ผู้ช่วยผู้จัดการร้านอาหาร คุณสมบัติ

ผู้ช่วยผู้จัดการ

ผู้ช่วยผู้จัดการร้าน

- รับผิดชอบดูแลความเรียบร้อยของพนักงานในร้านอาหาร ทั้งด้านการแต่งกายและการบริการ

-ทำความสะอาดร้านและดูแลความเรียบร้อยภายในร้่าน

-ทำหน้าที่ตรวจเช็คการจัดเตรียมความพร้อม และความสะอาดก่อนร้านเปิด หรือ ปิด

-สามารถทำงานในภาวะกดดันได้

-สามารถนำเสนอโปรโมชั่นและเมนูสำหรับเทศกาลต่างๆ ด้

-ทำรายงานตรงต่อผู้จัดการร้านได้

-ดูแลและจัดฝึกอบรมระเบียบวินัยให้กับพนักงานภายในร้าน

-สามารถสือสารภาษาอังกฤษได้

-สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้

-สามารถทำงานเป็นกะได้

สวัสดิการ :  - ประกันสังคม

                - อาหารพนักงาน

                - เครื่องแบบพนักงาน

                - เงิน Service Charge 

                - เงินช่วยเหลือกรณีพนักงานเสียชีวิต / บิดา มารดา บุตร ภรรยา หรือ สามี เสียชีวิต

                - เงินทุนการศึกษา

สนใจติดต่อแผนกบุคคล  :  
ร้าน The Club (ถนนข้าวสาร) ตรงข้ามธนาคารกรุงไทย
061-3862718 , 02-6295102 
 สามารถติดต่อ ได้ในเวลา  10.00 – 17.00  น  (วันจันทร์ – วันศุกร์)

E-mail: 

Facebook: Buddy Khaosan

Line ID: hr.buddy

ขอต่อเนื่องเรื่องคุณสมบัติและหน้าที่ของผู้จัดการร้านกันอีกสักตอน เพราะจะว่าไปแล้วผู้จัดการร้านถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญนำพากิจการร้านอาหารให้สำเร็จหรือล้มเหลวได้เลย ถ้าร้านไหนมีผู้จัดการที่ดีร้านนั้นก็มีโอกาสรุ่งกิจการเติบโตเพราะผู้จัดการร้านที่ดีจะมาพร้อมคุณสมบัติของการเป็นนักบริหาร 360 องศาฯ เรามาติดตามกันว่าการเป็นนักบริหารของผู้จัดการร้านที่ดีนั้นมีหน้าที่อะไรบ้าง

คอยบริหารยอดขายของร้านให้เป็นไปตามเป้าหมายที่เจ้าของกิจการกำหนดไว้ ซึ่งข้อนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากถือว่าเป็นภารกิจต้นๆ ที่ผู้จัดการร้านจะต้องนึกถึงอยู่สม่ำเสมอ ว่าจะทำอย่างไรให้ยอดขายเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งผู้จัดการร้านจะต้องมีแผนการกลยุทธ์ต่างๆ นำมาเสนอเจ้าของกิจการ ยิ่งเป็นช่วงยอดตกจากสถานการณ์ต่างๆ ผู้จัดการร้านยิ่งต้องคิดหาแผนการกระตุ้นยอดขาย ไม่ใช่ปล่อยให้ร้านเป็นไปตามสถานการณ์นั้นๆ


ดูแลเรื่องการสั่งวัตถุดิบเข้าร้านเพื่อให้มีเพียงพอต่อการขายในแต่ละวัน ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงพอต่อการขาย ยังต้องคำนวณไม่ให้วัตถุดิบที่สั่งเข้ามานั้นเหลือค้าง Stock จนส่งผลกระทบต่อคุณภาพของวัตถุดิบ หรือวัตถุดิบเหลือ
ค้างจนใช้ไม่ทันและหมดอายุเป็นต้นทุนสูญเปล่าของร้าน

คอยบริหารความพึงพอใจของลูกค้า โดยการหาโอกาสในการพูดคุยกับลูกค้าสอบถามถึงความพึงพอใจที่ได้รับในการบริการ คุณภาพของอาหาร และในการพูดคุยกับลูกค้าโดยตรงนั้น ยังเป็นการสร้างความประทับใจให้ลูกค้า
ให้เกิดความรู้สึกผูกพันธ์กับร้านได้อีกด้วย


คอยแก้ไขปัญหาการร้องเรียนของลูกค้า ซึ่งในการทำร้านอาหารหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะพบกับการร้องเรียนของลูกค้าซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ที่ผู้จัดการร้านควรมีทักษะในการแก้ไขข้อร้องเรียนต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในร้าน และควรแก้ไขให้จบลงภายในร้านให้ได้เพราะเมื่อใดก็ตามที่ลูกค้าออกจากร้านไปโดยยังไม่ได้รับการแก้ไข มีโอกาสสูงมากที่จะนำความไม่พอใจนั้นไปโพสต์หรือแชร์ลงโลกโซเชี่ยลได้


จัดการดูแลเรื่องต้นทุนอาหาร ให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เพราะต้นทุนอาหารคือต้นทุนที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดในการทำธุรกิจร้านอาหารหากผู้จัดการไม่ทราบถึงวิธีการดูแลต้นทุนอาหาร ต่อให้ขายได้มากเท่าใดแต่ดูแลต้นทุนอาหารไม่ได้ก็มีโอกาสที่จะมีกำไรน้อยจนถึงขาดทุนได้ ซึ่งในการดูแลต้นทุนอาหารนั้น ผู้จัดการร้านสามารถดูแลผ่านกระบวนการดูแลต้นทุนอาหารต่างๆ เช่น ขั้นตอนการรับสินค้า, การสั่งวัตถุดิบ, การนับStockวัตถุดิบ, ขั้นตอนการทำงานในจุดต่างๆ, ระบบการเชียร์ขายอาหาร เป็นต้น

จัดการบริหารค่าแรงพนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าแก๊ส และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับยอดขายในแต่ละเดือน หรือทางเพื่อนๆ หากเปิดร้านมาสักพักแล้ว และมีการทำงบกำไร-ขาดทุน(P&L)มาตลอด ก็สามารถนำข้อมูลงบกำไร-ขาดทุนนั้นมาตั้งเป็นเกณฑ์ในการให้ผู้จัดการร้านบริหารร้านต่อไปได้

ทำสรุปข้อมูลการขายรายวัน และสรุปยอดขายรายเดือน เช่น ยอดขาย จำนวนลูกค้า จำนวนบิล ค่าเฉลี่ยต่อหัว ค่าเฉลี่ยต่อบิล ข้อมูลโปรโมชั่น และข้อมูลอื่นๆ ที่ทางเจ้าของกิจการต้องการทราบ เพื่อนำไปวิเคราะห์ทำการตลาดหรือวางกลยุทธ์ต่อไป

คอยนำเสนอแนวทางในการพัฒนาร้านด้านต่างๆ เช่น การเพิ่มยอดขาย, วิธีการทำงานที่รวดเร็วหรือดียิ่งขึ้น, การควบคุมต้นทุนต่างๆ หรือแม้แต่การพัฒนาความสุขและความเป็นอยู่ของพนักงาน ผู้จัดการร้านก็ควรที่จะมีการนำเสนอมาให้กับเจ้าของกิจการเพื่อพิจารณาอยู่เรื่อยๆ

คอยรายงานปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในร้านให้กับทางเจ้าของกิจการร้านทราบอยู่สม่ำเสมอ ทั้งปัญหาที่แก้ไขไปแล้ว และปัญหาที่กำลังรอการตัดสินใจ

คอยสนับสนุนกิจรรมทางการตลาดที่ทางเจ้าของกิจการได้ทำขึ้น เพื่อให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คือหน้าที่ที่ผู้จัดการ้านจำเป็นต้องทำนำมาแบ่งปั่นต่อกันให้กับเพื่อนๆ ผู้ประกอบการได้ทราบเพื่อนำไปมอบหมายภารกิจหน้าที่ให้กับผู้จัดการร้านได้อย่างเหมาะสม แต่หากร้านไหนไม่มีผู้จัดการร้านเจ้าของเป็นคนจัดการเองคุณสมบัติทุกข้อที่กล่าวมาจะตกอยู่ที่เจ้าของร้านแต่เพียงผู้เดียว

ดังนั้นก่อนที่เพื่อนๆ จะนำข้อมูลทั้งหมดนี้กลับไปมอบหมายให้ผู้จัดการร้านทำ อยากให้เพื่อนๆ ได้ลองทำทั้งหมดนี้ให้ชำนาญก่อน จากนั้นจึงถ่ายทอดผ่านการสอนให้กับผู้จัดการร้านต่อไปนะครับ

TR : กระต่ายดำ

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง