สอบ ATC (วิทยุการบิน 2563 Pantip)

มีน้องๆ หลายท่าน เข้ามาถามใน inbox ว่า ATC จะเปิดสอบอีกเมื่อไหร่?

คำตอบคือ พี่ก็ไม่ทราบแน่ชัดครับ แต่เอาที่แน่ๆน่ะ ปี 2019 มีการรับสมัคร โดยที่ผู้ผ่านการคัดเลือก ทางบริษัทวิทยุการบิน เค้าแบ่งการเทรน(หรือเรียกว่าการเริ่มงานก็ได้) ออกเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 : เดือนกุมภาพันธ์ 2563
กลุ่มที่ 2 : เดือนกรกฎาคม 2563
กลุ่มที่ 3 : เดือนธันวาคม 2563

แต่เนื่องจากปีนี้ มีโควิท ทำให้การเทรน ถูกเลือนออกไป ณ เวลานี้ กลุ่มที่ 1 เรียนอยู่ที่สถาบันการบินพลเรือน เรียนจบ 2 เฟส จากทั้งหมด 4 เฟส (1. Lecture , 2.Aerodrome, 3.Approach, 4.Area) ซึ่งถ้าจบทั้งหมดแล้ว จะกลับไปประจำศูนย์ที่ตนเองลงเพื่อปฎิบัติงานจริง

กลุ่มที่ 2 กำลังจะเริ่มเรียนที่สถาบันการบินพลเรือน และกำหนดการเริ่มงานของกลุ่มที่ 3 คือ เดือนมีนาคม 2564 และกว่าจะเทรนเสร็จใช้เวลาประมาณ 5-6 เดือน ถ้าคิดจากตรงจุดนี้ ATC ปีหน้า ถ้าเปิดสอบ ก็อาจจะเป็นปลายปี หรือไม่ ก็ไม่เปิดสอบในปี 2564

ซึ่งพี่คิดว่า โอกาสไม่เปิดในปี 2564 มีค่อนข้างสูง ต้องบอกว่าโควิทมา มันเปลี่ยนจริงๆ ทั้งวงการบินเลย ไม่แค่ ATC อย่างเดียว

ท้ายสุด โอกาสก็เป็นของผู้ที่มีความพร้อมเสมอ อย่าปล่อยเวลาให้ล่วงเลย เตรียมตัวให้พร้อม เมื่อมีโอกาสจะได้ไขว่คว้ามันได้

คืนนี้ 15/10/2563 หลับฝันดีราตรีสวัสดิ์ น้องๆและผู้ปกครองทุกๆท่าน

บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด รับสมัครบุคคลภายนอกเพื่อเข้าปฏิบัติงาน ประจำปี 2561 ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวนหลายอัตรา ตั้งแต่วันที่ 24 - 25 มีนาคม 2561

วุฒิ ป.ตรีทุกสาขา จำนวนหลายอัตรา



*** รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก ***
 

สนใจ #แนวข้อสอบบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ติดต่อที่ 

โทร : 0844283086 (ณัฐพงศ์)

Line : 0844283086

email:

** ข้อสอบมี 4 แบบ **

1. ไฟล์ PDF ชุดละ 399 บาท (ได้รับภายในวันที่สั่งซื้อ รวดเร็วทันใจ) 

2. หนังสือ+VCD ราคา 699 บาท (ส่งฟรี ems พร้อม VCD บรรยายต่างๆ) 

3. ชุดติว VCD + หนังสือ ราคา 1500 บาท (VCD ครอบคุมในหนังสือที่สอบ)

4. ชุดติว DVD + หนังสือ ราคา 2500 บาท (เจาะลึกจัดเต็ม เข้าใจง่าย)

สนใจชำระค่าสินค้าและบริการ แล้วแจ้งได้เลยครับ

เลขที่บัญชี 476-0-29971-8 ประเภทบัญชี ออมทรัพย์ ธ.กรุงไทย 

ชื่อบัญชี ณัฐพงศ์ เทียนแก้ว 

เลขที่บัญชี 549-2-16995-3 ประเภทบัญชี ออมทรัพย์ ธ.กสิกรไทย 

ชื่อบัญชี ณัฐพงศ์ เทียนแก้ว 

 

ควบคุมจราจรทางอากาศ ควบคุมอย่างไร เพื่ออะไร

ATC ย่อมาจากคำว่า Air Traffic Control หมายถึง การควบคุมการจราจรทางอากาศ ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ดังกล่าวเรียกว่า Air Traffic Controller ในการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศนั้น มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ ดังนี้

  1. เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุระหว่างอากาศยานที่บินอยู่ในอากาศ
  2. เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุระหว่างอากาศยานกับสิ่งกีดขวางภาคพื้น
  3. เพื่อให้การจราจรทางอากาศเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย

ขั้นตอนการควบคุมจราจรทางอากาศ และการทำงานของ ATC

การนำเครื่องบินออกจากสนามบิน

เมื่อต้องการนำเครื่องบินออกจากสนามบิน นักบินต้องทำแผนการบิน หรือที่เรียกกันว่า Flight Plan (click ดูตัวอย่าง) ส่งให้กับ ATC ได้รับทราบ ประกอบด้วยข้อมูลสำคัญได้แก่ เครื่องบินรุ่นอะไร มีอุปกรณ์ประจำเครื่องอะไรบ้าง สนามบินปลายทางที่ใด สนามบินสำรอง กรณีเครื่องลงสนามบินปลายทางไม่ได้ เชื้อเพลิงในเครื่องสามารถบินได้นานเท่าไร เส้นทางบินที่จะไป ความเร็ว เพดานบินที่ต้องการ (ความสูงที่นักบินขอมาจะเป็นความสูงที่เครื่องบินสามารถประหยัดเชื้อเพลิงได้มากที่สุด แต่บางครั้ง ATC ไม่สามารถให้ความสูงตามที่ขอได้ เนื่องจากมีการจราจรที่คับคั่ง) เวลาที่คาดว่าจะวิ่งขึ้น เวลาที่คาดว่าจะไปถึง รวมถึงเวลาที่จะผ่านเข้าไปยังเขตประเทศต่างๆ (หากเป็นการบินระหว่างประเทศ) และข้อมูลสำคัญอีกมากมาย

เมื่อ ATC ได้รับข้อมูลทั้งหมดแล้ว ก็จะตรวจสอบสภาพอากาศและทบทวนแผนการบินอีกครั้ง ก่อนจะพิมพ์ข้อมูลลงในแถบกระดาษรายงานความคืบหน้าของเที่ยวบินที่เรียกว่า Flight Progress Strip (click ดูตัวอย่าง) แถบกระดาษนี้จะใช้ในการติดตามดูแลเครื่องบินไปตลอดเส้นทาง โดยจะมีการ Update ข้อมูลอยู่ตลอดเวลา หลังจากนักบินได้รับอนุญาตให้นำเครื่องออกได้ แถบรายงานการบินจะถูกส่งต่อไปยัง Ground Controller หรือเจ้าหน้าที่ควบคุมภาคพื้นดิน นักบินจะต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่หอบังคับการบิน เพื่อขอติดเครื่องยนต์และขอ Push Back (การดันเครื่องถอยหลัง กรณีจอดเทียบอาคารผู้โดยสาร) เมื่อเครื่องพร้อม ก็จะติดต่อ Ground Controller อีกครั้ง เพื่อขอขับเคลื่อน (Taxi) สำหรับวิ่งขึ้นในลำดับต่อไปและเมื่อเครื่องบินใกล้ถึงรันเวย์ การควบคุมก็จะถูกโอนต่อให้กับหอบังคับการบิน (Local Controller หรือ Tower)

หากทุกอย่างเรียบร้อยและปลอดภัย Tower ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการขึ้น-ลงของเครื่องบินทั้งหมดในสนามบินนั้น จะอนุญาตให้นำเครื่องขึ้นได้ ด้วยประโยคที่ว่า “Cleared for Takeoff” โดยจะมีการแจ้งความถี่วิทยุใหม่ให้กับนักบินได้รับทราบ เพื่อใช้ในการติดต่อหลังจากนำเครื่องขึ้นแล้ว โดยความถี่ใหม่นี้เป็นของ Departure Controller (เจ้าหน้าที่ควบคุมเครื่องขาออก) ซึ่งประจำการอยู่ที่ TRACON (Terminal Radar Approach Control) ขณะเดียวกันนักบินจะเปิดใช้งานอุปกรณ์ที่เรียกว่า Transponder ทำหน้าที่ตรวจจับสัญญาณวิทยุที่เข้ามา แล้วส่งสัญญาณพร้อมข้อมูลที่เข้ารหัสแล้วตอบกลับไป อันประกอบด้วยข้อมูลเที่ยวบิน ความสูง ความเร็ว จุดหมายปลายทาง โดยจะไปปรากฎบนหน้าจอเรดาร์ของเจ้าหน้าที่ควบคุม แต่สำหรับเครื่องสมัยใหม่ อุปกรณ์นี้จะทำงานโดยอัตโนมัติ

Departure Controller จะให้ข้อมูลกับนักบินถึงระยะห่างจากเครื่องบินแต่ละลำ พร้อมกับกำหนดทิศทาง ความเร็ว เพดานบิน ซึ่งนักบินต้องปฏิบัติตาม หรืออาจจะแจ้งให้นักบินนำเครื่องบินไปตามเส้นทางขาออกมาตรฐาน (SID : Standard Instrument Departure) จนกระทั่ง Departure Controller เห็นว่าเครื่องเข้าสู่เส้นทางที่ต้องการแล้ว หรือมีความปลอดภัยแล้ว ก็จะส่งต่อการควบคุมให้ ศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศตามเส้นทางบิน (Area Control) ซึ่งจะมีการแบ่งเขตการทำงานไว้ชัดเจน ทำหน้าที่คอยดูแลจนกระทั่งเครื่องบินนั้นเดินทางถึงที่หมาย หรือพ้นเขตประเทศไปแล้ว

การควบคุมการจราจรทางอากาศในเส้นทางบิน แบ่งระดับการช่วยเหลือตามประเภทของเครื่องบินไว้ 2 กลุ่มคือ เครื่องบินที่บินโดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยเหลือมากนัก กล่าวคือ บินตามกฏอาศัยทัศนวิสัยเป็นตัวตัดสินใจ (Visual Flight Rule : VFR) อีกกลุ่มคือ เครื่องบินที่มีอุปกรณ์เครื่องวัดประกอบการบิน (Instrument Flight Rule : IFR) เครื่องบินในกลุ่มหลังนี้ต้องทำแผนการบินส่งให้กับศูนย์ควบคุมและต้องรับฟังคำแนะนำตลอดเวลาบิน ซึ่งศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศจะดูแลให้เครื่องบินกลุ่มนี้อยู่ในตำแหน่งและเส้นทางทีเหมาะสม

อุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมที่เรียกว่า อุปกรณ์ติดตามอากาศยานอัตโนมัติ (Automatic Dependent Surveillance : ADS) ใช้ในการส่งสัญญาณจ้งตำแหน่งของเครื่องบิน เป็นพิกัดเส้นรุ้งเส้นแวง เพิ่มความแม่นยำในการระบุตำแหน่งและเป็นประโยชน์มากในเส้นทางบินเหนือมหาสมุทร

ขณะอากาศยานบินไปตามเส้นทางนั้น เมื่อถึงจุดรายงานตำแหน่ง นักบินจะต้องติดต่อแจ้งข้อมูลให้กับศูนย์ควบคุมฯ ได้ทราบ ในขณะเดียวกันศูนย์ควบคุมฯ ก็จะแจ้งข้อมูลให้กับนักบินทราบตลอดเวลาเช่นกัน ผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศอาจจะสั่งให้เปลี่ยนเส้นทางบิน หรือเปลี่ยนความสูง ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ หรือความคับคั่งของเครื่องบินในเส้นทางบินนั้น ดังนั้น เที่ยวบินหนึ่งๆ อาจไม่ได้ทำการบินตามแผนการบินที่แจ้งไว้แต่แรกก็ได้ เพราะ ATC จะคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก

การนำเครื่องบินเข้ามายังสนามบิน

การส่งต่อการควบคุมจะดำเนินไปจนเครื่องใกล้ถึงจุดหมาย Area Control ที่ใกล้กับสนามบินปลายทางจะรับรู้แผนการบินที่สนามบินต้นทางส่งต่อกันมา โดยจะแจ้งให้นักบินลดเพดานบินลงในระยะห่างจากสนามบินที่เหมาะสม รวมทั้งปรับทิศทางบินให้เข้าสู่วงจรการร่อนลงสนามบิน ซึ่งเป็นแนวบินที่กำหนอไว้แล้วสำหรับแต่ละสนามบิน

เมื่ออากาศยานบินเข้าเขตรัศมี 50 ไมล์ทะเลจากสนามบิน เครื่องจะถูกส่งต่อเข้าเขตการควบคุมของ Approach Control ของสนามบินนั้น ซึ่งจะดูแลนำเครื่องเข้าสู่สนามบินตามเส้นทางขาเข้ามาตรฐาน (STAR : Standard Terminal Arrival Route) ซึ่งถูกออกแบบเส้นทางไว้แล้ว โดยคำนึงถึงความเหมาะสมตามสภาพพื้นที่ สภาพการจราจรโดยรวม รวมถึงสนามบินรอบข้าง มากำหนดเป็นเส้นทางที่จะช่วยให้การควบคุมเครื่องบินปลอดภัยที่สุด

เมื่อเข้าสู่แนวร่อนสุดท้าย ห่างจากสนามบินราว 5-10 ไมล์ทะเลหรือจนกระทั่ง Approach Controller เห็นว่าปลอดภัยแล้ว ก็จะส่งต่อการควบคุมให้กับหอบังคับการบิน (Tower) หรือ (Local Controller) หอบังคับการบินซึ่งคอยดูแลเครื่องขึ้น/ลงทั้งหมด ก็จะพิจารณาว่าสามารถนำเครื่องลงได้หรือไม่ ขณะนั้น นักบินก็จะอาศัยเครื่องช่วยเดินอากาศ โดยจับสัญญาณวิทยุที่ส่งจากอุปกรณ์ ILS : Instrument Landing System เพื่อนำเครื่องร่อนลงสู่สนามบินตรงจุดกึ่งกลางรันเวย์ โดยมีระบบไฟส่องสว่างบอกแนวขอบรันเวย์และมุมร่อนที่ถูกต้อง เป็นตัวช่วยให้ปลอดภัยขึ้นอีกระดับหนึ่ง

ขณะที่เครื่องบินกำลังร่อนลง Tower จะตรวจสอบรันเวย์ว่าปราศจากสิ่งกีดขวางหรือไม่ โดยใช้ทั้งเรดาร์ภาคพื้นดิน (สำหรับสุวรรณภูมิ) และกล้องส่องทางไกล เมื่อทุกอย่างเรียบร้อย (Clear) จึงอนุญาตให้นำเครื่องร่อนลงได้ ด้วยประโยคว่า “Cleared to Land” เมื่อเครื่องบินออกจากรันเวย์เรียบร้อยแล้ว จะส่งต่อการควบคุมไปให้ Ground Controller ในขั้นสุดท้าย เพื่อนำเครื่องบินไปสู่จุดจอด เป็นอันสิ้นสุดขั้นตอนการควบคุมการจราจรทางอากาศ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง