ถุงลมนิรภัย ทำงาน ที่ ความเร็ว เท่าไร

         

การเดินทางด้วยพาหนะบนท้องถนนในประเทศไทยต้องใช้ความระมัดระวังให้มาก เพราะจากสถิติของคณะทำงานจัดทำแผนและมาตรการลดการสูญเสียจากภัยบนท้องถนนพบว่าในปี ค.ศ. 2016 หรือปี พ.ศ 2559 มีจำนวนผู้เสียชีวิตทางถนนมากถึง 22 356 ราย หรือมีผู้เสียชีวิต 62 รายต่อวัน ยังไม่นับจำนวนผู้ที่บาดเจ็บอีกจำนวนมาก ตีเป็นงบประมาณของรัฐที่ต้องสูญเสียถึงห้าแสนล้านบาท เทียบกับจำนวนประชากร ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตทางถนนเป็นอันดับต้นๆของโลก กรมทางหลวงสรุปอุบัติเหตุข้อมูล 6 เดือนแรกของปี ค.ศ. 2018 หรือปี พ.ศ. 2561 ว่าบนทางหลวงอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดบริเวณทางตรงร้อยละ 65 รองลงมาคือทางโค้งปรกติร้อยละ 13

         การที่อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดบริเวณทางตรงเพราะสาเหตุหลักการเกิดอุบัติเหตุมาจากผู้ขับขี่รับรถด้วยความเร็วสูงกว่ากฎหมายกำหนดถึงร้อยละ 71 ในแต่ละปีทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตทางถนนมากกว่า 1.25 ล้านคน นี่นับเป็นภัยคุกคามที่น่ากังวลมาก นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจึงคิดหาหนทางหรือสิ่งประดิษฐ์เพื่อช่วยลดอัตราการเสียชีวิตนี้ และหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยรักษาชีวิตผู้คนก็คือถุงลมนิรภัย

          ถุงลมนิรภัย (Airbag) คือสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นเพื่อความปลอดภัยของยานพาหนะ ทำหน้าที่เหมือนหมอนนุ่มเพื่อป้องกันการกระแทกกับวัสดุภายในรถเมื่อเกิดอุบัติเหตุการชน โดยถุงลมนิรภัยจะขยายตัวอย่างรวดเร็วออกมาจากอุปกรณ์ที่เก็บมันไว้เช่นในพวงมาลัยของรถยนต์เมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดยในปัจจุบันตามปรกติบริษัทผู้สร้างรถยนต์จะให้ถุงลมนิรภัยหลายจุดตามบริเวณที่นั่งโดยสารต่างๆ

          เราสามารถอธิบายเรื่องถุงลมนิรภัยได้โดยใช้ความรู้ทางฟิสิกส์ โมเมนตัม (Momentum) คือปริมาณการเคลื่อนที่ของวัตถุ บอกถึงความพยายามที่วัตถุนั้นจะเคลื่อนที่โดยนิยามโดยสมการ

\(\overrightarrow{P}={m}\overrightarrow{v}\)
โดยที่ \(\overrightarrow{P},m,\overrightarrow{v}\) คือ โมเมนตัม มวล และความเร็วของวัตถุตามลำดับ

          สิ่งสำคัญที่เราต้องสนใจคือแรงดล (Impulsive force) หมายถึงแรงที่มากระทำต่อวัตถุนั้นในช่วงเวลาสั้นๆ หรือกล่าวอีกอย่างแรงดลหมายถึงการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัมที่เปลี่ยนไปในช่วงเวลาสั้นๆ แรงดลมีหน่วยเป็นนิวตันสามารถเขียนความสัมพันธ์ได้เป็นสมการ

\(\overrightarrow{F}= \frac{m(\overrightarrow{v}-\overrightarrow{u})}{\Delta \,t} \)
โดยที่ \(\overrightarrow{F},m,\overrightarrow{v},\overrightarrow{u},Δt\) คือ แรงดล มวลของวัตถุ ความเร็วตอนปลาย ความเร็วตอนต้น และผลต่างของเวลาตามลำดับ

เมื่อรถยนต์เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงพุ่งเข้าชนกำแพงเหล็กทำให้รถมีความเร็วเป็น 0 เมตร/วินาที อย่างรวดเร็วทำให้เกิดแรงดลที่มีค่ามาก ร่างกายของผู้ขับขี่จะชนกระแทกกับวัสดุภายในรถทำให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิต สิ่งที่ถุงลมนิรภัยทำก็คือช่วยยืดระยะเวลาการชนของร่างกายของผู้ขับขี่และผู้โดยสารนี้ให้นานขึ้น จากสมการจะเห็นว่า เมื่อ Δt มากขึ้น แรงดลก็จะน้อยลง (ถ้าเปลี่ยนจากถุงลมนิรภัยเป็นผนังเหล็กแทนจะเห็นว่า Δt จะน้อยมาก แรงดลก็จะมาก)  เพราะถุงลมนิรภัยเป็นเหมือนหมอนนุ่ม ยืดระยะเวลาการชนของร่างกายของผู้ขับขี่และผู้โดยสารให้นานขึ้นและยังกระจายแรงดลไปทั่วพื้นที่ของร่างกายให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ร่างกายของผู้ขับขี่และผู้โดยสารก็จะมีความเสี่ยงในการบาดเจ็บและเสียชีวิตน้อยลง

การทำงานของถุงลมนิรภัย

         

โดยอุปกรณ์หลักของของถุงลมนิรภัยประกอบด้วยสิ่งสำคัญ 5 อย่างด้วยกันคือ ตัวตรวจวัดความเร่ง (accelerometer) วงจร ส่วนของความร้อน ส่วนจุดระเบิด และส่วนของถุงลมนิรภัย โดยตัวตรวจวัดความเร่งจะตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของความเร็ว เมื่อรถยนต์ชนกับกำแพงหรือรถยนต์คันอื่น ตัวตรวจวัดความเร่งจะส่งสัญญาณไปที่วงจรทันที วงจรจะส่งกระแสไฟฟ้าไปยังส่วนของความร้อน ส่วนนี้สร้างความร้อนคล้ายเตารีดหรือเครื่องปิ้งขนมปังที่ใช้กันในบ้านแต่สร้างความร้อนได้เร็วกว่ามาก ไปจุดระเบิดทำให้เม็ดของแข็งของโซเดียม เอไซด์(Sodium Azide) ให้ระเบิด การระเบิดนี้ทำให้เกิดแก๊สไนโตรเจนไปเติมถุงลมนิรภัยที่แฟบซ่อนอยู่ให้ขยายตัวออกมาอย่างรวดเร็วโดยกระบวนการทั้งหมดนี้ใช้เวลาเพียง 0.08 วินาที โดยถุงลมนิรภัยนี้ก็จะมีรูเล็กๆระบายแก๊สออก เมื่อมีการชนเกิดขึ้นถึงลมนิรภัยนี้ก็จะเป็นดังหมอนนุ่มค่อยๆแฟบระหว่างที่ร่างกายหรือศีรษะของผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารพุ่งชน ถุงลมนิรภัยจะช่วยเพิ่มผลต่างของเวลา Δt ในสมการแรงดล ทำให้แรงดลมีค่าลดลงและยังช่วยกระจายแรงดลออกไปสู่พื้นที่ที่มากขึ้น และนี่เองที่ช่วยให้ผู้ประสบอุบัติเหตุมีโอกาสมีชีวิตรอดมากขึ้น

          และนี่คือความสำเร็จของวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ที่ช่วยออกแบบอุปกรณ์ที่ช่วยรักษาชีวิตของผู้คน ในระยะเวลาหลายสิบปีตั้งแต่มีการใช้ถุงลมนิรภัยมันได้ช่วยรักษาชีวิตของผู้คนได้จำนวนมาก อย่างไรก็ตามแม้จะมีเทคโนโลยีต่างๆมาช่วยเหลือ รักษาชีวิตเรามากมาย แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการไม่ประมาท จะได้ใช้ชีวิตอยู่ต่อไป ได้ศึกษาวิชาฟิสิกส์หรือทำสิ่งที่ตัวเองชอบต่อไป ขอให้ผู้ใช้พาหนะเดินทางบนท้องถนนทุกคนเดินทางถึงจุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัย

บทความโดย

ณัฐพล โชติศรีศุภรัตน์
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อ้างอิง

  • Popsci.com. (2016). How Airbags Work, And How They Can Fail. [online] Available at: //www.popsci.com/how-airbags-are-supposed-to-work/ [Accessed 25 Aug. 2019].
  • World Health Organization. (n.d.). Number of road traffic deaths. [online] Available at: //www.who.int/gho/road_safety/mortality/traffic_deaths_number/en/ [Accessed 25 Aug. 2019].  

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง