ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตัด เย็บ

วิกิฮาวเป็น "wiki" ซึ่งหมายความว่าบทความหลายๆ บทความของเรานั้นเป็นการร่วมมือกันเขียนของผู้เขียนหลายคน ในการเขียนบทความชิ้นนี้ ผู้คน 16 คน ซึ่งบางคนไม่ขอเปิดเผยตัว ได้ร่วมกันเขียนและปรับปรุงเนื้อหาของบทความอย่างต่อเนื่อง

บทความนี้ถูกเข้าชม 98,906 ครั้ง

มีตั้งหลายเหตุผลว่าทำไมคุณถึงควรจะตัดเสื้อผ้าเอง ถ้าคุณสนใจในงานออกแบบแฟชั่น มีชุดอยู่ในใจที่อยากจะทำให้ตัวเอง หรือแค่ต้องการจะดัดแปลงเสื้อผ้าที่มีอยู่แล้ว ถ้าเช่นนั้นมันจะเป็นประโยชน์มากที่จะเรียนรู้การตัดเย็บเสื้อผ้าจากเริ่มต้น คุณไม่จำเป็นต้องเก่งระดับช่างเย็บผ้าก็สามารถสร้างสรรค์ชุดของตัวคุณเองได้แล้ว

ขั้นตอน

  1. เรียนรู้อุปกรณ์ต่างๆ ที่คุณต้องใช้. การตัดเย็บเสื้อผ้านั้นต้องอาศัยอุปกรณ์แตกต่างกันสำหรับเย็บ ทำแพทเทิร์น และวัดแพทเทิร์นเพื่อให้แน่ใจว่าใส่ได้พอดี คุณจำเป็นต้องเรียนประเภทของอุปกรณ์และวิธีใช้งาน ในตอนแรกอาจจะไม่ค่อยคล่อง แต่ยิ่งฝึกก็จะยิ่งง่ายขึ้น

    • เตารีดและแผ่นรองรีด จะใช้เตารีดคุณภาพระดับไหนก็ได้ที่มีอยู่แล้ว แต่ท้ายที่สุดคุณอาจอยากลงทุนซื้อชนิดคุณภาพสูง คุณต้องใช้เตารีดไว้ทับชุดตอนเย็บเพื่อให้แน่ใจว่าตะเข็บมันจะคงรูปได้ถูกต้อง
    • ที่เลาะผ้า คุณจะใช้มันเมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นโดยเลาะด้ายที่เย็บผิดออก
    • ชอล์ก เพื่อทำจุดกำหนดบนผืนผ้า คุณจะได้รู้ว่าตรงไหนเย็บ ตรงไหนตัดออก
    • คุณต้องการกรรไกรคมๆ สักอันที่จะใช้ตัดผ้าเท่านั้น มิเช่นนั้นกรรไกรจะทื่อเร็วและทำให้ผ้าเสียหายหรือลุ่ยได้
    • กระดาษลอกลายสำหรับการทาบแพทเทิร์นและปรับแพทเทิร์นในระหว่างเย็บ
    • ไม้บรรทัดสำหรับวัดเวลาประกอบชิ้นส่วน (ทั้งในระยะออกแบบและระยะตัดเย็บ)
    • สายวัด โดยเฉพาะสายวัดที่มีความยืดหยุ่น คุณจะใช้วัดและปรับขนาด
    • เข็มเพื่อปักตรึงผ้าให้อยู่ในตำแหน่งก่อนจะเริ่มเย็บ แต่ควรใช้เข็มแต่น้อยเพราะมันสามารถทำให้ผ้าเยี้ยวผิดรูปได้

  2. หาจักรเย็บผ้า. มีจักรเย็บผ้าอยู่สองประเภท หนึ่งในสำหรับใช้ภายในบ้านและอีกประเภทสำหรับใช้ในเชิงอุตสาหกรรม ทั้งสองประเภทนี้มีข้อดีข้อเสียต่างกัน จึงควรคำนึงก่อนว่าประเภทไหนตอบสนองความต้องการของคุณมากกว่ากัน

    • จักรเย็บผ้าแบบใช้ในบ้านมักจะคล่องตัวและมีความอเนกประสงค์มากกว่า พวกมันจะทำฝีเข็มได้หลายแบบ อย่างไรก็ดี พวกมันจะสู้ไม่ได้ในเชิงของความเร็วและกำลัง อีกทั้งใช้กับผ้าหนาได้ไม่ค่อยดีนัก
    • จักรเย็บผ้าแบบใช้ในเชิงอุตสาหกรรมจะมีกำลังมากกว่าและเย็บได้เร็วกว่า แต่ก็มักจะเย็บได้ฝีเข็มแบบเดียว (เช่นเข็มเดี่ยวกุ๊นตรง) พวกมันจะเย็บฝีเข็มแบบนี้ได้เร็วและดีมาก แต่ปรับเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ยังจะกินเนื้อที่มากกว่าด้วย

  3. เรียนรู้ส่วนต่างๆ ของจักรเย็บผ้า. หวังว่าจักรเย็บผ้าที่คุณซื้อจะมีคู่มือการใช้งานมาด้วย เพราะมันจะบอกคุณว่าด้ายจะหมุนไปทางไหนและหลอดด้ายอยู่ตรงไหน อย่างไรก็ตาม คุณจำเป็นต้องรู้จักส่วนประกอบพื้นฐานของจักรเย็บผ้าก่อนจะเริ่มสนุกกับมันอยู่ดี

    • แกนหลอดด้ายสำหรับใส่หลอดด้ายและควบคุมทิศทางของด้ายเวลาผ่านเข้าไปในจักร แกนหลอดด้ายอาจวางเป็นแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้ตามแต่ชนิดของจักรเย็บผ้า
    • กระสวยซึ่งก็คือแกนที่จะไม่ทำให้ด้ายพันกัน คุณจะต้องใช้ด้ายพันตามกระสวยและนำไปใส่ในชุดจานกระสวย (ซึ่งจะพบใต้แป้นฟัน)
    • จักรเย็บผ้าของคุณมักจะมีปุ่มปรับความยาวฝีเข็มเพื่อช่วยในการพิจารณาว่าจะใช้ฝีเข็มยาวเท่าไหร่ในแต่ละตะเข็บ จำนวนความตึงของด้ายเพื่อให้แน่ใจว่าตะเข็บเย็บจะออกมาถูกต้อง และปุ่มเลือกลวดลายของฝีเข็ม (ถ้าคุณมีจักรเย็บผ้าที่สามารถเลือกลวดลายฝีเข็มได้)
    • คันยกตีนกดผ้าจะควบคุมความตึงของด้าย หากความตึงของด้ายไม่อยู่ในระดับที่ถูกต้อง ด้ายจะพันกันและเข้าไปติดในจักรเย็บผ้า
    • คุณสามารถตรวจสอบตามร้านขายจักรเย็บผ้าใกล้บ้านเพื่อดูว่ามีใครที่จะช่วยแนะนำจักรเย็บผ้าแก่คุณ หรือไม่ก็ขอความช่วยเหลือจากญาติหรือเพื่อนที่พอมีความรู้

  4. เริ่มต้นง่ายๆ. เวลาจะเริ่มตัดเย็บเสื้อผ้า ให้เริ่มที่แบบง่ายๆ มิฉะนั้นทำไปจะงงและหงุดหงิดจนเลิกไปเลย ทางที่ดีเริ่มกับกระโปรง เพราะมันตัดเย็บง่ายกว่าชุดสูท 3 ชิ้นและไม่ต้องวัดตัวยุ่งยากนัก

    • เวลาเริ่มต้น หลีกเลี่ยงการตัดเย็บชุดที่มีกระดุมหรือซิป ลองเย็บผ้ากันเปื้อนหรือชุดนอนโดยใช้ยางยืด พอเริ่มคุ้นเคยกับเครื่องไม้เครื่องมือกับจักรเย็บผ้า ค่อยเริ่มพัฒนาไปอย่างอื่น

  5. ตัดผ้าสำหรับทดสอบก่อน. ทางที่ดีในการจะตัดเย็บชุดคือลองตัดชุดลองทดสอบก่อน เพื่อคุณจะได้ปรับการออกแบบและเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามที่เห็นว่าเหมาะสำหรับชุดที่ตัดจริง

    • แนะนำให้ใช้เศษผ้าชนิดเดียวกับที่จะใช้ตัดจริง

  6. ทำการวัดตัวตามที่จำเป็นต้องใช้เพื่อทำแพทเทิร์น. ถึงจะตัดตามแพทเทิร์นที่คุณไปเจอตามที่ต่างๆ แทนที่จะออกแบบเอง แต่คุณก็ยังต้องทำการวัดตัวเพื่อทำให้ชุดใส่ได้พอดีตัวเมื่อตัดเสร็จ

    • สำหรับกางเกง คุณต้องวัดดังต่อไปนี้: เอว สะโพก ความลึกของเป้า และความยาวขาตั้งแต่เอวจนถึงพื้น สำหรับกางเกงขาสั้น ให้ใช้ตัวเลขตามที่วัดกางเกง เพียงแต่ลดความยาวปลายขาตามที่คุณต้องการ
    • สำหรับเสื้อเชิ้ต ให้วัดดังต่อไปนี้: คอ อก ความกว้างของหัวไหล่ ความยาวของแขน ความยาวของวงแขน และความยาวของตัวเชิ้ต
    • สำหรับกระโปรง คุณแค่ต้องการวัดเอวกับสะโพก ความยาวกับความฟูฟ่องจะแตกต่างกันขึ้นกับว่าคุณจะตัดกระโปรงทรงอะไร

  1. ทำแพทเทิร์น. สเก็ตช์แพทเทิร์นโดยใช้ค่าที่คุณวัดมาได้ ใช้ผ้าชนิดเดียวกันมาเป็นไกด์ก่อนสำหรับการออกแบบและวางแพทเทิร์นให้ถูกต้อง และมีอีกหลายที่ซึ่งคุณสามารถหาไอเดียดีๆ สำหรับมาทำแพทเทิร์นได้

    • ร้านมือสองหรือร้านขายอุปกรณ์ตัดเย็บมักจะมีแพทเทิร์นชุดย้อนยุคมันๆ (โดยเฉพาะชุดเดรส) และมีแพทเทิร์นง่ายๆ หาได้ตามอินเทอร์เน็ต

  2. วางผ้าที่เลือกไว้บนพื้นเรียบแล้ววางแพทเทิร์นลงบนผ้า. ต้องวางแผนดีๆ ในการตัดสินใจว่าจะวางแพทเทิร์นแต่ละชิ้นอย่างไร

    • พับผ้าโดยให้ด้านที่ถูกต้องหันเข้าหากัน และริมผ้าตรงกัน ริมผ้าคือส่วนขอบของผ้าที่เย็บไว้กันลุ่ย การพับมันแบบนี้จะช่วยให้ตัดแพทเทิร์นชิ้นที่ต้องใช้เป็นคู่ (แขนเสื้อ ขากางเกง เป็นต้น) กับแพทเทิร์นชิ้นใหญ่ที่สมมาตรได้ง่าย
    • ถ้าคุณมีแพทเทิร์นชิ้นใหญ่ที่สมมาตรและสามารถพับจากตรงกลางได้ (เช่น ด้านหลังของเชิ้ต) ให้พับแพทเทิร์นจากตรงกลางและใช้เข็มปักแพทเทิร์นที่พับไว้บนผ้าที่พับขอบไว้ นี่จะช่วยประหยัดแรงและช่วยให้แน่ใจว่าผ้าที่ตัดมานั้นจะสมมาตร
    • ถ้าจะตัดผ้าที่แนบพอดีตัว ทางที่ดีให้วางแพทเทิร์นเป็นมุมทแยง (มุม 45 องศาจากขอบที่พับไว้)
    • ในการเย็บผ้าที่ไม่ยืดตัว ให้วางแพทเทิร์นในมุม 90 องศาจากขอบที่พับไว้

  3. รีดรอยยับบนผ้า. คุณต้องแน่ใจว่าผ้านั้นไม่มีรอยยับ มิฉะนั้นตอนท้ายอาจเละเทะได้ถ้ารอยยับนั้นทำให้ผ้าเลยจากแนวที่วางไว้

  4. ใช้เข็มตรึงแพทเทิร์นบนผ้า. นี่จะบอกว่าคุณต้องตัดที่ตรงไหน ให้แน่ใจว่าผ้ายังไม่มีรอยยับและแพทเทิร์นกับผ้านั้นวางไว้ตรงกัน

  5. ตัดผ้าตามแพทเทิร์น. ให้แน่ใจว่าได้ตัดผ้าทั้งสองชั้น

  6. เอาแพทเทิร์นกระดาษออกจากแพทเทิร์นผ้า. ตอนนี้คุณก็พร้อมจะเริ่มขั้นตอนการตัดเย็บแล้ว

  1. ใช้เข็มตรึงชิ้นผ้าเข้าด้วยกันตามขอบตะเข็บ. ดูว่าคุณจะใช้ขอบด้านไหนที่จะเย็บเข้าด้วยกันแล้วใช้เข็มตรึงเนื้อผ้าสองชิ้นนั้นเข้าด้วยกันตรงขอบตะเข็บ โดยให้ด้านที่ถูกต้องหันเข้าหากัน สอดเข็มทำมุม 90 องศาจากขอบเพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องเอามันออกในระหว่างเย็บผ้า

  2. เย็บชิ้นผ้าเข้าด้วยกัน ทำทีละด้านและจากปลายด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง จนกระทั่งคุณได้ตัดเย็บเสร็จ.

    • มันจะใช้เวลา ดังนั้นพยายามอดทนเข้าไว้ ถ้าทำเละ ไม่ต้องกังวลไป เพราะถึงเวลาได้ใช้ที่เลาะผ้าแล้วละ

  3. ใช้จักรเย็บผ้าให้ถูกต้อง. คุณจำต้องให้แน่ใจว่ามีเข็มที่ถูกต้องสำหรับการใช้งานและฝีเข็มที่ถูกต้องด้วย ฝีเข็มต่างชนิดกันและเข็มต่างชนิดกันเหมาะสมกับผ้าต่างชนิดกัน

    • คุณต้องใช้เทคนิคแตกต่างออกไปสำหรับผ้าที่ทำจากขนสัตว์อย่างผ้าไหม วูลหรืออัลปาก้า ตรงข้ามกับผ้าจากเส้นใยธรรมชาติอย่างฝ้ายหรือแฟล็กซ์และผ้าใยสังเคราะห์อย่างเรยองหรือโพลีเอสเตอร์ ให้แน่ใจว่าคุณรู้ว่ากำลังใช้ผ้าชนิดไหนและชนิดของเข็มกับฝีเข็มที่เหมาะกับมันที่สุด
    • ค่อยๆ นำผ้าเข้าจักร. อย่าดึงหรือดันผ้าเพราะจักรจะทำเอง มิฉะนั้นจักรจะอุดตันหรือไม่ผ้าก็เสียไปเลย

  4. เย็บริมผ้า. ทำให้เสื้อผ้าเสร็จสมบูรณ์โดยเก็บขอบผ้าให้เรียบร้อย

    • พับขอบขึ้น ด้านที่ไม่ใช่พับเข้าใน ตามความกว้างของขอบตะเข็บผ้าตามที่ต้องการและกดผ้าที่พับเข้าด้วยกัน พับขอบที่ผ่านการทับไว้อีกหนึ่งทบแล้วกดอีก จากนั้นเย็บตามขอบด้านบนที่พับไว้ภายในผ้า

  5. ติดอุปกรณ์ตบแต่งขั้นสุดท้าย. เช่นพวกกระดุม ยางยืด ซิป หรือติดลูกไม้หรือลายปักแปลกๆ ก็ได้ ยิ่งคุณเริ่มเย็บและตัดเสื้อผ้าได้คล่อง คุณก็สามารถมีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มเติมอุปกรณ์ตบแต่งเหล่านี้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง