) หมายถึง นํ้าหนักอาจอยู่ในเกณฑ์
เสี่ยงต่อนํ้าหนักมาก ต้องประเมินโดยใช้กราฟนํ้าหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง
3) นํ้าหนักตามเกณฑ์ (อยู่ระหว่างเส้น -1.5 SD ถึง +1.5 SD) หมายถึง นํ้าหนักเหมาะสม
กับอายุ
4) นํ้าหนักค่อนข้างน้อย (อยู่ตํ่ากว่าเส้น -1.5 SD ถึง –2 SD) หมายถึง นํ้าหนักอยู่ในเกณฑ์
เสี่ยงต่อการขาดอาหาร
5) นํ้าหนักน้อย (อยู่ตํ่ากว่าเส้น –2 SD) หมายถึง นํ้าหนักอยู่ในเกณฑ์ขาดอาหาร

growth6_19year-weight-for-ageดาวน์โหลด

ที่มา : หนังสือคู่มือการใช้เกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเด็กอายุ 6 – 19 ปี สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

Guide-Using-the-Growth-Criteria-for-Children-Ages6_19ดาวน์โหลด

คะแนนความพึงพอใจ

บันทึกคะแนน

/ 5.

สาระความรู้เพิ่มเติม

สาระความรู้เพิ่มเติม

สาระความรู้เพิ่มเติม

34e610456ad3d8c5f2912b2dcd0b6741

34e610456ad3d8c5f2912b2dcd0b6741

กิจกรรมขอเชิญชวนสร้างสรรค์คลิปวิดีโอ เข้าร่วมการประกวดคลิปสั้น

ข่าวสาร

สถานเอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทย ร่วมกับสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยและบริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา ประเทศไทย จัดเสวนา “Urbanization and Obesity” ชีวิตคนเมืองกับเรื่องโรคอ้วน

การประเมินส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ หมายถึงอะไร

2.) ส่วนสูง/อายุ (Height for age, H/A) การวัดส่วนสูงทำได้เที่ยงตรงยากโดยเฉพาะในเด็ก ในเด็กเล็กมักวัดความยาวโดยให้นอนวัด มาตรฐานขององค์การอนามัยโลกจึงเป็นความยาว (Length) ในเด็กอายุ 0-3 เดือน และเป็นความสูง อายุ 2-18 ปี ส่วนสูงต่ออายุจะแสดงถึงสภาวะโภชนาการที่ผ่านมา เพราะส่วนสูงเปลี่ยนแปลงช้ากว่าน้ำหนัก ส่วนสูงมักเป็นผล ...

อายุ15น้ําหนักเท่าไร

อายุ 15-17 เดือน เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 77.5-79.7 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 9.6-10 กิโลกรัม ส่วนเด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 79.2-81.3 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 10.3-10.7 กิโลกรัม

เกณฑ์ที่ใช้ดูการเจริญเติบโตของทารกมีอะไรบ้าง

2.วิธีวัดการเจริญเติบโตของทารกจากความยาว.
ในช่วงวัยแรกเกิดถึง 6 เดือน เด็กหญิงควรตัวยาวขึ้น >/ 16 cm. เด็กชายควรตัวยาวขึ้น >/ 17 cm..
เด็ก 6-12 เดือนควรยาวเพิ่มขึ้นอีก >/ 8 cm. หรือเมื่ออายุ 1 ปีความยาวควรจะเป็น 1.5 เท่าของแรกเกิด.

น้ําหนักและส่วนสูงเป็นตัวบ่งชี้เรื่องอะไร

ดัชนีมวลกาย หรือ BMI ย่อมาจาก Body Mass Index เป็นค่าสากลที่ใช้เพื่อคำนวณเพื่อหาน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น และประมาณระดับไขมันในร่างกายโดยใช้น้ำหนักตัว และส่วนสูง การคำนวณดัชนีมวลกายไม่ใช่การวัดโดยตรงแต่ก็เป็นตัวชี้วัดไขมันในร่างกายที่ค่อนข้างเชื่อถือได้สำหรับคนส่วนใหญ่

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง