เวลาเปลี่ยนเกียร์ออโต้

รถยนต์สมัยใหม่ในตลาด ส่วนใหญ่เป็นเกียร์อัตโนมัติ ไม่นับรวมพวกรถที่ใช้บรรทุกของทั่วไป อาจมีบ้างที่ใช้เกียร์ออโต้ก็เพื่อความสะดวกสบาย แต่สิ่งที่หลายๆ คนอาจยังหลงลืมและเข้าใจผิดในเรื่องการใช้งานรถยนต์เกียร์ "ออโต้" จนกลายเป็นความเคยชิน ซึ่งอาจส่งผลให้ระบบเกียร์นั้น "พัง" หรือ "สมรรถนะด้อยลงไป" มาดูว่ามีอะไรบ้าง

1. เข้าเกียร์พร้อมออกตัวโดยไม่เหยียบเบรค
การเข้าเกียร์ตำแหน่งเดินหน้าหรือถอยหลังนั้น ตามหลักการใช้งานที่ถูกต้องควรจะเหยียบเบรคก่อนแล้วจึงดึงคันเกียร์ไปยังตำแหน่งต่างๆ เนื่องจากเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอาการ "กระตุก" เพราะจะทำให้ชิ้นส่วนต่างๆ ในระบบเกียร์สึกหรอเร็วขึ้น อายุการใช้งานสั้นลง และเป็นการป้องกันรถไหลไปโดยไม่ตั้งใจอาจเกิดอุบัติเหตุได้อีกด้วย

2. เข้าเกียร์ว่างก่อนที่รถจะหยุดสนิท
การเข้าตำแหน่งเกียร์ "N" หรือเกียร์ว่าง นั้นควรปล่อยให้รถหยุดสนิทเสียก่อน มีหลายๆ คนเข้าใจว่าการเข้าเกียร์ว่างทั้งๆ ที่รถยังไหลอยู่จะช่วยประหยัดน้ำมัน เพราะรอบเครื่องยนต์จะต่ำลง แต่ความจริงนั้นไม่มีผลใดๆ เลย แถมส่งผลต่อระบบเกียร์อีกด้วย เพราะการเข้าเกียร์ว่างในขณะที่รถยังวิ่งอยู่นั้น ชิ้นส่วนที่เป็นระบบตัดต่อกำลังของเกียร์อัตโนมัติหรือทอร์คคอนเวอร์เตอร์จะเกิดความเสียหายได้ และหากมีเหตุต้องเร่งเครื่องยนต์กระทันหันก็ต้องเปลี่ยนเกียร์มาที่ตำแหน่ง "D" ซึ่งก็จะทำให้ชุดเกียร์เกิดความเสียหายได้เร็วขึ้น

3. เดินหน้า-ถอยหลังไม่จอดสนิท
การเปลี่ยนเกียร์โดยที่รถยังหยุดไม่สนิท เช่น ใส่เกียร์ถอยหลัง "R" ขณะรถยังไหลไปด้านหน้า ส่งผลให้ชุดขับเคลื่อนภายในเกียร์ถูกกระชากกลับทิศทางการหมุนอย่างรวดเร็วเกินไป หากทำเป็นประจำอายุการใช้งานก็จะลดลง

4. คิกดาวน์-เร่งอย่างรวดเร็ว
ระบบเกียร์อัตโนมัติถูกออกแบบให้ใช้งานได้หลายสภาวะแม้ขณะเร่งแซงอย่างฉับพลับ เช่น การ "คิกดาวน์" หรือการเหยียบคันเร่งสุดเพื่อต้องการแซงหรือขึ้นทางลาดชันเมื่อมีความจำเป็น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการ "สึกหรอ" ตามมา เพราะในแต่ละครั้งที่เร่งเครื่องยนต์อย่างแรงหรือลากรอบเครื่องยนต์สูงๆ ชุดฟันเฟืองต่างๆ ในเกียร์ก็จะหมุนด้วยความเร็วสูง จึงเกิดการเสียดสี ความร้อนสะสมสูงขึ้นกว่าปกติ ถ้าหากมีการคิกดาวน์บ่อยๆ ก็ยิ่งทำให้เกิดการสึกหรอเร็วขึ้นตามไปด้วย

5. เร่งเครื่องแล้วออกตัว
การออกตัวแรงด้วยการเร่งเครื่องยนต์ให้รอบสูงๆ ค้างเอาไว้แล้วใส่เกียร์ "D" เพื่อต้องการให้รถออกตัวได้อย่างรวดเร็ว นับว่าอันตรายสุดๆ เพราะว่าเป็นการทำให้ชุดเกียร์ถูกกระชากอย่างรุนแรง นอกจากนี้ยังส่งผลไปที่ชุดเพลาขับเคลื่อน ยางรองแท่นเครื่องยนต์และเกียร์ให้เสื่อมสภาพเร็วขึ้นตามไปด้วย

ใครใช้รถเกียร์ออโต้อยู่ควรหลีกเลี่ยง 5 ข้อนี้ให้ดีนะครับ เพราะจะทำให้รถของคุณมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น และที่สำคัญหมั่นตรวจเช็คระบบน้ำมันเกียร์ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์เสมอๆ จะได้ไม่ต้องควักกระเป๋าจ่าย "ค่ายกเกียร์ออโต้" ที่แพงจนหน้าซีดก่อนวัยอันควรครับ

หากสนใจอยากจะเป็นเจ้าของรถซักคัน สามารถขอสินเชื่อออนไลน์ได้ที่

 

อย่าลืม!..คิดจะออกรถใหม่นึกถึงเรา ยื่นเรื่องง่าย อนุมัติไว วางใจ กรุงศรี ออโต้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
กรุงศรี ออโต้ คอล เซ็นเตอร์ โทร. 0-2740-7400

รถยนต์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันต่างหันมาใช้เป็นเกียร์อัตโนมัติกันหมด แทบทุกรุ่น ทุกยี่ห้อเลยก็ว่าได้ ซึ่งมือใหม่อย่างเรา หรือมือเก่าบางท่านอาจยังมีข้อสงสัยว่า ตำแหน่งต่างๆ คืออะไรของเกียร์อัตโนมัติ ใช้งานอย่างไรให้เหมาะสม? วันนี้ Mongkol Auto Services จึงทำบทความนี้เพื่อให้ความรู้กับเพื่อนๆ ไปอ่านกันเลยค่ะ

เกียร์อัตโนมัติในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ เกียร์อัตโนมัติแบบมีลำดับ และเกียร์อัตโนมัติแบบ CVT ซึ่งในมุมการใช้งานของคนขับรถทั่วไปถือว่าไม่แตกต่างกันนัก เพราะยังคงใช้ตำแหน่งเกียร์ที่เหมือนกันอยู่ค่ะ

ตำแหน่ง P – Parking

ตำแหน่งเกียร์ P นั้นจะอยู่ด้านบนสุดของแป้นเกียร์ ใช้สำหรับจอดรถเพื่อดับเครื่องยนต์ค่ะ ซึ่งความพิเศษของตำแหน่งเกียร์ P คือ..รถยนต์จะถูกเข้าสลักล็อคเกียร์ ทำให้รถไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้ค่ะ ดังนั้น หากจำเป็นต้องจอดรถขวางทางคันอื่น ก็ไม่ควรใช้ตำแหน่งเกียร์ P เด็ดขาดนะคะ เพราะจะทำให้ผู้อื่นไม่สามารถเข็นรถขยับไปมาได้ค่ะ และหากจะเปลี่ยนไปเป็นเกียร์ R, N, D, L, และอื่นๆ ก็จะต้องเหยียบเบรก และกดปุ่มปลดล็อกที่หัวเกียร์ก่อนจึงจะสามารถเปลี่ยนเกียร์ได้ แต่หากเป็นรถที่ใช้แป้นเกียร์แบบขั้นบันได ก็จะใช้วิธีเหยียบเบรก แล้วผลักคันเกียร์ไปด้านข้างแทนนะคะ

R – Reverse

ตำแหน่งเกียร์ R ก็คือเกียร์ถอย เป็นเกียร์ลำดับที่ 2 ซึ่งใช้ในการถอยหลังนั้นเองค่ะ มีวิธีใช้ง่ายๆ ตามลำดับดังนี้ค่ะ 

  • เหยียบเบรค 
  • เข้าเกียร์ R 
  • เช็คความปลอดภัย มองกระจกข้าง ซ้าย-ขวา และกระจกหลังค่ะ
  • ค่อยๆ ปล่อยเบรคช้าๆ ค่ะ
  • ไม่จำเป็นต้องเหยียบคันเร่งนะคะ
  • ตัวรถจะถอยเองช้าๆ
  • เมื่อแน่ใจว่าปลอดภัยก็ถอยได้เลย ขอให้สนุกกับการถอยหลังนะคะ

N – Neutral

N ก็คือ เกียร์ว่าง ตัวรถจะไม่มีการส่งกำลังใดๆ จากเครื่องยนต์ แต่ไม่ควรใช้หยุดรถในพื้นที่ลาดชันนะคะ เพราะจะทำให้รถไหล และก่อให้เกิดอันตรายได้ ซึ่งเป็นจุดแตกต่างระหว่างเกียร์ N และ P นั่นเองค่ะ

D – Drive

D เป็นตำแหน่งสำหรับเคลื่อนที่ไปด้านหน้า ซึ่งโดยปกติแล้ว เกียร์ D ถือว่าครอบคลุมการขับขี่ในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะขับเร็วขับช้า รถจะเปลี่ยนเกียร์ให้เราโดยอัตโนมัติ และหากคุณเป็นมือใหม่หัดขับ หรือถึงขับขี่ปกติทั่วไป การใช้ตำแหน่งเกียร์ D อย่างเดียวก็เพียงพอต่อการเดินทางทั่วไปแล้วค่ะ 

แต่สำหรับรถบางรุ่นที่มีตำแหน่งเป็นตัวเลข เช่น 2, 3 และ 4 หรือ มีอักษร D ควบคู่ เช่น D2, D3 และ D ซึ่งตำแหน่งเกียร์แบบนี้หมายถึงอัตราทดสูงสุดที่ยอมให้เกียร์ทด เช่น ตำแหน่ง 2 หมายถึง รถจะใช้เพียงเกียร์ 1-2 เท่านั้นค่ะ เช่นเดียวกับตำแหน่งเกียร์ 4 รถจะใช้เกียร์ 1-4 เป็นต้นค่ะ

L – LOW

ตำแหน่งเกียร์ L หรือ เกียร์ 1 ซึ่งรถจะไม่มีการปรับอัตราทดใดๆ เหมาะที่จะใช้ขับช้าๆ ในกรณีขับขึ้น-ลงทางลาดชัน เช่น ลานจอดรถ ขึ้น-ลงเขา หรือเวลาที่ต้องการแรงเบรกจากเครื่องยนต์ (แต่ไม่ใช้กรณีที่รถขับมาเร็วๆ แล้วเปลี่ยนมาเป็น L ทันทีนะคะ

S – Sport

รถยนต์หลากหลายรุ่นจะมีปุ่ม Sport มาให้ บางคันอาจใช้เป็นหนึ่งในตำแหน่งเกียร์ แทนที่ด้วยสัญลักษณ์ S ซึ่งโหมดสปอร์ตเหมาะกับการใช้สำหรับเร่งแซง หรือขับขึ้นเขา มีตอบสนองอัตราเร่งได้ดี เกียร์จะเปลี่ยนช้าลง ได้รอบที่สูงขึ้น แต่ก็ไม่ควรใช้โหมด Sport ขณะขับขี่ทางไกลด้วยความเร็วสูง เพราะจะทำเกียร์ทำงานหนัก และสิ้นเปลืองน้ำมันโดยใช่เหตุค่ะ

M – Manual

ตำแหน่ง M หมายถึงโหมดการขับขี่แบบเกียร์ธรรมดา โดยจะใช้การผลักคันเกียร์ตำแหน่ง + หรือ – ในการเปลี่ยนอัตราทดด้วยตัวเองค่ะ แต่หากลดความเร็วลงมาจนต่ำกว่าระดับความเร็วของเกียร์นั้นๆ เกียร์จะปรับลดเกียร์ให้อัตโนมัติค่ะ

ซึ่งความรู้ที่เรานำมาฝากนั้นเป็นพื้นฐานในการขับขี่เกียร์อัตโนมัติ เพื่อนๆ มือใหม่ที่มีรถอยู่แล้ว หรือกำลังจะมีรถเป็นของตัวเอง ก็ลองศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม หากเพื่อนๆ รู้จักการทำงานของตำแหน่งเกียร์แต่ละตำแหน่งต่างๆ ก็จะช่วยให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสะดวกมากขึ้น และเพิ่มความมั่นใจก่อนการใช้งานจริง ส่วนใครที่เซียนอยู่แล้ว อย่าลืมใช้งานให้ถูกวิธีด้วยนะคะ จะได้ยืดอายุเกียร์ให้สามารถขับเคลื่อนไปกับเราได้อีกยาวๆ ค่ะ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง